อนุทินล่าสุด


บุรชัย
เขียนเมื่อ

อ่านบทความเกี่ยวกับ "สิริ" SIRI ใน iPhone ที่ Huffington Post แล้วก็อยากใช้ แต่ยังคิดว่าไม่จำเป็นสำหรับตัวเอง เพราะดูเหมือนจะยังไม่ support ภาษาไทยตอนนี้ และในบ้านผม มีคนเดียวที่ใช้ไอโฟนก็คือลูกสาว พ่อยังใช้มือถือราคาถูกกว่าของลูกเกือบ ๑๐ เท่าตัวอยู่ :-)  ถามลูก แกบอกว่า เพื่อนๆ ม. ๖ ในห้องแกใช้ไอโฟนเกินครึ่งห้องเรียน 

OMG!

นึกสงสัยเอาเองว่า งานเรื่อง ontology ในภาษาไทยไม่เห็นมีใครทำกันมากนัก จะไปได้ไกลแค่ไหนกับแอ็ปส์ AI ให้สนับสนุนภาษาไทย เดาเอาว่าก็คงแม็ปมโนทัศน์เข้ากับ ontology ภาษาอังกฤษละมัง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

ช่วงนี้อ่านหนังสือพร้อมๆ กันหลายเล่ม แบบคู่ขนาน ทำให้ยังไม่ได้อ่านหนังสือที่ พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม) สมาชิกของ GotoKnow รูปหนึ่ง เมตตาส่งมาให้ ตามที่ผมแสดงความสนใจไปยังท่าน คือ ทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎก (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๕๐) กับอีก ๒ เล่ม คือ สังฆาธิปไตย ระบอบการปกครองสงฆ์ กับ เรื่องเล่าจากกว๊านพะเยา ท่านส่งแถมมาให้ แต่ดูคร่าวๆ แล้วหนังสือ ทฤษฎีรัฐศาสตร์ในพระไตรปิฎกเป็นหนังสือที่น่าสนใจสำหรับผมมาก คงต้องอ่านด้วยความพินิจพอสมควร

ต้องขอบคุณ GotoKnow เพราะทำให้ผมได้เจอชื่อหนังสือนี้จากเว็บนี้ จนได้มีโอกาสติดต่อกับท่านผู้แต่ง(รวมถึงได้มีโอกาสคุยกับท่านอื่นอีกหลายๆ ท่าน ในโอกาสอื่นๆ) 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

วันนี้เจอข่าวน่าสนใจ ๒ ชิ้น

ข่าวแรก เป็นบทความน่าสนใจ  เขาว่า อินเทอร์เน็ทตอนนี้กลายเป็นพื้นที่ปิดไปแล้ว คนที่ใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัทใหญ่ๆ เช่นของ แอปเปิ้ล ไมโครซอฟต์ กูเกิล เฟซบุ้ค ฯลฯ จะโดนกีดขวางให้ทำงานข้ามผลิตภัณฑ์ยากขึ้น และที่น่าสนใจ เขาคาดว่าบริษัทที่มาแรงในอนาคตคงเป็น อเมซอน 

ข่าวที่สอง เป็นข่าวจาก มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี ที่ไปรณรงค์แจกซอฟต์แวร์ฟรี  Trisquel Linux  ที่หน้าร้านไมโครซอฟต์ที่บอสตัน 

Trisquel Linux ดัดแปลงจาก Ubuntu ผมเองเคยใช้ Ubuntu อยู่พักหนึ่ง พอเครื่องเริ่มเก่าก็ต้องเลิกใช้ เพราะอัพเดทเป็นโอเอสรุ่นใหม่ไม่ได้ เลยเอาเครื่องเก่าไปบริจาคให้โรงเรียนประถมที่อุบลฯ เสีย ผมเดาเอาว่าป่านนี้ คงโดนเอาไปลงโอเอสใหม่เป็นวินโดวส์ไปแล้ว :-(  




ความเห็น (2)

ผมว่า Amazon เข้าเป็นเจ้าตลาด ebooks ที่คงไม่มีใครตีเขาได้ง่ายๆ ไปอีกนานครับ Kindle ของเขาใช้สะดวกจริงๆ ครับ (ผมใช้ Kindle DX) แต่หนังสือที่อ่านบน Kindle ไปอ่านที่ไหนต่อไม่ได้เลยครับ

ดูเหมือน อเมซอน กำลังจะออกดีไวซ์ใหม่ออกมา ในอนาคตคงชัดเจนขึ้นครับ

แต่สำหรับเมืองไทย ผมรู้สึกเอาเองว่า ebook reader น่าจะทำตลาดสู้ iPad & iPhone ไม่น่าจะได้ ดังนั้น ถ้า ebook จะบูม ก็น่าจะบูมในแพล็ทฟอร์มของแอปเปิ้ลก่อน 

ส่วนเรื่อง โลจิสติกส์ ระบบ อเมซอน เป็นเจ้าอยู่แล้ว

บุรชัย
เขียนเมื่อ

เจอบทความในมติชน เรื่องสถานะของภิกษุณี  ได้ยินว่าบางคนว่าจะให้ออกกฏหมายรับ ประเด็นน่าสนใจ

แต่ผมเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่คณะสงฆ์เฉพาะที่เป็นพระเถระเท่านั้นที่ต้องพิจารณา และตัดสินตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าและสงฆ์ (แม้แต่ลำพังมหาเถรสมาคมก็ยังไม่น่าจะทรงไว้ซึ่งอำนาจในทางธรรม อำนาจทางกฎหมายยกไว้) นักการเมืองกิเลสหนา และรัฐ ยุ่งไม่ได้ ทำได้อย่างมากแค่อาราธนาคณะสงฆ์คือพระเถระมาพิจารณาเรื่องนี้เท่านั้น เป็นเรื่องที่สงฆ์เท่านั้นอภิปรายและลงมติ เพื่อให้สังคมเข้าใจ 

ผมเลยพยายามประมวลความเห็นส่วนตัวเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วย และโพสต์ไว้  เพื่อชาวต่างชาติจะได้เข้าใจประเด็นนี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

วีดิโอนี้เปิดหูเปิดตาดี Thrive: What on earth will it take ?  



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

นั่งฟัง mp3 เสียงพระฝรั่งสวดมนต์ เสียงท่านชัด ไพเราะกังวาลดีมาก ฟังแล้วผมรู้สึกดี (เปลี่ยนบรรยากาศด้วย) ดาวน์โหลดได้ที่นี่ 

http://audio.palungjit.com/f20/เสียงสวดมนต์-วัดเมตตาวนาราม-รัฐแคลิฟอร์เนีย-สหรัฐอเมริกา-7414.html

ท่านเป็นพระวัดป่า ธรรมยุติ สายหลวงปู่สุวัจจ์ วัดเมตตาวนาราม ที่แคลิฟอเนียร์ ใครจะบวชที่นี่ ต้องไปอยู่ถือศีล ๘ ก่อน ๑ ปี เจ้าอาวาสเป็นพระอเมริกัน 




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

ก๊อปมาครับ ช่วยกันหน่อย

ด่วนที่สุด!!! ขอความร่วมมือชาวพุทธทั่วโลก ช่วยกันลงชื่อคัดค้านการทำลายพุทธสถานอายุกว่า 2000 ปีในอัฟกานิสถานที่จะถูกทุบทิ้งเปลี่ยนเป็นเหมืองแร่
ลงชื่อทั้ง 2 คำร้องทาง
1. http://chn.ge/TstjEm เสนอต่อองค์กรยูเนสโก
2. http://chn.ge/Pux8Nr เสนอต่อประธานาธิบดีอัฟกานิสถาน
ต้องการ 50,000 รายชื่อ ภายในสิ้นเดือนพ.ย.นี้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

เพิ่งกลับจากงานเทศน์มหาชาติ (ร่วมเป็นเจ้าภาพ) ที่อยุธยา และ กฐินที่ที่ชัยภูมิ 

ถ้าสนใจดูรูปที่อีกบล๊อก ครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

ไปได้หนังสือดีมา ๑ เล่มจาก Asia Books คือ
The Story of Philosophy: A History of Western Thought, by James Garvey & Jeremy Stangroom, Quercus Books, UK
ราคาไม่แพง แค่ ๖๕๐ บาท จากราคาหน้าปก 17 pounds ซื้อที่กรุงเทพฯ ราคาถูกกว่าซื้ออังกฤษอีก


เนื้อเรื่องอ่านง่ายมาก ที่สำคัญ พิมพ์สีสวยงาม มีภาพวาดโบราณสวยๆ จำนวนมาก

ในเวลา ๒ วัน ผมอ่านไปได้สัก ๑ ใน ๕ แล้ว และอย่าลืมว่านี่คือหนังสือปรัชญานะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

วันนี้ ผมอ่านหนังสือ รัตนมาลา พจนานุกรมแสดงความหมาย สมัย และที่มาของโบราณิกศัพท์ ของ ศ. ดร. นิยะดา เหล่าสุนทร

ถูกใจมาก และรู้สึกขอบคุณท่านผู้รวบรวม ผมอ่านไปพร้อมดินสอดำในมือ ๑ แท่ง เขียนคอมเม็นต์ไปเรื่อยๆ ตรงไหนไม่เห็นด้วย นึกอะไรได้ก็ annotate ลงไปๆ

เขียนบล๊อกไว้อีกที่หนึ่งแล้ว ไม่อยากโพสต์ซ้ำ และจะยาวจนบางท่านอาจไม่ชอบอนุทินยาวๆ ถ้าท่านใดอยากอ่านก็ต้องตามลิงก์ไปครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

หลังจากอ่านหนังสือจบไปอีกเล่ม ก็ไปอ่านข่าว

เพิ่งพบว่า Andy Williams นักร้องดังในอดีต ชาวอเมริกัน เสียชีวิตไปด้วยวัย ๘๔ ปี ก็เลยไปดูวีดิโอเขาร้องเพลง ในยุค 1960s "Moon River"

และก็อีกเพลง 1971 "The Impossible Dream (The Quest)"  

นึกขอให้เขาไปสู่สุคติ



ความเห็น (3)

ส่งใจไปถึงคุณลุง Andy Williams ด้วยคนค่ะ เป็นนักร้องในดวงใจคนหนึ่ง ฟังตามคุณพ่อคุณแม่มาตั้งแต่เด็กๆเลยค่ะ น่าใจหายนะคะ

ขอบคุณครับสำหรับดอกไม้และคำชม แหมนึกว่าคนวัยใกล้ๆ กันซะอีก อิอิ คุณแม่ผมท่านก็ชอบคนนี้มากครับ

โอ๋ก็น่าจะน้องๆอาจารย์ไม่กี่ปีมังคะ ^_^

บุรชัย
เขียนเมื่อ

เพิ่งไปได้ "พจนานุกรมคำเก่าในภาษาไทย ฉบับชะเลยสัก" โดย ดร. วินัย พงศ์ศรีเพียร และคณะ ตีพิมพ์โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร มาโดยบังเอิญ ซื้อจาก ร้านหนังสือริมขอบฟ้า ข้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ราคาเดิม ๕๐๐ บาท ลดเหลือเล่มละ ๔๗๕ บาท เนื้อหาถูกใจมาก กลับถึงบ้านก็นั่งเปิดอ่านบทความด้านหน้าทันที มีข้อความสะใจคนรักภาษาไทยอย่างผมหลายอย่าง (ไม่บอกว่าสะใจอย่างไร สงสัยจะกึ่งแซวใครหรือเปล่่า) 

เขาพิมพ์แค่ ๑๐๐๐ เล่ม เมื่อต้นปีนี้เอง อีกอย่าง คนชอบภาษาไทยน่าจะมีไม่แยะ ก็เลยขายแพงมัง ใครเป็น language buff น่าจะไปซื้อหาไว้ก่อนหมด

นึกถึงครูภาษาไทยผมสมัยเรียน ม.ศ. ๒ ที่สวนกุหลาบ ท่านสั่งให้ทุกห้องไปซื้อพจนานุกรมกันห้องละเล่ม ทำให้ผมซื้อไว้ส่วนตัวเล่มหนึ่งด้วย แต่นั้นมาก็มักซื้อหาไว้เสมอๆ ถ้าเห็น

(โพสต์แล้วก็สงบจิตเป็นอุปจารสมาธิ นึกถึงครูผมท่านนั้น แผ่ส่วนกุศลและเมตตาให้ท่าน ในใจผมก็เห็นครูยิ้มหวานอย่างมีความสุข)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

ไปนั่งดูวีดิโอเกี่ยวกับอารยธรรมโบราณเมื่อกว่า ๑ หมื่นปีมาแล้ว 

ตอนนี้เป็น การนั่งสนทนาระหว่าง Graham Hancock กับ David Wilcock ความยาวประมาณ ๙๗ นาที น่าสนใจหลักฐานต่างๆ ดูแล้วเปิดหูเปิดตาดี



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

ยังจำวันที่มนุษย์ลงดวงจันทร์ได้ดีเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ มีการถ่ายทอดทีวี(ขาวดำ) จากดวงจันทร์และอเมริกาไปทั่วโลก  วันนั้นผมยังเรียนชั้นประถมที่กรุงเทพฯ โรงเรียนของผมเอาทีวีมาตั้งบนโต๊ะนักเรียนหลายตัวๆ อีกทีเพื่อให้สูงพอให้นักเรียนหลายร้อยคนได้ดูกันในบริเวณโรงอาหาร พวกเราตื่นเต้นพอควร แต่ที่ดีใจมากกว่าคงเป็นเพราะวันนั้นไม่มีเรียนในห้องเรียนไปหลายชั่วโมง

เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็ว บัดนี้ นีล อาร์มสตรอง เสียชีวิต ด้วยวัย ๘๒ ปี ผมได้เห็นสัจจธรรมในเรื่อง อนิจจัง อีกครั้งหนึ่ง

แต่คนอเมริกันส่วนหนึ่งก็ยังไม่เชื่ออยู่ดี ตั้งคำถามว่า ณ เวลานั้น อเมริกาไปถึงดวงจันทร์จริงๆ น่ะหรือ หรือว่าวันนั้นมีการแหกตาคนทั้งโลก

ดูวีดีโอนี้แล้วผมก็ชักไม่แน่ใจเหมือนกัน

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

อ่านบทความ สัมภาษณ์ ดร. วีรพงษ์ เรื่องอะไรต่ออะไร รวมทั้งบ้านของท่านที่เขาใหญ่แล้วรู้สึกโดนใจ 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

ดูวีดิโอเกี่ยวกับคำถามเรื่องเศรษฐกิจโลกถล่มนี้แล้วผมก็หัวเราะก๊ากใหญ่

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

ผมดูสารคดีของ Graham Hancock เรื่อง  "Quest for the lost civilization" ยาว 2:30 ชั่วโมง ดาวน์โหลดจาก youtube ด้วย Miro software และดูบนนั้น 

เปิดหูเปิดตาดีมาก ถึงอารยธรรมโบราณ พูดถึงหมด ไม่ว่าจะเป็น ปิระมิดที่อิยิปต์ ในอเมริกาใต้ อินคา นครวัด นครธม ภาพลายเส้นบนที่ราบสูงนาสคา อนุสาวรีย์ยักษ์บนเกาะอีสเตอร์ ปิระมิดใต้ทะเลญี่ปุ่น  การที่แหล่งอารยธรรมทั่วโลก มีผังการก่อสร้างเป็นเสมือนเงาของหมู่ดาวบนท้องฟ้า ต่างอ้างถึงเวลาเมื่อกว่า ๑๒,๕๐๐ ปีก่อน ก่อนยุคน้ำแข็งครั้งก่อน และความรู้ต่างๆ หายไปหลังจากน้ำท่วมเพราะน้ำแข็งละลายกระทันหัน เป็นเรื่องน่าทึ่ง เรื่องนี้น่าดูมาก 

ดูแล้วมีความรู้สึกว่า นักวิชาการที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ เก่งเฉพาะทางมักไม่ยอมรับความรู้อะไรๆ นอกเหนือวิธีการ หรือนอกกระบวนการหาข้อมูลแบบเดิมๆ ในสาขาของตัว ไม่ยอมรับ paradigm shift ง่ายๆ 

 
 


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

มหากาพย์ กิลกาเมศ (Gilgamesh) เป็นวรรณคดีเรื่องแรกของโลก ตำนานกษัตริย์ ของชาวสุเมเรียน ยุคหลังน้ำท่วมโลกใหม่ๆ เมื่อราว ๔ พันปีก่อน พบเป็นอักษร cuneiform บนแผ่นดินเผา ในแถบเมโสโปเตเมีย หรือ อิรัก

วันนี้ผมง่วงๆ ก็เลยไปดูวีดิโอแนะนำวรรณคดีเรื่องนี้ สลับกับการอ่านหนังสือปรัชญาที่ยังอ่านค้างอยู่ ดูวีดิโอแล้วก็ทำให้อยากอ่านเรื่องนี้

(บทความวิกิพีเดียไทย สะกดว่า กิลกาเมซ แต่ผมอยากจะสะกด ใช้ ศ แบบสันสกฤตมากกว่า)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

อ่านข่าวที่แฮกเกอร์สามารถบุกเข้าบัญชีของนายคนหนึ่ง จากข้อมูลที่ Amazon & Apple แล้วบุกเข้าไป gmail แล้วมิหนำ ยังตามมาลบข้อมูลอันมีค่าของเขาบนเครื่องที่บ้าน จากทางไกล เขาโดนล้างข้อมูลทั้งบน iPhone, Mac notebook, เกลี้ยงทั้งหมด แล้วแฮคเกอร์บุกเข้าสู่ twitter ของเขา เพียงเพื่อจะโพสต์ข้อความรุนแรงจากแอคเคาท์ของเขารายนี้ ดูแล้วก็เห็นว่า ชีวิตคนเราในยุค digital นี่ไม่ปลอดภัยจากคนร้ายเลยจริงๆ 

ตอนนี้ผมเริ่มทำตัวไม่อยากใช้ Cloud มากขึ้น ผมไม่เชื่อใจระบบ ผมตัดสินใจแล้วว่าตอนนี้จะยังไม่อัพเดท OS-X Snow Leopard บนโน้ตบุ้คผม ไปใช้ Mountain Lion ตอนนี้ดูเหมือนยัง buggy อยู่ และผมยังไม่ต้องใช้ iCloud

อาจจะเป็นโชคดีที่ข้อมูลของคนไทยยังไม่มีให้เสาะหามากนักบนเน็ต แต่ เอ หรือว่า ผมอาจจะพูดประโยคนี้ผิดไปก็ได้ ฐานข้อมูลทางการไทยอาจจะไม่ปลอดภัยก็ได้

 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

ดูวีดิโอ Dr. Helen Caldicott พูดเกี่ยวกับ Fukushima แล้ว ก็รู้สึกว่าสลด ไม่รู้ว่ามนุษยชาติจะมีชีิวิตรอดจากกัมมันตภาพรังสีปริมาณมหาศาลที่รั่วอยู่นั่นได้อย่างไร  หายนะที่ญี่ปุ่นนี่ร้ายแรงกว่า เชอร์โนบิล ซึ่งมีคนยุโรปตายไปแล้ว ๑ ล้านคน แต่ปกปิดเอาไว้ สำหรับตัวเองนั้นคงไม่ห่วง ห่วงถึงรุ่นต่อๆ ไปมากกว่า

 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

หลังจากป่วยมาหลายวัน วันนี้เลยตลุยอ่านหนังสือของเจ้าคุณ ปยุตฺโต ๒ เล่ม (PDF) ท่านเป็นปราชญ์ที่ลึกซึ้งเรื่องความคิดมาก ใครอยากดาวน์โหลดหนังสือของท่าน ไปที่หน้าเว็บของวัดญาณเวศกวัน  ผมดูดมาไว้อ่านเพื่อศึกษาแบบออฟไลน์ (ไม่อยากจะเผยว่าหมดเลย) ด้วยความขอบคุณ เล่มที่อ่านและสนใจเป็นพิเศษ อยากเอ่ยถึงคือ มองสันติภาพโลก ผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์

เมื่อเบื่อก็เปลี่ยนไปอ่าน พ. ๒๗ สายลับพระปกเกล้า เป็นเนื้อหาบนเว็บ มีคำคมฝรั่งกล่าวไว้ว่า เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มักจะเกิดซ้ำ (History repeats itself.) ก็หมายความว่า เราควรจะเรียนรู้ประวัติศาสตร์ เพื่อไม่ให้พลาดเหมือนในอดีต คนที่ไม่เคยอ่าน ก็ควรอ่านได้จากเว็บนี้ เพราะคงหาเล่มเก่าๆ ยาก แต่ก็ไม่รู้จะช่วยให้เราเข้าใจเหตุการณ์บ้านเมืองได้เพิ่มมากขึ้นอีกแค่ไหน

 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

วันนี้หาข้อมูลเรื่องการใช้หญ้าแฝก ดูจากวีดิโอนี้

"ประโยชน์สุขแห่งแผ่นดิน หญ้าแฝก กำแพงธรรมชาติที่มีชีวิต" ดีมาก

ผมอยากจะหาพันธุ์นำไปปลูกที่ที่ดินทางเหนือ เพื่อกันดินพังทลายท้้ายแปลง คงเป็นเดือนหน้า พร้อมกับหาพันธุ์ไม้ผล และไม้ยืนต้นหลายๆ ชนิดไปปลูกหน่อย จะทำสวนผสม คนใกล้ตัวไม่เห็นด้วย แต่ผมก็หัวดื้อ คงรู้มากไปหน่อย

อีกอย่างหนึ่ง เพื่อนผมที่เป็นอาจารย์ทางพืชสวน แนะให้รอปีหน้าค่อยหากล้าผลไม้ไปปลูก บอกปีนี้จะหมดฝนแล้ว อีกสองสามเดือน แต่ผมมีเหตุผลที่จะไม่รอ ช่วงนี้ภูมิอากาศแปรปรวน ฝนอาจจะมีถึงปลายปีก็ได้

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

ไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้มา ๗ ปีแล้ว ตอนนี้มาอ่านรอบ ๒ 

ที่พูด ผมหมายถึงหนังสือแปล "หนึ่งปีแสนสุขในโปรวองซ์" ที่แปลจาก A year in Provence ของ Peter Mayle  และถอดความเป็นภาษาไทยเป็นอย่างดีโดย งามพรรณ เวชชาชีวะ  ปกหนังสือมันก็เย้ายวนผม สื่อว่าเนื้อหาเบาๆ ควรอ่านสลับฉากกับเล่มอื่นๆ อีกสองสามเล่มที่เนื้อหาซีเรียสกว่า

เมื่อตีพิมพ์ครั้งแรก ถึงวันนี้ก็ยี่สิบห้าปีมาแล้ว ฉบับภาษาอังกฤษก็พิมพ์ขายได้ถึง ๕ ล้านเล่ม ตั้งแต่แรก โอ้โฮ ท่าจะรวยไปเลย

แต่เนื้อหาแม้จะแปลเป็นไทย มันอ่านสนุกจริงๆ นะ อ่านรอบสองนี้ เก็บรายละเอียดได้แยะขึ้น ตอนนี้ยังอ่านไม่ไปถึงไหน

และก็ไปเจอบทสัมภาษณ์คนเขียนเมื่อสองปีมาแล้ว (ค.ศ. ๒๐๐๙) ตอนนี้คนเขียนอายุ ๗๓ แล้ว ตามไปอ่านแล้วก็รู้สึกดี

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

บุรชัย
เขียนเมื่อ

ผมไม่ว่างไปเขียนบทความให้ วิกิพีเดีย มาสัก ๔ ปีน่าจะได้ ช่วงนี้พอมีเวลา เลยต้องมาปััดฝุ่น (ลืมวิธีฟอร์แมตไปแยะ)

ผมเพิ่งพบว่า ยังไม่มีบทความของนักเขียนสารคดีภาษาไทยท่านหนึ่งที่ผมชื่นชอบในการใช้ภาษาไทยแบบง่ายๆ ของท่าน ก็เลยไปตุ๊ยไว้วันนี้ ๑ เรื่อง ตั้งแต่ 0 จนเสร็จ เหลือแต่ฟอร์แม็ตเล็กๆ น้อยๆ ที่นี่

http://th.wikipedia.org/wiki/สมศรี_สุกุมลนันทน์

(ลิงก์ของ GotoKnow มันมีข้อบกพร่องภาษาไทย ลิงก็ไม่สมบูรณ์ครับ)

แล้วจากนี้ไปก็จะปล่อยให้คนอื่นเอางานนี้ไปทำต่อ ต้มยำ แก้ฟอร์แมตกันเองต่อไป

จะมีวิธีใดแสดงความขอบคุณ และ ตอบแทนท่านที่ผมชื่นชอบได้ดีกว่านี้ 

 

 



ความเห็น (3)

ชื่นชอบท่านมากเช่นกันค่ะ จำได้ว่าท่านเขียนถึงตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องใช้สรรพนามใดๆประทับใจทุกๆเรื่องที่ท่านคิด ท่านเขียน อ่านใน "สตรีสาร"มาตั้งแต่เริ่มอ่านหนังสือออกจนกระทั่งหนังสือปิดตัวไปเลยค่ะ คิดถึงคุณย่าบก.นิลวรรณ ปิ่นทองด้วย 

คอเดียวกันครับ ผมคิดว่า คนยุคนี้ใช้ภาษาไทยเยิ่นเย้อ ไม่กระชับเหมือนท่านอาจารย์

ขอบคุณที่มาเยี่ยมเยือนให้กำลังใจประจำครับ

ชอบมากค่ะ ท่านอาจารย์สมศรีทันสมัย ล้ำยุคสตรีช่วงนั้นมาก

บุรชัย
เขียนเมื่อ

พวกหนอนหนังสือที่ใฝ่ฝันอยากมีห้องสมุดส่วนตัวในบ้าน (ผมด้วย) อาจจะไปมองหาแรงบันดาลใจได้จากที่นี่ (ชื่อเว็บมันตลกฝรั่งนะครับ อย่าไปซีเรียส) ผมเรียกลูกสาวผม คนคอเดียวกันมาดู ต้องร้องว้าว ด้วยความตื่นตา

ให้ไว้เผื่อกระตุ้นให้ใครอยากอ่านหนังสือจาก dead trees ได้บ้าง แทนที่จะอ่านแต่ ebook จนปวดตา ได้สูดกลิ่นกระดาษหอมๆ กลิ่นหมึกพิมพ์ และสัมผัสเนื้อเนียนๆ ของกระดาษหนาๆ โอ้ว ได้เอาดินสอ 2B ไปขีดเขียนอะไรๆ เพื่อทำ annotation เผื่อว่าอีกร้อยปีข้างหน้าลูกหลานจะมาเจอลายมือเราเข้า (ถ้าไม่ขายซาเล้งไปรีไซเคิลเป็นกระดาษชำระเสียก่อน) !

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท