อนุทินล่าสุด


นางสาวอาทิตยา จันที
เขียนเมื่อ

  เคมี

  เคมี คือ  วิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและองค์ประกอบของสสาร  การเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นในองค์ประกอบของสสารนั้น  และกลไกของปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น
ความสำคัญของเคมี เคมีได้วิวัฒนาการมาจากการเข้าใจธรรมชาติ จึงมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันมากมาย เช่น

  - อาหาร เคมีทำให้รู้จักคุณค่าของอาหารและการถนอมอาหาร รวมทั้งการประดิษฐ์อาหารและผลิตภัณฑ์

  - เครื่องนุ่งห่ม เคมีทำให้รู้จักสีย้อมผ้า และเส้นใย

  - ยาและสุขภาพอนามัย เคมีทำให้เกิดการพัฒนาทางการแพทย์ และลดอัตราการตายของประชากร

  - ที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ เคมีสร้างความสะดวกสบายให้เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน


 
    ขอบเขตเนื้อหาที่สนใจร่วมกันระหว่างวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ และวิชาเคมี อาจแบ่งเป็น

1. เคมีอินทรีย์ (Organic Chemistry) เป็นวิชาเคมีที่ศึกษาเกี่ยวกับสารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ

2. เคมีอนินทรีย์ (Inorganic Chemistry) เป็นวิชาเคมีที่ศึกษาเกี่ยวกับสารที่เกิดมาจาก
แร่ธาตุต่างๆ โดยตรง

3. เคมีวิเคราะห์ (Analytical Chemistry) เป็นวิชาเคมีที่ศึกษาถึงวิธีหาส่วนประกอบของสารทั้งในด้านคุณภาพวิเคราะห์ และปริมาณวิเคราะห์

4. เคมีฟิสิกส์ (Physical Chemistry) เป็นวิชาเคมีที่ศึกษาถึงความจริง กฎ และทฤษฎีต่างๆ ที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงของสาร

5. ชีวเคมี (Biochemistry) เป็นวิชาเคมีที่ศึกษาถึงกระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้นใน

  สิ่งมีชีวิตและสารต่างๆ ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิต
นอกจากนี้ เคมียังแปรสาขาย่อยออกไปได้อีก เช่น เคมีไฟฟ้า เคมีนิวเคลียร์  เคมีธรณี เคมี-วิศวกรรม เคมีอุตสาหกรรม เคมีเภสัช เคมีเทคนิค เคมีอาหาร  เคมีเกษตร เคมีดาราศาสตร์ เคมีนิเวศวิทยา เป็นต้น

  ** ประวัติโดยย่อของเคมี **
  วิวัฒนาการของวิชาเคมีแบ่งออกเป็นยุคต่างๆ ดังนี้

  ยุคก่อนประวัติศาสตร์ - ค.ศ. 500

- ชาวอียิปต์เป็นชนชาติแรกที่รู้จักใช้วิธีการทางเคมี และคำว่า Chemeia มีปรากฏในภาษา
อียิปต์

- เดโมคริตัส (นักปราชญ์ชาวกรีก)  แสดงความคิดเห็นในเรื่องโครงสร้างของสารโดยคิดหาเหตุผลเพียงอย่างเดียว  ไม่ได้ทำการทดลองประกอบให้เห็นจริง

- อริสโตเติล รวบรวมทฤษฎีเกี่ยวกับสสาร โดยสรุปว่า สสารต่างๆ  ประกอบขึ้นด้วยธาตุ 4 อย่าง คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ  ในสัดส่วนที่ต่างกันสำหรับสสารที่ต่างชนิดกัน

  ยุคการเล่นแร่แปรธาตุ

  ค.ศ. 500 - ค.ศ. 1500 (ตอนต้นของยุคนี้)
- นักเคมีสนใจในเรื่องการเล่นแร่แปรธาตุให้เป็นทองคำ แต่ไม่ค่อยพบความสำเร็จเลย

  ประมาณ ค.ศ. 1100
- ความรู้ทางเคมีได้แพร่เข้าสู่ยุโรป ในปลายยุคนี้นักเคมีล้มเลิกความสนใจการเล่นแร่แปรธาตุ
- เริ่มสนใจค้นคว้าหายาอายุวัฒนะที่ใช้รักษาโรค

  ยุคการเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะ (ค.ศ. 1500 - 1600)

- เป็นยุค Latrochemistry

- นักเคมีพยายามค้นคว้าหายาอายุวัฒนะและบรรดายารักษาโรคต่างๆ

  ยุคปัจจุบัน (ค.ศ. 1627 - 1691)

- เริ่มต้นจาก Robert Boyle "ศึกษาเคมีเพื่อเคมี"

- Robert Boyle "ศึกษาเคมีเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของเคมีโดยเฉพาะ" และ  "ใช้วิธีการทดลองประกอบการศึกษาเพื่อทดสอบความจริงและทฤษฎีต่างๆ"

- เลิกล้มทฤษฎีของอริสโตเติลที่เกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ

  ลาวัวซิเยร์ (ค.ศ. 1743 - 1794) เป็นผู้ริเริ่มเคมียุคปัจจุบัน

  สตาฮ์ล (Stahl : ค.ศ. 1660 - 1734) ตั้งทฤษฎีฟลอจิสตัน (Phlogiston Theory)

  ลาวัวซิเยร์ ตั้งทฤษฎีแห่งการเผาไหม้ขึ้น ยังผลให้ทฤษฎีฟลอจิสตันต้องเลิกล้มไป

  John Dalton (ค.ศ. 1766 - 1844) ตั้งทฤษฎีอะตอม  ซึ่งเป็นรากฐานของเคมีสมัยใหม่ แต่ทฤษฎีอะตอมก็ต้องล้มเลิกไป  เนื่องจากอะตอมที่แสดงพฤติกรรมได้ทั้งอนุภาคและคลื่น
  สสารและการจำแนกสสาร

  สสาร คือ สิ่งที่ต้องการที่อยู่ มีมวล อาจสัมผัสได้ แบ่งออก 3 สถานะ คือ ก๊าซ ของเหลว และของแข็ง สมบัติของสสาร แบ่งออกได้เป็น

- สมบัติทางกายภาพ หมายถึง  สมบัติของสสารที่สังเกตได้โดยไม่ต้องใช้ปฏิกิริยาเคมี เช่น สี กลิ่น รส  หรือสถานะที่อุณหภูมิปกติ ปริมาณการละลายน้ำ การนำความร้อนและไฟฟ้า เป็นต้น

- สมบัติทางเคมี  เป็นสมบัติของสสาร  ซึ่งทราบโดยการสังเกตปฏิกิริยาของสารเมื่อสัมผัสกับสารเคมี เช่น  ไฮโดรเจนไหม้ไฟในออกซิเจน กรดสะเทินกับเบส เป็นต้น

  การเปลี่ยนแปลงของสสาร จำแนกออกเป็น

- การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เป็น การเปลี่ยนแปลงที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนองค์ประกอบของสาร  รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร เช่น การหลอมเหลว การระเหย เป็นต้น

- การเปลี่ยนแปลงทางเคมี  เป็นการเปลี่ยนแปลงในสาร  ซึ่งองค์ประกอบของมันเปลี่ยนไปจากสารหนึ่งไปเป็นอีกสารหนึ่ง เช่น  การรวมตัวของซัลเฟอร์กับออกซิเจนเป็นซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น

  การจำแนกสาร สามารถจำแนกได้เป็น

1. สารวิวิธพันธ์ คือ สสารที่มีส่วนต่างๆ และสมบัติแตกต่างกัน เช่น หินแกรนิต ดินปืน น้ำโคลน

2. สารเอกพันธ์ คือ สสารที่มีสมบัติเหมือนกันโดยตลอด แบ่งออกได้เป็น สารละลาย และสารบริสุทธิ์

  - สารละลาย คือ ของผสมที่มีเนื้อเดียวกันตลอด เช่น  น้ำตาลละลายน้ำ อากาศเป็นสารละลายของแก๊สต่างๆ โลหะผสม เช่น ทองเหลือง  (ทองแดงกับสังกะสี) จัดว่าเป็นสารละลายของแข็ง

  - สารบริสุทธิ์ คือ สารที่มีสมบัติอย่างเดียวกัน และมีองค์ประกอบที่แน่นอนอย่าง-เดียวกัน เช่น น้ำตาล น้ำ เกลือแกง ทองแดง โดยสารบริสุทธิ์แบ่งออกเป็น สารประกอบและธาตุ

  สารประกอบ คือ  สารบริสุทธิ์ ซึ่งสารอาจถูกแยกออกเป็นสารอื่นๆ 2 สาร หรือมากกว่า  โดยวิธีเคมีธรรมดา เช่น น้ำ เพราะสามารถแยกออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจน

  ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นสารที่ไม่สามารถแยกสลายด้วยวิธีเคมีธรรมดา โดยมีธาตุร้อยละโดยมวลดังนี้


 
    โลหะ หมายถึง  ธาตุที่มีสมบัตินำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มีจุดหลอมเหลวสูง  เหนียวตีเป็นแผ่นได้ โลหะไม่รวมตัวกับโลหะ  แต่จะรวมตัวกับอโลหะเกิดสารประกอบได้

  อโลหะ หมายถึง ธาตุที่ไม่มีสมบัตินำไฟฟ้าและความร้อน จุดหลอมเหลวและความหนาแน่นต่ำ สามารถรวมตัวกันเองเกิดเป็นสารประกอบได้

  กึ่งโลหะ หมายถึง ธาตุที่มีสมบัติระหว่างโลหะกับอโลหะ

ข้อมูลจาก:http://www.kroobannok.com/blog/33026



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท