ดอกไม้


บุษยมาศ
เขียนเมื่อ

อนุทินที่ ๒๐๗๕

เตรียมทำ Power Point เกี่ยวกับเรื่องการวิเคราะห์งาน เพื่อบรรยายให้น้อง ๆ เจ้าหน้าที่ภายในกองบริหารงานบุคคล…เพื่อเป็นแม่ไก่ ลงไปถ่ายทอดในการเขียนภาระงานทั้งมหาวิทยาลัยให้กับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยสำหรับสายสนับสนุนวิชาการ ตามกรอบโครงสร้างและอัตรากำลัง…เพราะอีกไม่กี่ปี ฉันเกษียณ น้อง ๆ จะได้เดินงานได้ต่อ…นี่คือ การสร้างมนุษย์ให้เรียนรู้รุ่นสู่รุ่นของฉัน

6
0
ชยันต์ เพชรศรีจันทร์
เขียนเมื่อ

ทุกวัน..ที่ทำงานในโรงเรียนขนาดเล็ก ที่ผมรู้สึกได้ว่ายิ่งใหญ่ และภูมิใจที่สุดที่ได้ทำงานเป็นข้าราชการครู ภายใต้เบื้องพระยุคลบาท..เพื่อนรุ่นเดียวกัน ก้าวหน้าอยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ ได้เลื่อนซีเลื่อนระดับ แม้ใครต่อใครจะก้าวไปไกลแค่ไหน แต่ผมกลับมีความสุขในโรงเรียนเล็กหลังนี้ สร้างเด็กให้เป็นคนดี ถึงผมจะก้าวไปไม่ไกลกว่านี้ผมก็ยอม..

เพราะผมยึดมั่นในคำสอนของพ่อ..เหนื่อยนักก็พัก และอ่านข้อความที่เป็นพระบรมราโชวาทที่ผมติดไว้หน้าอาคาร สร้างแรงบันดาลใจจากคำที่พ่อสอน..พ่อบอกพวกเราเสมอว่า...”ผู้ที่มีระเบียบวินัยนั้น เป็นผู้ที่เข้มแข็ง...และการที่จะทำงานให้ดี ก็ต้องมีความร่าเริง....”

7
1
แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช
เขียนเมื่อ

อ่านข่าว ฟังข่าว ดูข่าวในหลวง

น้ำตาไหลง่ายจัง ช่วงนี้

9
2
คุณมะเดื่อ
เขียนเมื่อ

เมื่อวาน ( ๑๐ มีนาคม ๕๙ ) เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ

ฝ่ายงานการศึกษาของ อบต.บ่อนอก ได้เข้ามาที่

ศพด.วัดอู่ตะเภา เพื่อสำรวจข้อมูล

จำนวนเด็ก อายุ ๒ - ๕ ปี เพื่อเตรียมการ

จัดตั้ง ศพด. วัดอู่ตะเภา กล่าวคือ...

รับ ศพด.วัดอู่ตะเภา ที่มีอยู่แล้วไว้ใน

เป็นของ อบต. บ่อนอกในการ

บริหารจัดการทุกอย่าง อย่างสมบูรณ์

คุณมะเดื่อดีใจมาก ๆ ที่ในที่สุด ที่อีกไม่นาน

สิ่งที่คุณมะเดื่อและชาวบ้านได้เริ่มต้นกันไว้

แล้ว จะเสร็จสมบูรณ์เสียที ดีใจ ๆๆๆๆ



7
2
ถาวร
เขียนเมื่อ

แล้วก็ได้เก็บมะม่วงที่ปลูกไว้ที่ข้างบ้านบางส่วนมารับประทาน

เขียวใหญ่3รส และเพชรบ้านลาด

ภูมิใจค่ะ

นึกถึงคำที่ประทับใจจากคณะเกษตรฯมข.

11
5
นางสาวสุภาวดี พูลสวัสดิ์
เขียนเมื่อ

เทคนิคที่ประสบความสำเร็จในการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่

                    1. ครูต้องรู้จริงและรู้แจ้งในเนื้อหาสาระวิชาที่สอน

                    2. มีการวิเคราะห์ และจำแนกผู้เรียนเป็นกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน เพื่อพัฒนาให้ตรงกับความสามารถของนักเรียน

                    3. ครูสอนเต็มที่ เต็มหลักสูตร เต็มเวลา ด้วยความเต็มใจ

                    4. ฝึก ย้ำ ซ้ำ ทวน อยู่เสมอเพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะในการเรียนรู้ที่คงทน

                    5. ครูทำวิจัยชั้นเรียนเพื่อพัฒนาความสามารถของนักเรียนเป็นรายคน

                    6. ไม่ได้มุ่งเป้าหมายว่าจะของบประมาณให้มากแล้วผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะสูงขึ้น

 

                รายละเอียดขั้นตอนในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

  ขั้น 1  วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเป็นรายคน  รายกลุ่มย่อย ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

  ขั้น 2  หาแนวทางปรับปรุงพัฒนา  เมื่อทราบจุดเด่นจุดที่ควรปรับปรุงเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้แต่ละคน ก็นำแนวทางซึ่งอาจเป็นวิธีการหรือการเรียนการสอนหรือผสมผสานกันทั้งวิธีการและสื่อการเรียนการสอนแล้วออกแบบพัฒนานักเรียนให้พัฒนาเต็มตามศักยภาพเป็นรายบุคคลและทุกคน

 ขั้น 3  ขั้นทดลองใช้หรือการนำนวัตกรรมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนไปสู่การปฏิบัติกับนักเรียนในความรับผิดชอบของครู

 ขั้น 4  ขั้นการประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นรายคน  แล้วตรวจสอบจุดเด่นจุดด้อยเพื่อทางพัฒนาต่อเนื่อง

 ข้อ 5  การสะท้อนกลับ  เป็นการสะท้อนคิดให้ครูได้ข้อสรุปในการพัฒนาและปรับปรุงการเรียนการสอนได้เอง

 

วิธีการจัดการเรียนรู้ที่สำเร็จเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้นใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ได้แก่ ภาษาไทย  คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  และภาษาอังกฤษ จะต้องมีส่วนประกอบดังนี้อยู่ด้วย

     1.แรงบันดาลใจ

     2.แนวทางการจัดการเรียนรู้

     3.สื่อการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้

ตัวอย่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ดังนี้

1.แรงบันดาลใจ

แรงบันดาลใจของครูที่จะพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเกิดจากสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้

            1.1 ความตระหนักในวิชาชีพครู ที่ต้องการให้ศิษย์ได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพ  สามารถนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

            1.2 การพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ ส่งผลรวมต่อคุณภาพของโรงเรียนก็เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการรองรับการประเมินด้านต่างๆ

2. แนวการจัดการเรียนรู้

            แนวการจัดการเรียนรู้ที่เป็นการพัฒนาผู้เรียนตามมาตรฐานตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวทางยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่โรงเรียน                                                                                                                                      โดยการนำไปประยุกต์ใช้ มีดังนี้

            2.1 ก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้

                  2.1.1 ครูควรเตรียมการสอนให้พร้อมอย่างดีทั้งการเตรียมตัวครู เตรียมนักเรียน  (ที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ) เตรียมสื่อ และทดลองใช้สื่อการเรียนรู้ และแหล่งการเรียนรู้จนมั่นใจว่าจะสามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามตัวชี้วัดต่าง ๆ ตามที่หลักสูตรกำหนดได้

                 2.1.2 วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลทั้งด้านความสามารถในการเรียนรู้       

การมาเรียน  พฤติกรรมต่าง ๆ  รวมทั้งบริบททางครอบครัว และสังคมของนักเรียน

                 2.1.3 จัดกลุ่มนักเรียนเป็นกลุ่มเก่ง  กลุ่มปานกลาง  และกลุ่มอ่อน เพื่อจะได้ออกแบบกิจกรรมเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความสามารถของนักเรียนเป็นรายกลุ่ม ซึ่งหากสามารถวิเคราะห์ความสามารถให้รู้จักนักเรียนเป็นรายคน ก็ยิ่งให้ง่ายต่อการพัฒนานักเรียน

            2.2 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

                 2.2.1 ให้นักเรียนฝึกสมาธิทุกครั้งก่อนเรียนเพื่อทำจิตให้สงบ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วและง่ายขึ้น

                 2.2.2 ใช้กิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ตามเนื้อหาสาระแต่ละหน่วยการเรียนรู้ และแผนการเรียนรู้ กิจกรรมที่สำคัญ เช่น การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ  การเรียนจากสถานการณ์จริง เช่น  การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ  การฝึกซื้อขายในตลาด ชุมชน  การเรียนรู้จากสภาพจริงในชุมชนท้องถิ่น

                  2.2.3 ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดทักษะ แต่อย่างไรก็ตามควรหากิจกรรมเสริมระหว่างการฝึกทักษะซ้ำ ๆ เพื่อไม่ให้นักเรียนรู้สึกเบื่อต่อการเรียนรู้

                 2.2.4 ครูตรวจแบบฝึกหัดของนักเรียนทันที หรือให้เร็วที่สุด  ชี้แจง  แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดจนนักเรียนเข้าใจ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่คงทนเพิ่มขึ้น

                 2.2.5 สรุปความรู้จากบทเรียน 

                 2.2.6 ฝึกการเรียนรู้ด้วยโครงงานคณิตศาสตร์ ซึ่งจะเพิ่มทักษะทางด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น

                  2.2.7 จัดค่ายการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ซึ่งอาจจัดเป็นกิจกรรมในโรงเรียน หรือจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างโรงเรียน หรือภายในเครือข่ายสถานศึกษา                                                                                                             

            2.3 หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้

                  2.3.1 ทดสอบหรือประเมินผลการเรียนทุกครั้งหลังสอนหรือเมื่อจบบทเรียนแล้วประเมินผลรวมยอดเมื่อจบหน่วยการเรียนรู้

                  2.3.2 ฝึกย้ำพฤติกรรมการเรียนรู้ และคุณลักษณะที่ดีที่จะส่งผลให้การเรียนคณิตศาสตร์ประสบความสำเร็จมากขึ้น เช่น การตรงต่อเวลา  ความรับผิดชอบในการทำงาน  ความมีระเบียบวินัย  ความสะอาดในการทำงาน เป็นต้น

3. สื่อการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้  สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ที่ควรนำไปประยุกต์ใช้ตามบริบทแล้วแต่ครูผู้สอนจะเลือกใช้

             3.1โปรแกรม GSP

             3.2 การสืบค้นจาก Internet

             3.3 เพลง เช่น เพลงสูตรคูณ  หรือเพลงอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับเนื้อหา

             3.4 การใช้ของจริงเป็นสื่อการเรียนรู้

             3.5 แบบฝึกหัด

              3.6 เกม

              3.7 การจัดสถานการณ์จำลอง เพื่อฝึกทักษะ

ข้อเสนอแนะในการดำเนินการกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ คือ

            1. ควรจัดกิจกรรมฝึก  ย้ำ  ซ้ำ  ทวน  บ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญ

            2. ครูผู้สอนต้องมีความอดทน  อดกลั้น รอคอยคำตอบจากนักเรียน  ครูไม่ควรด่วนสรุป หรือเฉลยคำตอบเร็วเกินไป

            3. การที่ควรมีความเป็นกันเองกับนักเรียนจะทำให้นักเรียนรู้สึกอบอุ่น และมีบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ไม่ตึงเครียด

            4. ครูควรจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัย จัดทำวิจัยในชั้นเรียนทุกปี โดยไม่เป็นที่รูปแบบการวิจัยแต่มีจุดเน้นที่ใช้นวัตกรรมในการแก้ปัญหานักเรียน

            5.ควรประสานงานให้ผู้ปกครองนักเรียนให้มีส่วนร่วมที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้ เช่น จัดการให้นักเรียนมาเรียนทุกวัน  สอบถาม หรือให้คำปรึกษาในการทำการบ้าน

            6.จัดทำแผนพัฒนา แก้ปัญหานักเรียนเป็นรายคนอย่างต่อเนื่องตลอดปี

3
0
ผักหวานป่า
เขียนเมื่อ

17 มกราคม 2557 ได้เวลาพานักเรียน เปลี่ยนแปลงนาเป็นแปลงผักแล้วครับ สนุกสนานมากเลย...ทักษะชีวิตเพื่อพิชิตวิชาการ...

10
2
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท