ดอกไม้


ต้นโมกข์
เขียนเมื่อ

การอ่าน และผู้เรียนที่เป็นเด็ก (Reading and Young Learners) ตอนที่ 4

1.2 ความหมาย (Semantics)

ในการความสามารถในการถอดรหัส (decode) หรือการอ่านออกเสียงดังๆ จะมิใช่จะไร้ประโยชน์เสียแต่อย่างใด สัญลักษณ์นี้ส่งผ่านซึ่งความหมาย และเด็กๆสมควรที่จะได้เรียนถึงวิธีการเข้ารหัส (encode) ในตัวอักษร (symbols) หรือรูปวาด (visuals) เพื่อที่จะค้นหาสารต่างๆที่แบ่งปันกัน

1.3 โครงสร้าง (syntactics)

การที่ภาษาต่างๆมีระบบการใช้ตัวอักษรแตกต่างกัน ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่จะมีการเรียงลำดับคำที่แตกต่างๆกัน เราจำเป็นที่จะต้องเรียนไวยากรณ์ หรือโครงสร้างทางภาษาด้วยวิธีของ Krashen ซึ่งไม่ใช่การเรียนอย่างเป็นทางการ การรับรู้ภาษา (acquisition) เกิดขึ้นมาด้วยการรับภาษาอย่างหลากหลาย แต่ต้องมีบริบทอยู่ในนั้นด้วย การผ่าตัดภาษาจะไม่ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์ แต่กระบวนการอภิภาษา (metalanguage) สำหรับอายุ 10 ขึ้นไปน่าจะมีประโยชน์ เช่นการรู้ว่าคำใดเป็นคำนาม กริยา คุณศัพท์ คำนำหน้านาม (articles) สรรพนาม และการเรียงลำดับคำ ความแตกต่างระหว่างภาษาที่ 1 กับภาษาอังกฤษย่อมมีอยู่ หากให้เด็กๆได้ “สังเกต” ความแตกต่างตรงนี้น่าจะเป็นคุณมากกว่าโทษ

แปลและเรียบเรียงจาก

Wendy Arnold and Fiona Malcolm Reading and Young Learners. http://www.teachingenglish.org.uk/article/reading-young-learners?utmsource=facebook&utmmedium=social&utm_campaign=bc-teachingenglish
3
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท