อนุทินล่าสุด


บุญญฤทธิ์ ผอนวล
เขียนเมื่อ

พอพูดถึงคอมมิวนิส คนก็เกียจ
พอพูดถึงการรรวมกลุ่มพลังประชาชน คนก็ชอบก็รัก
ทุกอย่างขึ้นกับทัศนคติ ขึ้นอยู่กับกาารปลุกปั่นของสื่อ และประเทศมหาอำนาจแค่นั้น
สองพันปีก่อนใช้คำว่า ศาสนา ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
พันห้าร้อยปีต่อมาใช้คำว่า ความเจริญ ล้มล้างวัฒนธรรม และฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
สี่ร้อยปีต่อมาใช้คำว่า ระบอบการปกครอง และเชื้อชาติ ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ทุกสิ่งเพื่ออำนาจและผลประโยชน์..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/592057



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
บุญญฤทธิ์ ผอนวล
เขียนเมื่อ

แค่ "เปลี่ยนทัศนคติ" ก็คิดอย่างเป็นระบบได้แล้ว
ปกติมนุษย์จะมองทุกอย่างในมุมของตนเองตัดสินในมุมมองและประสบการณ์ของตนเอง
เราก็แค่
๑. ลองคิดในมุมของผู้อื่น
๒. ถอยออกมามองภาพรวม
ตัวอย่าง เรากำลังคุยทะเลาะกับคนๆหนึ่งอยู่ เวลาเราทะเลาะกับใครแต่ละคนก็จะเสนอแต่แนวคิดของตนเอง
๑. ลองคิดในมุมของคนที่เราทะเลาะด้วยดูสิว่าเขามีเหตุผลอย่างไร ถ้าเราเป็นเขาเราจะทำอย่างไร
๒. ถอยความคิดออกมา มองดูคนสองคนทะเลาะกัน
แค่นี้ครับ ปัญหาก็ไม่เกิด การทะเลาะก็จะจบลงด้วยความเข้าใจ และได้แนวคิดเพิ่มมาปรับใช้ได้อีก..... อ่านต่อได้ที่:
https://www.gotoknow.org/posts/590603



ความเห็น (1)

เห็นด้วยครับ..เราลดอัตตาลง

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
บุญญฤทธิ์ ผอนวล
เขียนเมื่อ

ในวันหนึ่งเมื่อประมาณ 500 ปี ที่ผ่านมาในทวีปยุโรป ประวัติศาสตร์เล่มใหม่ได้เริ่มต้นขึ้น เข้าสู่ยุคที่ทะเลเป็นสีดำ ท้องฟ้ามืดมิดไปด้วยหมอกควันสีเทา เสียงเหล็กกระทบกันดังไปทั่วบริเวณท่าเรือ เหล่าขุนนางผู้ถือครองที่ดินได้ร่วมมือกับพ่อค้าและเปลี่ยนโรงนาเป็นเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ เหล่าทาสผู้ซื่อสัตย์ ทำงานท่ามกลางเสียงโหวกเหวกโวยวายด้วยความอ่อนล้าเหลือคณา เหล่านักปราชญ์ถูกจ้างเข้ามาดูแลควบคุมเหล่าทาสและเครื่องจักรโดยมีข้อเสนอเป็นค่าจ้างอันมหาศาล
วันหนึ่ง เหล่านักปราชญ์ก็ถูกปลุกขึ้นมาพร้อมฝันร้าย ปัญหานานับปการได้เร่งเข้ามาให้พวกเขาแก้อย่างไม่หยุดหย่อนในแต่ละวัน หลายคนเครียดหนัก หลายคนลาออกไปปลูกผัก หลายคนแจ้งต่อเหล่าขุนนางถึงความเป็นไปดังนั้น จึงได้มีการประชุมครั้งใหญ่ขึ้น หลังจากการหารือกันทั้งหลายฝ่าย จึงได้ข้อสรุปออกมาว่าต้องให้ความรู้แก่แรงงานซึ่งเข้ามาทำงาน หลังจากนั้นจึงมีการเปิดโรงเรียนทางวิชาการ อย่างเป็นทางการขึ้น
จากเดิมที่ต้องเดินทางรอนแรมไปพบปะพูดคุยกับนักปราชญ์เพื่อให้ได้ความรู้ ก็ไม่ต้องแล้ว ทุกคนสามารถเข้าเรียนได้โดยมีความรู้สำเร็จรูปให้กับทุกคน ความรู้ที่ป้อนให้กับเฟืองตัวใหม่ของเครื่องจักร ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อเจ้าของโรงงาน
พอทุกคนมีความรู้แล้วจึงมุ่งหน้าเข้าสู่โรงงานโดยหวังค่าตอบแทนอันมหาศาล ทิ้งเทือกสวนไร่นาการเกษตร มุ่งหน้าสู่ความหวังใหม่ เข้าไปเติมเฟืองที่เครื่องจักรไม่สามารถทำได้ พอเกิดมาต้องไปเรียน พอไปเรียนก็เข้าสู่ระบบ บริษัท



ความเห็น (1)
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
บุญญฤทธิ์ ผอนวล
เขียนเมื่อ

วัตถุนิยมเป็นเรื่อง ความเข้มแข็งของจิตใจ ผู้ใดจิตใจเข้มแข็งไม่ยอมจำนนต่อกิเลส(กิเลสในที่นี้หมายถึง บ้านหรู รถสวย สิ่งยั่วยุต่างๆในโลกวัตถุ)ย่อมเป็นผู้ชนะต่อตนเองและผู้อื่น
ก่อนหน้านี้ผู้พ่ายแพ้ต่อกิเลส ต่อผู้ชนะกิเลสจะเป็น 80/20 เราจึงพบเหเห็นคนรวยมั่งมี 20% คนยากจน 80% หลังจากนั้นคนมั่งมีใน 20% นั้น เมื่อมีทรัพย์สินมากเข้า เริ่มพ่ายแพ้ต่อกิเลส จึงเริ่มใช้ความได้เปรียบของตนเอาเปรียบผู้อื่น กฎ 80/20 จึงไม่เป็นเหมือนเดิมอีกต่อไป ทุกวันนี้เหลือประมาณ 98/2 เท่านั้น

แล้วเราจะต้องทำอย่างไรเมื่อผู้มีความได้เปรียบมากกว่ามาเอาเปรียบ?

1. อย่างแรกต้องชนะใจตนเองให้ได้ พอชนะใจตนไม่หลงในวัตถุ ไม่หลงในกิเลส ก็จะมีทรัพย์เหลือมากขึ้น ไม่ลำบาก
2. มองหาแต่ข้อดีของทุกอย่าง เมื่อมองหาแต่ข้อดีก็จะเจอสิ่งดีๆ สิ่งที่เคยเป็นปัญหาก็จะกลายเป็นคำตอบ จะมองเห็นโอกาสมากยิ่งขึ้น
3. ลงมือทำสิ่งใหม่ๆที่ไม่คุ้นชิน ข้อนี้ยากมากสำหรับมนุษย์ที่ถูกปลูกฝังมาด้วยสังคมทุนนิยม และระบบการศึกษาในปัจจุบัน ที่เข้าความมั่นคงปลอดภัย เราต้องพยายามเริ่มต้นทำสิ่งดีๆที่เรามองเห็นจากข้อ 2. ลงมือทำโดยไม่ต้องกลัวความล้มเหลว หากเรายังมีคุณสมบัติในข้อ 2. อยู่ เราจะไม่พบกับทางตันแน่นอน ทุกปัญหาของเราจะมีคำตอบอีกนับร้อยคำตอบให้เราเลือกก้าวเดินไป

4. สุดท้ายใช้ชีวิตให้มีความสุข จากข้อ 3. จะทำให้เรามีทรัพย์เพิ่มมากขึ้น จากข้อ 2. เราจะมองเห็นแต่โอกาส จากข้อ 1. เรามีมีทรัพย์มากมาย จงอย่าลืมว่าชีวิตนั้นแสนสั้น จงใช้ชีวิตให้มีความสุข อย่ายึดติดกับ ทรัพย์ อย่ายึดติดกับ ยศถา ชื่อเสียง จงทำสิ่งที่อยากทำ ทำให้ผู้อื่นมีความสุขแล้วจะได้รับความสุขกลับมา ร้อยเท่าพันทวี..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/589517



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
บุญญฤทธิ์ ผอนวล
เขียนเมื่อ

มนุษย์นั้นยากสุดจะวัดได้ มนุษย์ผู้ใดยอมให้ผู้อื่นวัดจัดเกณฑ์ได้นั้นแสดงว่าโดนผู้อื่นเข้าครอบงำแล้ว..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/589006



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
บุญญฤทธิ์ ผอนวล
เขียนเมื่อ

ความสุขที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่ มีอะไร
แต่อยู่ที่ ได้ทำอะไรตังหาก



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
บุญญฤทธิ์ ผอนวล
เขียนเมื่อ

โลกนี้ ไม่มีความเท่าเทียมที่แท้จริง ฉันฑ์ใด ก็ไม่มี อิสรภาพที่แท้จริงฉันฑ์นั้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
บุญญฤทธิ์ ผอนวล
เขียนเมื่อ

ดูเหมืือนชีวิตของมนุษย์จะมีสองสิ่งที่ต่อสู้กันอยู่ เหมือนพระอินทร์ กำลังต่อสู้กำยักษ์
สองสิ่งนั้นคือ จิตแห่งความมั่นคงปลอดภัย กำลังต่อสู้กับ จิตแห่งอิสรภาพ
เมื่อความมั่นคงปลอดภัยชนะครั้งใดก็ก่อให้เกิดสังคมศักดินา ชนชั้น กฎหมาย และการจองจำ การปกป้อง
เมื่ออิสรภาพชนะครั้งใดก็เกิดเป็น การเดินทาง การแสวงหา การสำรวจ การลงทุน การต่อสู้ การสือสาร..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/587915



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
บุญญฤทธิ์ ผอนวล
เขียนเมื่อ

ค่านิยมที่ปลูกฝังกันมานั้นมันทำให้หลายๆอย่างแย่ลง



ทั้งพ่อแม่ที่สอนลูกให้ตั้งใจเรียน เกรดดีๆ จบมาจะได้มีงานที่มั่นคงทำ พอจบมาก็บอกให้ซื้อบ้านซื้อรถ เพื่อให้ ดู มั่นคง แล้วก็ก้มหน้าก้มตาใช้หนี้กันต่อไป ตามค่านิยม ยุคอุตสาหกรรม



ทั้งโรงเรียนเร่งสอนให้เรียนรู้วิชาการเรียนรู้โลกภายนอกจนเด็กไม่มีเวลาเรียนรู้ตนเอง ทั้งเรียนรู้รากเหง้า ทั้งเรียนรู้จิตใจของตนเอง ( โรงเรียนอนุบาลของเอกชนส่วนใหญ่ บังคับให้ครูเน้นปลูกฝังวิชาการ อีกทั้งเรียนพิเศษแก่เด็ก ไม่เน้นพัฒนาการ เด็กจะดูเหมือนเก่ง จบอนุบาลแต่เก่งกว่าเด็กประฐมต้น แต่พัฒนาการด้านร่างกาย สังคม วัฒนธรรมต่ำมาก โตมาก็จะมีวิจารณยานการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ น้อยกว่าเด็กที่ถูกเลี้ยงดูแบบดูกต้อง ควบคุมอารมณ์ยากกว่าเด็กปกติ เป็นปัญหาของสังคมต่อไป ) จะเห็นได้ว่า เด็กจบ ม.๖ มากกว่าร้อยละ ๙๐ ไม่รู้ว่าชอบอะไร อยากใช้ชีวิตอย่างไร และจะเห็นได้อีกว่าคนที่ประสบความสำเร็จอันดับต้นๆของประเทศ ร้อยละ ๙๐ รู้ว่าตนเองต้องการอะไรใจชีวิต ตั้งแต่ยังเด็ก
เด็กที่ยังไม่รู้จักตนเองจึงถูกปลูกฝังให้เข้าไปเป็นเครื่องมือของระบอบ อุตสาหกรรม ต่อไป



เราควบคุมอารมณ์ของตนเองยาก เหมือนดั่งเรายังเด็ก ตอนเด็กๆเราอยากได้ของเล่นแทบเป็นแทบตาย พอได้มาแล้วสามวัน เราก็เบื่อแล้วก็อยากได้ชิ้นใหม่ พอโตขึ้นของเล่นเราก็ชิ้นใหญ่ขึ้น เป็นกล้องรุ่นใหม่ มือถือใหม่ รถใหม่ บ้านใหม่ จนทำให้เราหลงระเริงอยู่กับวัตถุภายนอกไม่จบสิ้น ก้มหน้าก้มตาแสวงหาวัตุถ คิดว่าจะได้รับความสุขจากมัน แต่ก็ไม่เคยได้รับความสุขที่แท้จริง ซื้อรถใหม่มีความสุข รถสวยมีความสุข แต่หลังจากนั้นสามเดือนก็เริ่มทุกข์ กับการผ่อนรถ ทุกข์กับการอยากได้ของแต่งรถ ทุกข์กับค่าบำรุงรถ ทุกข์กับการขับรถ และสุดท้ายก็ทุกข์กับการอยากได้รถใหม่



สุดท้ายการเรียนรู้รากเหง้าของตนเอง เรียนรู้จิตใจและความต้องการส่วนลึกของตนเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์คนหนึ่ง ถูกชักจูงโดยวัตถุ โฆษณา สังคม ได้ยากขึ้น ทำอะไรที่ตนเองอยากทำ ทำให้ประสบความสำเร็จง่ายขึึ้น และที่สำคัญ ได้รับอิสระ จากโลกวัตถุนิยม..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/587175



ความเห็น (1)

เป็นอย่างนั้นจริงๆครับ..แข่งขันด้านวิชาการแต่ ทักษะชีวิตไม่ได้เรียนรู้อะไรมากมาย..เป็นผู้ใหญ่ก็ก็จะเป็นสังคมก้มหน้า.ไม่ดูไม่เห็นสังคมส่วนรวมว่าเป็นอย่างไร..แล้วประเทศชาติจะพัฒนากันอย่างไร..เห็นด้วยมากๆครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
บุญญฤทธิ์ ผอนวล
เขียนเมื่อ

การคิดถึงบ้าน ก็เป็นส่วนหนึ่งของ พีระมิด ของ มาสโล หมายความว่า จิตใต้สำนึกลึกๆนั้นยังโหยหาความปลอดภัยที่เราเคยมีอยู่ที่บ้าน ซึ่งก็เป็น "ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์"

การได้ออกเดินทางพบเจอสิ่งใหม่ ทำให้จิตใจเราเข้มแข็งขึ้น สามารถเผชิญกันความเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งใน "เคล็ดลับความฉลาดของชาวยิว" นั่นเอง

แต่หากว่าเราไม่ออกเดินทาง ก็เหมือนกับ มนุษย์ตัวจิ๋ว ในหนังสือชื่อ "ใครเอาเนยแข็งของฉันไป" สักวันหนึ่งความรู้สึกมั่นคงจะทำให้เราไม่รู้ว่าเนยแข็งหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ พอมารู้ตัวอีกทีก็ไม่มีเนยแข็งอีกแล้วโดยที่เราไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจรับมัน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท