อนุทินล่าสุด


อภิญญา ก้อนคำตัน
เขียนเมื่อ

พระสัมพุทธมหามุนีศรีคุณาศุภนิมิต หรือ หลวงพ่อดำ ประดิษฐานอยู่ที่ วัดช่องแสมสาร ตำบลแสมสาร อำเภอ สัตหีบ จังหวัดชลบุรี เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองชุมชนช่องแสมสาร ประดิษฐานบนยอดเขาเจดีย์ ซึ่งชาวประมงฝั่งตะวันออก เลื่อมใสศรัทธา ทุกครั้งที่ออกทะเลมักจะไปนมัสการและขอพร ชาวประมงทุกคนจะกลับมาโดยสวัสดิภาพ มีโชคได้สินทรัพย์จากทะเลเป็นกอบเป็นกำ หลวงพ่อดำ ประดิษฐานในพระวิหารวัดช่องแสมสาร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิสูง ๕ เมตร มีรูปใบหน้าอิ่มเอิบ ดวงตาทอดต่ำลงแผ่เมตตาให้กับผู้คนที่เดินทางมากราบไหว้ ด้วยสถานที่ตั้งของวัดตั้งอยู่บนเนินเขา ล้อมรอบไปด้วยทะเล สามารถมองทะเลสัตหีบได้ทั่วบริเวณ ภายนอกวิหารประดับด้วยลวดลายปูนปั้นภาพเทพเทวดา และพระพุทธประวัติวิจิตรตระการตา ด้านข้างพระวิหาร คือ ศาลพระพรหมให้กราบไหว้สักการะบูชา ตรงจุดที่ตั้งศาลพระพรหมจะเป็นจุดชมวิว ที่เราสามารถมองเห็นวิวทะเลแสมสารและเกาะต่างๆได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
อภิญญา ก้อนคำตัน
เขียนเมื่อ

ระวัติเกาะล้าน

ในอดีตเกาะล้านมีประชากรอาศัยสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ทำอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำสวน และประมง ดังหลักฐานคือ ต้นมะพร้าวอายุกว่าร้อยปี และชื่อของสถานที่เรียกต่าง ๆ บนเกาะล้าน เช่น ท่าบรรทุก ท่าไร่ ท่าตลิ่งชัน ซึ่งเป็นที่ใช้ขนผลผลิตลงเรือไปขายที่ฝั่ง เกาะล้านเคยมีฐานะเป็นตำบล แต่เดิมเกาะล้านมี 2 หมู่บ้าน เคยมีกำนันมาแล้วถึง 4 คน มีวัด และโรงเรียนอดีตชาวเกาะล้านมีฐานะดี มีทรัพย์สินเงินทองมาก จึงเคยมีโจรสลัดขึ้นปล้นบนเกาะ ได้ทรัพย์สินไปเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังเคยเกิดโรคอหิวาระบาด ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ความที่เกาะล้านอยู่ห่างจากชายฝั่งมากการคมนาคมไม่สะดวก ทางราชการดูแลไม่ทั่วถึง ตำบลเกาะล้านจึงถูกยุบลงพร้อม ๆ กับตำบลเขาไม้แก้ว และตำบลตะเคียนเตี้ย เกาะล้านจึงเหลือเพียงหมู่บ้านเดียว และไปขึ้นรวมกับตำบลนาเกลือนับแต่นั้นมา หลังจากนั้นมีผู้ใหญ่บ้านมาอีก 3 คน ก่อนที่เกาะล้านและตำบลนาเกลือจะขึ้นอยู่ในความปกครองของเมืองพัทยา โดยรับโอนมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
อภิญญา ก้อนคำตัน
เขียนเมื่อ

ประวัติของหาดนางรำ สัตหีบซึ่งที่มาของหาดนางรำนั้น เดิมนั้นหาดนางรำเป็นหาดที่ไม่มีชื่อ ซึ่งจากตำนานของชาวบ้านนั้น เล่าว่าคำว่า นางรำ นั้น เป็นชื่อเรียกจากเกาะที่อยู่ตรงข้ามหาดนางรำในปัจจุบัน และเป็นเกาะที่ไม่มีคนอาศัย และไม่ค่อยมีคนไปเที่ยวนัก ซึ่งอยู่มาวันหนึ่งมีเสียงดนตรีมโหรีดังกึกก้องมาจากเกาะนี้ ซึ่งคล้ายเสียงดนตรีที่ใช้ในการร่ายรำ อยู่มาวันดีคืนดีก็มีเสียงดนตรีดังขึ้นจากเกาะนี้อีก ชาวบ้านจึงเรียกเกาะนี้ว่า เกาะนางรำ และหาดที่อยู่ตรงข้ามจึงเรียกหาดนางรำ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท