Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

คำตอบ


มีเรื่องอยากให้ช่วยตอบเกี่ยวกัยสัญชาติค่ะ

นันท์กฤตา ปิยะพันธ์

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ไปร้องขอสิทธิอาศัยถาวรก็ได้ค่ะ ไปติดต่อสำนักงานทนายความซิคะ มีเอกสารกรอกวุ่นวายเหมือนกัน

ในส่วนการแปลงสัญชาติเป็นไทยนั้น ก็เป็นไปได้ที่จะร้องขอ แต่การได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ง่ายเลยค่ะ

ขอสัญชาติ 7 ทวิ

จัตุรงค์

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คำถามตอบแรก ฝากไปบอกอำเภอเชียงดาวว่า กฎหมายบอกให้ปลัดช่วยประชาชนทุกคนในพื้นที่ แล้วฝากบอกถามอีกว่า ปลัดช่วยเหลือประชาชนแล้วยังคะ 

ดูจากข้อเท็จจริง คุณจะมีสัญชาติไทยได้ หากมีคณะรัฐมนตรีมีมติให้ได้สัญชาติไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งอนุญาตให้มีสัญชาติไทย

ในปัจจุบัน มีมติคณะมนตรีเพื่อให้สัญชาติไทยแก่อดีตคนถือบัตรจีนฮ่ออิสระอย่างคุณนานแล้ว กล่าวคือ ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓

แต่รัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้คุณถือสัญชาติไทยเลย

มีคำถามว่า คุณยื่นคำร้องขอสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ตั้งแต่เมื่อไหร่คะ ?

เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นความเดือดร้อนของคุณ ดังนั้น คุณก็ต้องต้องไปเตือนรัฐมนตรีไงคะ  คุณต้องทำเองล่ะ ทำซิคะ เช่น เขียนจดหมายไปหาท่านซิคะ

แล้วผู้ถามเสนอให้ อ.แหววทำอะไรล่ะคะ ลองบอกมาซิคะ

 

ตอบคุณพิษณุเรื่องสัญชาติไทยของภริยาซึ่งเป็นบุตรของผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงระหว่างไทยและพม่า

Archanwell

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ในประการแรก จากข้อเท็จจริงที่คุณพิษณุให้มาเองว่า “เคยทำบัตรแรงงานตอนช่วงปี๔๖-๕๐” ก็แสดงว่า ภริยาของคุณมีเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลอย่างน้อย ก็คือ ท.ร.๓๘/๑ ซึ่งเป็นเอกสารตามกฎหมายทะเบียนราษฎรที่ทำในขณะที่ไปแสดงตนขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวในช่วง ๒๕๔๖ – ๒๕๕๐ อันนำไปสู่ได้มาซึ่ง “บัตรแรงงาน” ซึ่งก็คือ บัตรบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย ขอให้สังเกตว่า บนเอกสารดังกล่าวปรากฏเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลักขึ้นต้นด้วยเลข ๐๐ แม้ในวันนี้ ภริยาของคุณจะเปลี่ยนมาขึ้นทะเบียนเป็น “บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน” ก็ตาม ภริยาของคุณก็ยังมีชื่อปรากฏใน ท.ร.๓๘/๑ ดังกล่าว เอกสารนี้จึงอาจถูกกล่าวอ้างเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลของภริยาของคุณได้ค่ะ

ในประการที่สอง จากที่คุณพิษณุเล่าว่า "ต่อมาตามยุทธศาสตร์ของรัฐ จัดให้มีการขึ้นทะเบียน ท.ร.๓๘ ก็ทำ” ก็แสดงว่า ภริยาของคุณมีเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลอย่างน้อย ก็คือ ท.ร.๓๘ ก ซึ่งเป็นเอกสารตามกฎหมายทะเบียนราษฎรอีกเช่นกัน อ.แหววเข้าใจว่า ที่คุณพิษณุเรียกว่า “ยุทธศาสตร์ของรัฐ”  ก็น่าจะเป็น “ยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘” ดังนั้น ในวันนี้ ภริยาของคุณก็น่าจะได้รับ “บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน” โดยมีเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลักขึ้นต้นด้วยเลข ๐  ซึ่งก็หมายความว่า ทั้ง ท.ร.๓๘ ก. และบัตรดังกล่าวย่อมมีผลเป็นเอกสารที่รัฐไทยออกเพื่อรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายให้ภริยาของคุณ

ในประการที่สาม จากข้อเท็จจริงที่สรุปได้ ภริยาของคุณจึงมีสถานะเป็นราษฎรไทยใน ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) ราษฎรไทยประเภทแรงงานต่างด้าวใน ท.ร.๓๘/๑ และ (๒) ราษฎรไทยประเภทบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราฎรใน ท.ร.๓๘ ก. ซึ่งกรณีของภริยาของคุณก็เป็นกรณีที่เกือบคล้ายกับกรณีเด็กชายหม่อง ทองดี ที่เคยเป็นข่าวเมื่อกลางปีที่แล้ว

ในประการที่สี่ เมื่อคุณพิษณุเล่าว่า ภริยาของคุณเกิดในประเทศไทย จึงสรุปได้ว่า ภริยาของคุณอาจได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดน ซึ่งความเป็นไปได้มีอยู่ ๒ ทาง กล่าวคือ

ทางแรก ก็คือ การร้องขอลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ หากเธอเกิดก่อนวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕

ทางที่สอง ก็คือ การร้องขอสัญชาติไทยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหากเธอเกิดตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นต้นมา การได้สัญชาติไทยในกรณีนี้ย่อมตกเป็นภายใต้มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

ความเป็นไปได้เหล่านี้อาจอธิบายต่อไปในรายละเอียด หากทราบวันเดือนปีเกิดของภริยาของคุณ

แต่ที่สำคัญที่จะต้องทำหากต้องการจะสนับสนุนให้ภริยาใช้สิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักดินแดน ก็คือ จะต้องไปร้องขอทำหนังรับรองการเกิดให้แก่ภริยา การทำหนังสือรับรองการเกิดเป็นเรื่องมาตรา ๒๐/๑ แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๑ และที่สำคัญเช่นกัน ก็คือ จะต้องนำพยานหลักฐานที่แสดงว่า ภริยาเกิดในประเทศไทยไปด้วย หากเป็นการเกิดในโรงพยาบาล ก็จะต้องมีเอกสารรับรองการเกิดที่ออกโดยโรงพยาบาลที่มักเรียกว่า “ท.ร.๑/๑” หรือหากเป็นการเกิดนอกโรงพยาบาล ก็จะต้องมีพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้

ในประการที่ห้า หากไม่อาจพิสูจน์การเกิดในประเทศไทยของภริยาได้ ความเป็นไปได้ที่จะได้สัญชาติไทย ก็คือ การร้องขอสัญชาติไทยโดยการสมรสตามมาตรา ๙ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งหากจะใช้ความเป็นไปได้นี้ ก็จะต้องไปร้องขอจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับภริยาเสียก่อน แล้วจึงไปร้องขอสัญชาติไทยโดยการสมรสต่อเจ้าหน้าที่ ถ้าคนต่างด้าวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ถ้าคนต่างด้าวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ กรณีเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดแบบ วิธีการ และค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอเกี่ยวกับการได้สัญชาติไทย การแปลงสัญชาติเป็นไทย และการกลับคืนสัญชาติไทยสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย พ.ศ. ๒๕๔๕

ในประการที่หก เมื่อคุณพิษณุเล่าว่า มารดาของภริยา “ก็อยู่ในศูนย์อพยพในไทย แต่ปัจจุบันขอทำเรื่องไปประเทศที่ ๓ แล้ว” ก็ต้องเรียนว่า โอกาสที่ครอบครัวของภริยาจะได้ไปตั้งรกรากในต่างประเทศ ก็คือ โอกาสที่ภริยาจะได้มาซึ่งสัญชาติของรัฐที่สามที่ยอมรับให้ครอบครัวของภริยาไปอาศัยอยู่ ด้วยวิธีนี้ ก็เป็นการขจัดปัญหาความไร้สัญชาติให้แก่ภริยาของคุณเช่นกัน  แต่อย่างไรก็ตาม หากภริยาไม่มีชื่อบันทึกในทะเบียนบุคคลในค่ายพักพิงก็อาจไม่มีสิทธิที่จะร้องขอไปตั้งรกรากในต่างประเทศในลักษณะเดียวกับมารดาและครอบครัวที่ยังอาศัยอยู่ในค่ายพักพิง

ขอตอบแค่นี้ก่อนก็แล้วกันค่ะ

คุณแหม่มถามว่า จะตามสามีไปอเมริกาได้ไหม ?

Archanwell

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ในประการแรก จะต้องทราบว่า สิทธิเข้าประเทศใด ก็เป็นไปตามกฎหมายของประเทศนั้น ? ดังนั้น สิทธิในการเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายอเมริกัน

ในประการสอง การขอเข้าอเมริกาของใคร คนนั้นก็ต้องขอเองค่ะ เว้นแต่กรณีของผู้เยาว์ ที่พ่อแม่อาจขอให้ได้ สามีของคุณยังเป็นผู้เยาว์หรือคะ ถ้าอายุเกิน ๒๐ ปีแล้ว ก็ต้องขอเองค่ะ แม่ขอให้ไม่ได้ค่ะ

ในประการที่สาม หากคุณจะไปอเมริกา ก็ต้องยื่นคำร้องเองค่ะ ถ้าไม่เคยยื่นคำร้อง ก็จะไปไม่ได้ และหากยื่นคำร้องแล้ว ก็จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายอเมริกันกำหนดค่ะ

กลับไปคุยกับสามีนะคะ ลองนึกดูว่า สามีเคยให้ลงนามในเอกสารเพื่อขออนุญาตเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่

การแปลงสัญชาติ

ต้น

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
  1. เกิดที่ไหน ? เอาชัดๆ โรงพยาบาลอะไร
  2. เกิดวันที่เท่าไหร่
  3. เรียนโรงเรียนอะไร
  4. ทุกคนถือบัตรอะไร เอาบัตรมาดู และบอกมาให้ชัดเจน 

ขอคำปรึกษาเรื่อง Spammail


Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ถ้ามีข้อมูลที่ชัดเจน ก็อาจลองดูค่ะ

แต่ อ.แหววเหนื่อยกับเรื่องนี้แล้วค่ะ

การโอนสัญชาติ

ยุพิน ดีวิเศษ

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

"โอนสัญชาติ" ไม่ใช่คำในภาษษกฎหมายไทย

ถ้าเป็นการร้องขอสัญชาติไทยโดยการสมรส ก็ต้องมีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับชายหรือหญิงสัญชาติไทย

แต่ถ้าเป็นการร้องขอสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ก็ไม่ต้องจดทะเบียนสมรสกับกฎหมายกับชายหรือหญิงสัญชาติไทย

อยากทราบว่าการโอนสัญชาติจากลาวเป็นไทยจำเป็นหรือเปล่าว่าจะต้องมีทะเบียนสมรส และตอนนี้อยู่เมืองไทยมาได้10ปีแล้วและจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่

ค่าธรรมเนียมตามกฎหมายสัญชาติไทยเป็นดังนี้

(๑)

คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย

ครั้งละ  ๑๐,๐๐๐     บาท

(๒)

คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยสำหรับบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้แปลงสัญชาติเป็นไทยคนหนึ่ง

ครั้งละ    ๕,๐๐๐     บาท

(๓)

หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย

ฉบับละ    ๑,๐๐๐     บาท

(๔)

ใบแทนหนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย

ฉบับละ    ๑,๐๐๐     บาท

(๕)

คำขอกลับคืนสัญชาติไทย

ครั้งละ    ๒,๐๐๐     บาท

(๖)

คำขออื่น ๆ

ฉบับละ      ๑๐๐     บาท

ดังนั้น คำขอสัญชาติไทยโดยการสมรสจึงถูกค่ะ เป็นกรณีคำขออื่นๆ ในขณะที่คำขอแปลงสัญชาติไทยเป็นไทยจ่ายแพงหน่อยค่ะ

เรื่องความเป็ยอยู่ในอนาคต

ณัฐภรณ์

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

หนูขา อ.แหววไม่ใช่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนะคะ

เอาไงดีล่ะ

อะไรที่ควรบอก ก็ไม่บอกมาเลย เกิดเมื่อไหร่คะ  ? ที่ไหน ?

สแกนเอกสารที่มีมาให้ดูซิคะ

 

ปัญหานักศึกษา

คุณวี

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

โดยหลักการ มนุษย์ทุกคนที่มีความสัมพันธ์กับประเทศไทย ร้องขอสัญชาติไทยได้ค่ะ

การที่คุณมีบัตรเลข ๐ ก็แสดงว่า คุณปรากฏตัวในประเทศไทย

มนุษย์มีหลักฐานเสมอค่ะ อย่างน้อยพยานบุคคล

บอกว่า เรียนปริญญาโท ก็แสดงว่า มีที่มาที่ไป

หากจะแก้ปัญหาแบบจริงจัง ก็เล่าประวัติของตัวเองมานะคะ เอาแบบตรงไปตรงมา

ถามเรื่องหลักความยินยอม

กิตติศักดิ์

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ควรไปถามคนที่เรียนกฎหมายโรมันมาค่ะ อาทิ อ.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล อ.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ หรือ อ.จำปี โสตถิพันธุ์ (จำชื่อใหม่ท่านไม่ได้ค่ะ) 

ผู้จัดการมรดกในต่างแดน

nugnaen

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

การจัดการมรดกที่มีลักษณะระหว่างประเทศ ย่อมเป็นไปตามกฎหมายขัดกันค่ะ ซึ่งกฎหมายนี้ ก็ยอมรับพินัยกรรมค่ะ หากพินัยกรรมระบุให้ใครเป็นผู้จัดการมรดก คนนั้นก็มีอำนาจ และหากผู้จัดการมรดกไม่ทำตามพินัยกรรม ก็ต้องร้องขอให้ศาลบังคับผู้จัดการมรดกค่ะ ศาลไทยคงไม่ตั้งผู้จัดการมรดกโดยขัดต่อเจตนาของเจ้ามรดกมังคะ

มติครม.ขยายเวลาสำรวจผู้ไม่สถานะทางทะเบียน

pphop

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ก็เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ ค่ะ 

ไปค้นดูในเว็บสำนักนายกรัฐมนตรีนะคะ

ผู้ด้อยโอกาสในทุกสิ่ง

min

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

น่าสงสารมากค่ะ เป็นเรื่องที่เขตไหนคะ

แล้วตอนนี้ ใครเลี้ยงดูแกล่ะคะ ?

ภาวนาให้นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ สปสช. กำลังผลักดันผ่านนะคะ

ตามนโยบายนี้ แม้ไม่มีสัญชาติไทย แต่เป็นคนต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยถาวร ก็ได้สิทธิค่ะ

มีความไม่เป็นธรรมอีกมาก จากการบังคับใช้กฎหมายสัญชาติไม่ได้

ตกลงคุณเฮี้ยวท้ง มีชื่อในทะเบียนบ้านไหมคะ มีเลขประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วยเลขอะไรคะ ขอถามย้ำอีกที

ถ้าพ่อแม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ก็แปลว่า มีสิทธิอาศัยถาวรตามกฎหมายคนเข้าเมือง ดังนั้น ตัวแกก็จะต้องมีสิทธิอาศัยถาวรเฉกเช่นพ่อแม่ ถ้าตำรวจไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้ ก็ไปร้องขอใหม่ แต่ในวันนี้ การแสดงสิทธิอาศัยถาวร อาจแสดงได้โดยกฎหมายการทะเบียนราษฎรนะคะ

ขอโทษที่ตอบช้าค่ะ อีเมลล์มาคุยกัน ก็ได้ค่ะ

ขอโอนสัญชาติ

ลาวัลย์

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอถามย้ำข้อเท็จจริงค่ะ

ในประการแรก คุณถือ "หนังสือเดินทางที่ออกโดยรัฐบาลพม่า" ใช่ไหมคะ

ในประการที่สอง สามีของคุณเป็นคนสัญชาติไทยใช่ไหมคะ ?

ในประการที่สาม คุณจดทะเบียนสมรสที่ไหนคะ ? โดยใครคะ ?

มรดกยกให้บุตรบุญธรรม

พรรัมภา

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

แนะนำให้ไปหารือแบบเป็นเรื่องเป็นราวกับสภาทนายความ หรือศูนย์นิติศาสตร์ฯ ของคณะนิติศาสตร์ฯ ต่างๆ เรื่องแบบนี้ ต้องเล่ากันให้ละเอียดค่ะ

แนะนำแนวทางข้อดีข้อเสียผู้ถือสองสัญชาติ

นิรมล

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ในประการแรก สิทธิทางการศึกษาเป็นสิทธิมนุษยชน ดังนั้น โรงเรียนจะปฏิเสธการเข้าเรียนของเด็กมิได้เลย จึงแปลกใจมากที่คุณบอกว่า “รร.รัฐบาลไม่รับเด็กที่เป็นลูกครึ่งเลยค่ะ” 

ในประการที่สอง บุตรของคุณมีสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากมารดา เป็นนายกรัฐมนตรียังได้เลยค่ะ  ยืนยันค่ะว่า “น้องสามารถถือบัตรประชาชนเหมือนคนไทย 100 เปอร์เซ็นต์”  สามารถเข้าเรียนโรงเรียน รัฐบาล มหาวิทยาลัยรัฐ อย่างธรรมศาสตร์ จุฬาฯ จบออกมารับราชการไทยได้ค่ะ

ในประการที่สาม ยืนยันว่า “น้องสามารถใช้สองสัญชาติได้” ค่ะ สามารถถือหนังสือเดินทางตามกฎหมายไทยได้ค่ะ และถ้ามีการแจ้งเกิดต่อสถานกงสุลอเมริกัน ก็คงมีหนังสือเดินทางได้เช่นกันค่ะ

ในประการที่สี่ การสละสัญชาติไทยเป็นสิทธิค่ะ ไม่ใช่หน้าที่ จะสละหรือไม่ก็ได้ค่ะ

ในประการที่ห้า หากสามีถือวีซ่าครอบครัว ก็ร้องขอให้บันทึกชื่อในทะเบียนบ้านประเภทคนอยู่ชั่วคราวได้ (ท.ร.๑๓) ไม่ต้องรอมีสัญชาติไทย และการมีชื่อใน ท.ร.๑๓ เป็นเงื่อนไขในการร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทยค่ะ

ในประการที่หก สามีสัญชาติอเมริกันซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายจะร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทยได้ เมื่อมีคุณสมบัติครบ ๕ ประการ กล่าวคือ (๑) บรรลุนิติภาวะตามกฎหมายไทยและกฎหมายอเมริกัน (๒) มีความประพฤติดี (๓) มีอาชีพเป็นหลักฐาน (๔) มีชื่อในทะเบียนบ้านครบ ๕ ปี กล่าวคือ มีภูมิลำเนาในประเทศไทย และ (๕) พูดและฟังภาษาไทยได้ เว้นแต่เป็นคนต่างด้าวที่ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศไทย จะใช้คุณสมบัติเพียง ๓ ประการ กล่าวคือ จากข้อ ๑-๓ หากเป็นสามีสัญชาติอเมริกันจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับหญิงสัญชาติไทย

 

การจดทะเบียสมรสกับแฟนต่างด้าวที่พิสูจน์สัญชาติแล้ว

ณัฐพงษ์ ไกรยบุตร

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

มนุษย์เราก็ต้องพยายามทำถูกกฎหมายนะคะ

เมื่อขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าว ก็คือ อยากทำงานถูกกฎหมาย และเมื่อไปพิสูจน์สัญชาติพม่าผ่านแล้ว ก็จะไปทำงานผิดไปจากที่แจ้งกับทางรัฐบาลไทย ก็จะเป็นปัญหาซิคะ

แนะนำให้ทำตามกฎหมายดีกว่านะคะ

เมื่อเป็นคนต่างด้าวก็ต้องมีวีซ่าและมีใบอนุญาตทำงานค่ะ 

การขอสัญชาติ

มินล์ตรา

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คนเราอยู่ในประเทศไทยมาตั้งแต่ ๒๔๘๕ จะต้องมีคนรู้จักมากพอสมควร ลองสอบปากคำจริงๆ จังนะคะ ให้เจ้าของเรื่องเล่าความเป็นมาของตัวเอง

พยานหลักฐานไม่หมายเพียงพยานเอกสารของรัฐนะคะ

เรียนที่ไหน ? มีคนรู้จักในช่วงที่เด็กสุดกี่คน และเรื่อยมาจนโต

มีใครให้ตรวจเลือดได้บ้างไหมคะ

รายละเอียด

ธนาโชค พูลศิริ

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ควรเข้าไปตอบในคำถามเดิม คุยกันแบบนี้ ไม่รู้เรื่องกันพอดี

การแปลงสัญชาติ

ธนาโชค พูลศิริ

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ถ้าจะใช้มาตรา ๑๐ ก็ต้องพยายามร้องขอสิทธิอาศัย เพื่อมีชื่อในทะเบียนบ้าน เพื่อมีภูมิลำเนาในประเทศไทย

แต่ถ้าใช้มาตรา ๑๑ ก็อาจเป็นไปได้โดยไม่ต้องมี "ภูมิลำเนา"  แต่ต้องมีคุณสมบัติที่มาตรา ๑๑ กำหนด

ดังนั้น ก็ต้องแก้ไขตามสถานการณ์

ก็กลับไปทำให้ภริยาหรือแม่ที่เป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย กลายเป็นถูกกฎหมายก่อนซิคะ ??

ปัญหาว่า เธอมาจากประเทศไหนคะ ? กลับไปเพื่อกลับมาใหม่อย่างถูกกฎหมายได้ไหมคะ ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท