Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

คำตอบ


ขอคำปรึกษาครับ

โจอี้

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

ขอสัญชาติตามมาตรา 23

อุษา จันทรักษา

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

ขอคำแนะนำครับ

กวง

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

เพื่อคนที่เรารัก

โอ๋

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

น้องหม่อง

ประชา

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

วิธีใส่โค้ดเพลงในบล็อก

กวิน

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

หมวดครอบครัว พรบ.ขัดกัน

TKmix

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ม.23

ครูชายแดน

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

มีสองเรื่องที่ต้องตอบมังคะ

ประการแรก เกี่ยวกับสิทธิในสัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓

มาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายไทยว่าด้วยสัญชาติไทย ซึ่งมุ่งที่จะคืนสิทธิในสัญชาติไทยให้แก่คนที่เกิดในประเทศไทยก่อนวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ และบุตร ซึ่งตกอยู่ในผลกระทบของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ป.ว.๓๓๗ ซึ่งผลกระทบนี้อาจจะเกิดขึ้นทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ อันทำให้พวกเขาตกเป็นคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย

คนที่ได้รับผลกระทบทางตรงของ ปว.๓๓๗ มีอยู่ ๒ กลุ่ม อันได้แก่ (๑) คนที่เกิดในประเทศไทยระหว่างวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖ จนถึงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ อันทำให้เสียสัญชาติไทยโดยผลของ ปว.๓๓๗ หากมีข้อเท็จจริงตาม ปว.๓๓๗ กล่าวคือ มีบุพการีหลักเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองในลักษณะไม่ถาวร และ (๒) คนที่เกิดในประเทศไทยระหว่างวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ จนถึงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ อันทำให้ไม่ได้สัญชาติไทยโดยผลของ ปว.๓๓๗ หากมีข้อเท็จจริงตาม ปว.๓๓๗ ดังกล่าวแล้ว

ส่วนคนที่โดนผลกระทบทางอ้อมของ ปว.๓๓๗ มีอยู่ ๑ กลุ่ม อันได้แก่ (๓) บุตรของสองกลุ่มแรกที่เกิดในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ จนถึงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑

โดยสรุป คนสัญชาติไทยโดยผลของมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ จึงมีอยู่ ๓ กลุ่ม เหตุผลที่กฎหมายนี้หันมารับรองสิทธิในสัญชาติไทยให้แก้คนกลุ่มนี้โดยผลของกฎหมาย ก็เพราะพวกเราอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานจนมีความกลมกลืนกับประเทศไทยทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม พวกเขาจึงไม่ต้องร้องขอมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยผลของมาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ อีกต่อไป แม้ยื่นคำร้องขอไว้แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามกระบวนการตามมาตรา ๗ ทวิ อีกต่อไป

ในกรณีของคนที่เกิดในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ จากบิดาและมารดาต่างด้าวซึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองไม่ถาวร ก็ไม่มีสิทธิในสัญชาติไทยโดยผลของกฎหมายและไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบของ ปว.๓๓๗ จึงไม่ใช่ผู้ทรงสิทธิตามมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ หากต้องการร้องขอสิทธิในสัญชาติไทย ก็ยังต้องไปใช้มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ ในการร้องขอสัญชาติไทยต่อไป

แต่ขอให้ตระหนักว่า ในการปฏิรูปกฎหมายสัญชาติไทยใน พ.ศ.๒๕๕๑ มีการปฏิรูปมาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ อีกครั้ง เพื่อให้มาตรานี้อาจมีผลในลักษณะทั่วไป มิใช่เพียงเฉพาะรายดังมาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ เดิม มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ ใหม่ ก็คือ มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ และโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

หากจะอยากอ่านงานเขียนของอาจารย์แหววในเรื่องนี้เพิ่มเติม ก็อ่านได้ค่ะ

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๑

------------------

กรณีศึกษานางสาวฟองจันทร์ สุขเสน่ห์ : จากคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยสู่คนสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนโดยการเกิดโดยผลของมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑, กรณีศึกษาในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=454&d_id=453

http://learners.in.th/blog/notes-of-archanwell-on-private-international-law/361388

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๒

------------------

บุคคลผู้ถือบัตรบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยและบุตร จะมีสิทธิขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านตามมาตรา ๒๓ หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ? : กรณีศึกษานางสาวมึดา นาวานารถ, งานเขียนเพื่อหนังสือแจกในงานวันเด็กไร้สัญชาติ ครั้งที่ ๗ พ.ศ.๒๕๕๒ ของศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน, เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑

http://gotoknow.org/blog/archanwell-and-stateless-and-nationalityless/228684

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=498&d_id=497

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๓

------------------

กรณีศึกษานางสาวศรีนวล : ปัญหาการกำหนดสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนโดยผลของมาตรา ๒๓ วรรค ๑ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑, ข้อสอบวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒

http://learners.in.th/blog/archanwell-right2nationality/398393

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๔

------------------

คนสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคสอง : ควรมีสิทธิทางการเมืองโดยจำกัดอย่างนั้นหรือ ?, เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒

http://gotoknow.org/blog/law-for-humanity/273624

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๕

------------------

ความเห็นของ อ.แหววต่อการถอดบทเรียนของบุญในการพานักเรียนไปยื่นคำขอตามมาตรา ๒๓, เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒

http://archanwell.spaces.live.com/blog/cns!706316D9B6E66926!9241.entry

http://gotoknow.org/blog/archanwell-and-maeai-study/273814

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๖

------------------

ตอบปัญหาเรื่องสิทธิในสัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓ วรรค ๑ ของคนถือบัตรเลข ๐, เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒, เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒

http://gotoknow.org/ask/archanwell/12517

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๗

------------------

ตอบคำถามเกี่ยวกับผู้ทรงสิทธิเกี่ยวกับมาตรา ๒๓ ของบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยเพราะตกอยู่ภายใต้มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๑ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕, เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

http://learners.in.th/ask/archanwell/9294

http://gotoknow.org/ask/archanwell/12585

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๘

------------------

ตอบคุณหนุ่มเรื่องสิทธิในสัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓ : ต้องเริ่มต้นจากการพิสูจน์การเกิดในประเทศไทย, คำตอบปัญหาของบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคล, เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒

http://gotoknow.org/blog/people-management/316876

http://gotoknow.org/ask/archanwell/12854

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=487&d_id=486

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๙

------------------

กรณีศึกษานางสาวทันยา : สิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนของคนเกิดในประเทศไทยก่อนวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ จากบิดาและมารดาสัญชาติอเมริกัน, ข้อสอบในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒, เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓

http://learners.in.th/blog/archanwell-right2nationality/419562

ในประการที่สอง สิทธิทางการศึกษาและสิทธิทำมาหาเลี้ยงชีพ

สิทธิทั้งสองนี้เป็นสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยมีทั้ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๐ พ.ร.บ.การทำงานคนต่างด้าว พ.ศ.๒๕๕๑  และประเทศไทยก็เป็นทั้งภาคีของกติกาสหประชาชาติ ค.ศ.๑๙๖๖ ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อันหมายความว่า สิทธิทั้งสองไม่ขึ้นอยู่กับสถานะคนสัญชาติไทย การเอาไปผูกติดกัน ก็ทำให้มนุษย์ต้องมี ๒ ปัญหา การให้สัญชาติไทยง่ายๆ คงเป็นไปไม่ได้ แต่การให้สิทธิทางการศึกษา และสิทธิทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นหน้าที่ที่รัฐไทยต้องให้แก่มนุษย์ที่มีลมหายใจในประเทศไทย

ดังนั้น การแก้ไขทัศนคติที่ผิดพลาดดังว่ามา "เพราะว่านักเรียนคิดว่าเมื่อเรียนไปแล้วจบไปก็ไม่สามารถหางานทำได้ ต้องรับจ้างเขา จึงทำให้ต้องออกกลางคัน ช่วยแนะนำให้หน่อยนะครับ ผมจะได้มีความรู้ที่ถูกต้องนำไปบอกกับนักเรียน และลูกศิษย์อีกหลาย ๆ คน ที่มีความคิดแบบนี้" จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำก่อน เมื่อคิดผิดทาง ก็แก้ไขปัญหาไม่ได้ และอาจนำไปสู่การกระทำความผิด ก็คือ ซื้อเอกสารปลอม ที่อาจนำไปสู่อีกปัญหาให้แก่ชีวิต

เริ่มต้นจากมีความรู้และมีความคิดที่ถูกต้องก่อนค่ะ ก็จะแก้ไขปัญหาได้

ขอสัญชาติไทยให้บุตรบุญธรรม

chava

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ลองอ่านบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องนะคะ

มาตรา ๑๒/๑ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

ในการขอแปลงสัญชาติเป็นไทยตามมาตรา ๑๒ นั้น บุคคลอื่นอาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) ผู้อนุบาลตามคำสั่งของศาลอาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่คนไร้ความสามารถซึ่งมีหลักฐานแสดงให้เชื่อได้ว่าเป็นผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๐ (๓) และ (๕) และรัฐมนตรีจะยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิญาณตนก็ได้

(๒) ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ของรัฐตามที่รัฐมนตรีกำหนด เมื่อได้รับความยินยอมของผู้เยาว์แล้วอาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่ผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์มาไม่น้อยกว่าสิบปี โดยให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๐ (๑) และ (๓)

(๓) ผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยอาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่บุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีและมีหลักฐานแสดงให้เชื่อได้ว่าเป็นผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๐ (๑) และ (๓)


การขอแปลงสัญชาติเป็นไทยแทนบุคคลอื่นตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ขอใบอณุญาคิขับขี่

ชัชชาชร

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ในประการแรก อ.แหววต้องขอโทษคุณน้ำหวานที่จำคุณไม่ได้ แต่ก็ไม่คิดว่า คุณเป็นคนที่ต้อง "โอนสัญชาติ" หรือ "แปลงสัญชาติ" คุณน่าจะเป็นคนที่เกิดในประเทศไทยมากกว่า เพราะคุณดูอายุไม่มากนัก ลองทบทวนเรื่องราวของคุณให้ อ.แหววจำได้หน่อยซิคะ

ในประการที่สอง เรื่องใบขับขี่นั้น โดยหลักกฎหมาย คนที่เป็นราษฎรไทยก็น่าจะมี "หน้าที่" ร้องขอทำใบขับขี่ หากประสงค์จะขับรถค่ะ แต่บ้านเมืองไทยในตอนนี้มีอะไรแปลกๆ ทราบว่า กรมการขนส่งทางบกเข้ายอมรับให้ราษฎรไทยประเภทคนต่างด้าวที่เป็นชนกลุ่มน้อยบางกลุ่มเท่านั้นที่ทำใบขับขี่ได้ และเท่าที่ดูในหนังสือของกรมการขนส่งทางบก ก็ไม่อนุญาตให้ราษฎรไทยที่มีสถานะเป็น "ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า" ทำใบขับขี่นะคะ  ดังนั้น ถ้าอยากทำ ก็ไปยื่นขอทำ ถ้าเขาไม่ทำให้ ก็ไปฟ้องศาลปกครองเอานะคะ จะได้รู้กันว่า ศาลจะว่าอย่างไร

ในประการที่สาม อยากให้คุณศึกษานโยบายของกรมการขนส่งทางบกที่ปฏิเสธสิทธิของบุคคลที่มีสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่าค่ะ

บันทึกกรมการขนส่งทางบก สำนักกฎหมายที่ คค.๐๔๐๘/ว.๑๐๘ ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ เรื่องการออกใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ให้กับคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง

ลองหารือสภาทนายความหรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดูนะคะ หากเพื่อแถวบ้านของคุณอยากสู้เพื่อความถูกต้องนะคะ

 

บัตรต่างด้าว

Wisaruta

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

โปรดศึกษา พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.๒๔๙๓ เลยค่ะ

คลิกตรงนี้

http://www.kodmhai.com/m4/m4-1/H39/H39.html

สอบถามเรื่องการขอสัญชาติให้เด็กคะ

dekjo

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เป็นเรื่องของมูลนิธิอะไรคะ

ผู้ถามเป็นใครคะ

น้องชื่ออะไรคะ

น้องมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตอำเภอไหน ? จังหวัดไหนคะ ?

ขอรายละเอียดมากที่สุดนะคะ

การขอแปลงสัญชาติลาวเป็นไทยครับ

สมใจ

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

การแปลงสัญชาติเป็นไทยโดยเงื่อนไขของความเป็นสามีของหญิงสัญชาติไทยทำได้ เป็นไปตามมาตรา ๑๑ (๔) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

รายละเอียดไปหารือกองตำรวจสันติบาล ๒ เพื่อยื่นคำร้องนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท