อนุทินล่าสุด


ดอกไม้ทะเล
เขียนเมื่อ

Tranuretral resection prostatectomy  (TUR-P)

เป็นการทำผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือผ่าตัดต่อมลูกหมาก ( resectoscope ) สอดเข้าทางท่อปัสสาวะ  จนถึงบริเวณที่มีต่อมลูกหมากโตและตัดเนื้องอกออกเป็นชิ้นเล็กๆ จนถึงแคปซูลผ่าตัด แล้วล้างเอาชิ้นเนื้องอกออก โดยการสอด foley ‘ s  catheter แบบ 3หาง และใส่ sterile water ในบอลลูนของสายสวนปัสสาวะ จำนวน 50 มิลลิลิตร เพื่อเพิ่มแรงดันที่กดตรงตำแหน่งแผลผ่าตัด เพื่อ stop bleed พร้อมกับมีการดึงและยึดตรึงสายสวนปัสสาวะ(traction) ตรงตำแหน่งหน้าขา (จันทร์เพ็ญ สันตวาจา , 2549 ; 68 – 71) โดยให้ผู้ป่วยเหยียดขาข้างที่ตรึงสายสวนไว้ประมาณ 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดเพื่อเป็นการช่วยห้ามเลือดจากแผลผ่าตัด  แล้วสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง โดยใช้0.9 % NSS   drip เพื่อชะล้างเลือดที่ออกมาจากแผลและเพื่อป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดอุดกั้นการไหลของปัสสาวะ ใช้ 0.9 % NSS   drip จนกว่าน้ำที่ออกมาจะเป็นสีใส

หลักการพยาบาลที่สำคัญ

1. ต้องคอยดูแลปรับอัตราการไหลของน้ำยาที่ใส่เข้าไปชะล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ให้พอเหมาะกับจำนวนปัสสาวะ และน้ำยาที่ไหลออกมา

2.หมั่นบีบรูดคลึงสายยางบ่อยๆ เพื่อป้องกันการอุดตันของสายยางจากลิ่มเลือดที่ออกมาทางสายสวนปัสสาวะ

3. ต้องจดบันทึกจำนวนน้ำยาที่ใส่เข้าไปและน้ำที่ออกจากกระเพาะปัสสาวะ และนำมาหักลบกัน จะได้ปริมาณน้ำปัสสาวะในช่วงเวลานั้นๆ ควรมีการติดตามบันทึกจำนวนน้ำที่ร่างกายได้รับและขับออก ทุก 2 – 4 ชั่วโมง (Dianne Watsson, 2003) หากได้รับน้ำอย่างเพียงพอควรมีน้ำปัสสาวะประมาณ 30 มิลลิลิตร ต่อชั่วโมง หรือ 250 มิลลิลิตร ต่อ 8 ชั่วโมง (Ruth F. Craven and Constance J. Hirnle. , 2007; 1108)

 

 

ข้อดีของการทำผ่าตัดแบบ (TUR-P)

-ไม่มีบาดแผลผ่าตัดภายนอก

-ใช้เวลาในการนอนโรงพยาบาลน้อย ประมาณ 2-3 วัน

ข้อเสียของการทำผ่าตัดแบบ (TUR-P)

-ทำไม่ได้ในรายที่มีเนื้องอกขนาดใหญ่

-ใช้เวลาในการผ่าตัดนานกว่า 1 ชั่วโมง

-ผู้ที่ทำการผ่าตัดจะต้องมีความชำนาญในการทำเป็นอย่างมาก

-โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง

ภาวะแทรกซ้อนหลังการทำผ่าตัด

-เกิดการทะลุของกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ

 -ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะรวมทั้งติดเชื้อที่ลูกอัณฑะและท่อน้ำเชื้อ

-กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

-ท่อปัสสาวะและคอกระเพาะปัสสาวะตีบและหดรั้ง

-น้ำอสุจิแห้ง

-อวัยวะเพศไม่แข็งตัว

-ต่อมลูกหมากกลับโตขึ้นใหม่

คำแนะนำในการปฏิบัติตนขณะคาสายสวนปัสสาวะ

1) ดื่มน้ำอย่างน้อย 2,000 – 3,000 ซีซี (10-12 แก้ว) เพื่อให้มีปัสสาวะมากช่วยชะล้าง ทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการติดเชื้อทำให้ปัสสาวะเจือจางไม่ตกตะกอนไม่ทำให้สายอุดตัน (Dianne Watsson, 2003)

2) รักษาความสะอาดร่างกายทั่วไป และอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก

3) รับประทานอาหารได้ทุกชนิด โดยเฉพาะโปรตีนเพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรง

4) ทำงานและออกกำลังกายได้ตามความสามารถ

คำแนะนำในการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดต่อมลูกหมาก

  1. ดื่มน้ำให้เพียงพอประมาณ 2,000 ซีซี (10-12 แก้ว )
  2. ห้ามกลั้นปัสสาวะ
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ
  4. ระวังอย่าให้ท้องผูก รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย ผัก ผลไม้ เพื่อให้ขับถ่ายสะดวก
  5. ออกกำลังกายได้ตามสมควร แต่ห้ามกระทบกระเทือนฝีเย็บ เช่นขี่จักรยาน นั่งรถนานๆ
  6. อาการกลั้นปัสสาวะไม่ได้หลังผ่าตัดช่วงแรกๆแก้ไขโดยขมิบก้นบ่อยๆ
  7. มีเพศสัมพันธุ์ได้ใน 6 สัปดาห์หลังผ่าตัด
  8. ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่นปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะปนเลือด ปวด
  9. มาตรวจตามแพทย์นัดเพื่อดูอาการ ฟังผลชิ้นเนื้อ และตรวจปัสสาวะ

 

เอกสารอ้างอิง

จันจิรา  สีสว่าง.เอกสารประกอบการเรียนการสอน:ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ,2554.

ไชยยงค์ นวลยง. “Guidelines ในการรักษาBPH” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttp://www.anamai.moph.go.th/occmed/uro/GuidelinesBPH.html. วันที่สืบค้น : 24 เมษายน 2555 .

http://www.researchers.in.th/blogs/posts/tag/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B8%20%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99">ภาณุ อดกลั้น. “ http://www.researchers.in.th/blogs/posts/tag/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%20TUR-P%20%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%20(CBI)">หลักการพยาบาลผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัด TUR-P ด้วยสวนล้างกระเพาะปัสสาวะอย่างต่อเนื่อง (CBI)” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.researchers.in.th/blogs/posts/4228 .วันที่สืบค้น : 24 เมษายน 2555 .

วิสูตร คงเจริญสมบัติ. “ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดรักษาต่อมลูกหมากโต” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก

http://www.prostate-rama.com/reading_detail.php?cid=11.วันที่สืบค้น : 24 เมษายน 2555 .

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท