ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ และหนูต้องขออภัยที่เขียนไม่ครบถ้วน น่าจะพลาดตอน copy มา paste ค่ะ แต่อาจารย์ก็เข้าใจ :-)
ระบบสุขภาพต้องพร้อมดูแลคนทุกกลุ่มค่ะ :-)
ประโยคช่วงท้ายๆ อาจารย์ตั้งใจจะเขียนแบบนี้หรือเปล่าคะอาจารย์ "สังคมที่มีช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนมาก คนอ่อนแอจะมาก สังคมที่ระบบการศึกษาอ่อนแอหรือคุณภาพต่ำ (อย่างไทย) คนอ่อนแอจะน้อย"
ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ เป็นบันทึกเล็กๆ ที่ให้ข้อคิดและให้ความรู้ในเวลาที่ต้องการพอดีเลยค่ะ :-)
เขียนดีขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ เริ่มต้นด้วย objective และ background ดีแล้ว แต่น่าจะตบท้ายอีกหน่อยว่าที่ประชุมมี action point อะไรต่อไปไหม? เช่น มติว่าจะร่วมกันทำอะไร หรือ ประชุมครั้งหน้าเมื่อไหร่ เป็นต้นหรือว่าแค่แลกเปลี่ยนกันอย่างเดียวจ๊ะ
นอกจากนี้ พี่ว่าถ้าใส่มุมมองหรือ reaction ของตัวเองต่อที่ประชุม ต่อคนเข้าร่วมประชุม หรือต่องาน เข้าไปด้วย บันทึกจะน่าสนใจยิ่งขึ้น
สู้ๆ ค่ะ
เพิ่งได้มาอ่าน แต่เขียนได้ดีค่ะ แบบนี้แหละจ๊ะ เขียนในสิ่งที่เราได้รับรู้ในเชิงประจักษ์ และเขียน reaction ที่เรามีต่อประสบการณ์นั้น
ส่งรายชื่อสื่อมวลชนและคนอื่นๆ ไปให้ในอีเมลแล้วนะคะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ
อีกอย่าง..เราจะสามารถเห็นภาพระหว่างการทำงานเพื่อช่วยเหลือน้องๆ เขาได้ไหมค่ะ อยากเห็นค่ะ
คุณปูเหมยต้องตอบให้ชัดก่อนว่าไปขอจากหน่วยงานไหนของประเทศพม่าค่ะ?? อีกอย่างที่อยากตั้งข้อสังเกต คือ พูดพม่าไม่ได้แล้วไปขอมาอย่างไรค่ะ?? แปลว่าคุณปูเหมยก็อาจจะไม่ทราบว่าหนังสือรับรองที่ขอมาเป็นหนังสืออะไรด้วยใช่ไหมค่ะ?? เพราะอาจจะอ่านหนังสือพม่าไม่ได้ด้วยหรือเปล่า?? หรืออาจจะสื่อสารกันผิดพลาดหรือเปล่าค่ะ??
ขออนุญาตแก้ไขค่ะ ค่าประกันสุขภาพ 1,300 บาท/ปี ค่ะ
สวัสดีค่ะอาจารย์พจนา ขอบคุณมากค่ะสำหรับความคิดเห็นและกำลังใจนะคะ :-)
ขออนุญาตแสดงข้อเท็จจริงเพิ่มเติมในบางประการนะคะอาจารย์
ซึ่งดิฉันก็หวังว่าการตั้งศูนย์ในประเทศไทยครั้งนี้จะส่งผลดีแบบนี้ได้บ้างค่ะ :-)
I do agree with what you've commented actually. People participation is always crucial not only for statelessness problems but for every issues, I believe. When I and my colleague set up a classroom for stateless people in Thammasat University, we heard a lot from stateless people and we knew that they have potential to solve their own problem by our guidance :-)
Anyway, thanks for your comments.
ได้ค่ะ..!!
อย่างที่อาจารย์แหววบอก คือ การมีสิทธิหรือการใช้สิทธิในสองสัญชาติไม่ได้เป็นอุปสรรคในการใช้สิทธิเพื่อเป็นผู้แทนทางการเมืองค่ะ
รัฐธรรมนูญกำหนดแค่คนสัญชาติไทยโดยการเกิดที่สามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ แต่ไม่มีข้อกำหนดเรื่องการถือสองสัญชาติแต่อย่างใดค่ะ
แต่ดูเหมือนพี่เพ้งจะคิดหนักสุดนะ :-)
ขอบคุณเพื่อนพัน ครูหยุย คุณวัฒนา และคุณต้นสเต็ก นะคะ จะนำเรื่องราวดีๆ มาแบ่งปันอีกค่ะ :-)
รู้สึกเหมือนเป็นชะตาบุญชะตากรรมอย่างที่อาจารย์แหววบอก.. เคยขอมาแชร์ด้วยคนค่ะ
เพิ่งวางสายจากอาจารย์ไปเมื่อกี้ คุณยอดรัก (คนพม่าที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ และ มีภรรยาเป็นคนสัญชาติไทย) ก็โทรมาพอดี
แกบอกว่า.. ตอนนี้แกอยู่สถานทูตพม่า แต่แกพูดภาษาพม่าไม่ได้ (แกพูดไทยใหญ่) ขอให้เตือนช่วยสื่อสารหน่อยว่า แกอยากได้หนังสือรับรองความเป็นโสด เหมือนกัน!!
พอเตือนคุยกับเจ้าหน้าที่ ก็ได้ความว่า..
"เมื่อปี 2005 มีการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายของพม่าว่า ไม่ให้สถานทูตหรือสถานกงศุลพม่าออกหนังสือรับรองความเป็นโสดให้ แต่สามารถเดินทางกลับไปขอที่ประเทศพม่าได้"
ขอบคุณค่ะครูหยุย แต่การขยับต่อไปในเชิงนโยบาย เตือนจะขอความสับสนุนอย่างใกล้ชิดจากครูหยุยด้วยจะได้ไหมค่ะ :-)
อาจารย์แหวว -- ขอบคุณค่ะ เดี๋ยวเตือนจะเพิ่มเติมรายละเอียดใน draft ที่ 2 ค่ะ
พี่เพ้ง -- นั่นแหละค่ะที่แปลก เอใช้ชื่อตัวเอง (เตือนได้เห็นจากเอกสาร) แต่ใช้ชื่อพ่อแม่และที่อยู่ของเพื่อนที่อยู่ที่เชียงตุง ซึ่งเพื่อนคนนั้นก็ไปพิสูจน์สัญชาติพม่าพร้อมๆ กับเอนี่แหละค่ะ แล้วก็ผ่านซะด้วย เตือนถามซ้ำไปซ้ำมาอยู่หลายครั้ง เป็นเรื่องแปลกจริงๆ นะคะ เลยต้องเอามาแชร์ค่ะ
'ไร้รัฐ' เพราะไม่ได้เคลื่อนไหวทางทะเบียน แปลกดีแท้.. แต่โดยสามัญสำนึกรู้สึกว่ามันไม่ถูกต้องยังไงก็ไม่รู้ค่ะ
-- ขอบคุณค่ะครูหยุย พรุ่งนี้จะมีการประชุมที่กรรมการสิทธิ หากมีความคืบหน้าอย่างไรเตือนจะมาแจ้งความคืบหน้านะคะ :-)
-- ขอบคุณคุณคณินด้วยค่ะ วันพรุ่งนี้ก็น่าจะทราบค่ะว่าจะมีการดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างไร จริงๆ อยากให้มีการมองทั้งระบบและช่วยกันแก้ไขปัญหามากกว่าการดูเป็นรายๆ ไป พรุ่งนี้น่าจะมีคำตอบค่ะ :-)
อาจารย์แหววก็พูดกับหนูบ่อยๆ เรื่องการคิดหรือทำแบบ "บูรณาการ"
อาจารย์ชอบพูดว่า.. "นี่ก็เรื่องเดียวกัน" "นั่นก็เรื่องเดียวกัน" "เอ็งมี 8 งาน แต่มันมี nature เดียวกันหมดเลย"
หนู.. งงๆๆๆๆๆๆ บางทีก็เข้าใจ บางทีก็ไม่เข้าใจ หรือบางทีก็ไม่พยายามจะเข้าใจ อิอิ
แต่ก็หวังว่าสักวันจะสามารถ คิดได้เช่นนั้น ทำได้เช่นนั้น ไม่มากก็น้อย เพื่อประโยชน์สูงสุดกับคนอื่นๆ บ้าง
ให้กำลังใจพี่ต้องค่ะ :-)
Thanks so much kha khun SR. I will try to do that kha :-)
ขอนุญาตช่วยอาจารย์ตอบคุณ prim ตามความรู้ที่ได้จาก อ.บุญมี ราชมีไชย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว นะคะ
เสริมจากอาจารย์แหวว ก็คือ
แจ้งเกิดและเพิ่มชื่อเด็กเข้าปื้มสำมะโนครัวลาว
จดทะเบียนสมรสกับสามีไทย
ออกอนุญาตเข้าเมืองไทย
อย่าลืมเอาบันทึกการติดตามอรนลินไปอำเภอพานทองมาลงด้วยนะจ๊ะ
รี่ลองเอาสิ่งที่รี่ได้ศึกษาจาก "พรบ.การรับบุตรบุญธรรม" รวมทั้ง "แนวปฏิบัติในการรับบุตรบุญธรรมจากบ้านราชวิถี" (จากการโทรไปสอบถาม) เขียนลงอีกบันทึกหนึ่งดีไหม และหากขยันๆ หน่อย จะลองแปลเป็นภาษาอังกฤษให้คุณ Jil ก็ได้นะ แล้วอาจารย์จะช่วยดูให้..
อันนี้ก็ถือว่าเป็นความช่วยเหลือที่เราได้ให้คำแนะนำทางกฎหมายให้เขาแล้วเหมือนกันนะคะ..
อ่านแล้วทำให้เข้าใจมากขึ้นว่า ต่อไปนี้สิ่งที่รัฐไทยต้องพยายามทำให้มากๆๆๆ ยิ่งขึ้น คือ "การดูแลคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ" ค่ะ..
อีกอย่าง คือ ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ถือกันอยู่ก็กำหนดไว้ชัดเจนค่ะว่า.. "รัฐจะอนุญาตให้มีการสละสัญชาติได้ก็ต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวจะไม่ตกเป็นคนไร้สัญชาติ" (ข้อ 8 แห่ง อนุสัญญายุโรปว่าด้วยสัญชาติ) เท่านั้น..!!