อนุทินล่าสุด


นาย ชัยวัฒน์ มัคคะที
เขียนเมื่อ

ท่านคิดว่า KM จะประยุกต์กับด้านสาธารณสุขได้อย่างไรบ้าง

สามารถนำการจัดการความรู้มาใช้กับด้านสาธารณสุขโดยนำมาวิเคราะห์ วินิจฉัย ความรู้ ประเภท ชนิด อาการของโรคเบื้องต้น รวมถึงอาการแทรกซ้อน แนวทางการรักษา ป้องกัน คำแนะนำเมื่อมีอาการหรือโรค เพื่อช่วยในการรักษาโรคของแพทย์  ซึ่งจะทำให้เกิดความสะดวกในการรักษา และรักษาได้ทันท่วงที อีกทั้งยังช่วยให้ความรู้แก่บุคคลทั่วไป เพื่อนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติในการป้องกันโรค และดูแลตนเองให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัย ตัวอย่างข้อมูลจัดการความรู้คือ โรคเบาหวาน

อาการเบื้องต้น

  1. ปวดปัสสาวะบ่อย ครั้งขึ้น เนื่องจากในกระแสเลือดและอวัยวะต่างๆมีน้ำตาลค้างอยู่มาก ไตจึงทำการกรองออกมาในปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะหวาน สังเกตุจากการที่มีมดมาตอมปัสสาวะ จึงเป็นที่มาของการเรียก เบาหวาน
  2. ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น
  3. กระหายน้ำ และดื่มน้ำในปริมาณมากๆต่อครั้ง
  4. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
  5. เบื่ออาหาร
  6. น้ำหนัก ตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน อันเนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปสร้างพลังงานได้เต็มที่จึงต้องนำ ไขมันและโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้ทดแทน
  7. ติดเชื้อบ่อยกว่าปรกติ เช่นติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร สังเกตุได้จากเมื่อเป็นแผลแล้วแผลจะหายยาก
  8. สายตาพร่ามองไม่ชัดเจน
  9. อาการชาไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องมาจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาทให้เสื่อมสมรรถภาพลงความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกจึงถดถอยลง
  10. อาจจะมีอาการของโรคหัวใจ และโรคไต

การวินิจฉัย 

หากสงสัยว่าเป็น เบาหวาน ควรไปตรวจเลือดที่โรงพยาบาลโดย อดอาหารและเครื่องดื่มทุกชนิด ตั้งแต่เที่ยงคืน แล้วไปเจาะเลือดในตอนเช้า เพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร6ชั่วโมง (FPG) ซึ่งคนปกติจะมีค่าต่ำกว่า 110 มิลลิกรัม ต่อเลือด 100 มิลลิลิตร หากพบมีค่า เท่ากับหรือมากกว่า 126 มิลลิกรัม ในการตรวจอย่างน้อย 2ครั้ง ก็วินิจฉัยได้ว่าเป็นเบาหวาน และยิ่งมีค่าสูงเท่าใดก็แสดงว่ามีความรุนแรงของการเป็นเบาหวาน เพิ่มมากขึ้น

อาหารที่ห้ามทาน

  • น้ำตาลทุกชนิด รวมไปถึงน้ำผึ้ง
  • ผลไม้กวนประเภทต่างๆ
  • ขนมเชื่อม ขนมหวานต่างๆ
  • ผลไม้ที่มีรสหวานมากๆ
  • น้ำหวานประเภทต่างๆ
  • ขนมทอดกรอบหรือชุบแป้งทอด

การป้องกัน

- ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และแก้ไขปัจจัยเสี่ยงอื่นๆอันจะก่อให้เกิดโรคเบาหวาน

- ควบคุมโภชนาการให้มีความสมดุลทั้งในด้านโภชนาการ

- การออกกำลังกาย รวมไปจนถึงการใช้ยารักษาโรคควรตรวจเช็คระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ โดยปรึกษาแพทย์ว่าควรตรวจเช็คเมื่อใด และ ระยะเวลาห่างในการตรวจที่เหมาะสมยาบางชนิดหรือยาสมุนไพร อาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา หรือ สมุนไพร เหล่านี้           

จากตัวอย่างความรู้โรคเบาหวานทำให้บุคคลทั่วไปรับรู้ และนำไปปฏิบัติถึงอาการเบื้องต้น แนวทางปฏิบัติ เพื่อป้องกันโรค

                                                                                                               



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาย ชัยวัฒน์ มัคคะที
เขียนเมื่อ

ท่านคิดว่า มีประเด็นอะไบ้างที่น่าจะเกี่ยวข้องกับการใช้ IT

- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมทางภูมิประเทศการจัดการทรัพยากรน้ำจากแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลลักษณะการขาดแคลนน้ำจากข้อเท็จจริง และจากคำบอกเล่าและข้อคิดเห็นของฝ่ายต่างๆตามเสด็จ

- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประมวลข้อมูลเกี่ยวกับสภาพของลำห้วยที่จะมีการพิจารณาสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำหรือฝาย  ปริมาณหรือระดับน้ำ  ลักษณะการไหลของน้ำ  ซึ่งได้จากการศึกษาคำนวณ

- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการโดยเปรียบเทียบค่าลงทุนกับประโยชน์ที่ราษฎรในท้องถิ่นจะได้รับ

- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูลพระราชกรณียกิจต่างๆและทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชกรณียกิจต่างๆ

- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ประโยชน์จากภาพถ่ายทางอากาศทั้งภาพปกติและภาพพิเศษประกอบแผนที่

- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากประชาชนเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ สภาพหมู่บ้าน สภาพดินฟ้าอาอาศ และน้ำ และเรื่องอื่นๆที่เป็นประโยชน์



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาย ชัยวัฒน์ มัคคะที
เขียนเมื่อ

นวัตกรรมและการสร้างความรู้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้

Innovation and Knowledge Creation as Parts of Knowledge Management

การสร้างความรู้และนวัตกรรม  ทั้งสองแนวคิดนี้มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกันอยู่ แต่นี้ความสัมพันธ์ของทั้งสองแนวคิดยังไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ ซึ่งในบทความนี้จะทบทวนการทำงานตามทฤษฎีซึ่งเน้นความคล้ายคลึงกันพื้นฐานและความแตกต่าง  รวมถึงการเชื่อมต่อระหว่างบริษัทกับพื้นฐานความรู้ของบริษัท และนวัตกรรม จากนั้นจึงทำการเปรียบเทียบผลหลักของการวิจัยบนการสร้างนวัตกรรมและความรู้  วัตถุประสงค์หลักในการวิจัยนี้คือบริษัทส่วนใหญ่สามารถพัฒนาเป็นหลักบนพื้นฐานของบรรทัดฐานทางสังคมและค่านิยมที่มีอยู่แล้วในความสัมพันธ์ทางสังคมของบริษัท ในการเปิดที่มีอิทธิพลย่างไรต่อวิธีการที่บริษัทพัฒนาและใช้ความรู้พื้นฐานจึงที่มีอิทธิพลต่อกลยุทธ์นวัตกรรม  ซึ่งเป็นที่มาของแนวคิดการสร้างนวัตกรรมและความรู้ในองค์กร

แนวคิดการสร้างนวัตกรรมและความรู้ในองค์กร

ความหมายของนวัตกรรมรวมถึงแนวคิดของนวัตกรรมเชิงพาณิชย์หรือการดำเนินการ  นวัตกรรมประกอบด้วยรุ่นของความคิดใหม่และการดำเนินงานลงในผลิตภัณฑ์ใหม่กระบวนการหรือบริการที่นำไปสู่​​การเจริญเติบโตแบบไดนามิกของเศรษฐกิจของประเทศและการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานเช่นเดียวกับสร้างจากกำไรสำหรับองค์กรธุรกิจนวัตกรรม Afuah หมายถึงนวัตกรรมใหม่  ความรู้ที่จัดตั้งขึ้นในผลิตภัณฑ์กระบวนการและบริการ จัดประเภทนวัตกรรมตามตลาดเทคโนโลยีและลักษณะการบริหาร/องค์กร  ดังแสดงในตาราง

การจัดหมวดหมู่ทั่วไปของนวัตกรรม


ความรู้ที่ได้รับกำหนดให้เป็น เชื่อแสดงให้เห็นความจริงที่ว่าจะเพิ่มความสามารถขององค์กรในการกระทำที่มีประสิทธิภาพและประกอบด้วยสองมิติ: Tacit และExplicit โดยมิติ Tacit โดยปริยายอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ความคิดและความรู้สึกในบริบทที่เฉพาะเจาะจง  และประกอบด้วยของส่วนประกอบทั้งองค์ความรู้  และเทคนิคมิติที่ชัดเจนของความรู้เป็นเสียงก้อง  ประมวลกฎหมายและมีการสื่อสารโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งอาจจะจัดเป็นวัตถุที่ใช้หรือตามกฎ ดังนั้นองค์กรสร้างความรู้ใหม่ผ่านการแปลงและปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งฝังลึกและความโปร่งใสความรู้  โดยตารางด้านล่างคือโหมดการแปลงความรู้

โหมดการแปลงความรู้


การผสมผสานตัวแบบทั่วไป

วัตถุประสงค์แรกเริ่มคือการเชื่อมต่อระหว่าบริษัทกับพื้นฐานความรู้ของบริษัท และนวัตกรรม จึงนำเสนอตัวแบบนี้และทบทวนองค์ประกอบส่วนบุคคลของตัวแบบ จะทำเช่นนี้โดยนำเสนอตัวแบบถ้า(if-else)  เพื่อให้การแสดงความหมายในระดับนโยบายของบริษัท ดังรูป

สรุปผล

วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยนี้คือความสามารถของบริษัทในการพัฒนาบนพื้นฐานของบรรทัดฐานทางสังคมและค่าที่มีอยู่แล้วในความสัมพันธ์ทางสังคมของบริษัท นี่คืออิทธิพลที่เป็ยวิธีที่บริษัทพัฒนาและนำไปใช้เป็นพื้นฐานความรู้  ซึ่งมีอิทธิพลต่อกลยุทธ์นวัตกรรม  บริษัทที่ผูกขาดหรือผู้ขายน้อยรายที่ดีเหมาะสำหรับการดูแลผลิตภัณฑ์ของนวัตกรรมถือเป็นความจริงที่ผลิตภัณฑณ์ของนวัตกรรมน่าเป็นห่วง สำหรับกระบวนการนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง  ความหมายของบทความคือสิ่งที่ดีที่สุดมีแนวโน้มที่บริษัทที่มีระดับหนึ่ง นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าบริษัทที่มีตลาดที่มุ่งเน้นและสัมผัสกับการแข่งขันที่ดีเหมาะสำหรับการดูแลชนิดของนวัตกรรมเหล่านี้


ที่มา : www.ipedr.com/vol14/54-ICIMS2011S20009.pdf
ไฟล์ต้นฉบับ : IKCPKM.pdf


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นาย ชัยวัฒน์ มัคคะที
เขียนเมื่อ

ในองค์กรของท่านมีการใช้งาน KM ในแต่ละงานอย่างไร/ประมาณไหนบ้าง?

มีการใช้ KM คือมีการบันทึกการทำงานโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการเก็บอุปกรณ์ทางคอมพิวเตอร์ต่าง เช่น อุปกรณ์ชื่อ รุ่น ยี่ห้ออะไร มีจำนวนเท่าไหร่ สภาพความพร้อมการใช้งานเป็นอย่างไร ระยะเวลาการใช้งาน  สถานที่จัดเก็บหรือใช้งาน  ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและใช้บ่อยครั้งมาช่วยในการทำงาน  เพื่อตรวจสอบสภาพความพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์  อีกทั้งยังต้องจัดเก็บข้อมูลในเชิงสถิติ  เพื่อง่ายในการตรวจสอบและประเมินผลในองค์กร  หากอุปกรณ์ขาดแคลน ชำรุดหรือเสียหาย  ก็สามารถแจ้งฝ่ายพัสดุดำเนินการซื้อหรือแจ้งซ่อมได้ทันที  โดยไม่เสียเวลาตรวจสอบนาน  เพราะมีการนำองค์ความรู้มาช่วยในการใช้งานในองค์กร



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท