อนุทินล่าสุด


ผศ. อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์
เขียนเมื่อ

เมื่อองค์การจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยน องค์ประกอบที่สำคัญ 6 ด้านต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา 1.เป้าหมายและกลยุทธ์ (Goals and strategies) องค์การมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน ป้าหมายและกลยุทธ์ไปสู่เป้าหมายใหม่ เช่น เมื่อมีการขยายกิจการหรือเมื่อต้องเสนอสินค้าหรือบริการตัวใหม่เข้าสู่ตลาด เมื่อต้องแสวงหาตลาดใหม่เพื่อรองรับสินค้า เป็นต้น 2. เทคโนโลยี (การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยถึงระดับสำคัญ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สายตรง เป็นระบบเครือข่ายให้ลูกค้า สามารถเข้าถึงสินค้าและใช้บริการได้สะดวก ถือเป็นการเปลี่ยนเทคโนโลยีระดับเล็กน้อย แต่ถ้าทั้งกิจการต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมดเพื่อการผลิตให้ทันสมัย ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่ 3. การออกแบบงานใหม่ (Job redesign) องค์การจำเป็นต้องจัดงานออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ใหม่ให้มีระดับความมากหรือน้อย 4.โครงสร้าง เช่น จัดโครงสร้างแบบตามหน้าที่หรือแบบที่เน้นผลผลิต จะมีความเป็นทางการและรวมศูนย์เพียงไร เน้นแบบแนวราบหรือแนวตั้ง (Flat or tall structure) หรือแบบเครือข่าย (Networking) เป็นโครงสร้างแบบจักรกล (Mechanic structure) หรือแบบสิ่งมีชีต ( Organic structure) เป็นต้น 5. กระบวนการ เป็นขั้นตอนการทำให้งานสำเร็จ จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง เช่น แทนที่เคยทำตามลำดับเป็นขั้นตอน ไปเป็นการร่วมทำพร้อมกันจนงานสำเร็จ 6.คน หรือ บุคลากรที่เคยปฏิบัติงานในองค์การจำเป็นต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเมื่อเงื่อนไขอื่นมีการเปลี่ยนแปลงไป สามารถทำได้ 2 วิธี วิธีแรกปรับเปลี่ยนคนออกแล้วจ้างคนที่เหมาะสมกับภารกิจใหม่เข้าแทนเรียกว่าถ่าย “เลือดใหม่” (New blood) วิธีที่สองใช้วิธีเปลี่ยนแปลงคนเดิมด้วยการพัฒนาฝึกอบรมด้านทักษะและเจตคติที่สอดคล้องกับงานใหม่ เป็นต้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ผศ. อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์
เขียนเมื่อ

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร (Organizational Chang)การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรจะเกิดได้จากสถานการณ์ต่อไปนี้1. เกิดวิกฤตอย่างรุนแรงต่อองค์กร (A Dramatic Crisis Occurs) เช่น มีปัญหาทางการเงิน ลูกค้ารายใหญ่ๆ หันไปซื้อสินค้าจากคู่แข่ง กรณีนี้องค์กรต้องทบทวนเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรทันที2. มีการเปลี่ยนแปลงผู้นำ (Leadership Chang ) ผู้นำใหม่อาจมีวิสัยทัศน์หรือมีความสามารถตอบสนองสถานการณ์ได้ดีกว่าผู้นำคนเดิม จึงทำการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร3. องค์กรที่ใหญ่และมีขนาดเล็ก (The Organization is Young and Small) วัฒนธรรมองค์กรยังไม่ฝังรากลึก ผู้บริหารสามารถปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมได้ไม่ยาก4. องค์กรที่มีวัฒนธรรมอ่อนแอ (The Culture is Weak) ไม่เป็นที่ยอมรับในส่วนใหญ่ของพนักงาน ลักษณะเช่นนี้จะมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรได้ง่ายกว่าองค์กรที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง

ขั้นตอนในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร (The Road to Cultural Change) ได้แก่• วิเคราะห์ให้เห็นว่าวัฒนธรรมเดิมไม่เหมาะสม ควรเปลี่ยนแปลง• ชี้แจงกับพนักงานอย่างชัดเจนว่าองค์กรจะไปไม่รอด หากไม่เปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม• แต่งตั้งผู้นำหรือผู้บริหารคนใหม่ที่มีวิสัยทัศน์• ริเริ่มให้มีการเปลี่ยนแปลงการจัดองค์กร• นำเสนอเรื่องราวและพิธีการใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ใหม่• เปลี่ยนกระบวนการคัดเลือกบุคลากร การปรับตัวสู่สัมคม การประเมินผลและระบบการให้รางวัลเพื่อสนับสนุนค่านิยมใหม่



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ผศ. อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์
เขียนเมื่อ

วันที่ 15 สิงหาคม 2561 ผู้ช่วยศาสตราจารย์อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์ ร่วมพิธีกตัญญู กตเวทิตาคุณ ท่าน ดร.ณรงค์ มงคลวณิช เนื่องในวันรำลึกผู้ก่อตั้ง 3 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยสยาม เทคโนโลยีสยาม(สยามเท็ค) และวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามระดับอุดมศึกษา ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เขตบางกอกใหญ่ แขวงวัดท่าพระ กทม.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ผศ. อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์
เขียนเมื่อ

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร (Changing Organizariona Culture) วัฒนธรรมองค์กรเป็นสิ่งที่สั่งสมในองค์กรมาเป็นเวลานาน เมื่อความคิดหรือการปฎิบัติใดถือป็นวัฒนธรรมองค์กรขององค์กรใดแล้ว ก็มักจะคงอยู่อย่างถาวรในองค์กรนั้น ยิ่งเป็นวัฒนธรรมขององค์กรที่เข้มแข็งมากเท่าใดก็จะยากที่จะเปลี่ยนแปลงได้ เพราะพนักงานในองค์กรนั้นมีความคุ้นเคยกับความคิดหรือการปฏิบัติจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตในที่ทำงาน เมื่อเวลาและสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนไป วัฒนธรรมขององค์กรอาจจะล้าสมัยไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ใหม่ๆ ดังนั้นผู้บริหารองค์กรมีหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์การ แต่ก็เป็นเรื่องที่ยาก และจำเป็นต้องใช้เวลานานนับปีหรือหลายปีกว่าจะสามารถเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ผศ. อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์
เขียนเมื่อ

ขอบเขตความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคม

การสร้างและการรักษาลูกค้าเป็นวัตถุประสงค์สำคัญขององค์กรปัจจุบัน การให้ความสำคัญ ความคุ้มครองและผลประโยชน์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นเรื่องที่องค์กรที่มีคุณภาพจะต้องคำนึงถึง ได้แก่ 1. ความรับผิดชอบขององค์กรต่อผู้ลงทุน หรือผู้ถือหุ้น องค์กรต้องตอบสนองต่อผู้ลงทุนด้วยอัตราตอบแทนการลงทุนที่เป็นธรรม การรับผิดชอบต่อสังคมเป็นการลงทุนในระยะยาว การปฏิบัติอย่างมีจริยธรรมจะเป็นการนำองค์กรไปสู่ผลกำไรอย่างแท้จริง องค์กรจะมีความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง 2. ความรับผิดชอบชอบต่อบุคลากร รับฟังความคิดเห็นอย่างเป็นธรรม การให้รางวัลกับบุคลากรที่ปฏิบัติงานดีเด่น คำนึงถึงสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความปลอดภัยในการทำงาน มีการจูงใจ ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของพนักงาน 3. ความรับผิดชอบขององค์กรต่อลูกค้าและกลุ่มที่มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ผู้ค้าร่วม ผู้ขายวัตถุดิบ การสร้างและรักษาลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์ ราคาที่ยุติธรรม การผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและผู้ขายวัตถุดิบ 4. ความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ผศ. อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์
เขียนเมื่อ

จริยธรรมทางธุรกิจและจรรยาบรรณของผู้บริหารองค์การธุรกิจที่ดีมีลำดับขั้นตอนต่อความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมุ่งที่กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพิ่มขึ้นตามลำดับดังนี้ • ขั้นที่ 1 มุ่งที่ผู้ถือหุ้น โดยหาวิธีลดต้นทุนและแสวงหากำไรสูงสุดภายใต้กฏหมาย โดยไม่ต้องคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น ขั้นนี้เป็นไปตามทัศนะดั้งเดิมของ Friedman • ขั้นที่ 2 ผู้บริหารจะเพิ่มความรับผิดชอบไปยังพนักงาน (Employees) ให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การสรรหา การรักษา การจูงใจพนักงาน คำนึงถึงสภาพแวดล้อมของที่ทำงาน สิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่างๆ • ขั้นที่ 3 ผู้บริหารจะเพิ่มความรับผิดชอบไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่น เช่น ลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ การกำหนดราคาที่เป็นธรรม การผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัยกับลูกค้า การสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อผู้ขายวัตถุดิบ • ขั้นที่ 4 ถือเป็นขั้นสูงสุดของความรับผิดชอบ ผู้บริหารจะรับผิดชอบต่อสังคมทั้งหมด การดำเนินงานขององค์การคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม และเน้นรักษาโลก และสิ่งแวดล้อม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ผศ. อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์
เขียนเมื่อ

ผศ. ดร.สุรางค์ บุญยะพงศ์ไชย และ ผศ.อารีย์ แผ้วสกุลพันธ์ ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ปีการศึกษา 2560 วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท