Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

คำตอบ


เพื่อคนที่เรารัก

โอ๋

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

น้องหม่อง

ประชา

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

วิธีใส่โค้ดเพลงในบล็อก

กวิน

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

หมวดครอบครัว พรบ.ขัดกัน

TKmix

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
not yet answered

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ม.23

ครูชายแดน

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

มีสองเรื่องที่ต้องตอบมังคะ

ประการแรก เกี่ยวกับสิทธิในสัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓

มาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายไทยว่าด้วยสัญชาติไทย ซึ่งมุ่งที่จะคืนสิทธิในสัญชาติไทยให้แก่คนที่เกิดในประเทศไทยก่อนวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ และบุตร ซึ่งตกอยู่ในผลกระทบของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๓๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ป.ว.๓๓๗ ซึ่งผลกระทบนี้อาจจะเกิดขึ้นทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ อันทำให้พวกเขาตกเป็นคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย

คนที่ได้รับผลกระทบทางตรงของ ปว.๓๓๗ มีอยู่ ๒ กลุ่ม อันได้แก่ (๑) คนที่เกิดในประเทศไทยระหว่างวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๖ จนถึงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ อันทำให้เสียสัญชาติไทยโดยผลของ ปว.๓๓๗ หากมีข้อเท็จจริงตาม ปว.๓๓๗ กล่าวคือ มีบุพการีหลักเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองในลักษณะไม่ถาวร และ (๒) คนที่เกิดในประเทศไทยระหว่างวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๑๕ จนถึงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ อันทำให้ไม่ได้สัญชาติไทยโดยผลของ ปว.๓๓๗ หากมีข้อเท็จจริงตาม ปว.๓๓๗ ดังกล่าวแล้ว

ส่วนคนที่โดนผลกระทบทางอ้อมของ ปว.๓๓๗ มีอยู่ ๑ กลุ่ม อันได้แก่ (๓) บุตรของสองกลุ่มแรกที่เกิดในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ จนถึงวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑

โดยสรุป คนสัญชาติไทยโดยผลของมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ จึงมีอยู่ ๓ กลุ่ม เหตุผลที่กฎหมายนี้หันมารับรองสิทธิในสัญชาติไทยให้แก้คนกลุ่มนี้โดยผลของกฎหมาย ก็เพราะพวกเราอาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานจนมีความกลมกลืนกับประเทศไทยทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม พวกเขาจึงไม่ต้องร้องขอมีสิทธิในสัญชาติไทยโดยผลของมาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ อีกต่อไป แม้ยื่นคำร้องขอไว้แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามกระบวนการตามมาตรา ๗ ทวิ อีกต่อไป

ในกรณีของคนที่เกิดในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ จากบิดาและมารดาต่างด้าวซึ่งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้าเมืองไม่ถาวร ก็ไม่มีสิทธิในสัญชาติไทยโดยผลของกฎหมายและไม่ใช่ผู้ได้รับผลกระทบของ ปว.๓๓๗ จึงไม่ใช่ผู้ทรงสิทธิตามมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ หากต้องการร้องขอสิทธิในสัญชาติไทย ก็ยังต้องไปใช้มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ ในการร้องขอสัญชาติไทยต่อไป

แต่ขอให้ตระหนักว่า ในการปฏิรูปกฎหมายสัญชาติไทยใน พ.ศ.๒๕๕๑ มีการปฏิรูปมาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ อีกครั้ง เพื่อให้มาตรานี้อาจมีผลในลักษณะทั่วไป มิใช่เพียงเฉพาะรายดังมาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ เดิม มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ ใหม่ ก็คือ มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ และโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

หากจะอยากอ่านงานเขียนของอาจารย์แหววในเรื่องนี้เพิ่มเติม ก็อ่านได้ค่ะ

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๑

------------------

กรณีศึกษานางสาวฟองจันทร์ สุขเสน่ห์ : จากคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยสู่คนสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนโดยการเกิดโดยผลของมาตรา ๒๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑, กรณีศึกษาในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=454&d_id=453

http://learners.in.th/blog/notes-of-archanwell-on-private-international-law/361388

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๒

------------------

บุคคลผู้ถือบัตรบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยและบุตร จะมีสิทธิขอลงรายการสัญชาติไทยในทะเบียนบ้านตามมาตรา ๒๓ หรือไม่ ? เพราะเหตุใด ? : กรณีศึกษานางสาวมึดา นาวานารถ, งานเขียนเพื่อหนังสือแจกในงานวันเด็กไร้สัญชาติ ครั้งที่ ๗ พ.ศ.๒๕๕๒ ของศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน, เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑

http://gotoknow.org/blog/archanwell-and-stateless-and-nationalityless/228684

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=498&d_id=497

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๓

------------------

กรณีศึกษานางสาวศรีนวล : ปัญหาการกำหนดสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนโดยผลของมาตรา ๒๓ วรรค ๑ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑, ข้อสอบวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, เมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๒

http://learners.in.th/blog/archanwell-right2nationality/398393

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๔

------------------

คนสัญชาติไทยตามมาตรา ๗ ทวิ วรรคสอง : ควรมีสิทธิทางการเมืองโดยจำกัดอย่างนั้นหรือ ?, เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒

http://gotoknow.org/blog/law-for-humanity/273624

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๕

------------------

ความเห็นของ อ.แหววต่อการถอดบทเรียนของบุญในการพานักเรียนไปยื่นคำขอตามมาตรา ๒๓, เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒

http://archanwell.spaces.live.com/blog/cns!706316D9B6E66926!9241.entry

http://gotoknow.org/blog/archanwell-and-maeai-study/273814

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๖

------------------

ตอบปัญหาเรื่องสิทธิในสัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓ วรรค ๑ ของคนถือบัตรเลข ๐, เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒, เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒

http://gotoknow.org/ask/archanwell/12517

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๗

------------------

ตอบคำถามเกี่ยวกับผู้ทรงสิทธิเกี่ยวกับมาตรา ๒๓ ของบุคคลที่ไม่ได้สัญชาติไทยเพราะตกอยู่ภายใต้มาตรา ๗ ทวิ วรรค ๑ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งถูกแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕, เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

http://learners.in.th/ask/archanwell/9294

http://gotoknow.org/ask/archanwell/12585

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๘

------------------

ตอบคุณหนุ่มเรื่องสิทธิในสัญชาติไทยตามมาตรา ๒๓ : ต้องเริ่มต้นจากการพิสูจน์การเกิดในประเทศไทย, คำตอบปัญหาของบุคคลที่มีปัญหาสถานะบุคคล, เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๒

http://gotoknow.org/blog/people-management/316876

http://gotoknow.org/ask/archanwell/12854

http://www.archanwell.org/autopage/show_page.php?t=1&s_id=487&d_id=486

------------------

งานเขียนฉบับที่ ๙

------------------

กรณีศึกษานางสาวทันยา : สิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักดินแดนของคนเกิดในประเทศไทยก่อนวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๓๕ จากบิดาและมารดาสัญชาติอเมริกัน, ข้อสอบในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ภาคการศึกษาที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๒, เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓

http://learners.in.th/blog/archanwell-right2nationality/419562

ในประการที่สอง สิทธิทางการศึกษาและสิทธิทำมาหาเลี้ยงชีพ

สิทธิทั้งสองนี้เป็นสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยมีทั้ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๐ พ.ร.บ.การทำงานคนต่างด้าว พ.ศ.๒๕๕๑  และประเทศไทยก็เป็นทั้งภาคีของกติกาสหประชาชาติ ค.ศ.๑๙๖๖ ว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อันหมายความว่า สิทธิทั้งสองไม่ขึ้นอยู่กับสถานะคนสัญชาติไทย การเอาไปผูกติดกัน ก็ทำให้มนุษย์ต้องมี ๒ ปัญหา การให้สัญชาติไทยง่ายๆ คงเป็นไปไม่ได้ แต่การให้สิทธิทางการศึกษา และสิทธิทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นหน้าที่ที่รัฐไทยต้องให้แก่มนุษย์ที่มีลมหายใจในประเทศไทย

ดังนั้น การแก้ไขทัศนคติที่ผิดพลาดดังว่ามา "เพราะว่านักเรียนคิดว่าเมื่อเรียนไปแล้วจบไปก็ไม่สามารถหางานทำได้ ต้องรับจ้างเขา จึงทำให้ต้องออกกลางคัน ช่วยแนะนำให้หน่อยนะครับ ผมจะได้มีความรู้ที่ถูกต้องนำไปบอกกับนักเรียน และลูกศิษย์อีกหลาย ๆ คน ที่มีความคิดแบบนี้" จึงเป็นสิ่งที่ต้องทำก่อน เมื่อคิดผิดทาง ก็แก้ไขปัญหาไม่ได้ และอาจนำไปสู่การกระทำความผิด ก็คือ ซื้อเอกสารปลอม ที่อาจนำไปสู่อีกปัญหาให้แก่ชีวิต

เริ่มต้นจากมีความรู้และมีความคิดที่ถูกต้องก่อนค่ะ ก็จะแก้ไขปัญหาได้

ขอสัญชาติไทยให้บุตรบุญธรรม

chava

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ลองอ่านบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องนะคะ

มาตรา ๑๒/๑ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

ในการขอแปลงสัญชาติเป็นไทยตามมาตรา ๑๒ นั้น บุคคลอื่นอาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่บุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยได้ในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) ผู้อนุบาลตามคำสั่งของศาลอาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่คนไร้ความสามารถซึ่งมีหลักฐานแสดงให้เชื่อได้ว่าเป็นผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๐ (๓) และ (๕) และรัฐมนตรีจะยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิญาณตนก็ได้

(๒) ผู้ปกครองสถานสงเคราะห์ของรัฐตามที่รัฐมนตรีกำหนด เมื่อได้รับความยินยอมของผู้เยาว์แล้วอาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่ผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์มาไม่น้อยกว่าสิบปี โดยให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๐ (๑) และ (๓)

(๓) ผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้มีสัญชาติไทยอาจขอแปลงสัญชาติเป็นไทยให้แก่บุตรบุญธรรมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะซึ่งได้จดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีและมีหลักฐานแสดงให้เชื่อได้ว่าเป็นผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีคุณสมบัติตามมาตรา ๑๐ (๑) และ (๓)


การขอแปลงสัญชาติเป็นไทยแทนบุคคลอื่นตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

ขอใบอณุญาคิขับขี่

ชัชชาชร

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ในประการแรก อ.แหววต้องขอโทษคุณน้ำหวานที่จำคุณไม่ได้ แต่ก็ไม่คิดว่า คุณเป็นคนที่ต้อง "โอนสัญชาติ" หรือ "แปลงสัญชาติ" คุณน่าจะเป็นคนที่เกิดในประเทศไทยมากกว่า เพราะคุณดูอายุไม่มากนัก ลองทบทวนเรื่องราวของคุณให้ อ.แหววจำได้หน่อยซิคะ

ในประการที่สอง เรื่องใบขับขี่นั้น โดยหลักกฎหมาย คนที่เป็นราษฎรไทยก็น่าจะมี "หน้าที่" ร้องขอทำใบขับขี่ หากประสงค์จะขับรถค่ะ แต่บ้านเมืองไทยในตอนนี้มีอะไรแปลกๆ ทราบว่า กรมการขนส่งทางบกเข้ายอมรับให้ราษฎรไทยประเภทคนต่างด้าวที่เป็นชนกลุ่มน้อยบางกลุ่มเท่านั้นที่ทำใบขับขี่ได้ และเท่าที่ดูในหนังสือของกรมการขนส่งทางบก ก็ไม่อนุญาตให้ราษฎรไทยที่มีสถานะเป็น "ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า" ทำใบขับขี่นะคะ  ดังนั้น ถ้าอยากทำ ก็ไปยื่นขอทำ ถ้าเขาไม่ทำให้ ก็ไปฟ้องศาลปกครองเอานะคะ จะได้รู้กันว่า ศาลจะว่าอย่างไร

ในประการที่สาม อยากให้คุณศึกษานโยบายของกรมการขนส่งทางบกที่ปฏิเสธสิทธิของบุคคลที่มีสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่าค่ะ

บันทึกกรมการขนส่งทางบก สำนักกฎหมายที่ คค.๐๔๐๘/ว.๑๐๘ ลงวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๓ เรื่องการออกใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ให้กับคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง

ลองหารือสภาทนายความหรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติดูนะคะ หากเพื่อแถวบ้านของคุณอยากสู้เพื่อความถูกต้องนะคะ

 

บัตรต่างด้าว

Wisaruta

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

โปรดศึกษา พ.ร.บ.การทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.๒๔๙๓ เลยค่ะ

คลิกตรงนี้

http://www.kodmhai.com/m4/m4-1/H39/H39.html

สอบถามเรื่องการขอสัญชาติให้เด็กคะ

dekjo

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เป็นเรื่องของมูลนิธิอะไรคะ

ผู้ถามเป็นใครคะ

น้องชื่ออะไรคะ

น้องมีชื่อในทะเบียนบ้านในเขตอำเภอไหน ? จังหวัดไหนคะ ?

ขอรายละเอียดมากที่สุดนะคะ

การขอแปลงสัญชาติลาวเป็นไทยครับ

สมใจ

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

การแปลงสัญชาติเป็นไทยโดยเงื่อนไขของความเป็นสามีของหญิงสัญชาติไทยทำได้ เป็นไปตามมาตรา ๑๑ (๔) แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑

รายละเอียดไปหารือกองตำรวจสันติบาล ๒ เพื่อยื่นคำร้องนะคะ

พิสูจน์สัญชาติ ความจริงที่แตกต่างจากความเข้าใจ

PEP

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

อ.แหววไปวานท่านผู้รู้ผู้มีประสบการณ์อื่นมาตอบด้วย กฎหมายและนโยบายไม่มีเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา หากคุณทำอะไรๆ ตามกฎหมาย วันนี้ ข้อสงสัยที่มี ก็คงกระจ่างแล้ว

คุยกันอีกสักครั้งก็ได้ค่ะ มาว่ากัน

รออ่านแล้วกัน

รบกวนสอบถามเรื่องผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน

ง๊องแง๊ง

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

มาตรา ๑๓ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ไม่ได้รับรองสิทธิในการร้องขอสัญชาติไทยโดยการสมรสค่ะ แต่เป็นเรื่องของการซ่อมแซมกฎหมายสัญชาติว่าด้วยการสละสัญชาติค่ะ 

การสมรสกับคนสัญชาติไทยตามกฎหมายนำไปสู่สิทธิร้องขอสัญชาติไทยโดยการสมรสตามมาตรา ๙ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ หากเป็นหญิงต่างด้าว แต่ถ้าเป็นชายจะต้องไปร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทยตามมาตรา ๑๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ โดยใช้เงื่อนไขพิเศษตามมาตรา ๑๑ (๔) ค่ะ 

มีแค่สิทธิร้องขอค่ะ แต่ มท.๑ มักไม่อนุญาตค่ะ ต้องมีเหตุผลที่ฟังขึ้นจริงๆ

รบกวนสอบถามค่ะ..ต่างด้าวอยู่ไทยมากว่า 50 ปี

kaaa

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

กรณีที่ว่ามา เป็นการแก้ไขปัญหาไม่ถูกสาเหตุ

จะขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว ก็ต้องมีนายจ้าง มีงานทำ

แต่ถ้ามิใช่แรงงานต่างด้าวที่มีเงินได้ตามสมควร ก็ต้องไปอธิบายต่อกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อพิสูจน์สาเหตุที่ไม่มีเอกสารใดๆ

มนุษย์นั้นก็ต้องมีหน้าที่นะคะ ทั้งที่มีสัญชาติไทยหรือไม่มีสัญชาติไทย ถ้าจะไม่ยอมรับภาระเลย ก็ต้องมีเหตุผลพิเศษค่ะ การผลักดันให้ได้สิทธิในสัญชาติไทยก็ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาทุกระดับ

ถ้าจะช่วยเหลือ ก็อย่างที่บอกว่า พาไปที่ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และต้องหาเหตุผลที่ชัดๆ ว่า ทำไมคุณตาควรมีสิทธิในสัญชาติไทย ?

คุณตามีอายุเท่าไหร่แล้ว ? เพราะอะไรถึงเข้ามาในประเทศไทย ? มาจากประเทศพม่าจริงไหมคะ ?

ปัญหาจริงๆ ก็คือ ต้องการสิทธิในหลักประกันสุขภาพใช่ไหมคะ ?

พ่อเป็นไทย ลูกไม่มีเอกสาร ขอสัญชาติโดยพิสูตร DNA ได้หรือไม่

arin Sae-Tiew

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

          ขอยืนยันว่า ผลการตรวจ DNA นำไปสู่การพิสูจน์สัมพันธภาพระหว่างพ่อและลูกได้ค่ะแต่อ.แหววอยากจะอธิบายว่า คุณจะสิทธิในสัญชาติไทยโดยหลักสืบสายโลหิตจากพ่อได้ ก็ต่อเมื่อพ่อของคุณจะต้องมีสิทธิในสัญชาติไทยก่อนที่คุณจะเกิด

          ขั้นตอนการพิสูจน์สิทธิ ก็คือ เมื่อได้ผลการพิสูจน์จากโรงพยาบาลมาแล้ว  ก็ต้องไปยื่นคำร้องขอพิสูจน์สิทธิในสัญชาติไทย ซึ่งจะต้องไปดูขั้นตอนกฎกระทรวงตามมาตรา ๗ วรรค ๒ แห่ง พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ.๒๕๐๘ ซึ่งแก้ไขและเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.สัญชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ.๒๕๕๑ ซึ่งบัญญัติว่า "คำว่าบิดาตาม (๑) ให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นบิดาของผู้เกิดตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง แม้ผู้นั้นจะมิได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้เกิด และมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิดเป็นบุตรก็ตาม"

             สิ่งที่คุณจะต้องทำประการแรก ก็คือ รีบดำเนินการเจรจากับคุณพ่อ แล้วพากันไปตรวจดีเอนเอได้เลยค่ะ

             และเมื่อได้รับผลการพิสูจน์ ก็ไปแสดงตนที่อำเภอที่พ่อของคุณมีทะเบียนบ้าน เพื่อเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ถ้าอำเภอไม่เข้าใจ ก็ให้อำเภอโทรหารือ อ.วีนัส สีสุขที่สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง

            รีบดำเนินการเลยค่ะ ขอโทษด้วยค่ะที่ตอบช้า

          เพิ่งเห็นคำถามค่ะ

ลูกแรงงานพม่าที่เกิดในไทย

rachele

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คงต้องให้ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนมากกว่านี้นะคะ โดยเฉพาะ บิดาและมารดาของเด็กถือเอกสารพิสูจน์ตนที่ออกโดยรัฐบาลพม่าหรือเปล่าคะ ?

ถ้าบิดาและมารดาก็ไม่มีเอกสารรับรองตัวบุคคลที่ออกโดยรัฐใดเลยบนโลก นายจ้างก็พาไปขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวจากพม่าที่กำลังเปิดตอนนี้ซิคะ และพาบุตรไปขึ้นทะเบียนผู้ติดตามแรงงานต่างด้าวด้วย เมื่อได้รับการพิสูจน์สัญชาติพม่าแล้ว ทั้งสามคนก็จะมีหนังสือเดินทางชั่วคราว ก็จะเดินทางไปมาระหว่างไทยและพม่าได้ค่ะ

โดยหลักการ การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมจะทำได้ค่ะที่สถานทูตอินเดีย หรืออำเภอไทยก็ได้ค่ะ หากบิดาและมารดายินยอม รายละเอียดคงมีอีกมาก เพื่อคุ้มครองสิทธิเด็ก เพราะกฎหมายกลัวการค้าแรงงานเด็กแฝงรูป

การจดทะเบียนสมรสกับบุคคลต่างด้าวสัญชาติพม่า

มิสเตอร์คอฟฟี่

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอถามกลับข้อเท็จจริง ๓ ประการ ดังนี้

  1. คุณเป็นคนสัญชาติไทยที่ถือบัตรประชาชนแล้วใช่ไหมคะ ?
  2. คุณมีทะเบียนบ้านอยู่ที่ไหน ?
  3. บุตรเกิดที่ไหน ? เมื่อไหร่ ? ตอนนี้ อยู่ในทะเบียนบ้านที่คุณมีชื่อแล้วหรือยัง
  4. ภริยาถือเอกสารที่ออกโดยประเทศใด ? เอกสารมีชื่อว่า อะไร ?
  5. ภริยาเคยไปขึ้นทะเบียนแรงงานหรือคะ ? ถ้าใช่ ผ่านการพิสูจน์สัญชาติพม่าแล้วยัง ?

ช่วยงานอาจารย์

jack

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตรงนี้น่าสนใจมากกว่ามังคะ

จบแล้ว เริ่มต้นประกอบอาชีพที่เป็นประโยชน์ต่อคนชายขอบก็ได้นะคะ

http://www.thaingo.org/forum/index.php?topic=1549.0

มูลนิธิไทยเพื่อคนมีปัญหาสิทธิและสถานะบุคคล (Thai Committee for Refugees Foundation - TCR) เป็นองค์กรแรกของประเทศไทยที่มีพันธกิจในการให้ความคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ผู้ลี้ภ้ย และคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ทั้งในประเทศไทย และในภูมิภาคอาเซียน

มูลนิธิฯ มีความประสงค์จะรับสมัครเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฏหมาย ๒ ตำแหน่ง เพื่อประจำศูนย์ให้ความช่วยเหลือด้านกฏหมาย กรุงเทพฯ 

คุณสมบัติผู้สมัคร
- ปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต
- ใบอนุญาติว่าความ (จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)
- สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้
- มีความสนใจที่จะทำงานช่วยเหลือ ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย ผู้ลี้ภัย และคนไร้รัฐไร้สัญชาติ
- มีใจรักในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
- มีความตั้งใจ มุ่งมั่น อดทน รับผิดชอบ และขยันเรียนรู้

ค่าตอบแทน
- ตามวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีและประสบการณ์การทำงาน
- ประกันสังคม
- สวัสดิการพนักงานตามที่กฏหมายกำหนด

ผู้สนใจสามารถส่งจดหมายสมัครงาน ประวัติการทำงาน และรูปถ่าย ได้ที่ [email protected] ภายในวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔

ดูข้อมูลองค์กรเพิ่มเติมได้ที่ www.thaiforrefugees.org

เรื่องการจดทะเบียนสมรสตามกม.ตปท. ขอคำปรึกษาจากลูกศิษย์คะ

patty

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

โดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล การสมรสเป็นนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชน และเมื่อมีลักษณะระหว่างประเทศ จึงต้องว่าตามหลักกฎหมายขัดกันที่มีการกล่าวอ้างสิทธิ เมื่อมีการอ้างสิทธิที่จะหย่าในประเทศไทย ก็ต้องไปพิจารณาว่า มีการสมรสเกิดขึ้นหรือไม่ การสมรสจะชอบด้วยกฎหมายไทยนั้นอาจเป็นไปตามมาตรา ๑๙ - ๒๐ แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.๒๔๘๑ ซึ่งฟังข้อเท็จจริงจากคุณ ก็ขอเดาว่า การสมรสทำในนิวซีแลนด์ ถ้าชอบด้วย กม. ของนิวซีแลนด์ การสมรสนั้นก็น่าจะชอบด้วยกฎหมายไทย (ในแง่เงื่อนไขการสมรส ต้องตรวจสอบด้วยนะคะ ดูแค่แบบแห่งการสมรสไม่ได้) การไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทยที่กงสุลไทยประจำนิวซีแลนด์ก็คงไม่เป็นอะไร แต่คงต้องเอาทะเบียนสมรสตามกฎหมายนิวซีแลนด์มาแปลและขอการรับรองจากกรมการกงสุลไทยนะคะ เพื่อที่จะเอาเอกสารภาษาอังกฤษนี้มาอ้างความเป็นสามีภริยาชอบด้วยกม.นิวซีแลนด์และไทย และเพื่อการขอหย่าในประเทศไทย ซึ่งอาจจะเพียงแค่จดทะเบียนหย่า เพราะคู่สมรสมีสัญชาติไทย และกฎหมายไทยก็ยอมให้มีการหย่าโดยความยินยอม โปรดดูมาตรา ๒๖ แห่ง   พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.๒๔๘๑

ในส่วนเรื่องของบุตรนั้น หากเกิดจากการสมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย ก็คงไม่ต้องมาขอให้ฝ่ายชายรับรองบุตรอีก

สำหรับบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน

กาญจนา

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ตั้งใจจะให้เป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับคนไร้รัฐหรือคนที่ถือบัตรบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน แต่ก็มีคนเอาคำถามอื่นๆ มาถามด้วย ทำไงดี

เรื่องขอสัญชาติไทยค่ะ

liyajung

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
  1. ตกลงมีใครบ้างคะที่เกี่ยวข้อง
  2. คุณพ่อยังได้รับการต่อหนังสือเดินทางโดยรัฐบาลอิรักไหมคะ ??
  3. คุณพ่อประกอบอาชีพอะไรคะ
  4. คุณแม่มีสัญชาติอะไร ?
  5. คุณล่ะคะ ถือสัญชาติอะไร ? มีบัตรประชาชนไหม ? มีชื่อใน ท.ร.๑๔ ในสถานะคนสัญชาติไทยหรือไม่ ? 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท