Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

คำตอบ


อยากเข้าไปพบคะ

nuch

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

จะมาเมื่อไหร่ ก็นัดมาเลยค่ะ นัดล่วงหน้านะคะ

คนจีนที่อาศัยอยู่ในไทยกว่า40ปีไม่มีบัตรประชาชน

เพ่ยหยู๋

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คุณพ่อมาจากส่วนไหนของประเทศจีนคะ

เข้ามาอย่างไร ? เดินมา ? เรือสำเภาลำไหน ?

เข้ามาอาศัยอยู๋ที่ไหน ?

ณ วันนี้ อาศัยอยู่ที่ไหนคะ ? ประกอบอาชีพอะไรกัน ?

ขอทราบข้อมูลเบื้องต้นก่อน ก็แล้วกันค่ะ

มีใบเกิดแต่ไม่ได้ทำบัตร จนอายุ 27 ปี แล้วครับ

melody

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ก็ไปตรวจ DNA ค่ะ

อาจใช้เงินหน่อย แต่ก็อ้างได้แน่นอน

เรื่องค่าใช้จ่าย ก็คงหลายพัน เข้าไปหารือที่โรงพยาบาลค่ะ 

เด็กถูกเก็บมาเลี้ยง แต่ยังไม่มีสถานะทางทะเบียน

the myth

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

มี ๒ ทางเลือก

ทางเลือกแรก ไปหารือศูนย์ประชาบดีของ พม.

ทางเลือกที่สอง ไปหารือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

เรียนถามอาจารย์

jack

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ในประการแรก  สูติบัตรเป็นขั้นตอนหนึ่งตามกฎหมายไทยว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ซึ่งรัฐอธิปไตยใช้กฎหมายนี้เพื่อรองรับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ รัฐต้องจดทะเบียนการเกิดให้แก่มนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะมีสัญชาติไทยหรือไม่

ในประการที่สอง ฝ่ายบริหารของประเทศไทย โดยเฉพาะกรมการปกครอง ทำผิดกฎหมายระหว่างประเทศอยู่นานที่ไม่ยอมออกสูติบัตรแก่คนต่างด้าวบางจำพวก กฎหมายระหว่างประเทศกำหนดให้รัฐต้องมีหน้าที่รับรองข้อเท็จจริงอันเป็นจุดเกาะเกี่ยวที่แท้จริงระหว่างรัฐและเอกชน และจุดเกาะเกี่ยวโดยการเกิดนี้ย่อมนำไปสู่การกำหนดสิทธิในสัญชาติของบุคคล  การที่บุคคลไร้เอกสารรับรองจุดเกาะเกี่ยวโดยการเกิด อาจทำให้บุคคลตกอยู่ในความไร้รัฐเจ้าของตัวบุคคล และความมั่นคงของรัฐเชิงประชากรอาจมีปัญหา เพราะมีบุคคลไร้รัฐมากจนไม่อาจบริหารจัดการประชากรอย่างมีประสิทธิภาพ

จะขอทำเรื่องกลับพม่า

อ้อม

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ไปติดต่อที่สถานทูตพม่าประจำประเทศไทยเลยค่ะ

สัญญาระหว่างประเทศ

reratta

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ถ้าทำในนามของส่วนราชการ มิใช่ส่วนตัว จะทำได้ ก็ต้องอยู่ในวัตถุประสงค์ของส่วนราชการ

หารือฝ่ายกฎหมายของกรมดีกว่านะคะ

ถามแบบกว้างๆ แบบนี้ ตอบให้ถูกลำบาก

หรือถ้าฝ่ายกฎหมายตอบไม่ได้ ก็ไปถามกฤษฎีกา

ถามแบบนัดบอดแบบนี้ อันตรายค่ะ

การทำบัตรต่างด้าว

เฉาก้วย

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

รอการประกาศให้ขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวโดยกระทรวงแรงงานซิคะ

สอบถามเรื่องการยื่นใบเกิดย้อนหลังขอสัญชาติครับ

deaw

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตอบอย่างนี้ค่ะ

ในประการแรก กรณีของแฟนของคุณเป็นกรณ๊ของคนสัญชาติไทยโดยผลของมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งต้องยื่นขอลงรายการสัญชาติที่อำเภอที่แฟนของคุณมีทะเบียนบ้านหรือทะเบียนประวัติ นั่นก็คือ ต้องยื่นที่ “อำเภอที่ระบุในบัตร” ซึ่งคุณว่า “ค่าดำเนินการ 25,000 บาท (เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี ขออนุญาตไม่ระบุนะครับ กลัวจะมีปัญหา)”

ในประการที่สอง คุณไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอะไรนะคะ ที่คุณกล่าวว่า  “ซึ่งจากที่ผมได้เคยอ่านมาโดยปกติจะมีค่าธรรมเนียม 5,000 บาท” นั้นเป็นกรณ๊ของสัญชาติไทยประเภทอื่น มิใช่ประเภทที่แฟนคุณได้รับ

 ในประการที่สาม ระยะเวลาที่อำเภอใช้ในการลงรายการสัญชาติไทยให้แก่คนสัญชาติไทยโดยผลของมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ก็คือ ไม่เกิน ๑๐๐ วัน ซึ่งถ้าเกินกว่านั้นก็ไปฟ้องศาลปกครอง ซึ่งก็คงใช้เวลาไม่นาน เพราะแฟนของคุณน่าจะมีคุณสมบัติแล้ว จะมีปัญหาได้ก็แต่ในกรณีที่แฟนคุณมีความประพฤติไม่ดี

มีข้อแนะนำอย่างนี้

ข้อแนะนำประการแรก อ่านและทำความเข้าใจข้อกฎหมายเกี่ยวกับคนสัญชาติไทยโดยผลของมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ที่แนบมานี้

บุคคลผู้ถือบัตรบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยและบุตร จะมีสิทธิขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านตามมาตรา ๒๓ หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ?

: กรณีศึกษานางสาวมึดา นาวานารถ

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

งานเขียนเพื่อหนังสือแจกในงานวันเด็กไร้สัญชาติ ครั้งที่ ๗ พ.ศ.๒๕๕๒ ของศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน

เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑

http://gotoknow.org/blog/archanwell-and-stateless-and-nationalityless/228684

ข้อแนะนำประการที่สอง ร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ หรือนายกรัฐมนตรี หากอำเภอที่ว่า พยายามจะเรียกร้องเงินจำนวน 25,000 บาท

คลิก Link ต่อไปนี้และกรอกรายละเอียด

เพื่อร้องเรียนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

http://www.nhrc.or.th/reComp.php

คลิก Link ต่อไปนี้และกรอกรายละเอียดเพื่อร้องเรียนนายกรัฐมนตรี

http://www.1111.go.th/form.aspx

 

เงินชดเชยกรณีลูกจ้างไม่ประสงค์ต่อสัญญาจ้าง

Amalga

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ไปหารือนักกฎหมายแรงงานดีกว่าค่ะ

อ.แหววตอบก็เป็นหลักทั่วไปมากกว่า ไม่มีเวลาค้นตัวบทมาตราให้ค่ะ

มีเรื่องอยากให้ช่วยตอบเกี่ยวกัยสัญชาติค่ะ

นันท์กฤตา ปิยะพันธ์

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ไปร้องขอสิทธิอาศัยถาวรก็ได้ค่ะ ไปติดต่อสำนักงานทนายความซิคะ มีเอกสารกรอกวุ่นวายเหมือนกัน

ในส่วนการแปลงสัญชาติเป็นไทยนั้น ก็เป็นไปได้ที่จะร้องขอ แต่การได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยไม่ง่ายเลยค่ะ

ขอสัญชาติ 7 ทวิ

จัตุรงค์

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คำถามตอบแรก ฝากไปบอกอำเภอเชียงดาวว่า กฎหมายบอกให้ปลัดช่วยประชาชนทุกคนในพื้นที่ แล้วฝากบอกถามอีกว่า ปลัดช่วยเหลือประชาชนแล้วยังคะ 

ดูจากข้อเท็จจริง คุณจะมีสัญชาติไทยได้ หากมีคณะรัฐมนตรีมีมติให้ได้สัญชาติไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งอนุญาตให้มีสัญชาติไทย

ในปัจจุบัน มีมติคณะมนตรีเพื่อให้สัญชาติไทยแก่อดีตคนถือบัตรจีนฮ่ออิสระอย่างคุณนานแล้ว กล่าวคือ ตั้งแต่เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๓

แต่รัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งอนุญาตให้คุณถือสัญชาติไทยเลย

มีคำถามว่า คุณยื่นคำร้องขอสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ตั้งแต่เมื่อไหร่คะ ?

เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเห็นความเดือดร้อนของคุณ ดังนั้น คุณก็ต้องต้องไปเตือนรัฐมนตรีไงคะ  คุณต้องทำเองล่ะ ทำซิคะ เช่น เขียนจดหมายไปหาท่านซิคะ

แล้วผู้ถามเสนอให้ อ.แหววทำอะไรล่ะคะ ลองบอกมาซิคะ

 

ตอบคุณพิษณุเรื่องสัญชาติไทยของภริยาซึ่งเป็นบุตรของผู้ลี้ภัยในค่ายพักพิงระหว่างไทยและพม่า

Archanwell

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ในประการแรก จากข้อเท็จจริงที่คุณพิษณุให้มาเองว่า “เคยทำบัตรแรงงานตอนช่วงปี๔๖-๕๐” ก็แสดงว่า ภริยาของคุณมีเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลอย่างน้อย ก็คือ ท.ร.๓๘/๑ ซึ่งเป็นเอกสารตามกฎหมายทะเบียนราษฎรที่ทำในขณะที่ไปแสดงตนขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวในช่วง ๒๕๔๖ – ๒๕๕๐ อันนำไปสู่ได้มาซึ่ง “บัตรแรงงาน” ซึ่งก็คือ บัตรบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย ขอให้สังเกตว่า บนเอกสารดังกล่าวปรากฏเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลักขึ้นต้นด้วยเลข ๐๐ แม้ในวันนี้ ภริยาของคุณจะเปลี่ยนมาขึ้นทะเบียนเป็น “บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน” ก็ตาม ภริยาของคุณก็ยังมีชื่อปรากฏใน ท.ร.๓๘/๑ ดังกล่าว เอกสารนี้จึงอาจถูกกล่าวอ้างเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลของภริยาของคุณได้ค่ะ

ในประการที่สอง จากที่คุณพิษณุเล่าว่า "ต่อมาตามยุทธศาสตร์ของรัฐ จัดให้มีการขึ้นทะเบียน ท.ร.๓๘ ก็ทำ” ก็แสดงว่า ภริยาของคุณมีเอกสารพิสูจน์ทราบตัวบุคคลอย่างน้อย ก็คือ ท.ร.๓๘ ก ซึ่งเป็นเอกสารตามกฎหมายทะเบียนราษฎรอีกเช่นกัน อ.แหววเข้าใจว่า ที่คุณพิษณุเรียกว่า “ยุทธศาสตร์ของรัฐ”  ก็น่าจะเป็น “ยุทธศาสตร์เพื่อการจัดการสถานะและสิทธิของบุคคลตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๔๘” ดังนั้น ในวันนี้ ภริยาของคุณก็น่าจะได้รับ “บัตรประจำตัวบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน” โดยมีเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลักขึ้นต้นด้วยเลข ๐  ซึ่งก็หมายความว่า ทั้ง ท.ร.๓๘ ก. และบัตรดังกล่าวย่อมมีผลเป็นเอกสารที่รัฐไทยออกเพื่อรับรองสถานะบุคคลตามกฎหมายให้ภริยาของคุณ

ในประการที่สาม จากข้อเท็จจริงที่สรุปได้ ภริยาของคุณจึงมีสถานะเป็นราษฎรไทยใน ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) ราษฎรไทยประเภทแรงงานต่างด้าวใน ท.ร.๓๘/๑ และ (๒) ราษฎรไทยประเภทบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนราฎรใน ท.ร.๓๘ ก. ซึ่งกรณีของภริยาของคุณก็เป็นกรณีที่เกือบคล้ายกับกรณีเด็กชายหม่อง ทองดี ที่เคยเป็นข่าวเมื่อกลางปีที่แล้ว

ในประการที่สี่ เมื่อคุณพิษณุเล่าว่า ภริยาของคุณเกิดในประเทศไทย จึงสรุปได้ว่า ภริยาของคุณอาจได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดน ซึ่งความเป็นไปได้มีอยู่ ๒ ทาง กล่าวคือ

ทางแรก ก็คือ การร้องขอลงรายการสัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ หากเธอเกิดก่อนวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕

ทางที่สอง ก็คือ การร้องขอสัญชาติไทยต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหากเธอเกิดตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ เป็นต้นมา การได้สัญชาติไทยในกรณีนี้ย่อมตกเป็นภายใต้มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ และ พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

ความเป็นไปได้เหล่านี้อาจอธิบายต่อไปในรายละเอียด หากทราบวันเดือนปีเกิดของภริยาของคุณ

แต่ที่สำคัญที่จะต้องทำหากต้องการจะสนับสนุนให้ภริยาใช้สิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักดินแดน ก็คือ จะต้องไปร้องขอทำหนังรับรองการเกิดให้แก่ภริยา การทำหนังสือรับรองการเกิดเป็นเรื่องมาตรา ๒๐/๑ แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ ซึ่งถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๑ และที่สำคัญเช่นกัน ก็คือ จะต้องนำพยานหลักฐานที่แสดงว่า ภริยาเกิดในประเทศไทยไปด้วย หากเป็นการเกิดในโรงพยาบาล ก็จะต้องมีเอกสารรับรองการเกิดที่ออกโดยโรงพยาบาลที่มักเรียกว่า “ท.ร.๑/๑” หรือหากเป็นการเกิดนอกโรงพยาบาล ก็จะต้องมีพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือได้

ในประการที่ห้า หากไม่อาจพิสูจน์การเกิดในประเทศไทยของภริยาได้ ความเป็นไปได้ที่จะได้สัญชาติไทย ก็คือ การร้องขอสัญชาติไทยโดยการสมรสตามมาตรา ๙ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งหากจะใช้ความเป็นไปได้นี้ ก็จะต้องไปร้องขอจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับภริยาเสียก่อน แล้วจึงไปร้องขอสัญชาติไทยโดยการสมรสต่อเจ้าหน้าที่ ถ้าคนต่างด้าวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอต่อผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ถ้าคนต่างด้าวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดอื่น ให้ยื่นคำขอต่อนายอำเภอหรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ กรณีเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดแบบ วิธีการ และค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอเกี่ยวกับการได้สัญชาติไทย การแปลงสัญชาติเป็นไทย และการกลับคืนสัญชาติไทยสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อย พ.ศ. ๒๕๔๕

ในประการที่หก เมื่อคุณพิษณุเล่าว่า มารดาของภริยา “ก็อยู่ในศูนย์อพยพในไทย แต่ปัจจุบันขอทำเรื่องไปประเทศที่ ๓ แล้ว” ก็ต้องเรียนว่า โอกาสที่ครอบครัวของภริยาจะได้ไปตั้งรกรากในต่างประเทศ ก็คือ โอกาสที่ภริยาจะได้มาซึ่งสัญชาติของรัฐที่สามที่ยอมรับให้ครอบครัวของภริยาไปอาศัยอยู่ ด้วยวิธีนี้ ก็เป็นการขจัดปัญหาความไร้สัญชาติให้แก่ภริยาของคุณเช่นกัน  แต่อย่างไรก็ตาม หากภริยาไม่มีชื่อบันทึกในทะเบียนบุคคลในค่ายพักพิงก็อาจไม่มีสิทธิที่จะร้องขอไปตั้งรกรากในต่างประเทศในลักษณะเดียวกับมารดาและครอบครัวที่ยังอาศัยอยู่ในค่ายพักพิง

ขอตอบแค่นี้ก่อนก็แล้วกันค่ะ

คุณแหม่มถามว่า จะตามสามีไปอเมริกาได้ไหม ?

Archanwell

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ในประการแรก จะต้องทราบว่า สิทธิเข้าประเทศใด ก็เป็นไปตามกฎหมายของประเทศนั้น ? ดังนั้น สิทธิในการเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายอเมริกัน

ในประการสอง การขอเข้าอเมริกาของใคร คนนั้นก็ต้องขอเองค่ะ เว้นแต่กรณีของผู้เยาว์ ที่พ่อแม่อาจขอให้ได้ สามีของคุณยังเป็นผู้เยาว์หรือคะ ถ้าอายุเกิน ๒๐ ปีแล้ว ก็ต้องขอเองค่ะ แม่ขอให้ไม่ได้ค่ะ

ในประการที่สาม หากคุณจะไปอเมริกา ก็ต้องยื่นคำร้องเองค่ะ ถ้าไม่เคยยื่นคำร้อง ก็จะไปไม่ได้ และหากยื่นคำร้องแล้ว ก็จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายอเมริกันกำหนดค่ะ

กลับไปคุยกับสามีนะคะ ลองนึกดูว่า สามีเคยให้ลงนามในเอกสารเพื่อขออนุญาตเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาหรือไม่

การแปลงสัญชาติ

ต้น

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
  1. เกิดที่ไหน ? เอาชัดๆ โรงพยาบาลอะไร
  2. เกิดวันที่เท่าไหร่
  3. เรียนโรงเรียนอะไร
  4. ทุกคนถือบัตรอะไร เอาบัตรมาดู และบอกมาให้ชัดเจน 

ขอคำปรึกษาเรื่อง Spammail


Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ถ้ามีข้อมูลที่ชัดเจน ก็อาจลองดูค่ะ

แต่ อ.แหววเหนื่อยกับเรื่องนี้แล้วค่ะ

การโอนสัญชาติ

ยุพิน ดีวิเศษ

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

"โอนสัญชาติ" ไม่ใช่คำในภาษษกฎหมายไทย

ถ้าเป็นการร้องขอสัญชาติไทยโดยการสมรส ก็ต้องมีการจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายกับชายหรือหญิงสัญชาติไทย

แต่ถ้าเป็นการร้องขอสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ ก็ไม่ต้องจดทะเบียนสมรสกับกฎหมายกับชายหรือหญิงสัญชาติไทย

อยากทราบว่าการโอนสัญชาติจากลาวเป็นไทยจำเป็นหรือเปล่าว่าจะต้องมีทะเบียนสมรส และตอนนี้อยู่เมืองไทยมาได้10ปีแล้วและจะต้องใช้ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่

ค่าธรรมเนียมตามกฎหมายสัญชาติไทยเป็นดังนี้

(๑)

คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย

ครั้งละ  ๑๐,๐๐๐     บาท

(๒)

คำขอแปลงสัญชาติเป็นไทยสำหรับบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้แปลงสัญชาติเป็นไทยคนหนึ่ง

ครั้งละ    ๕,๐๐๐     บาท

(๓)

หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย

ฉบับละ    ๑,๐๐๐     บาท

(๔)

ใบแทนหนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย

ฉบับละ    ๑,๐๐๐     บาท

(๕)

คำขอกลับคืนสัญชาติไทย

ครั้งละ    ๒,๐๐๐     บาท

(๖)

คำขออื่น ๆ

ฉบับละ      ๑๐๐     บาท

ดังนั้น คำขอสัญชาติไทยโดยการสมรสจึงถูกค่ะ เป็นกรณีคำขออื่นๆ ในขณะที่คำขอแปลงสัญชาติไทยเป็นไทยจ่ายแพงหน่อยค่ะ

เรื่องความเป็ยอยู่ในอนาคต

ณัฐภรณ์

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

หนูขา อ.แหววไม่ใช่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยนะคะ

เอาไงดีล่ะ

อะไรที่ควรบอก ก็ไม่บอกมาเลย เกิดเมื่อไหร่คะ  ? ที่ไหน ?

สแกนเอกสารที่มีมาให้ดูซิคะ

 

ปัญหานักศึกษา

คุณวี

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

โดยหลักการ มนุษย์ทุกคนที่มีความสัมพันธ์กับประเทศไทย ร้องขอสัญชาติไทยได้ค่ะ

การที่คุณมีบัตรเลข ๐ ก็แสดงว่า คุณปรากฏตัวในประเทศไทย

มนุษย์มีหลักฐานเสมอค่ะ อย่างน้อยพยานบุคคล

บอกว่า เรียนปริญญาโท ก็แสดงว่า มีที่มาที่ไป

หากจะแก้ปัญหาแบบจริงจัง ก็เล่าประวัติของตัวเองมานะคะ เอาแบบตรงไปตรงมา

ถามเรื่องหลักความยินยอม

กิตติศักดิ์

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ควรไปถามคนที่เรียนกฎหมายโรมันมาค่ะ อาทิ อ.หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล อ.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ หรือ อ.จำปี โสตถิพันธุ์ (จำชื่อใหม่ท่านไม่ได้ค่ะ) 

ผู้จัดการมรดกในต่างแดน

nugnaen

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

การจัดการมรดกที่มีลักษณะระหว่างประเทศ ย่อมเป็นไปตามกฎหมายขัดกันค่ะ ซึ่งกฎหมายนี้ ก็ยอมรับพินัยกรรมค่ะ หากพินัยกรรมระบุให้ใครเป็นผู้จัดการมรดก คนนั้นก็มีอำนาจ และหากผู้จัดการมรดกไม่ทำตามพินัยกรรม ก็ต้องร้องขอให้ศาลบังคับผู้จัดการมรดกค่ะ ศาลไทยคงไม่ตั้งผู้จัดการมรดกโดยขัดต่อเจตนาของเจ้ามรดกมังคะ

มติครม.ขยายเวลาสำรวจผู้ไม่สถานะทางทะเบียน

pphop

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ก็เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒ ค่ะ 

ไปค้นดูในเว็บสำนักนายกรัฐมนตรีนะคะ

ผู้ด้อยโอกาสในทุกสิ่ง

min

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

น่าสงสารมากค่ะ เป็นเรื่องที่เขตไหนคะ

แล้วตอนนี้ ใครเลี้ยงดูแกล่ะคะ ?

ภาวนาให้นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ สปสช. กำลังผลักดันผ่านนะคะ

ตามนโยบายนี้ แม้ไม่มีสัญชาติไทย แต่เป็นคนต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยถาวร ก็ได้สิทธิค่ะ

มีความไม่เป็นธรรมอีกมาก จากการบังคับใช้กฎหมายสัญชาติไม่ได้

ตกลงคุณเฮี้ยวท้ง มีชื่อในทะเบียนบ้านไหมคะ มีเลขประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วยเลขอะไรคะ ขอถามย้ำอีกที

ถ้าพ่อแม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ก็แปลว่า มีสิทธิอาศัยถาวรตามกฎหมายคนเข้าเมือง ดังนั้น ตัวแกก็จะต้องมีสิทธิอาศัยถาวรเฉกเช่นพ่อแม่ ถ้าตำรวจไม่ออกใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวให้ ก็ไปร้องขอใหม่ แต่ในวันนี้ การแสดงสิทธิอาศัยถาวร อาจแสดงได้โดยกฎหมายการทะเบียนราษฎรนะคะ

ขอโทษที่ตอบช้าค่ะ อีเมลล์มาคุยกัน ก็ได้ค่ะ

ขอโอนสัญชาติ

ลาวัลย์

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอถามย้ำข้อเท็จจริงค่ะ

ในประการแรก คุณถือ "หนังสือเดินทางที่ออกโดยรัฐบาลพม่า" ใช่ไหมคะ

ในประการที่สอง สามีของคุณเป็นคนสัญชาติไทยใช่ไหมคะ ?

ในประการที่สาม คุณจดทะเบียนสมรสที่ไหนคะ ? โดยใครคะ ?

มรดกยกให้บุตรบุญธรรม

พรรัมภา

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

แนะนำให้ไปหารือแบบเป็นเรื่องเป็นราวกับสภาทนายความ หรือศูนย์นิติศาสตร์ฯ ของคณะนิติศาสตร์ฯ ต่างๆ เรื่องแบบนี้ ต้องเล่ากันให้ละเอียดค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท