อนุทินล่าสุด


ดร.วิทธิลักษณ์ จันทร์ธนสมบัติ
เขียนเมื่อ

“รูปแบบการเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข”การเป็นผู้สูงอายุที่่มีความสุข ปัจจััยที่เกี่ยวเนื่องกับตนเอง ปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับครอบครัว และปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกับชุมชน ทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวต้องเป็นปัจจัยที่ต้องมีความสัมพันธ์กันในระดับบุคคล โดยหมายความว่า เป็นความสัมพันธ์ทีี่มีจุดเริ่มต้นมาจาก “ตนเองหรือตัวเอง” แล้วดำเนินเกี่ยวเนื่องกับบุคคลอื่นที่อยู่ใกล้ชิด โดยเฉพาะความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในระดับ “ครอบครัว” และนอกเหนือจากครอบครัวก็จะเป็นความสัมพันธ์อยู่ในระดับของ “ชุมชน” คือ บุคคลอื่น ๆ ที่เกิดเป็นความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน โดยความสัมพันธ์ในทั้ง 3 ระดับนั้นจะเป็นความสัมพันธ์ในรูปแบบสัมพันธภาพที่ดี มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีความเคารพความรักต่อกันและกัน เพราะการที่บุคคลจะมีการปฏิบัติและมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกันได้ต้องเริ่มดีหรือมีความดีต่อตนเองก่อนเสมอ จึงเป็นความสัมพันธ์ที่สมบูรณ์และจะก่อให้เกิดความสุขต่อการดำเนินชีวิต โดยมีบริบทใหญ่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของ “สุขภาพ เศรษฐกิจ และ สังคม” ที่เกี่ยวข้อง เพราะเรื่องของ “สุขภาพ” เป็นปัจจัยที่สำคัญกับทุกคนต้องดูแลให้ดีที่สุด สุขภาพดีเป็นที่ปรารถนาของมนุษย์ทุกคน ดังนั้นการมีสุขภาพที่ดีต้องมาก่อน เมื่อมีสุขภาพที่ดีต่อการดำเนินชีวิต ย่อมหมายถึงการมีพลังสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ โดยสุขภาพจะเกี่ยวเนื่องกับการสร้างสรรค์กิจกรรมหรือผลงานได้ด้วยตนเอง และการสร้างสรรค์ก็จะเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นทั้งในครอบครัวและชุมชนด้วย ปัจจัยด้าน “เศรษฐกิจ” เป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ สุขภาพจะดีต้องมีความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจที่ดีด้วย ซึ่งหมายถึงการมีเงินเก็บสะสมและการใช้จ่ายในการดำรงชีพ หรือการจับจ่ายซื้อเครื่องอุปโภคและบริโภคอื่น ๆ ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพ สุขภาพดีย่อมมีความสุขโดยมีจุดมุ่งหมายที่สังคม สังคมจะดีบุคคลในสังคมเป็นเครื่องบ่งชี้หรือบ่งบอก ถ้าบุคคลในสังคมอยู่ดีมีสุขนั้นย่อมอธิบายได้ว่า สังคมนั้นเป็นสังคมคุณภาพ การมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดั้งนั้นกล่าวได้ว่า “สังคม” จะสัมพันธ์กับ “สุขภาพ” และสุขภาพจะบ่งบอกถึงตัว “บุคคล” การเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข โดยทุกอย่างจะต้องมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่ระดับตัวบุคคล ครอบครัว ชุมชน ซึ่งจะอยู่ภายใต้บริบทใหญ่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.วิทธิลักษณ์ จันทร์ธนสมบัติ
เขียนเมื่อ

“เด็กเร่ร่อน”เด็กเร่ร่อน หมายถึง เด็กที่ปฏิเสธที่ใช้ใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัว โดยการออกมาใช้ชีวิตอาศัยอยู่ตามที่สาธารณะ สะพานคนข้าม สถานที่รกร้าง ใต้ะสะพานลอยฟ้า หรือสถานที่อื่นๆ ซึ่งไม่อาจจะเรียกได้ว่าคือที่อยู่อาศัย มีการจับกลุ่มอาศัยกันเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งมีทั้งแต่ 3-5 คนขึ้นไป รูปลักษณะการแต่งกายค่อนข้างจะสกปรก เสื้อผ้าเก่า เป็นโรคผิวหนัง บางคนมีพฤติกรรมการใช้สิ่งเสพติด และขายบริการทางเพศ

“สาเหตุที่ทำให้เกิดเด็กเร่ร่อน”1. ปัญหาครอบครัว ผู้ปกครอบขาดการเอาใจใส่ดูแลจึงส่งผลทำให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวไม่ดี เด็กขาดความอบอุ่น หรือรวมถึงบรรยากาศภายในครอบครัวบิดามารดาทะเลาะเบาะแว้ง ฯลฯ2. พฤติกรรมส่วนตัวผลักดัน เป็นผลมาจากการถูกหล่อหลอมเลี้ยงดูภายในครอบครัว ทำให้เด็กมีพฤติกรรมสนใจบรรยากาศภายนอกครอบครัวมากกว่าจึงเร่ิ่มต้นออกมาเที่ยวเตร่ 3. มีอิสระเสรีทางความคิดและการแสดงพฤติกรรม จึงเกิดความชอบมีความพึงพอใจเมื่ออยู่นอกบ้าน4. คบเพื่อนที่เป็นเด็กเร่ร่อน มีโอกาสที่จะออกมาเร่ร่อนมากที่สุด

“ปัญหาเด็กเร่ร่อน”1. ขายบริการ2. ยิ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เช่น เสพย้าบ้า ดมกาว ฯลฯ3. ลักขโมย หรือรวมถึงชิงทรัพทย์4. ถูกแสวงหาประโยชน์ หรือใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพทุจริต5. อาชญากรเด็ก6. อื่น ฯลฯ

“สิทธิทางสังคมของเด็กเร่ร่อน”1. สิทธิทางด้านการศึกษา บางกรณีไม่มีหลักฐานทางราชการ หรือรวมถึงไม่สามารถปรับตัวในการเรียนให้เข้ากับเด็กปกติทั่วไปในโรงเรียนได้2. สิทธิทางด้านสาธารณสุข การรักษาพยาบาล เข้าถึงสิทธิได้ยาก เนื่องจากไม่มีเอกสารทางราชการ 3. สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามกฎหมาย เด็กกลุ่มนี้อาจจะเป็นกลุ่มสุดท้าย หรือท้ายสุดที่จะได้รับการคุ้มครองโดยเร็วไว เนืองจากวิถีชีวิตสภาพปัญหาของเด็กเร่ร่อนเอง ที่ไม่อยู่ห่างหรือการเข้าถึงการคุ้มครองฯ4. สิทธิทางสังคมด้านอื่น ฯลฯ เป็นรายกรณี



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.วิทธิลักษณ์ จันทร์ธนสมบัติ
เขียนเมื่อ

คำนิยามศัพท์ เด็กหาย

  1. เด็กหาย หมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่หายออกจากบ้าน โดยที่ตั้งใจหนีหายหรือมีเหตุทำให้เกิดการหายหาย หรือการหายตัวเป็นลักษณะคดีความอาญา และได้มีการแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน เพื่อให้บุคคลในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกติดตามช่วยเหลือค้นหาเด็กหาย

  2. หน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง หมายถึง หน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงในการติดตามเด็กหาย มีทั้งเป็นหน่วยงานของภาครัฐและเป็นหน่วยงานของภาคเอกชน

  3. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง หมายถึง เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบติดตามเด็กหาย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
ดร.วิทธิลักษณ์ จันทร์ธนสมบัติ
เขียนเมื่อ

เด็กหาย เป็นปัญหาสำคัญของประเทศที่ต้องได้รับการติดตาม ช่วยเหลือ จะในรูปแบบของการปฏิบัติหรือการกำหนดนโยบายแก่บุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันเด็กหายมีสาเหตุที่หลากหลาย แต่ละสาเหตุปัญหาที่มีความซับซ้อนยากแก่การติดตามช่วยเหลือพบตัวได้ในเร็วไว ในบางกรณีมีความเกี่ยวข้องกับคดีอาญา บางกรณีมีปัจจัยแวดแล้อมเป็นองค์ประกอบเกื้อหนุนผลักดันให้เด็กตัดสินใจออกจากบ้าน จากการหายตัวของเด็กที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบทางตรงและทางอ้อม โดยรวมส่งผลกระทบต่อเด็กหายโดยตรง มีความเสี่ยงต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัย บางรายถูกทำร้ายร่างกาย จิตใจหรือถูกกระทำอนาจารล่วงละเมิดทางเพศ และบางรายส่งผลกระทบทางอ้อมกับบุคคลในครอบครัว มีความวิตกกังวล ซึมเศร้า ครอบครัวไม่สามารถประกอบอาชีพได้ สังคมเกิดความตื่นตระหนกหวาดระแวง หวาดกลัว ต่อภัยที่จะเกิดขึ้นกับบุตรหลานตนเอง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท