ดอกไม้


โสรยา วิเศษโส
เขียนเมื่อ

ประโยชน์...และโทษ...จากอินเทอร์เน็ต...

          อินเทอร์เน็ตมีทั้งประโยชน์และโทษ  ผู้ใช้ควรมีวิจารณญาณในการใช้งาน  เพื่อให้การใช้งานอินเทอร์เน็ตเกิดประโยชน์  โดยไม่เกิดโทษทั้งต่อผู้ใช้และอุปกรณ์ที่ใช้  ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตมีมากมายหลายประการไม่ว่าจะใช้ในหารรับส่งอีเมล์  การอ่านข่าวสาร  ค้นหาแหล่งความรู้  ดาวน์โหลดโปรแกรมและเกมต่าง ๆ สั่งซื้อสินค้า  การสั่งซื้อสินค้ามีทั้งประโยชน์และโทษ  และการหางานบนอินเทอร์เน็ต เป็นต้นโดยจะยกตัวอย่างประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตดังนี้

          อินเทอร์เน็ตมีประโยชน์ในการับส่งอีเมล์  กล่าวคือ  อีเมล์ เป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์  เหมือนจดหมายธรรมดาแต่การรับส่งจะสะดวกกว่ามาก  คือเราไม่จำเป็นต้องหาซองจดหมายไม่จำเป็นต้องหากระดาษสำหรับเขียนหรือพิมพ์จดหมาย  ม่จำเป็นต้องหาแสตมป์  หรือเดินทางไปยังตู้ไปรษณีย์เพียงแต่เราทำรายการในเครื่องคอมิวเตอร์ของเราแล้วส่งไปกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเลย  ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าเป็นวิธีที่สะดวกและประหยัดทีเดียว  นอกจากนี้แล้วในอีเมล์เรายังสามารถส่งรูปภาพหรือเสียงแนบไปกับอีเมล์ก็ได้ยิ่งทำให้การสื่อสารสะดวกกว่าจดหมายธรรมดามาก  และถ้าเรามีอีเมล์ของเราเอง  เราก็สามารถดูจดหมายของผู้อื่นที่ส่งมาให้เราได้เช่นเดียวกัน

          ใช้สำหรับค้นหาแหล่งความรู้  และถ้าหากเราต้องการค้นคว้าหาความรู้  หรือต้องการศึกษาวิชาการใด แขนงไหนอยู่  อินเทอร์เน็ตจะช่วยได้มากทีเดียว  โดยที่เราไม่ต้องเดินทางไปที่ห้องสมุด  เราสามารถเข้าไปค้นหาที่เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่คอยให้บริหาร  บางเว็บไซต์ถึงกับให้รับรองการสอบผ่าน  ว่าเราได้ศึกษษและทดสอบความรู้กับทางเว็บไซต์  อีกทั้งบางเว็บไซต์ยังมีตัวอย่างและคำแนะนำให้แก่เราที่สามารถเข้าไปหยิบมาใช้ได้เลย  หรือในกรณีที่เราต้องการภาพสวย ๆ  เพื่อนำไปทำรายงาน  เราก็สามารถค้นหาจากอินเทอร์เน็ตได้

          ใช้ในการหางานบนอินเทอร์เน็ต  ถ้าหากกำลังหางานอยู่  หรือต้องการเปลี่ยนงานใหม่  บนอินเทอร์เน็ตยังมีเว็บไซต์ที่บริการข้อมูลเกี่ยวกับานใหม่ ๆ ให้เราเลือกมากมาย  เว็บไซต์เหล่านี้ได้แก่jobdb.com  หรือในเว็บไซต์ที่รวบรวมความหมากหลา  ได้แก่ pantip.com  เป็นต้น

          โทษของอินเทอร์เน็ตมีมากมายหลายประการเช่นกัน  ไม่ว่าจะมีสื่อลามกอนาจารต่าง ๆ การเล่นเกมออนไลน์จนกลายเป็นคนหัวรุนแรงการสอบถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปสมัครบริการฟรีต่าง ๆ การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตที่อาจจะส่งผลอันตรายต่อตัวผู้ใช้งาน  การสั่งซื้อของผ่านเว็บไซต์  โดยการบอกรหัสเครดิตการ์ดโดยจะยกตัวอย่างโทษของอินเทอร์เน็ตดังนี้

          ปัจจุบันมีสื่อลามกต่าง ๆ มากมายในโลกออนไลน์  ในเทคโนโลยีที่ไร้พรมแดน  ทำให้ผู้ใช้งานไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตย่อมให้ความสนใจ  แต่สื่อเหล่านี้อาจจะส่ผลกระทบต่อผู้ที่สนใจโดยเฉพาะเด็ก  เพราะเด็ก ๆ ไม่ควรที่จะซึมซับสิ่งเหล่านั้นเข้าไปในสมอง  เพราะจะทำให้การเรียนถดถอยลงไป  มัวแต่วุ่นวายอยู่กับสิ่งที่ไม่ได้จนลืมการเรียน

          การสมัครบริการฟรีต่าง ๆ โดยเว็บไซต์จะให้กรอกข้อมูลส่วนตัว  ผู้ใช้ไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัว  เพราะอาจจะมีผู้ที่ไม่หวังดีนำข้อมูลส่วนตัวที่ผู้ใช้งานกรอกลงไปนั้น  นำไปใช้ในทางที่ผิด  ไม่ว่าจะเป็นการก่อเหตุวุ่นวายต่าง ๆ  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่าย  โดยเฉพาะเจ้าของข้อมูลนั้น ๆ ดังนั้นจึงไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัวกับเว็บไซต์ที่ไม่จำเป็น

          การสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต  เป็นอีกประเด็นหนึ่ที่เป็นโทษมีอันตรายต่อผู้ใช้งานเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีข่าวสารออกมามากมายในเรื่องของการทำร้ายร่างกายกัน  เนื่องจากการสนทนากันและมีการหลอกลวงกันไปทำในสิ่งที่ไม่ดี  อาจจะถึงขั้นเสียชีวิต  ในการสนทนากันกับบุคคลที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน  แต่เริ่มรู้จักกันจากการใช้อินเทอร์เน็ตนั้น  ในบางครั้งการสนทนากันคู่สนทนาอาจไม่บอกข้อมูลที่เป็นความจริง  อาจจะเพราะต้องการปกปิดตัวเองไม่อยากให้สืบหาตัวได้  หรืออาจจะเป็นเพราะต้องการหลอกลวงคู่สนทนาจริง  อีกประการหนึ่งคือ  การใช้รูปภาพอาจจะไม่ใช้รูปภาพจริง ๆ ของตนเอง  เพราะคิดว่าคู่สนทนาอาจจะม่ชอบตัวจริงๆของเขา

          จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตมีทั้งประโยชน์และโทษ  ผู้ใช้งานทุกคนควรเลือกใช้งานให้ถูกต้องและเหมาะสมถ้าใช้งานในทางที่ดีก็ถือว่าดี  แต่ถ้าใช้งานในทางที่ไม่ดีอาจจะส่งผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่ายด้วยกัน  ดังนั้นผู้ใช้จึงควรใช้งานอิเทอร์เน็ตให้ได้รับประโยชน์  รับความรู้  ความบันเทิงมากที่สุด   ที่สำคัญการใช้งานอินเทอร์เน็ตควรมีจริยธรรม  มีมารยาท  ไม่ว่าจะด้านภาษาหรือด้านใดก็ใดตาม  และควรใช้อินเทอร์เน็ตด้วยความปลอดภัย                                             

ที่มา : ธนพล  ฉันจรัสวิชัย . อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น สำหรับติดตั้งและใช้งานด้วยตนเอง . กรุงเทพฯ : ซีเดยูเคชั่น , ๒๕๔๔ . 

สุขุม  เฉลยทรัพย์ และคณะ . เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต . กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต , ๒๕๔๘ .

สานิตย์  กายาผาด . เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อชีวิต . กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวิฟ เอ็ดดูเคชั่น , ๒๕๔๘ .


9
3
สิริมา ตรีรัตนไพบูลย์
เขียนเมื่อ

อินเตอร์เน็ตกับชีวิตประจำวัน


          ปัจจุบันสังคมไอทีหรือยุคที่มีความก้าวล้ำทางด้านเทคโนโลยีของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เป็นศูนย์รวมของการเชื่อมโยงโลกในปัจจุบันไปยังโลกแห่งอนาคต ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราเป็นอย่างมาก อาจกล่าวได้ว่าการสืบค้นข้อมูลที่เราต้องการ สามารถกระทำได้โดยง่ายเพียงแค่รู้จักใช้อินเตอร์เน็ตให้ถูกต้องและเหมาะสมต่อการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กหรือสิ่งใหญ่ข้อมูลก็จะปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของเราให้เลือกใช้อย่างอย่างมากมายเลยทีเดียว จนทำให้เครือข่ายการใช้งานอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราไปแล้ว

           อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีผู้ใช้งานมากมายจากทั่วทุกมุมโลก เพราะว่าอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มากด้วยคุณประโยชน์มหาศาลในการกระจายความรู้ ไขข้อปริศนาพร้อมให้ผลลัพธ์ออกมาในรูปของคำตอบที่ผู้สืบค้น สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ของมนุษย์จึงมีอิทธิพลรอบด้านต่อการประยุกต์ใช้ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายและเห็นสมควร ดังที่เวชยันต์  สังข์จุ้ย (๒๕๕๒ : ๒๕) ได้กล่าวไว้ว่า “อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประโยชน์มากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเรียน การสอน การค้นหาความรู้” จะเห็นได้ว่าหากข้อมูลที่เราต้องการค้นหาจากตำราเรียน หนังสือ นิตยสาร ตลอดจนสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ให้ข้อมูลที่ไม่เพียงพอ ทางเลือกที่สำคัญในการสืบค้นข้อมูลก็คือ การใช้อินเตอร์เน็ต เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมความรู้ เปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดยักษ์ที่บรรจุคลังความรู้ ไว้รองรับผู้ใช้งานอย่างไม่มีขีดจำกัด นับได้ว่าอินเตอร์เน็ตเป็นตัวเลือกที่ช่วยแก้ปัญหา และส่งเสริมความรู้ได้อย่างดียิ่งสำหรับวัยของผู้เรียน ผู้ศึกษา หรือผู้ที่เสาะแสวงหาอยู่ตลอดเวลา ไม่เพียงเท่านี้อินเตอร์เน็ตยังมีคุณประโยชน์อีกหลายด้านด้วยกัน อาทิเช่น ด้านธุรกิจ ด้านสังคม ด้านความบันเทิง ดังที่เวชยันต์  สังข์จุ้ย (๒๕๕๕ : ๒๕) ได้ให้รายละเอียดไว้ดังนี้

            ด้านธุรกิจ อินเตอร์เน็ตก็สามารถเป็นเครื่องมือให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ด้านการประกอบธุรกิจบนอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า อีคอมเมิร์ซ นอกจากนี้ก็ยังมีธุรกิจที่เกิดขึ้นจากผลพวงของอินเตอร์เน็ตอีกมากมาย

            ด้านสังคม อินเตอร์เน็ตก็เข้ามามีส่วนด้านสังคมมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีผู้คนเข้าไปร่วมพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการพบปะสร้างสรรค์ มีผู้คนมากมายที่มีสังคมอีกสังคมหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต

            ด้านความบันเทิง ดูจะเป็นด้านที่เห็นได้ชัดที่สุดในอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ความบันเทิงในอินเตอร์เน็ตมีให้เลือกใช้บริการกันมากมาย อยากดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม หาเพื่อนคุย สามารถทำได้จากอินเตอร์เน็ตได้ทั้งสิ้น

           ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นประโยชน์ที่สามารถเลือกสรรความต้องการได้จากอินเตอร์เน็ตบนจอคอมพิวเตอร์ของเราได้อย่างกว้างขวาง ทั้งยังเป็นสิ่งที่นำพาซึ่งความสุขและความสำเร็จจากการค้นหาหรือสืบค้นสิ่งต่าง ๆ ได้ตามต้องการ อันส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตได้อย่างดียิ่ง เพราะอินเตอร์เน็ตช่วยให้มนุษย์มีการพัฒนาทางด้านความรู้ จิตใจ และสติปัญญา และที่สำคัญอินเตอร์เน็ตนี้สามารถใช้ได้กับทุกเพศ ทุกวัย เพียงรู้จักใช้ให้เหมาะสมและถูกต้องต่อการใช้งาน อินเตอร์เน็ตก็จะมีคุณค่าและมากด้วยประโยชน์ให้มนุษย์ได้แสวงหาไม่จบสิ้น

            แต่เรารู้ไหมว่าทุกสิ่งบนโลกใบนี้ย่อมมีทั้งส่วนดีและส่วนบกพร่องในตัวของมันเอง กล่าวคือ อินเตอร์เน็ตมีคุณอนันต์ก็มีโทษมหันต์เฉกเช่นกัน หากผู้ใช้ไม่รู้จักวิธีการใช้ที่ถูกต้องตามเหตุสมควรการใช้งานอินเตอร์เน็ตอาจก่อให้เกิดปัญหาและโทษที่ตามมาอย่างน่ากลัว โดยเฉพาะปัจจุบันนี้ข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ที่ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ให้เห็นอย่างน่าสลดใจ เพราะภัยจากอินเตอร์เน็ตที่ผู้ใช้ไม่รู้จักระมัดระวัง ทำให้ตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพได้อย่างง่ายดาย ดังตัวอย่างจากข่าวหนังสือพิมพ์

  ทยรัฐออนไลน์. (๒๕๕๓, ๒๒ กุมภาพันธ์). “เตือนภัยอินเตอร์เน็ต ช่วงปิดเทอม ทำเด็กหายพุ่ง.” ไทยรัฐ. ระบุข่าวไว้ว่า น.ส. ธิติมา  หมีปาน หน.ศูนย์ข้อมูลคนหายเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ มูลนิธิกระจกเงา กล่าวว่า สถิติที่ศูนย์ได้รับแจ้งถึงคนหายผ่านทางโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต เฉลี่ยวันละ ๑๐ – ๑๕ ราย โดย ๘๐% สามารถติดตามกลับมาได้ โดย ๑% ที่ติดตามมาเสียชีวิตและคนที่หายส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงในช่วงอายุ ๑๑ – ๑๕ ปี ทั้งหายออกจากบ้านด้วยความสมัครใจและถูกล่อลวงผ่านการแชททางอินเตอร์เน็ต ไฮไฟว์ เฟสบุค รวมถึง SMS ซึ่งกำลังได้รับความสนใจในหมู่เด็ก เพราะสามารถแชทใต้โต๊ะในห้องเรียนได้ และวิธีการดังกล่าวเคยมีกรณีที่เด็กถูกล่อลวงหายตัวไป

             จากข่าวข้างต้นนี้ หากเราผู้ได้ชื่อว่าบุคคลที่ใช้อินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวันควรพึงระมัดระวังไว้เป็นเยี่ยงอย่าง เพราะสื่อออนไลน์ในสังคมปัจจุบันนี้เป็นอันตรายแก่เด็กผู้หญิงที่ไม่ทันต่อเล่ห์เหลี่ยม พิษภัยจากสังคมออนไลน์ โดยที่ต่างฝ่ายไม่เคยรู้จักกันมาก่อน หากเราไม่รู้จักระมัดระวังตัวเอง ผลที่ได้รับอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและครอบครัว เพราะฉะนั้นทางเลือกที่ดีที่สุดในการใช้อินเตอร์เน็ตบนโลกออนไลน์ให้ปลอดภัย (เวชยันต์  สังข์จุ้ย ๒๕๕๕ : ๒๓) ทำได้ดังนี้ 

อย่าบอกชื่อ – นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ให้กับคนแปลกหน้า

ไม่นัดพบกับผู้ที่ติดต่อด้วยทางอินเตอร์เน็ต (โดยไม่จำเป็น)

หลีกเลี่ยงไม่เข้าเว็บไซต์ที่ผิดกฎหมาย เช่น เว็บไซต์ลามก เป็นต้น

             ทั้งนี้อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงคนทั้งโลกเข้าด้วยกัน แม้จะต่างชาติ ต่างภาษา ต่างสังคม ต่างความคิด มีทั้งคนดี คนชั่วปะปนกันไป ไม่สามารถแยกได้ว่าบุคคลไหนเป็นคนดี และไม่ดี เราในฐานะผู้ใช้บริการควรพึงระลึกอยู่เสมอว่า อินเตอร์เน็ตเป็นทางเลือกที่ช่วยค้นหาข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ การติดต่อเชื่อมโยงในโลกออนไลน์ที่กระทำได้อย่างง่าย เป็นแหล่งให้ความบันเทิงแก่ผู้ใช้ ตลอดจนให้ความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าซื้อขายและบริการระหว่างห้างร้าน ผู้จำหน่ายและผู้บริโภค ทางกลับกันหากเราในฐานะผู้ใช้ไม่รู้จักระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ผลที่ตามมาย่อมได้รับโทษอย่างมหันต์ เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นตัวการที่สร้างความเสื่อมเสียให้แก่ผู้ใช้ได้ดีเลยทีเดียว เมื่อเรารู้ทั้งประโยชน์และโทษของอินเตอร์เน็ตควบคู่กันแล้ว ไม่ว่าจะกระทำสิ่งใดบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนี้ สิ่งที่ตามมาย่อมส่งผลดีต่อตนเองและครอบครัว

 

 

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

กรภัทร์  สุทธิดารา. ท่องอินเตอร์เน็ตด้วย Opera & Education pro. นนทบุรี : อินโฟเพรส, ๒๕๔๒.

กอบเกียรติ  สระอุบล. อินเทอร์เนทฉบับภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บี อี แอนด์ ซี, ๒๕๓๗.

งามนิจ  อาจอินทร์. การเขียนโปรแกรมบนเว็บ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์,     ๒๕๔๒.

เวชยันต์  สังข์จุ้ย. มือใหม่หัดใช้อินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๕๒.

สุรเดช  พรประภา. เรียนลัดอินเตอร์เน็ตใน ๒๔ ชั่วโมง. กรุงเทพฯ : ไซมอน แอนด์ ชูสเตอร์ อินโดไชน่า, ๒๕๔๑.

 

         



3
0
นางสาว สุภาวรรณ yok ศรีวิชัย
เขียนเมื่อ


                                                   อินเทอร์เน็ต(สังคมของคนยุคใหม่)

                โลกยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดน ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทมากมายในชีวิตประจำวันของเราเพราะอินเทอร์เน็ตช่วยอำนวยความสะดวกในหลายๆด้าน เช่น


การซื้อขายสินค้าโดยไม่ต้องเดินทางไปเลือก
การจองตั๋วเครื่องบินโดยไม่ต้องเดินทางไปที่สนามบิน 
การเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตที่สามารถทำได้ทุกเวลาโดยไม่ต้องไปเรียนที่โรงเรียน  หรือแม้กระทั่งการโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องเสียเวลาไปที่ธนาคาร

               แน่นอนว่าอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นช่องทางหนึ่งในการสื่อสารของคนในโลกยุคปัจจุบันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่ในอีกมุมหนึ่งภายใต้ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่มีมากมายเหล่านี้ ก็มีอันตรายและข้อเสียที่เราทุกคนควรตระหนักถึงและพึงระวังเพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของผู้ร้ายในโลกออนไลน์

              อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลที่ให้สารสนเทศจำนวนมากจากทั่วโลกจากทุกๆที่สามารถสืบค้นได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตจึงมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมากเพราะทำให้วิถีชีวิตของเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ บุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ       การศึกษา หรือแวดวงอื่นๆ ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งถือได้ว่าว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารที่เปรียบเสมือนชุมชนแห่งใหม่ของโลก ซึ่งรวมคนทั่วทุกมุมโลกเข้าด้วยกันและมีท่าทีจะขยายขอบข่ายขึ้นเรื่อยๆแน่นอนว่าในอนาคตย่อมจะมีบริการต่างๆ เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
 ปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีทั้งข้อดีที่เป็นประโยชน์และข้อจำกัดบางประการ  ที่เราทุกคนควรทราบเพราะเราก็เป็นบุคคลหนึ่งที่ต้องใช้บริการอินเทอร์เน็ตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

 

ประโยชน์และข้อควรระวังของอินเทอร์เน็ต

                อินเทอร์เน็ตประกอบไปด้วยบริการที่หลากหลายซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการมากมายแต่การใช้ประโยชน์จากบริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ตเหล่านี้ก็มีสิ่งที่ผู้ใช้บริการควรพึงระวัง  ดังต่อไปนี้
                ๑ การทำธุรกิจออนไลน์ สังคมปัจจุบันผู้คนกำลังตื่นตัวเกี่ยวกับ  การประกอบธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า (e-Commerce) อีคอมเมิร์ซ  มีผู้ประกอบการมากมายที่เปิดให้บริการขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต  ผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้อสินค้าได้อย่างสะดวกสบายรวดเร็วโดยสามารถเข้าไปค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ตของผู้ขายสินค้านั้นในระบบอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องเดินทางไปเลือกซื้อให้เสียเวลาหรือการให้บริการต่าง ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม หรือตั๋วเครื่องบิน ผู้ใช้บริการสามารถเช็คเที่ยวบิน เช็คห้องในโรงแรม พร้อมทั้งจองตั๋วเครื่องบิน หรือจองห้องในโรงแรมไว้ก่อนล่วงหน้าได้โดยไม่ต้องเดินทางและไม่ต้องกังวลว่าตั๋วเครื่องบินหรือห้องในโรงแรมจะว่างหรือไม่ว่างเมื่อเดินทางไปถึงตัวอย่างแหล่งข้อมูลที่เปิดให้บริการให้สั่งจอง  หรือเลือกซื้อสินค้าซึ่งปัจจุบันหน่วยงานธุรกิจต่างๆเริ่มเข้าหาลูกค้าโดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางกันมากขึ้น ดังที่ ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล(๒๕๔๗: ๓๘) กล่าวว่า

 

มาใช้ในบริการและทำธุรกิจโดยเฉพาะการซื้อขายสินค้า เช่น หนังสือ คอมพิวเตอร์ เสื้อผ้า อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน เป็นต้นโดยผู้ซื้อสามารถชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือหักผ่านบัญชีธนาคารก็ได้ปัจจุบันหน่วยงานธุรกิจหลากหลายประเภท ได้นำอินเทอร์เน็ต 

 

                 ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตในด้านธุรกิจนี้ทำให้เราสามารถจับจ่ายใช้สอยได้อย่างสะดวกสบายเพียงนั่งอยู่ที่บ้าน สินค้าก็ส่งมาถึงเราโดยไม่ต้องเดินทางไปเลือกให้เสียเวลาแต่ความสะดวกสบายเหล่านี้ก็ย่อมก่อให้เกิดผลกระทบ หรือแฝงไปด้วยข้อเสียเช่นกัน เช่น การถูกฉ้อโกง ซื้อสินค้าแล้วไม่ได้รับหรือสินค้าที่สั่งไม่ตรง  กับสินค้าที่สั่ง เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังก่อให้เกิดผลกระทบมากมาย ดังที่ วชิราพร  พุ่มบานเย็น (๒๕๔๕:๖) กล่าว่า

 ผลกระทบจาการจับจ่ายใช้สอยที่ง่ายขึ้นทำให้มนุษย์มีอัตราการเป็นหนี้มากขึ้น เพราะสามารถซื้อของได้ทันทีโดยไม่ต้องใช้เงินสด นอกจากนี้แล้วการแข่งขันทางธุรกิจก็สูงมากขึ้นตามมาด้วยทำให้ผู้ประกอบการมุ่งหวังแต่ผลกำไร ผลดีคือทำให้อัตราการขยายตัวของธุรกิจสูงมากขึ้นแต่บางครั้งการมุ่งแต่แข่งขันทำให้มนุษย์ลืมมนุษยธรรมและการมีน้ำใจไป

                 จะเห็นได้ว่าการประกอบธุรกิจในปัจจุบันนั้นสามารถทำได้ง่าย การซื้อขายสินค้าก็สามารถทำได้สะดวกสบายเพียงแค่เลือกใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ต หากรู้จักใช้ไปในทางที่ดีและจำเป็น และมีวิจารณญาณในการเลือกซื้อโดยการตรวจสอบ ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ให้บริการให้ดีเราก็จะไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์  และหากผู้ให้บริการมีคุณธรรมจริยธรรมในการให้บริการลูกค้าโดยไม่หวังผลกำไรเพียงอย่างเดียว ธุรกิจนั้นก็ย่อมเจริญก้าวหน้า เข้าถึงลูกค้าได้ดีและธุรกิจออนไลน์  ก็จะเป็นเป็นทางเลือกหนึ่งในที่ผู้ใช้บริการสนใจที่จะเลือกใช้มากยิ่งขึ้น

 
                    ๒ การศึกษา สภาพการศึกษาในปัจจุบันขยายตัวอย่างกว้างขวางการเรียนการสอนได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก จากการยึดผู้สอนเป็นหลัก เปลี่ยนเป็นยึดตัวผู้เรียนเป็นหลัก สื่อการเรียนการสอนสามารถหาได้ง่ายในระบบอินเทอร์เน็ต ระบบการศึกษาสามารถจัดได้ตามความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน นักเรียนสามารถเรียนวิชาต่างๆ หรือสืบค้นข้อมูลเพื่อการศึกษาที่มีอยู่มากมายบนโลกอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกสบายการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันจึงไม่ได้จำกัดให้อยู่แค่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่หมายรวมถึงทุกๆที่นักเรียนก็สามารถเรียนได้ และในอนาคตการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตก็มีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้น ดังที่  วชิราพร พุ่มบานเย็น (๒๕๔๕:๔) กล่าว่า

 นักเรียน นักศึกษาในอนาคตมีแนวโน้มที่จะสามารถเรียนจากที่บ้านได้โดยไม่ต้องไปโรงเรียนเหมือนปัจจุบันโดยการเรียนการสอนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ และความรู้ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตนั้นก็มีไม่จำกัดสาขาวิชา สามารถจะค้นหาห้องสมุดต่างๆได้ทั่วโลก

                   จะเห็นได้ว่าการศึกษาในปัจจุบันไม่ว่าผู้สนใจศึกษาจะอยู่ที่ไหนเพียงแค่ระบบคอมพิวเตอร์มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตก็สามารถสืบค้นข้อมูลต่าง หรือเรียนผ่านบทเรียนออนไลน์ตามวิชาที่ตนสนใจได้ แต่ทั้งนี้ความสะดวกสบายด้านการเรียน  การสอนแบบนี้ก็ยังมีข้อเสียตามมาด้วย เช่น การสืบค้นข้อมูลบางอย่าง ไม่มีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน ทำให้ไม่อาจทราบได้ว่าข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ และปัญหา  ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ตเช่นนี้แม้จะมีความสะดวกสบายที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ แต่ก็มีผลเสียทั้งต่อผู้เรียนและผู้สอน ดังที่ วชิราพร พุ่มบานเย็น (๒๕๔๕:๕) กล่าว่า

 การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอนจะทำให้ครูกับนักเรียนขาดความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกัน เพราะนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้เองจากโปรแกรมสำเร็จรูป ทำให้ความสำคัญของโรงเรียนและครูลดน้อยลง นอกจากนี้แล้วนักเรียนที่มีฐานะยากจนไม่สามารถใช้สื่อประเภทนี้ได้ ทำให้เกิดข้อเปรียบเทียบกันระหว่างนักเรียนที่มีฐานะดีและยากจน ทำให้เห็นว่า ผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจก็ย่อมจะมีโอกาสทางการศึกษาและสังคมที่ดีกว่าด้วย


                     การศึกษาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้นแม้จะมีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากเพียงใดแต่ก็มีผลเสียที่ตามมาอีกไม่ว่าจะเป็น นักเรียนขาดความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกับครู ก็ยังเป็นการสร้างความเลื่อมล้ำในสังคมขึ้นมาด้วยเพราะเด็กที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารหรือยากจนย่อมไม่มีโอกาสที่จะได้เรียนรู้ นอกจากนี้แล้วยังเป็นการทำให้นักเรียนไม่สนใจที่จะเข้าไปค้นคว้าหาความรู้จากห้องสมุดเพราะเห็นว่าข้อมูลต่างๆสามารถสืบค้นได้จากอินเทอร์เน็ตนั่นเอง ซึ่งหากผู้เรียนสามารถใช้สื่อออนไลน์  ในการสืบค้นข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการค้นหาหนังสือ ย่อมก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นเพราะอินเทอร์เน็ตก็เป็นเพียงช่องทางหนึ่งที่จะพาให้เราหาความรู้เพิ่มเติมได้นอกเหนือจากห้องเรียน

                      ๓ ๓  ข้อมูลข่าวสาร  ข่าวสารในสังคมปัจจุบันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนในสังคม ระบบอินเทอร์เน็ตทำให้ทุกคนที่อยู่สังคมได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างเท่าเทียมกัน ทั้งข่าวสารที่ได้อยู่ในรูปปัจจุบันหรืออดีตโดยไม่ต้องเสียเวลาไปซื้อหนังสืออ่านเพื่อติดตามข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์ หรือหน้าจอโทรทัศน์ เพราะสามารถติดตามข่าวได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์แทน แต่ทั้งนี้ก้อมีข้อจำกัดคือข่าวสารบางอย่างถูกเขียนขึ้นโดยไม่มีมูลความจริง ผู้อ่านก็ควรเลือกแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือในการรับข้อมูลข่าวสารเหล่านั้น

                    ๔ ความบันเทิง เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้คนนิยมใช้บริการกันบนอินเทอร์เน็ต เพราะมีความเป็นอิสระในการเข้าถึง ทำให้ผู้ใช้เพลิดเพลินสนุกสานจากบริการเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็น การดูหนัง ฟังเพลง การแชท การเล่นเกม  เป็นต้น แต่ความบันเทิงเหล่านี้ หากรู้จักใช้ไปทางที่ดีเพื่อผ่อนคลายก็ย่อมสร้างความสุขให้กับผู้ใช้ แต่หากใช้ไปในทางที่ผิดก็อาจจะนำพาตนเองไปสู่การตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพได้ และหากเยาวชนมัวแต่หมกมุ่นอยู่กับความบันเทิงมากเกินไปก็อาจจะก่อให้เกิดผลเสียตามมาด้วยเช่นกัน ดังที่ วชิราพร พุ่มบานเย็น (๒๕๔๕:๖) กล่าวว่า

 พฤติกรรมของเยาวชน โดยเฉพาะพวกเกมคอมพิวเตอร์ทำให้เยาวชน  มีพฤติกรรมก้าวร้าว ชอบการต่อสู้ การใช้กำลัง เป็นต้น

                    ความบันเทิงที่เยาวชนส่วนใหญ่สนใจ นั่น คือเกม และเกมก็นำมาซึ่งการเกิดความรุนแรงในสังคม เพราะเกิดจากการเลียนแบบพฤติกรรมในเกม ซึ่งหากผู้ปกครอง ให้คำแนะนำ และเยาวชนมีการแบ่งเวลาที่ถูกต้อง การหาความบันเทิงบนอินเทอร์เน็ตก็จะมีแต่ความสนุกสาน ความบันเทิง ที่ดีต่อตนเอง และปัญหา  อีกประการหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในสังคม คือ การถูกล่อลวงผ่านการแชท ฉะนั้นผู้ใช้บริการก็ไม่ควรที่จะนัดพบกับบุคคลที่ตนไม่สนิท หรือบุคคลที่ตนไม่เคยเห็นหน้า เพราะหากไม่ระวังตัว อาจถูกล่อลวงซึ่งจำนำมาซึ่งความเสียหายอันถึงแก่ชีวิตได้ ฉะนั้นการพูดคุยกันกับบุคคลแปลกหน้าก็ควรระวัดระวัง เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของบุคคลที่ไม่หวังดีเหล่านั้น

                 อินเทอร์เน็ตนั้นนอกจากจะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการแล้วจะเห็นได้ว่าภายใต้ประโยชน์เหล่านั้นก็มีสิ่งที่อาจแอบแฝงมาด้วย ดังนั้นการใช้บริการต่างๆ  ในอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะใช้เพื่อความบันเทิง หรือสืบค้นข้อมูลก็ตามผู้ใช้บริการก็ควร  มีวิจารณญาณในการตัดสินคุณค่าของข้อมูลบนสื่อออนไลน์นั้นๆด้วยซึ่งในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตนั้นอาจมีทั้งข้อมูลที่กล่าวเท็จ หรือข้อมูลที่เป็นจริงปะปนกันไปเพราะอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายอิสระที่ทุกคนสามารถสร้างเว็บเพจส่วนตัว หรือเขียนบล็อกได้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆไปแปะไว้บนอินเทอร์เน็ตได้ การใช้บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ตจึงควรใช้วิจารณญาณควบคู่ไปด้วย

 

อ้างอิง
เทเนนบาม แอนดรูว์.คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก.กรุงเทพฯ:เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า,๒๕๔๒.

วชิรา พุ่มบานเย็น..เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์.กรุงเทพฯ:ซอฟท์เพรส,๒๕๔๕.

วศิน เพิ่มทรัพย์.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์.กรุงเทพฯ:โปรวิชั่น๒๕๔๘.

ศรีไพร  ศักดิ์รุ่งพงศากุล.เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ.กรุงเทพฯ:ซีเอ็ดยูเคชั่น,๒๕๔๗.

 

2
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท