Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

คำตอบ


พิสูจน์สัญชาติ ความจริงที่แตกต่างจากความเข้าใจ

PEP

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

อ.แหววไปวานท่านผู้รู้ผู้มีประสบการณ์อื่นมาตอบด้วย กฎหมายและนโยบายไม่มีเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา หากคุณทำอะไรๆ ตามกฎหมาย วันนี้ ข้อสงสัยที่มี ก็คงกระจ่างแล้ว

คุยกันอีกสักครั้งก็ได้ค่ะ มาว่ากัน

รออ่านแล้วกัน

รบกวนสอบถามเรื่องผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน

ง๊องแง๊ง

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

มาตรา ๑๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ไม่ได้รับรองสิทธิในการร้องขอสัญชาติไทยโดยการสมรสค่ะ แต่เป็นเรื่องของการซ่อมแซมกฎหมายสัญชาติว่าด้วยการสละสัญชาติค่ะ 

การสมรสกับคนสัญชาติไทยตามกฎหมายนำไปสู่สิทธิร้องขอสัญชาติไทยโดยการสมรสตามมาตรา ๙ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ หากเป็นหญิงต่างด้าว แต่ถ้าเป็นชายจะต้องไปร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทยตามมาตรา ๑๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ โดยใช้เงื่อนไขพิเศษตามมาตรา ๑๑ (๔) ค่ะ 

มีแค่สิทธิร้องขอค่ะ แต่ มท.๑ มักไม่อนุญาตค่ะ ต้องมีเหตุผลที่ฟังขึ้นจริงๆ

รบกวนสอบถามค่ะ..ต่างด้าวอยู่ไทยมากว่า 50 ปี

kaaa

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

กรณีที่ว่ามา เป็นการแก้ไขปัญหาไม่ถูกสาเหตุ

จะขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ก็ต้องมีนายจ้าง มีงานทำ

แต่ถ้ามิใช่แรงงานต่างด้าวที่มีเงินได้ตามสมควร ก็ต้องไปอธิบายต่อกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อพิสูจน์สาเหตุที่ไม่มีเอกสารใดๆ

มนุษย์นั้นก็ต้องมีหน้าที่นะคะ ทั้งที่มีสัญชาติไทยหรือไม่มีสัญชาติไทย ถ้าจะไม่ยอมรับภาระเลย ก็ต้องมีเหตุผลพิเศษค่ะ การผลักดันให้ได้สิทธิในสัญชาติไทยก็ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาทุกระดับ

ถ้าจะช่วยเหลือ ก็อย่างที่บอกว่า พาไปที่ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และต้องหาเหตุผลที่ชัดๆ ว่า ทำไมคุณตาควรมีสิทธิในสัญชาติไทย ?

คุณตามีอายุเท่าไหร่แล้ว ? เพราะอะไรถึงเข้ามาในประเทศไทย ? มาจากประเทศพม่าจริงไหมคะ ?

ปัญหาจริงๆ ก็คือ ต้องการสิทธิในหลักประกันสุขภาพใช่ไหมคะ ?

พ่อเป็นไทย ลูกไม่มีเอกสาร ขอสัญชาติโดยพิสูตร DNA ได้หรือไม่

arin Sae-Tiew

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

          ขอยืนยันว่า ผลการตรวจ DNA นำไปสู่การพิสูจน์สัมพันธภาพระหว่างพ่อและลูกได้ค่ะแต่อ.แหววอยากจะอธิบายว่า คุณจะสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากพ่อได้ ก็ต่อเมื่อพ่อของคุณจะต้องมีสิทธิในสัญชาติไทยก่อนที่คุณจะเกิด

          ขั้นตอนการพิสูจน์สิทธิ ก็คือ เมื่อได้ผลการพิสูจน์จากโรงพยาบาลมาแล้ว  ก็ต้องไปยื่นคำร้องขอพิสูจน์สิทธิในสัญชาติไทย ซึ่งจะต้องไปดูขั้นตอนกฎกระทรวงตามมาตรา ๗ วรรค ๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งบัญญัติว่า "คำว่าบิดาตาม (๑) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม"

             สิ่งที่คุณจะต้องทำประการแรก ก็คือ รีบดำเนินการเจรจากับคุณพ่อ แล้วพากันไปตรวจดีเอนเอได้เลยค่ะ

             และเมื่อได้รับผลการพิสูจน์ ก็ไปแสดงตนที่อำเภอที่พ่อของคุณมีทะเบียนบ้าน เพื่อเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ถ้าอำเภอไม่เข้าใจ ก็ให้อำเภอโทรหารือ อ.วีนัส สีสุขที่สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง

            รีบดำเนินการเลยค่ะ ขอโทษด้วยค่ะที่ตอบช้า

          เพิ่งเห็นคำถามค่ะ

ลูกแรงงานพม่าที่เกิดในไทย

rachele

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คงต้องให้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนมากกว่านี้นะคะ โดยเฉพาะ บิดาและมารดาของเด็กถือเอกสารพิสูจน์ตนที่ออกโดยรัฐบาลพม่าหรือเปล่าคะ ?

ถ้าบิดาและมารดาก็ไม่มีเอกสารรับรองตัวบุคคลที่ออกโดยรัฐใดเลยบนโลก นายจ้างก็พาไปขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวจากพม่าที่กำลังเปิดตอนนี้ซิคะ และพาบุตรไปขึ้นทะเบียนผู้ติดตามแรงงานต่างด้าวด้วย เมื่อได้รับการพิสูจน์สัญชาติพม่าแล้ว ทั้งสามคนก็จะมีหนังสือเดินทางชั่วคราว ก็จะเดินทางไปมาระหว่างไทยและพม่าได้ค่ะ

โดยหลักการ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจะทำได้ค่ะที่สถานทูตอินเดีย หรืออำเภอไทยก็ได้ค่ะ หากบิดาและมารดายินยอม รายละเอียดคงมีอีกมาก เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็ก เพราะกฎหมายกลัวการค้าแรงงานเด็กแฝงรูป

การจดทะเบียนสมรสกับบุคคลต่างด้าวสัญชาติพม่า

มิสเตอร์คอฟฟี่

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอถามกลับข้อเท็จจริง ๓ ประการ ดังนี้

  1. คุณเป็นคนสัญชาติไทยที่ถือบัตรประชาชนแล้วใช่ไหมคะ ?
  2. คุณมีทะเบียนบ้านอยู่ที่ไหน ?
  3. บุตรเกิดที่ไหน ? เมื่อไหร่ ? ตอนนี้ อยู่ในทะเบียนบ้านที่คุณมีชื่อแล้วหรือยัง
  4. ภริยาถือเอกสารที่ออกโดยประเทศใด ? เอกสารมีชื่อว่า อะไร ?
  5. ภริยาเคยไปขึ้นทะเบียนแรงงานหรือคะ ? ถ้าใช่ ผ่านการพิสูจน์สัญชาติพม่าแล้วยัง ?

ช่วยงานอาจารย์

jack

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตรงนี้น่าสนใจมากกว่ามังคะ

จบแล้ว เริ่มต้นประกอบอาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อคนชายขอบก็ได้นะคะ

http://www.thaingo.org/forum/index.php?topic=1549.0

มูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล (Thai Committee for Refugees Foundation - TCR) เป็นองค์กรแรกของประเทศไทยที่มีพันธกิจในการให้ความคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ผู้ลี้ภ้ย และคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ทั้งในประเทศไทย และในภูมิภาคอาเซียน

มูลนิธิฯ มีความประสงค์จะรับสมัครเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฏหมาย ๒ ตำแหน่ง เพื่อประจำศูนย์ให้ความช่วยเหลือด้านกฏหมาย กรุงเทพฯ 

คุณสมบัติผู้สมัคร
- ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต
- ใบอนุญาติว่าความ (จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)
- สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
- มีความสนใจที่จะทำงานช่วยเหลือ ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ผู้ลี้ภัย และคนไร้รัฐไร้สัญชาติ
- มีใจรักในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
- มีความตั้งใจ มุ่งมั่น อดทน รับผิดชอบ และขยันเรียนรู้

ค่าตอบแทน
- ตามวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีและประสบการณ์การทำงาน
- ประกันสังคม
- สวัสดิการพนักงานตามที่กฏหมายกำหนด

ผู้สนใจสามารถส่งจดหมายสมัครงาน ประวัติการทำงาน และรูปถ่าย ได้ที่ [email protected] ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔

ดูข้อมูลองค์กรเพิ่มเติมได้ที่ www.thaiforrefugees.org

เรื่องการจดทะเบียนสมรสตามกม.ตปท. ขอคำปรึกษาจากลูกศิษย์คะ

patty

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

โดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล การสมรสเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชน และเมื่อมีลักษณะระหว่างประเทศ จึงต้องว่าตามหลักกฎหมายขัดกันที่มีการกล่าวอ้างสิทธิ เมื่อมีการอ้างสิทธิที่จะหย่าในประเทศไทย ก็ต้องไปพิจารณาว่า มีการสมรสเกิดขึ้นหรือไม่ การสมรสจะชอบด้วยกฎหมายไทยนั้นอาจเป็นไปตามมาตรา ๑๙ - ๒๐ แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.๒๔๘๑ ซึ่งฟังข้อเท็จจริงจากคุณ ก็ขอเดาว่า การสมรสทำในนิวซีแลนด์ ถ้าชอบด้วย กม. ของนิวซีแลนด์ การสมรสนั้นก็น่าจะชอบด้วยกฎหมายไทย (ในแง่เงื่อนไขการสมรส ต้องตรวจสอบด้วยนะคะ ดูแค่แบบแห่งการสมรสไม่ได้) การไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยที่กงสุลไทยประจำนิวซีแลนด์ก็คงไม่เป็นอะไร แต่คงต้องเอาทะเบียนสมรสตามกฎหมายนิวซีแลนด์มาแปลและขอการรับรองจากกรมการกงสุลไทยนะคะ เพื่อที่จะเอาเอกสารภาษาอังกฤษนี้มาอ้างความเป็นสามีภริยาชอบด้วยกม.นิวซีแลนด์และไทย และเพื่อการขอหย่าในประเทศไทย ซึ่งอาจจะเพียงแค่จดทะเบียนหย่า เพราะคู่สมรสมีสัญชาติไทย และกฎหมายไทยก็ยอมให้มีการหย่าโดยความยินยอม โปรดดูมาตรา ๒๖ แห่ง   พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.๒๔๘๑

ในส่วนเรื่องของบุตรนั้น หากเกิดจากการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็คงไม่ต้องมาขอให้ฝ่ายชายรับรองบุตรอีก

สำหรับบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน

กาญจนา

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตั้งใจจะให้เป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับคนไร้รัฐหรือคนที่ถือบัตรบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน แต่ก็มีคนเอาคำถามอื่นๆ มาถามด้วย ทำไงดี

เรื่องขอสัญชาติไทยค่ะ

liyajung

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
  1. ตกลงมีใครบ้างคะที่เกี่ยวข้อง
  2. คุณพ่อยังได้รับการต่อหนังสือเดินทางโดยรัฐบาลอิรักไหมคะ ??
  3. คุณพ่อประกอบอาชีพอะไรคะ
  4. คุณแม่มีสัญชาติอะไร ?
  5. คุณล่ะคะ ถือสัญชาติอะไร ? มีบัตรประชาชนไหม ? มีชื่อใน ท.ร.๑๔ ในสถานะคนสัญชาติไทยหรือไม่ ? 

 

อยากเข้าไปพบคะ

nuch

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

จะมาเมื่อไหร่ ก็นัดมาเลยค่ะ นัดล่วงหน้านะคะ

คนจีนที่อาศัยอยู่ในไทยกว่า40ปีไม่มีบัตรประชาชน

เพ่ยหยู๋

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คุณพ่อมาจากส่วนไหนของประเทศจีนคะ

เข้ามาอย่างไร ? เดินมา ? เรือสำเภาลำไหน ?

เข้ามาอาศัยอยู๋ที่ไหน ?

ณ วันนี้ อาศัยอยู่ที่ไหนคะ ? ประกอบอาชีพอะไรกัน ?

ขอทราบข้อมูลเบื้องต้นก่อน ก็แล้วกันค่ะ

มีใบเกิดแต่ไม่ได้ทำบัตร จนอายุ 27 ปี แล้วครับ

melody

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ก็ไปตรวจ DNA ค่ะ

อาจใช้เงินหน่อย แต่ก็อ้างได้แน่นอน

เรื่องค่าใช้จ่าย ก็คงหลายพัน เข้าไปหารือที่โรงพยาบาลค่ะ 

เด็กถูกเก็บมาเลี้ยง แต่ยังไม่มีสถานะทางทะเบียน

the myth

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

มี ๒ ทางเลือก

ทางเลือกแรก ไปหารือศูนย์ประชาบดีของ พม.

ทางเลือกที่สอง ไปหารือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

เรียนถามอาจารย์

jack

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ในประการแรก  สูติบัตรเป็นขั้นตอนหนึ่งตามกฎหมายไทยว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ซึ่งรัฐอธิปไตยใช้กฎหมายนี้เพื่อรองรับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐต้องจดทะเบียนการเกิดให้แก่มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีสัญชาติไทยหรือไม่

ในประการที่สอง ฝ่ายบริหารของประเทศไทย โดยเฉพาะกรมการปกครอง ทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศอยู่นานที่ไม่ยอมออกสูติบัตรแก่คนต่างด้าวบางจำพวก กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดให้รัฐต้องมีหน้าที่รับรองข้อเท็จจริงอันเป็นจุดเกาะเกี่ยวที่แท้จริงระหว่างรัฐและเอกชน และจุดเกาะเกี่ยวโดยการเกิดนี้ย่อมนำไปสู่การกำหนดสิทธิในสัญชาติของบุคคล  การที่บุคคลไร้เอกสารรับรองจุดเกาะเกี่ยวโดยการเกิด อาจทำให้บุคคลตกอยู่ในความไร้รัฐเจ้าของตัวบุคคล และความมั่นคงของรัฐเชิงประชากรอาจมีปัญหา เพราะมีบุคคลไร้รัฐมากจนไม่อาจบริหารจัดการประชากรอย่างมีประสิทธิภาพ

จะขอทำเรื่องกลับพม่า

อ้อม

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ไปติดต่อที่สถานทูตพม่าประจำประเทศไทยเลยค่ะ

สัญญาระหว่างประเทศ

reratta

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ถ้าทำในนามของส่วนราชการ มิใช่ส่วนตัว จะทำได้ ก็ต้องอยู่ในวัตถุประสงค์ของส่วนราชการ

หารือฝ่ายกฎหมายของกรมดีกว่านะคะ

ถามแบบกว้างๆ แบบนี้ ตอบให้ถูกลำบาก

หรือถ้าฝ่ายกฎหมายตอบไม่ได้ ก็ไปถามกฤษฎีกา

ถามแบบนัดบอดแบบนี้ อันตรายค่ะ

การทำบัตรต่างด้าว

เฉาก้วย

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

รอการประกาศให้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวโดยกระทรวงแรงงานซิคะ

สอบถามเรื่องการยื่นใบเกิดย้อนหลังขอสัญชาติครับ

deaw

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตอบอย่างนี้ค่ะ

ในประการแรก กรณีของแฟนของคุณเป็นกรณ๊ของคนสัญชาติไทยโดยผลของมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งต้องยื่นขอลงรายการสัญชาติที่อำเภอที่แฟนของคุณมีทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ นั่นก็คือ ต้องยื่นที่ “อำเภอที่ระบุในบัตร” ซึ่งคุณว่า “ค่าดำเนินการ 25,000 บาท (เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ขออนุญาตไม่ระบุนะครับ กลัวจะมีปัญหา)”

ในประการที่สอง คุณไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอะไรนะคะ ที่คุณกล่าวว่า  “ซึ่งจากที่ผมได้เคยอ่านมาโดยปกติจะมีค่าธรรมเนียม 5,000 บาท” นั้นเป็นกรณ๊ของสัญชาติไทยประเภทอื่น มิใช่ประเภทที่แฟนคุณได้รับ

 ในประการที่สาม ระยะเวลาที่อำเภอใช้ในการลงรายการสัญชาติไทยให้แก่คนสัญชาติไทยโดยผลของมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ก็คือ ไม่เกิน ๑๐๐ วัน ซึ่งถ้าเกินกว่านั้นก็ไปฟ้องศาลปกครอง ซึ่งก็คงใช้เวลาไม่นาน เพราะแฟนของคุณน่าจะมีคุณสมบัติแล้ว จะมีปัญหาได้ก็แต่ในกรณีที่แฟนคุณมีความประพฤติไม่ดี

มีข้อแนะนำอย่างนี้

ข้อแนะนำประการแรก อ่านและทำความเข้าใจข้อกฎหมายเกี่ยวกับคนสัญชาติไทยโดยผลของมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ที่แนบมานี้

บุคคลผู้ถือบัตรบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยและบุตร จะมีสิทธิขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านตามมาตรา ๒๓ หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?

: กรณีศึกษานางสาวมึดา นาวานารถ

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

งานเขียนเพื่อหนังสือแจกในงานวันเด็กไร้สัญชาติ ครั้งที่ ๗ พ.ศ.๒๕๕๒ ของศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน

เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑

http://gotoknow.org/blog/archanwell-and-stateless-and-nationalityless/228684

ข้อแนะนำประการที่สอง ร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือนายกรัฐมนตรี หากอำเภอที่ว่า พยายามจะเรียกร้องเงินจำนวน 25,000 บาท

คลิก Link ต่อไปนี้และกรอกรายละเอียด

เพื่อร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

http://www.nhrc.or.th/reComp.php

คลิก Link ต่อไปนี้และกรอกรายละเอียดเพื่อร้องเรียนนายกรัฐมนตรี

http://www.1111.go.th/form.aspx

 

เงินชดเชยกรณีลูกจ้างไม่ประสงค์ต่อสัญญาจ้าง

Amalga

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ไปหารือนักกฎหมายแรงงานดีกว่าค่ะ

อ.แหววตอบก็เป็นหลักทั่วไปมากกว่า ไม่มีเวลาค้นตัวบทมาตราให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท