อนุทินล่าสุด


นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่ 7 ให้เด้กได้ทบทวนด้วยตนเอง โดดยการหากิจกกรมให้ทำ การที่ได้ลงมือทำด้วยกิจกรรมทำให้เด็กเกิดความรู้ที่ดีที่สุด แรงเสียดทาน คือ แรงต้านการเคลื่อนที่นั่นเอง แรงเสียดทาน คือปฎิกิริยาซึ่งเป็นแรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุมีความสำคัญในชีวิตประจำวันมาก หากไม่มีแรง เสียดทานเราจะไม่สามารถเดินได้เพราะเราอาจลื่นล้มได้ตลอดเวลา หรือแรงเสียดทานของยางรถยนตร์ที่กระทำต่อ ถนนทำให้รถสามารถเลี้ยวไปตามทางโค้ง หรือหยุดรถได้ ของเหลวเช่นน้ำสามารถทำให้เกิดแรงดันของน้ำมากหรือตามระดับความลึกจากผิวน้ำ นักเรียนอาจสังเกตแรงดันของน้ำจากขวดพลาสติกที่รั่ว ในธรรมชาติมีแรงที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เช่นแรงดันของน้ำเหนือเขื่อนอาจนำมาใช้ปั่นไดนาโม เพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้า หรือแรงลมก็สามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เช่นเดียวกัน เด็กในวัยนี้รักที่จะทดลอง ยิ่งได้ทดลอง ยิ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ๆ ต่าง พวกเด็ก ๆ ชอบ ดังนั้นการสอนแต่ละครั้งต้องเน้นการทดลอง มากกว่าการสอนทฤษฏี เราเป็นครูต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องเอาใจเด็กมาใส่ใจ ในการสอน รักที่จะสอนในสิ่งที่เขาต้องการ ดีกว่าบังคับเขาเรียน เรียนด้วยใจ ดีกว่าแต่ละคาบต้องจำใจเรียน เรียนแล้วให้เกิดความรู้ มากกว่าเกิดความเบื่อหน่าย ใส่ใจที่จะสอน เด็กคืออนาคตของชาติ จำไว้การเสริมแรง หรือ เสริมความรู้ทำให้เด้กเกิดสิ่งที่เรียนรุ้ที่ดีที่สุด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่ 6 เริ่มให้เด็กทบทวน ตอนนี้ก็สอนเรื่อย ๆ จนกว่าจะเด็กจะเข้าใจ ยิ่งถ้าเด็กยิ่งไม่เข้าใจเราต้องหาการทดลองให้เด็กได้เกิดความรู้ การทดลอง ได้ลงมือทำ ทำให้เด็กเกิดความรู้ที่ดีที่สุด แรงเสียดทาน คือ แรงต้านการเคลื่อนที่นั่นเอง แรงเสียดทาน คือปฎิกิริยาซึ่งเป็นแรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุมีความสำคัญในชีวิตประจำวันมาก หากไม่มีแรง เสียดทานเราจะไม่สามารถเดินได้เพราะเราอาจลื่นล้มได้ตลอดเวลา หรือแรงเสียดทานของยางรถยนตร์ที่กระทำต่อ ถนนทำให้รถสามารถเลี้ยวไปตามทางโค้ง หรือหยุดรถได้ ของเหลวเช่นน้ำสามารถทำให้เกิดแรงดันของน้ำมากหรือตามระดับความลึกจากผิวน้ำ นักเรียนอาจสังเกตแรงดันของน้ำจากขวดพลาสติกที่รั่ว ในธรรมชาติมีแรงที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เช่นแรงดันของน้ำเหนือเขื่อนอาจนำมาใช้ปั่นไดนาโม เพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้า หรือแรงลมก็สามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เช่นเดียวกัน เด็กในวัยนี้รักที่จะทดลอง ยิ่งได้ทดลอง ยิ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ๆ ต่าง พวกเด็ก ๆ ชอบ ดังนั้นการสอนแต่ละครั้งต้องเน้นการทดลอง มากกว่าการสอนทฤษฏี เราเป็นครูต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องเอาใจเด็กมาใส่ใจ ในการสอน รักที่จะสอนในสิ่งที่เขาต้องการ ดีกว่าบังคับเขาเรียน เรียนด้วยใจ ดีกว่าแต่ละคาบต้องจำใจเรียน เรียนแล้วให้เกิดความรู้ มากกว่าเกิดความเบื่อหน่าย ใส่ใจที่จะสอน เด็กคืออนาคตของชาติ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่ 5 ยังสอนเรื่องแรงเสียดทาน ยิ่งสอนยิ่งสนุก ตอนนี้ก็สอนเรื่อย ๆ จนกว่าจะเด็กจะเข้าใจ ยิ่งถ้าเด็กยิ่งไม่เข้าใจเราต้องหาการทดลองให้เด็กได้เกิดความรู้ การทดลอง ได้ลงมือทำ ทำให้เด็กเกิดความรู้ที่ดีที่สุด แรงเสียดทาน คือ แรงต้านการเคลื่อนที่นั่นเอง แรงเสียดทาน คือปฎิกิริยาซึ่งเป็นแรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุมีความสำคัญในชีวิตประจำวันมาก หากไม่มีแรง เสียดทานเราจะไม่สามารถเดินได้เพราะเราอาจลื่นล้มได้ตลอดเวลา หรือแรงเสียดทานของยางรถยนตร์ที่กระทำต่อ ถนนทำให้รถสามารถเลี้ยวไปตามทางโค้ง หรือหยุดรถได้ ของเหลวเช่นน้ำสามารถทำให้เกิดแรงดันของน้ำมากหรือตามระดับความลึกจากผิวน้ำ นักเรียนอาจสังเกตแรงดันของน้ำจากขวดพลาสติกที่รั่ว ในธรรมชาติมีแรงที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เช่นแรงดันของน้ำเหนือเขื่อนอาจนำมาใช้ปั่นไดนาโม เพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้า หรือแรงลมก็สามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เช่นเดียวกัน เด็กในวัยนี้รักที่จะทดลอง ยิ่งได้ทดลอง ยิ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ๆ ต่าง พวกเด็ก ๆ ชอบ ดังนั้นการสอนแต่ละครั้งต้องเน้นการทดลอง มากกว่าการสอนทฤษฏี เราเป็นครูต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องเอาใจเด็กมาใส่ใจ ในการสอน รักที่จะสอนในสิ่งที่เขาต้องการ ดีกว่าบังคับเขาเรียน เรียนด้วยใจ ดีกว่าแต่ละคาบต้องจำใจเรียน เรียนแล้วให้เกิดความรู้ มากกว่าเกิดความเบื่อหน่าย ใส่ใจที่จะสอน เด็กคืออนาคตของชาติ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่ 4 ยังสอนเรื่องแรงเสียดทาน ยิ่งสอนยิ่งสนุก ตอนนี้ก็สอนเรื่อย ๆ จนกว่าจะเด็กจะเข้าใจ ยิ่งถ้าเด็กยิ่งไม่เข้าใจเราต้องหาการทดลองให้เด็กได้เกิดความรู้ การทดลอง ได้ลงมือทำ ทำให้เด็กเกิดความรู้ที่ดีที่สุด แรงเสียดทาน คือ แรงต้านการเคลื่อนที่นั่นเอง แรงเสียดทาน คือปฎิกิริยาซึ่งเป็นแรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุมีความสำคัญในชีวิตประจำวันมาก หากไม่มีแรง เสียดทานเราจะไม่สามารถเดินได้เพราะเราอาจลื่นล้มได้ตลอดเวลา หรือแรงเสียดทานของยางรถยนตร์ที่กระทำต่อ ถนนทำให้รถสามารถเลี้ยวไปตามทางโค้ง หรือหยุดรถได้ ของเหลวเช่นน้ำสามารถทำให้เกิดแรงดันของน้ำมากหรือตามระดับความลึกจากผิวน้ำ นักเรียนอาจสังเกตแรงดันของน้ำจากขวดพลาสติกที่รั่ว ในธรรมชาติมีแรงที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เช่นแรงดันของน้ำเหนือเขื่อนอาจนำมาใช้ปั่นไดนาโม เพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้า หรือแรงลมก็สามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เช่นเดียวกัน เด็กในวัยนี้รักที่จะทดลอง ยิ่งได้ทดลอง ยิ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ๆ ต่าง พวกเด็ก ๆ ชอบ ดังนั้นการสอนแต่ละครั้งต้องเน้นการทดลอง มากกว่าการสอนทฤษฏี เราเป็นครูต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องเอาใจเด็กมาใส่ใจ ในการสอน รักที่จะสอนในสิ่งที่เขาต้องการ ดีกว่าบังคับเขาเรียน เรียนด้วยใจ ดีกว่าแต่ละคาบต้องจำใจเรียน เรียนแล้วให้เกิดความรู้ มากกว่าเกิดความเบื่อหน่าย ใส่ใจที่จะสอน เด็กคืออนาคตของชาติ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่ 3 สอนเรื่องแรงเสียดทาน ยิ่งสอนยิ่งสนุกกับมัน ตอนนี้ก็สอนเรื่อย ๆ จนกว่าจะเด็กจะเข้าใจ ยิ่งถ้าเด็กยิ่งไม่เข้าใจเราต้องหาการทดลองให้เด็กได้เกิดความรู้ การทดลอง ได้ลงมือทำ ทำให้เด็กเกิดความรู้ที่ดีที่สุด แรงเสียดทาน คือ แรงต้านการเคลื่อนที่นั่นเอง แรงเสียดทาน คือปฎิกิริยาซึ่งเป็นแรงที่ต่อต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุมีความสำคัญในชีวิตประจำวันมาก หากไม่มีแรง เสียดทานเราจะไม่สามารถเดินได้เพราะเราอาจลื่นล้มได้ตลอดเวลา หรือแรงเสียดทานของยางรถยนตร์ที่กระทำต่อ ถนนทำให้รถสามารถเลี้ยวไปตามทางโค้ง หรือหยุดรถได้ ของเหลวเช่นน้ำสามารถทำให้เกิดแรงดันของน้ำมากหรือตามระดับความลึกจากผิวน้ำ นักเรียนอาจสังเกตแรงดันของน้ำจากขวดพลาสติกที่รั่ว ในธรรมชาติมีแรงที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เช่นแรงดันของน้ำเหนือเขื่อนอาจนำมาใช้ปั่นไดนาโม เพื่อ ผลิตกระแสไฟฟ้า หรือแรงลมก็สามารถนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้เช่นเดียวกัน เด็กในวัยนี้รักที่จะทดลอง ยิ่งได้ทดลอง ยิ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่อง ๆ ต่าง พวกเด็ก ๆ ชอบ ดังนั้นการสอนแต่ละครั้งต้องเน้นการทดลอง มากกว่าการสอนทฤษฏี เราเป็นครูต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องเอาใจเด็กมาใส่ใจ ในการสอน รักที่จะสอนในสิ่งที่เขาต้องการ ดีกว่าบังคับเขาเรียน เรียนด้วยใจ ดีกว่าแต่ละคาบต้องจำใจเรียน เรียนแล้วให้เกิดความรู้ มากกว่าเกิดความเบื่อหน่าย ใส่ใจที่จะสอน เด็กคืออนาคตของชาติ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่ 2 แล้ว ได้มาสอนเริ่มสนุกกับมันมากขึ้น สอนเกี่ยวกับเรื่องแรงและความดัน ในห้องเราเจอปัญหามากมาย เช่น เด็กทะเลาะกัน เด็กแย่งสิ่งของ เด็กชอบฟ้อง เด็กในวัยนี้ชอบฟ้องเป็นสำคัญ เราในฐานะเป็นครู ก็ต้องคอยหาวิธีรับมือกับทุกสถานการณ์ เพราะแต่ละวันสถานการณ์ที่เจอก็จะหลากหลายกันไป เราไม่รู้ว่าวันไหน ต้องเจออะไร เราเลยต้องมีความพร้อมเพื่อตั้งรับตลอดเวลา สอนเรื่องแรงก็จะให้เด็กได้ทดลอง เสริมความรู้ ซึ่งแรง เป็นสิ่งที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ เช่น การออกแรงขับขี่รถจักรยานแรงปั่นจักรยานทำให้รถจักรยาน วัตถุเคลื่อนที่เร็วขึ้น   และขณะเบรคแรงเสียดทานที่ล้อทำให้วัตถุเคลื่อนที่ช้าลง     หรือการที่หักเลี้ยวทำให้รถเปลี่ยน ทิศทางการเคลื่อนที่ก็ต้องอาศัยแรง เราสอนยกตัวอย่างให้เด็กได้นึกภาพออก สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวทำให้เด็กเข้าใจได้ดี เช่น การที่วัตถุตกจากที่สูงต้องอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดวัตถุ สัตว์หรือสิ่งของทำให้วัตถุตกลงมาด้วยอัตราเร็วสูงขึ้น ตลอดเวลาที่วัตถุเคลื่อนที่สิ่งของที่เห็นวางหยุดนิ่งก็ยังมีแรงโน้มถ่วงของโลกกระทำต่อวัตถุนั้น ตลอดเวลาแต่เนื่องจากมีแรงปฏิกิริยา มาต่อต้านในทิศทางตรงกันข้ามโดยแรงกิริยาเท่ากับแรงปฏิกิริยาแต่ทิศทางตรงกันข้าม จึงทำให้วัตถุหยุดนิ่ง คือไม่เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ (กฎข้อที่สามของนิวตัน) หรือการออกแรงผลักสิ่งของแม้จะไม่มีการเคลื่อนที ก็ตามแรงที่กระทำต่อวัตถุก็เกิดขึ้นแล้ว  เด็กทดลอง ทำให้เด็กเข้าใจที่สุด



ความเห็น (1)

เป็นกำลังใจครับ ตามภาษาเด็กครับ ฟ้องทุกเรื่อง น่ารักดีให้เรามีเรื่องต้องมีวิธีคิดได้มากขึ้น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่ 1 ผ่านไปได้ด้วยดี รู้สึกกล้าสอน กล้าทำให้เด้กดูมากขึ้น ไม่อายอย่างแต่ก่อน เข้าไปสอนในห้อง รู้แค่ว่าทำยังไงให้เด็กมีความที่สุด เตรียมการสอนสุดชีวิต ถ้าสอนไม่ออก ขอให้ครูพี่เลี้ยงช่วย ครูพี่เลี้ยงก็ใจดี รู้ว่าเราไม่ได้ก็ช่ยเรานำทางก่อนทุกครั้ง ขอบคุณที่ได้ครูพี่เลี้ยงวันนี้ที่คอยดูแลให้คำปรึกษา สัปดาห์แรกก็สอนเลย เริ่มเนื้อหาเรื่องแรงลัพธ์ เทอมนี้เน้นการทดลองมากกว่าเนื้อหา เพราะเห็นแล้ววา่จากที่สอนพอให้เด้กทดลอง เด็กจะตั้งใจเรียนมากเลย เตรียมอุปกรณืกันมาพร้อม เพื่ออยากทดลอง เราทดลองให้เด้กูก่อนแล้วค่อยถามว่า ทายสิว่า รู้มั้ย ว่าครูจะสอนพวกเทอร์เรื่องอะไร แล้วค่อยอธิบายเรื่องที่จะสอนต่อไป ถือว่าได้ประสบการณืที่ดีที่สุดการที่ทำให้ได้ทดลอง เด้กจะมีความรู้ ต้องมาจากประสบการณ์จริง เหมือน พรบ 2542 เน้นให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ทดลองด้วยตนเอง เด็กจึงจะเกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด แต่เมื่อก่อน เค้าเน้นครูเป็นผู้ป้อนข้อมูล ให้ความรู้เด้กโดยที่เด็กเป็นผู้รับตลอด และในปัจจุบันจะเน้นครูและเด็กร่วมกับเด็ก ทุกครั้งที่สอนให้เด็กได้แสดงความคิดว่าเป็นอย่างไรบ้าง เปรียบเสมือน กระจกสะท้อนกลับมาว่า เด้กเรียนไปแล้วได้อะไรบ้าง ครูควรแก้ไข ปรับปรุงอย่างไรบ้าง เพื่อให้การสอนมีคุณภาพ ตามความต้องการที่เด้กอยากเรียนตามความเหมาะสมต่อไป เมื่อครูได้ทำการแก้ไขแล้ว ก็นำแผนนั้นไปใช้กับกลุ่มอื่นเพื่อดูว่าแตกต่างกันหรือไม่ ต้องเป็นครูต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราเสมอ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์สุดท้ายของการสอบ และเป็นวันสุดท้าย มีหน้าที่นั่งคุมสอบ ป.1/1 จากที่ผ่านมา 1 เทอม ได้ประสบการณ์เยอะมาก ทั้งการสอน การทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก การจัดกิจกรรมต่างๆ การเข้าร่วมงาน เช่น งานเกี่ยวกับวันวิทยาศาสตร์ วันแม่แห่งชาติ เรามีหน้าที่ช่วยเด็กจัดกิจกรรม เมื่อมาเป็นครูสอน จึงทำให้รู้ว่าเด็กแต่ละคนมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน ทั้งสติปัญญา ทั้งพื้นฐานความรู้ จึงทำให้การเรียนมีความแตกต่างกัน เราได้ประสบการณ์เชื่อว่า 1 เทอมที่ผ่านมาเราได้ประสบการณ์ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตตอนเป็นครูจริงๆ ได้อย่างแน่นอน การศึกษาไทยต้องเน้นใหเด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ความรู้จะเกิดได้ดีมาจากประสบการณ์ตรงที่เด็กได้รับ เด็กคือคนสร้างอนาคต ถ้าได้รับการปลูกฝังที่ดี พื้นฐานการดำเนินชีวิตก็จะดีตรามไปด้วย ณ วันนี้ทำให้รู้ว่าเด็กก็คือเด็ก บางอย่างเราอาจคิดว่าเด้กอาจรู้เท่าที่เรารู้ บางครั้งเราคิดว่าทำไม เด้กถึงทำไม่ได้ เพราะเราอธิบายไปแล้ว คำตอบคือ พื้นฐานตั้งแต่เริ่มต้นของเด็ก ไม่เหมือนกัน บางคนพึงมาปรับตัวตอนโต แต่บางคนโดนปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ๆ เช่น การหัดอ่านตั้งแต่ก่อนเข้าอนุบาล การหัดคิดเลขตั้งแต่ก่อนเข้าอนุบาล สิ่งเหล่านี้อาจถูกมองข้ามว่า ค่อยหัดตอนโต แต่เชื่อได้เลย การมีพื้นฐานดี ทำอะไรก็ไม่เหนื่อย หากเรายิ่งโต แต่พื้นฐานยังไม่ดีพอ การเรียนต่อไปให้ก้่าวทันคนอื่นยากแน่นอน พื้นฐานที่ดี ควรปลูกฝัง ตั้งแต่เริ่มต้นของการคิดจะเรียนรู้ เรียนรู้ให้ได้ดี หมั่นทบทวน ใส่ใจ กับสิ่งที่เรียนรู้ แล้วมันจะได้ตามที่เราหวัง ตามที่เราตั้งใจ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่19 แล้ว สัปดาห์นี้เริ่มทบทวนให้นักเรียน ทบทวนเรื่องเดิมเหมือนสัปดาห์ที่แล้ว เริ่มติวข้อสอบเพราะเรียนจบแล้ว เด็กก้รู้เรื่องดี  ให้ความสนใจเรียนดี เวลาติวข้อสอบก็ตั้งใจฟังดี ให้ความร่วมมือกับทุกคน ตั้งใจจดตามอย่างเต็มที่ การทบทวนทำให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้นเพราะบางทีเราสอนแล้วเด็กลืม เด็กก็เหมือนเราหากไม่มีการทบทวนสิ่งที่เรียนมากก็ลืม ดังนั้นไม่ว่าเรียนอะไรต้องหมั่นทบทวนเพื่อให้สามารถจำเนื้อหาส่วนนั้นไว้ได้นานๆ พอเริ่มเข้าช่วงสอบเราก็ไม่ต้องเหนื่อยในการสอน ไม่ต้องเตรียมสื่อ แต่จะหาข้อสอบเพื่อให้เด็กได้ฝึกทำโดยเฉพาะข้อสอบเกี่ยวกับความหนาแน่น เด็กบางคนยังไม่ค่อยแม่นในการคำนวณ ขาดทักษะการคูณ การหาร เราจึงฝึกให้เด็กทำโจทย์เพื่อให้เด็กได้ทบทวน ส่วนมากที่เด็กยังไม่แม่นคือเรื่องการใส่หน่วย ซึ่งการคำนวณเป็นเรื่องยากพอสมควรถ้าใครมีพื้นฐานไม่ดี ข้าพเจ้าจึงทบทวนให้ตั้งแต่บทแรกจนถึงบทสุดท้าย เด็กจะจำได้ หรืออาจพอนึกออกหากมีการทบทวนบ่อย ๆ ณ วันนี้จนถึงสัปดาห์นี้ การสอนเริ่มเป็นไปอย่างราบรืน คือ ครูเริ่มรู้ว่าเด็กแต่ละคนเป็นยังไง เด็กเริ่มรู้ว่าครูเป็นยังไง จึงง่ายต่อการยืนสอนอยู่ในห้อง ไม่เกร็งเหมือนคาบแรก ประสบการณ์ที่ได้รับต้องขอบคุณครูในโรงเรียน ครูในมหาลัยที่ให้โอกาสมาทำงาน จะพยายามเอาประสบการณ์ให้ได้มากที่สุด เพราะประสบการณ์การฝึกสอนในครั้งนี้สามารถทำให้ข้าพเจ้าไปเป็นครูที่มีประสบการณ์ที่ดีได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่18 แล้ว สัปดาห์นี้เริ่มทบทวนให้นักเรียน เริ่มติวข้อสอบเพราะเรียนจบแล้ว เด็กก้รู้เรื่องดี  ให้ความสนใจเรียนดี เวลาติวข้อสอบก็ตั้งใจฟังดี ให้ความร่วมมือกับทุกคน ตั้งใจจดตามอย่างเต็มที่ แม้จะมีกิจกกรมแทรกบ้าง อย่างเช่นวันศุกรืมีกิจกกรมแทรกคือ ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมกินเจ ซึ่งไม่มีการเรียนการสอนในคาบเช้า แต่ก็ยังได้ทบทวนให้เด็กได้ การทบทวนทำให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้นเพราะบางทีเราสอนแล้วเด็กลืม เด็กก็เหมือนเราหากไม่มีการทบทวนสิ่งที่เรียนมากก็ลืม ดังนั้นไม่ว่าเรียนอะไรต้องหมั่นทบทวนเพื่อให้สามารถจำเนื้อหาส่วนนั้นไว้ได้นานๆ พอเริ่มเข้าช่วงสอบเราก็ไม่ต้องเหนื่อยในการสอน ไม่ต้องเตรียมสื่อ แต่จะหาข้อสอบเพื่อให้เด็กได้ฝึกทำโดยเฉพาะข้อสอบเกี่ยวกับความหนาแน่น เด็กบางคนยังไม่ค่อยแม่นในการคำนวณ ขาดทักษะการคูณ การหาร เราจึงฝึกให้เด็กทำโจทย์เพื่อให้เด็กได้ทบทวน ส่วนมากที่เด็กยังไม่แม่นคือเรื่องการใส่หน่วย ซึ่งการคำนวณเป็นเรื่องยากพอสมควรถ้าใครมีพื้นฐานไม่ดี ข้าพเจ้าจึงทบทวนให้ตั้งแต่บทแรกจนถึงบทสุดท้าย เด็กจะจำได้ หรืออาจพอนึกออกหากมีการทบทวนบ่อย ๆ ณ วันนี้จนถึงสัปดาห์นี้ การสอนเริ่มเป็นไปอย่างราบรืน คือ ครูเริ่มรู้ว่าเด็กแต่ละคนเป็นยังไง เด็กเริ่มรู้ว่าครูเป็นยังไง จึงง่ายต่อการยืนสอนอยู่ในห้อง ไม่เกร็งเหมือนคาบแรก ประสบการณ์ที่ได้รับต้องขอบคุณครูในโรงเรียน ครูในมหาลัยที่ให้โอกาสมาทำงาน จะพยายามเอาประสบการณ์ให้ได้มากที่สุด เพราะประสบการณ์การฝึกสอนในครั้งนี้สามารถทำให้ข้าพเจ้าไปเป็นครูที่มีประสบการณ์ที่ดีได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่17 แล้วสอนนักเรียนทบทวนเรื่องเสียงสูง เสียงต่ำ ถ้าพูดถึงเสียง เสียง เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง(คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น เสียงเกิดขึ้น เมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียง มีการสั่นสะเทือน ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของอากาศที่อยู่โดยรอบกล่าวคือโมเลกุลของอากาศเหล่านั้นจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งแหล่งกำเนิดเสียงไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดออกไป จะเกิดการถ่ายโอนโมเมนตัมจากโมเลกุลที่มีการเคลื่อนที่ไปให้กับโมเลกุลของอากาศ ที่อยู่ในสภาวะปกติ จากนั้นโมเลกุลที่ชนกันจะแยกออกจากกันโดยโมเลกุลของอากาศที่เคลื่อนที่มาชนจะถูกดึงกลับไปยังตำแหน่งเดิมด้วยแรงปฎิกิริยา และโมเลกุลที่ได้รับการถ่ายโอนพลังงาน ก็จะเคลื่อนที่ต่อไปและไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดไป เป็นดังนี้ไปเรื่อยๆ จนเคลื่อนที่ไปถึงหู เกิดการได้ยินขึ้น เสียงที่เกิดขึ้นมีหลายลักษณะ เช่น เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ เสียงทุ้ม เป็นต้น สัปดาห์นี้ได้สอนแค่ 2 วัน เพราะทางโรงเรียนมีการแข่งกีฬาสีจากวันพุธถึงศุกร์จึงไม่ได้สอน แต่ก็ยังได้ทบทวนให้เด็กไได้ การทบทวนทำให้เด็กเข้าใจมากยิ่งขึ้นเพราะบางทีเราสอนแล้วเด็กลืม เด็กก้เหมือนเราหากไม่มีการทบทวนสิ่งที่เรียนมากก็ลืม ดังนั้นไม่ว่าเรียนอะไรต้องหมั่นทบทวนเพื่อให้สามารถจำเนื้อหาส่วนนั้นไว้ได้นานๆ



ความเห็น (1)

กันลืมคือให้เด็ก “ท่อง” และก็ “จด” ครับ

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่16 แล้วสอนนักเรียนเรื่องเสียงสูง เสียงต่ำ ถ้าพูดถึงเสียง เสียง  เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง(คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น เสียงเกิดขึ้น เมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียง มีการสั่นสะเทือน ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของอากาศที่อยู่โดยรอบกล่าวคือโมเลกุลของอากาศเหล่านั้นจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งแหล่งกำเนิดเสียงไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดออกไป จะเกิดการถ่ายโอนโมเมนตัมจากโมเลกุลที่มีการเคลื่อนที่ไปให้กับโมเลกุลของอากาศ ที่อยู่ในสภาวะปกติ จากนั้นโมเลกุลที่ชนกันจะแยกออกจากกันโดยโมเลกุลของอากาศที่เคลื่อนที่มาชนจะถูกดึงกลับไปยังตำแหน่งเดิมด้วยแรงปฎิกิริยา และโมเลกุลที่ได้รับการถ่ายโอนพลังงาน ก็จะเคลื่อนที่ต่อไปและไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดไป เป็นดังนี้ไปเรื่อยๆ จนเคลื่อนที่ไปถึงหู เกิดการได้ยินขึ้น เสียงที่เกิดขึ้นมีหลายลักษณะ เช่น เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ เสียงทุ้ม เป็นต้นวัตถุที่มีการสั่นสะเทือนมากจะทำให้เกิด เสียงดังวัตถุที่มีการสั่นสะเทือนน้อยจะทำให้เกิด เสียงค่อย วัตถุแต่ละชนิดจะมีความดังที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสั่นสะเทือนของวัตถุนั้นๆ เช่น วัตถุชนิดหนึ่งมีการสั่นสะเทือนมากกว่าวัตถุอีกชนิดหนึ่ง เมื่อถูกเคาะด้วยแรงเท่ากัน และวัตถุที่ใช้เคาะชนิดเดียวกัน วัตถุที่สั่นสะเทือนมากกว่าจะทำให้เกิดเสียงที่ดังกว่า ให้เด็กได้ทำการทดลองคือ ให้เด็กนำน้ำใส่ขวดในปริาตรที่ต่างกัน จากนั้นทำการเคาะว่าเสียงใดสูง เสียงใดต่่ำ และจากนั้นทดลองการพูดคุยผ่านเส้นเชือกโดยใช้แก้วน้ำพลาสติกเป็นตัวช่วยฟัง โดยการทดลองนี้เสียงเดินทางผ่านเชือกหรือเส้นด้ายที่ขึงตึง แม้ว่าไกลแค่ไหนก้ได้ยินเพราะมันเดินทางผ่านตัวกลางที่เป็นเส้นด้ายนั่นเอง  การให้เด็กได้ลงมือทำเอง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด  



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่15 แล้วสอนนักเรียนเรื่องการเคลื่อนที่ของเสียง ถ้าพูดถึงเสียง เสียง  เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง(คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น เสียงเกิดขึ้น เมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียง มีการสั่นสะเทือน ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของอากาศที่อยู่โดยรอบกล่าวคือโมเลกุลของอากาศเหล่านั้นจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งแหล่งกำเนิดเสียงไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดออกไป จะเกิดการถ่ายโอนโมเมนตัมจากโมเลกุลที่มีการเคลื่อนที่ไปให้กับโมเลกุลของอากาศ ที่อยู่ในสภาวะปกติ จากนั้นโมเลกุลที่ชนกันจะแยกออกจากกันโดยโมเลกุลของอากาศที่เคลื่อนที่มาชนจะถูกดึงกลับไปยังตำแหน่งเดิมด้วยแรงปฎิกิริยา และโมเลกุลที่ได้รับการถ่ายโอนพลังงาน ก็จะเคลื่อนที่ต่อไปและไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดไป เป็นดังนี้ไปเรื่อยๆ จนเคลื่อนที่ไปถึงหู เกิดการได้ยินขึ้น เสียงที่เกิดขึ้นมีหลายลักษณะ เช่น เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ เสียงทุ้ม เป็นต้นวัตถุที่มีการสั่นสะเทือนมากจะทำให้เกิด เสียงดังวัตถุที่มีการสั่นสะเทือนน้อยจะทำให้เกิด เสียงค่อย วัตถุแต่ละชนิดจะมีความดังที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสั่นสะเทือนของวัตถุนั้นๆ เช่น วัตถุชนิดหนึ่งมีการสั่นสะเทือนมากกว่าวัตถุอีกชนิดหนึ่ง เมื่อถูกเคาะด้วยแรงเท่ากัน และวัตถุที่ใช้เคาะชนิดเดียวกัน วัตถุที่สั่นสะเทือนมากกว่าจะทำให้เกิดเสียงที่ดังกว่า ให้เด็กได้ทำการทดลองคือ ดีดไม้บรรทัดกับโต๊ะ โดยให้ดีดเบา ๆ ดีดแรงๆ และให้ตั้งไม้บรรทัดห่างจากโต๊ะ 10 เซนติเมตร และให้ตั้งไม้บรรทัดห่างจากโต๊ะ 20 เซนติเมตร ดูความเปลี่ยนแปลงเพื่อศึกษาว่าเสียงเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นอากาศโดยเกี่ยวข้องกับความถี่ด้วย ความถี่เร็วเสียงดัง ความถี่ช้าเสียงเบา การให้เด็กได้ลงมือทำเอง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

 

สัปดาห์ที่14 แล้วสอนนักเรียนเรื่องความหนาแน่นของวัสดุและเรื่องเสียงกับการได้ยิน ความหนาแน่นคือ มวลของวัตถุต่อหนึ่งหน่วยปริมาตร มีสูตรคือ ความหนาแน่นเท่ากับ มวลหารปริมาตรโดยมวลหรือน้ำหนักนี้มีหน่วยเป็นกรัมหรือกิโลกรัม ส่วนปริมาตรมีหน่วยเป็นลูกบาศก์เซนติเมตรและลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้จะตอบหน่วยปริมาตรแบบไหนเราต้องดูว่าโจทย์กำหนดให้มวลหรือน้ำหนักเป็นกรัมหรือกิโลกรัม ถ้าหน่วยเป็นกรัมก็ตอบหน่วยปริมาตรเป็นลูกบาศก์เซนติเมตร แต่ถ้าน้ำหนักเป็นกิโลกรัมหน่วยปริมาตรจะตอบเป็นลูกบาศก์เมตร ส่วนหน่วยความหนาแน่นก็เหมือนกันถ้าน้ำหนักเป็นกรัม หน่วยตอบเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แต่ถ้าน้ำหนักเป็นกิโลกรัม หน่วยปริมาตรจะตอบเป็นกิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตรเรื่องนี้เป็นพื้นฐานการคำนวณ จึงไม่ค่อยมีทฤษฎีในการจดจำ แค่อาศัยพื้นฐานการคิดเลข บวก ลบ คูณหารเล็กน้อย และจากนั้นเรียนเรื่องเสียงกับการได้ยิน เสียง เป็นคลื่นกลที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุเกิดการสั่นสะเทือน จะทำให้เกิดการอัดตัว และขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลางที่เป็นสสารอยู่ในสถานะ ก๊าซ ของเหลว ของแข็ง(คลื่นเสียงจะไม่ผ่านสุญญากาศ) ไปยังหู ทำให้ได้ยินเสียงเกิดขึ้น เสียงเกิดขึ้น เมื่อวัตถุหรือแหล่งกำเนิดเสียง มีการสั่นสะเทือน ส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของอากาศที่อยู่โดยรอบกล่าวคือโมเลกุลของอากาศเหล่านั้นจะเคลื่อนที่จากตำแหน่งแหล่งกำเนิดเสียงไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดออกไป จะเกิดการถ่ายโอนโมเมนตัมจากโมเลกุลที่มีการเคลื่อนที่ไปให้กับโมเลกุลของอากาศ ที่อยู่ในสภาวะปกติ จากนั้นโมเลกุลที่ชนกันจะแยกออกจากกันโดยโมเลกุลของอากาศที่เคลื่อนที่มาชนจะถูกดึงกลับไปยังตำแหน่งเดิมด้วยแรงปฎิกิริยา และโมเลกุลที่ได้รับการถ่ายโอนพลังงาน ก็จะเคลื่อนที่ต่อไปและไปชนกับโมเลกุลของอากาศที่อยู่ถัดไป เป็นดังนี้ไปเรื่อยๆ จนเคลื่อนที่ไปถึงหู เกิดการได้ยินขึ้น เสียงที่เกิดขึ้นมีหลายลักษณะ เช่น เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ เสียงทุ้ม เป็นต้นวัตถุที่มีการสั่นสะเทือนมากจะทำให้เกิด เสียงดังวัตถุที่มีการสั่นสะเทือนน้อยจะทำให้เกิด เสียงค่อย วัตถุแต่ละชนิดจะมีความดังที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสั่นสะเทือนของวัตถุนั้นๆ เช่น วัตถุชนิดหนึ่งมีการสั่นสะเทือนมากกว่าวัตถุอีกชนิดหนึ่ง เมื่อถูกเคาะด้วยแรงเท่ากัน และวัตถุที่ใช้เคาะชนิดเดียวกัน วัตถุที่สั่นสะเทือนมากกว่าจะทำให้เกิดเสียงที่ดังกว่า เป็นต้นการให้เด็กได้ลงมือทำเอง ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด

 

 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

 

สัปดาห์ที่ 13 แล้วสอนนักเรียนเรื่องการนำความร้อนและการนำไฟฟ้า การนำความร้อนคือ การถ่ายเทความร้อนโดยผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็งจำพวกเหล็ก โดยที่ตัวกลางนั้นอยู่นิ่งกับที่ โดยความร้อนจะถ่ายโอนจากที่ที่มีอุณหภูมิสูงไปสู่ที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ ในคาบนักเรียนร่วมกันทดลองโดยการหยดเทียนลงบนแท่งโลหะ 5 หยด ระยะห่างเท่า ๆ กันโดยประมาณ จากนั้นให้ความร้อนด้วยไฟ ที่ปลายแท่งโลหะนั้น สังเกตการเปลี่ยนแปลง ปรากฏว่าเทียนหยดที่อยู่ปลายแท่งโลหะละลายเป็นหยดแรก แสดงว่าปลายแท่งโลหะมีอุณหภูมิสูงที่สุด มันจึงละลายเป็นหยดแรก และเมื่อให้ความร้อนสักพัก เทียนจะลายหมดแสดงตัวกลางคือแท่งโลหะได้นำพาความร้อนจากปลายแท่งไปสู่หัวแท่งโลหะนั้น โดยที่แท่งโลหะไม่ได้เคลื่อนที่ใดๆ เพียงแค่ให้ความร้อน ในจุดปลายจุดเดียว จากนั้น ทำการทดลองเรื่องการนำไฟฟ้า โดยการนำสายไฟ ถ่านไฟ หลอดไฟ มาต่อใหเป็นวงจร เมื่อได้เป็นวงจรแล้ว ให้นำมาแตะที่วัตถุต่างๆ ที่เตรียมมา ผลปรากฎว่า กระดาษฟอย ลูกกุญแจ คริปหนีบกระดาษ ช้อนโลหะ เงินเหรียญนำไฟฟ้าได้ เพราะเมื่อนำไปแตะหลอดไฟสว่าง แต่พวกยางลบ ไม้บรรทัดยาง ดินสอ เมื่อนำไปแตะหลอดไฟไม่สว่าง เพราะการนำไฟฟ้า คือ การยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน หรือยอมให้กระแสไฟฟ้าถ่ายโดอนไปยังวัตถุนั้น สรุปผลการทดลองเรื่องการนำไฟฟ้า คือ วัตถุทีีทำจากโลหะจะนำไฟฟ้าและวัตุถุที่ทำจากยาง พลาสติกไม่นำไฟฟ้า เป็นเพียงแค่ฉนวนไฟฟ้าเท่า ฉนวนไฟฟ้า คือ ส่วนประกอบของเครื่องใช้ไฟฟ้าเพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว การให้เด็กได้ลงมือทำเอง ทำใหเด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด

 

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่ 12 สอนเรื่องความเหนียวของวัสดุ ความเหนียวคือวัสดุที่สามารถรอบรับน้ำหนักได้ เช่น เชือก นำมาใช้ประโยชน์คือ ลากของ ให้เด็กนักเรียนทำการทดลองเรื่องความเหนียว โดยการเอาตัวอย่างเชือกมา 3 แบบ เพื่อดูว่าเชือกแบบไหน สามารถรองรับน้ำหนักของสิ่งที่หนักอย่างเช่นถุงทรายไว้ได้ เชือก 3 แบบได้แก่ เชือกฟาง เส้นเอ็น เส้นด้าย ทำการทดลองโดยการนำเชือกทั้ง 3 แบบมามัดกับไม้รวก โดยเชือกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร จากนั้นแวนถุงทรายทีละถุง อย่างน้อย 3 ถุง แล้วดูการเปลี่ยนแปลง ให้เด็กนักเรียนทดลองเชือกทีละเส้น เริ่มจากเส้นเอ็น เชือกฟาง และเส้นด้าย ดูว่าเชือกชนิดใดรองรับน้ำหนักของถุงทรายไว้ได้ และเชือกเส้นใดไม่สามารถรองรับน้ำหนักของถุงทรายไว้ได้ ถ้าหากเชือกเส้นไหนรองรับน้ำหนักของถุงทรายไว้ได้แสดงว่าเชือกเส้นนั้นมีความเหนียว จากการทดลองพบว่าเส้นเอ็นกับเชือกฟางสามารถรองรับน้ำหนักของถุงทรายไว้ได้ทั้ง 3 ถุง แต่เส้นด้ายไม่สามารถรองรับน้ำหนักของถุุงทรายไว้ได้ พอใส่ทรายถุงที่สอง เส้นด้ายขาด สรุปได้ว่าเส้นด้ายไม่มีความเหนียว แต่เชือกฟางกับเส้นเอ็นมีความเหนียว และทำการทดลองเรื่องความแข็ง นักเรียนทำการทดลองโดยการนำฝาจีบ ยางลบ ไม้บรรทัด มาขูดกัน เช่น นำฝาจีบขูดยางลบ นำฝาจีบขูดไม้บรรทัด นำไม้บรรทัดขูดยางลบ นำไม้บรรทัดขูดฝาจีบ น้ำยางลบขูดไม้บรรทัด และนำยางลบขูดฝาจีบ ถ้าวัสดุไหนเกิดรอยแสดงว่าไม่มีความแข็ง สรุปว่าไม่ว่าจะเอาฝาจีบขุดกับอะไร หรือมีวัสดุอื่นใดมาขูดกับฝาจีบ ฝาจีบไม่เกิดรอย ดังนนั้นจากวัสดุทั้ง 3 ชนิด ฝาจีบ ไม้บรรทัด ยางลบ วัสดุชนิดฝาจีบมีความแข็งมากที่สุดเพราะไม่เกิดรอยเมื่อมีวัสดุอื่นมากระทำ เมื่อรู้แนวการสอนเริ่มไปได้ง่ายขึ้น ประสบการณ์ให้เด็กนักเรียนลงมือทำเอง จะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์ที่ 11 แล้ว เริ่มต้นหลังสอบกับเรื่อง วัสดุในชีวิตประจำวัน เริ่มง่ายต่อการเริ่มสอน เพราะเราผ่านมาหลายอาทิต เริ่มรู้ทางว่าสอนอย่างไรให้เด็กเข้าใจ ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวเด็กจะเห็นภาพจริง เช่น สอนเรื่อง คุณสมบัติขิงวัสดุ วพก ตัวนำไฟฟ้า ฉนวนไฟฟ้า แตกต่างกันอย่างไร ทำไมถึงต้องแยกคุณสมบัติ เพราะถ้าวัสดุในโลกนี้เรานำมาใช้ผิดวิธีโดยไม่แยกคุณสมัติ วัสดุเหล่านั้นจะทำอันตรายเราถึงชีวิตได้ ตัวนำไฟฟ้าคือ ตัวที่นำไฟฟ้าสู่ส่วนกลาง เช่น กระติกน้ำร้อน ตัวนำคือ เหล็กที่ติดกับตัวเสียบ นำไฟฟ้าให้กระติกร้อนและน้ำในกระติกเดือด ส่วนฉนวนไฟฟ้าคือ ตัวที่นำไไฟ้าไม่ได้หรือนำไฟฟ้าได้ไม่ดี คือ ตัวที่จับเสียบ ปลั๊กที่ไว้ใช้เสียบ ซึ่งทำจากยางป้องกันกระแสไไฟ้าไม่ให้มาถึงตัวเรานั่นเอง การยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวทำให้เด็กเข้าใจง่ายขึ้น สอนบ้าง ทดลองบ้างสลับกันไปทำฝห้เด็กไม่เบื่อหน่าย เมื่อเรารู้ว่าเด็กต้องการอะไร เราก็จัดสิ่งนั้นให้เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี เด็กต้องเข้าใจด้วยตัวเอง ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเอง เพื่อให้ประสบการณ์ที่เรียนรู้ได้ตอกย้ำความคิด เกิดการเรียนรู้ขั้นต่อไป เด็กในวันนี้คือผู้ใหญในวันหน้า ถ้าได้รับความรู้ผิด ๆ วันหน้าความรู้ที่ได้รับก็จะสับสน ดังนั้นก่อนสอนต้องเตรียมการสอน เตรียมกิจกรรม เตรียมสื่อให้ดีเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ในเรื่องที่ถูกต้อง รากฐานของบ้านคืออิฐ รากฐานของชีวิตคือการศึกษา....ช่วยกันปลูกฝัง อบรมให้ลูกหลานไทยมีการศึกษา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ


สัปดาห์นี้เริ่มสอบ มีหน้าที่ไปคุมสอบ ช่วยแจกข้อสอบ ช่วยดูพฤติกรรมการสอบ ดูแล้วเหมือนเราตอนเด้ก ๆ เหลือเกิน พอเริ่มสอบภาระงานของเราคือการตรวจรายละเอียดว่าเด็กทำถูกต้องหรือไม่ อย่างไร ซึ่งได้คุมชั้น ป.1/1 เป็นเด็กเล็ก ๆ โรงเรียนนี้ใช้วิธีแบบฝนคำตอบด้วยดินสอ ซึ่งเด้กเล็ก ๆ ไท่เคยทำ ก็ค่อนข้างยากสำหรับพวกเขา แต่เราก็พยายามทำให้เขาดูว่าทำอย่างไร ความไร้เดียงสาของเด็กก็น่ารักอีกแบบหนึ่ง เห็นแล้วนึกถึงตอนเด็ก ๆ ที่เราก้ไม่รู้เรื่่องว่าต้องสอบยังไง แต่พวกเขาก้ทำกันได้ การสอบคือการวัดประมวลความรู้ ความสามารถของเด็กแต่ละบุคคล ซึ่งก็ได้รู้ทันทีว่าเด็กคนไหนทำได้ เด้กคนไหนทำไม่ได้ บางคำตอบง่ายมาก แต่ด้วยความสามารถของเขาที่แตกต่างกัน พื้นฐานที่แตกต่างกันทำให้สิ่งที่ออกมา คำตอบที่ออกมาแตกต่างกันตามสักยภาพ เมื่อเรารู้ว่าเด็กคนไหนอ่อนวิชาอะไร เราก็ได้เสริมให้ถุกในวิชานั้น การสอก็ดีไปอีกอย่างจะได้รุ้ว่าจะต้องแก้ไขตรงจุดไหนกับเด็กคนไหน ต่อไปจากนี้เมื่อสอบเสร็จก็เหลือแต่สอน เราก็จะได้รู้ว่าสอนอย่างไรให้เด้กเข้าใจที่สุด บางครั้งคิดว่าเด้กเข้าใจแล้ว แต่ผลสอบออกมาจึงรู้ว่า พื้นฐานที่คิดว่าเข้าใจ เมื่อวัดออกมาแล้ว คำตอบคือ บางคนไม่เข้าใจ แต่ที่เรียนได้เพราะเกาะกลุ่มเพื่อนไป เรามีหน้าที่แก้ไข ส่วนที่เด้กขาด และเด้กมีหน้าที่แก้ไขตัวเองตรงที่คิดว่าตัวเองขาด 



ความเห็น (1)

ฝนคำตอบด้วยดินสอ เด็ก ป1. เริ่มฝนคำตอบแล้ว สงสัยค่ะว่าตรวจด้วยเครื่องหรือเปล่าจึงต้องฝน หรือต้องการฝึกกล้ามเนื้อมือ ใช้ขีด หรือ กากะบาด หรือวงกลมล้อมรอบก็น่าจะรวดเร็วกว่านะคะ ยืดหยุ่นได้ไหม ?

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

อาทิตย์นี้ทบทวนอย่างเดียว ไม่มีสอนแล้ว ทบทวนทั้ง 4 บท ทั้งให้ทำแบบทดสอบ ให้จด ให้อ่าน แต่ส่วนใหญ่จะสอนให้เด็กจดมากกว่าเพราะถ้าจำไม่หมด จดไว้ดูเป็นครูสอน ต่อให้นานแก้ไหนถ้าเราจดไว้เราสามารถย้อนกลับมาอ่าน ย้อนกลับมาทบทวนได้ สัปดาห์ที่ 8 หมดไปแล้ว สัปดาหืที่ 9 เริ่มต้นขึ้นแล้ว เริ่มต้นกับการสอนทบทวน เราทบทวนเด็ก เราก็ได้ทบทวนความรู้ไปด้วย สอนเด้กช่างมีความรู้ ตอนนี้เริ่มภูมิใจแล้วเวลาไปไหนเด็กเรียกว่าครู มีแต่คนยกมือไหว้ ให้เกียรติ ว่าเราคือครูคนหนึ่ง มันช่างรู้สึกดี ทั้งที่เราแค่ครูฝึกสอน เค้าก็กระทำ และให้เกียรติเหมือนเราเป้นครูจริง ๆ ปัญหาต่าง ๆ เริ่มคลี่คลายลง เริ่มกลับเข้าที่จากการปรับสภาพของเราให้เข้ากับสภาพที่เป็นอยู่ ไม่ใช่การตอแหล แต่อยู่อย่างกลมกลืน สังคมครูนอกจากให้ความรู้แล้ว ต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะหลายคนบอกว่า เราเป้นครูฝึกสอน แต่เด็กนักเรียนของเราไม่ได้ฝึกเรียน มันก็จริง เขาต้องการความรู้ ต้องก็ต้องให้ความรู้เต็มที่ ให้มากกว่าที่เขารู้ แต่อย่ามากมั้ย เพราะถ้ามากไปความรู้ที่เด็กได้รับไปมันไม่เกิดประโยชน์อะไร         ให้แบบพอดีตามความสามารถ ตามความเหมะสม ตามสติปัญญาของเด็กนั้น ๆ จะทำให้เขาจำได้เต็มที่ การพัฒนาความรู้ที่ดีต้องควบคู่กับการเรียนรู้ที่ดี การเรียนรู้ให้ได้ดีนอกจากพึ่งครูแล้ว ต้องพึ่งตนเอง หมั่นทบทวนและอ่านด้วยตนเอง ดีที่สุด 10 ปากว่าไม่เท่าตาเห็น 10 ตาเห็นไม่เท่าลงมือทำ 10 ลงมือทำไม่เท่าทำเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์นี้เริ่มสอนเสร็จแล้วในหน่วยที่ 1 ก็เหลือแต่ทบทวนเพื่อใหเด็กได้สอบกลางภาค การทบทวนเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ผุ้เป็นครูต้องทำใหเด็ก เพราะเด็กก้เหมือนเราเมื่อตอนสมัยเรายังเรียน เรียนไปข้างหน้า ลืมข้างหลัง ดังนั้นก่อนสอบเราจึงควรติวให้เด้กเพื่อให้เด็กเกิดความจำในสิ่งที่เรียนมาแล้ว ถ้าเด็กได้รับการทบทวนบ่อย ๆ เชื่อได้เลยเด็กต้องทำข้อสอบได้ เด็กในวัยประถมไม่มีทางที่จะสามารถอ่านหนังสือและสรุปและเข้าใจได้เอง ต้องมีครูคอยเสริมความรู้ให้ภายหลัง การทบทวนในทุกเนื้อหาไม่ได้ทำให้เด้กเกิดความรู้ความจำ เราต้องใหเด็กฝึกทำข้อสอบทีละบท และอธิบายทบทวนไปทีละบท ถ้าทบทวนทีเดียวรวดนอกจากเด็กไม่เกิดความจำแล้ว จะทำใหเด็กเกิดการมั่วในเนื้อหา เด็กความจำยังไม่ดีพอที่จะสามารถจำอะไรเยอะๆ หมั่นให้ทำข้อสอบบ่อย ๆ เมื่อเค้าเจอข้อสอบจริง ๆ จะไม่ทำให้เด้กหวั่นเด็กกลัว แต่ถ้าเรียนอย่างเดียว เมื่อเด้กเจอข้อสอบจะทำให้เด็กตื่นตระหนก กลัว จนอาจทำให้ลืมเนื้อหาที่เรียนมา เพราะถ้าพูดถึงการสอน ไม่ว่าเด็กหรือเราเองย่อมเกิดความตื่นเต้น การกลัวแน่นอน เราต้องข่มความกลัวโดยการฝึกสอบ ฝึกคิด บ่อย ๆ บวกกับทบทวนให้บ่อยๆ ให้เด็กเป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ หมั่นฝึก หมั่นทำด้วยตนเอง จะเกิดความรู้ดีที่สุด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์นี้ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตในโรงเรียนมากขึ้น ชีวิตการเป็นครูฝึกสอน ทุ่มเม ทุ่มเม และทุ่มเท สิ่งที่ต้องได้คือประสบการณ์ไม่ใช่เงินทอง การสอนคนให้เป็นคนยากแท้ การปรับตัวเริ่มดีขึ้น ไปเช้ากลับช้าเป็นเรื่องปกติที่ครูต้องทำ การดูแลเด็กแก้ไขปัญหาเด้กเป็นเรื่องที่ครูจต้องดำแม้ว่าเรื่องนั้นจะเป็นแค่เรื่องเล็ก ๆ ในสายตาเราแต่สำหรับเด็กไม่ว่าเล็กหรือใหญ่เขาย่อมต้องการคนที่ใส่ใจและคอยแก้ปัญหาให้ การรับฟังและแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งหนึ่งที่เราควรทำเพราะเด็กจะรู้สึกว่าสิ่งที่เขาพูดเราฟังจิงๆ ส่วนการสอนสัปดาห์นี้มีแต่ทบทวนให้เด็กเพื่อรอให้เด็กได้เตรียมตัวสอบ การสอบวัดผลไม่ใช่แค่วัดความรู้เด็กแต่เป็นการวัดความรู้ความสามารถของครูด้วยว่าที่ครูถ่ายทอดไปเด็กเข้าใจหรือไม่ ครูบางคนเก่งมากแต่ไม่สามารถนำความรู้ที่ตัวเองรูมาถ่ายทอดให้คนอื่นได้ การเป็นครูนอกจากต้องเป็นผู้รู้แล้วต้องเป็นผู้ถ่ายทอดเป็นจึงจะเรียกว่าแม่พิมของชาติ เด็กบางคนเรียนพิเศษเพิ่มเติมแล้วมาเรียนกับครูซ้ำเขาจึงทำข้อสอบได้ แต่ในขณะที่เด็กบางคนรอเรียนจากครูในห้องอย่างเดียวไม่ว่าจะด้วยเหตุปัจจัยใด ดังนั้นครูคือผู้เดียวที่สามารถทำให้เด็กรู้ได้ ไม่ใช่รู้แค่ในหนังสือ ควรรู้มากกว่าหนังสือที่เด็กเรียนเพราะถ้ารู้เพียงในหนังสือไม่สามารถตอบคำถามจากสิ่งที่เด็กอยากรู้ได้ ไม่สามารถตอยข้อสงสัยหรือเพิ่มเติมความรู้ได้ คือคือใคร ใครคือครู แต่ปัจจุบันที่รู้คือเราคือครู ต้องหาความรู้ใส่ตัวอยู่ตลอดเวลา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สัปดาห์การสอนเริ่มเป็นไปได้ด้วยดีเพราะเมื่อเราสอนหลาย ๆ คาบ ความประหม่าก็จะลดลงแต่เมื่อใดครูพี่เลี้ยงเดินผ่านมา เราจะรู้สึกตื่นเต้น เนื้อเมื่อสอนซ้ำหลายๆ ห้องในเนื้อหาเดิมทำให้เนื้อหาเราก็แม่นขึ้นด้วยบวกกับเราต้องหาความรู้เพิ่มเติม หาหนังสืออ่านเพิ่มเพราะสิ่งที่เด็กควรจะได้รับไม่ใช่แค่ในหนังสือ และสิ่งที่ครูควรรู้ไม่ใช่แค่ในหนังสือเช่นกันเพราะบางครั้งสิ่งที่อยากรู้สิ่งที่เด็กถามมันไม่ได้อยู่ในหนังสือ คำว่าเด็กคือผู้อยากรู้อยากเห็นไปหมด บางครั้งถามนอกเนื้อจากที่เราสอนดังนั้นทุกคำถามที่เด็กถามในฐานะเราคือครูผู้สอนเราต้องหาคำตอบ ณ ตอนนั้นให้ได้ ถ้าเราตอบว่าครูก็ไม่รู้ มันไม่มีในหนังสือ ความเชื่อถือในตัวครูที่เด้กมองก็จะหมดไปทันที ตราบใดที่เรายังยึดอาชีพนี้เราต้องคอยแสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลาความรู้หาซื้อขายไม่ได้ อยากได้ต้องขวนขวายเอง ตราบใดที่โลกยังมีการเปลี่ยนแปลงเราก็ไม่ควรหยุดการศึกษาเพิ่มเติม ได้ประสบการณืเยอะแยะ จากเด็กเองที่ฟ้องได้ตลอดเวลาเราก็คอยแก้ไขให้ตลอดเวลา บวกกับประสบการณืสอน ถือว่าคุ้มสุด ๆ สำหรับอาชีพนี้ ขอบคุณที่คอยสอนในสิ่งที่ถูกต้อง พอมาอยู่ในอาชีพนี้รู้เลยเด็กคือสำคัญที่สุดในฐานะครู ครูคือผู้ชี้ทางความคิดค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สวัสดีค่ะ สัปดาห์นี้ผ่านไปค่อนข้างดี ในความรู้สึกของเรา เพราะเราเริ่มรู้ทางของเด็กในแต่ละห้องในแต่ละคน ว่าต้องสอนอย่างไร สอนยังไงให้เด็กไม่เบื่อ สอนยังไงให้เด็กรู้เรื่ืองในเนื้อหา ส่วนใหญเด็กชชอบทกิจกรรมมากกว่านั่งเรียน หรือถ้านั่งเรียนก็ต้องเรียนห้องวิทยาศาตร์เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ เพราะทุกวิชานั่งเรียนแต่ในห้อง ทำให้เด็กเบื่อกับการนั่งเรียนห้องเดิม  ๆ กับที่เดิม ๆ กิจกรรมนอกห้องเรียนช่วยเสริมให้เด็กเกิดทักษะเป็นคนชั่งสังเกตสิ่งรอบตัวนอกห้อง เช่น สอนเรื่ือง การขยายพันธุ์พืช ให้เด็กไปเพาะเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ซึ่งเด็กตั้งใจทำกันอย่างจริงจัง บางคนเอากระถางมาใหญ่มา เพราะสนุกและอยากเห็นผลกับสิ่งที่ทำ  อุปกรณ์ที่สั่งในคาบเด็กก็เตรียมกันมาอย่างดี การสอนไม่ยากเท่ากับการคุมชั้นเรียนจิง ๆ คุมอยากมาก ยิ่งเด็กที่นี่ตีไม่ได้ ต่อว่าไม่ได้ จนเด็กบางคนอยู่  ป.5 ยังอ่านหนังสือไม่ออก เพราะไม่มีคัยสามารถทำอะไรเด็กได้ สั่งสอนไปก็แค่นั้นถ้ามันไม่ฟัง ถ้ามันไม่รับที่จะเรียนรู้ เด็กบางคนพ่อแม่มานั่งดู นั่งเฝ้าตั้งแต่เช้ายังเย็น เราสอนอยู่ก็อึดอัด แต่ไม่มีคัยว่าอะไร เพราะผู้ปกครองต้องมาก่อน ขนาดเด็กเรียนไม่รู้เรื่อง พ่อแม่ก็โทษว่าครูสอนให้ลูกเค้าไม่รู้เรื่อง ทั้งที่ลูกเค้าไม่รู้เรื่ืองตั้งแต่ต้น พอไม่รู้เรื่ืองแล้วก้จะไม่ยอมรับรู้อะไรเลย เด็กที่นี่คนที่เก่งก็มี คนที่ไม่เก่งก็มีเยอะ เกเรก็มีเยอะ แต่เด็กเราฐานะครูต้องหล่อหลอมจนกว่าเค้าจะไปสู่อีกฝั่งหนึ่งของความฝัน พยายามพยุงให้เค้าได้ดีไปสู้สังคมที่ดีต่อไป ตระหนักไว้เสมอเด็กในวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า......



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สวัสดีค่ะ สัปดาห์นี้ได้ทำการสอนอย่างเต็มที่ สอนเรื่องพันธุกรรม และสอนเรื่องพืชดอก ตอนนี้กำลังสอนเรื่องการสืบพันของสิ่งมีชีวิต สิ่งที่กำลังเจอ เด็กถามคำถามที่เราหาคำตอบยาก ที่จะตอบให้เด็กเข้าใจได้ แล้วพอเราตอบแบบเขิน ๆ ติด ๆ ขัด ๆ มันก็จะหัวเราะชอบใจกัน เช่น เด็กถามว่า คนสืบพันอย่างไร น้ำอสุจิมาจากไหน แล้วมันอยู่ที่ไหน แล้วออกมาได้อย่างไร เราพยายามตอบ แต่ยิ่งตอบเด็กยิ่งถามเพื่ือให้เราไม่สามารถตอบได้ แต่ก็ยังสามารถควบคุมได้ด้วยคำตอบสุดท้ายที่ว่า เดี๋ยวโตขึ้น เรียนสูงขึ้น เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้เอง จะได้เรียนมากกว่านี้ ตอนนี้ก็รู้แค่นี้ไปก่อน วันนั้นก็เลยรอดตัวไป การสอนที่ว่ายากแล้ว การตอบคำถามที่เด็กอยากรู้ การควบคุมชั้นเรียนยากยิ่งกว่า ในห้องสอนเด็ก ป.5 ฟ้องได้ทุกนาที เพื่อนแกล้ง เพื่อนด่า เพื่อนว่า เพื่อนเล่นด้วยแต่ตนเองไม่ชอบ ก็ฟ้องเราก็คอยแก้ไขให้ตลอด ในฐานะครูฝึกสอน มีบ้างที่เด็กกลัวและมีบ้างที่เด็กไม่กลัว มีบ้างที่เด็กเคารพและมีบ้างที่เด้กไม่เคารพ เราก็พยายามทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ทำให้สมกับที่เราอยู่ในฐานะครู แม้ว่าอาชีพวันข้างหน้าอาจไม่ใช่อาชีพที่เราเลือกแต่ปัจุบันนี้เราต้องรักและซื่อสัตย์ในอาชีพนี้เพราะสายที่เราเรียนมามันคืออาชีพนี้ เด็กนักเรียนจึงสำคัญมากกว่าสิ่งอื่นใด ไม่ว่าจะทำอะไรให้รู้ไว้เสมอเด็กต้องมาก่อน จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

นิตยา พฤคฌาญาน
เขียนเมื่อ

สวัสดีค่ะ สัปดาห์นี้เริ่มสอนอย่างเต็มที่ สอนสัปดาห์ล่ะ 9 คาบ สอนแทนครูท่านอื่น อังกฤษบ้าง คณิตบ้าง สอนแทนครูพี่เลี้ยง ก็ได้เก็บประสบการณ์เต็มที่อะไรต่อมิอะไรก้จัดการเข้าที่เข้าทางได้เต็มที่ แต่สิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้ จะเรียนรู้ได้เต็มที่หรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาะแวดล้อมทั้งบุคคล และสถานที่  เหนื่ือยกายไม่เท่าไหร่แต่เหนื่ือยใจเนี่ยสิ ทำให้การเรียนรู้เราไม่เต็มที่ ถ้าเหนื่ือยใจกับสิ่งที่เจอมาในแต่ละวันเราก็ไม่อยากเรียนรู้อะไร นอกจากมาเพื่อกลับ เพื่อให้หมดเวลาในแต่ล่ะวัน แต่ใน 1 เทอมนี้กับที่นี่จะทำให้ดีที่สุด เท่าที่จะทำได้ แม้ว่าบางครั้งจะทำดีที่สุดแล้วแต่ผลที่ตอบกลับมาอาจไม่ดีในสายตาของใครบางคน หนุจะทำให้เต็มที่ทั้งสอนทั้งช่วยงานครูพี่เลี้ยงกฏระเบียบ หนุจะปรับปรุงตัวเองและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ของเทอมนี้ให้ได้เยอะที่สุด ขอบคุณที่ให้โอกาสหนุในหลาย ๆ ออย่างโอกาสที่ได้รับหนุจะใช้มันให้คุ้มที่สุด การสอนตอนนี้พอไปได้ สามารถสื่ือให้เด็กเข้าใจได้ แม้ว่าบางเรื่องเราไม่สามารถสื่อให้เด็กเข้าใจได้แต่หนูก้พยายามหาสื่ือที่ช่วยให้เด้กเข้าใจ จนทำให้เด้กเข้าใจได้อย่างที่หวังตามเป้าหมาย หนุจะทำหน้ที่ให้ดีที่สุด เพราะเด็กในวันนี้คือผุ้ใหญ่ในวันหน้า ขอบคุณทุกอย่างที่ทำให้หนุยังยืนได้ ณ จุดนี้ ณ ตรงนี้ สุดท้ายต่อจากนี้หนุจะสอนและถ่ายทอดให้เด้กเข้าใจให้ได้เยอะที่สุด ความรู้ที่มี กับประสบการณ์ที่ได้สั่งสมมาหนุจะนำมาใช้กับเด้กให้มาเยอะที่สุดค่ะ อุปสรรคครั้งนี้แม้ว่าจะหนักหนา หนุจะฟันฝ่าให้ถึงที่สุด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท