อนุทินล่าสุด


นายประพันธ์ วรรณวิจิตร
เขียนเมื่อ

วันอาทิตย์ที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๗

กศน.สอบ N-net  ที่ โรงเรียน ปทุมคงคา ( ศูนย์วิทยาศาสตร์ " ท้องฟ้าจำลอง"  เอกมัย )



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
นายประพันธ์ วรรณวิจิตร
เขียนเมื่อ

ภาษาไทย การ ฟัง และการดู

การฟังและการดู

ความหมายของการฟังและการดู

การฟังและการดู หมายถึง การรับรู้เรื่องราวต่างๆ จากแหล่งของเสียงและภาพ หรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นการฟังจากผู้พูดโดยตรง หรือ ฟัง และ ดู ผ่านอุปกรณ์ หรือสิ่งต่างๆแล้วเกิดการรับรู้และนำไปใช้ประโยชน์ โดยต้องศึกษาจนเกิดความถูกต้องแน่แล้ว อย่างมีประสิทธิภาพ

การฟัง และ การดู ที่ดี

1  ต้องรู้จุดมุ่งหมายของการฟังและดู และต้องจดบันทึกไว้เพื่อเตือนความจำ

2  ต้องฟังและดูโดยปราศจาก อคติ เพื่อการวิเคราะห์ วิจารณ์ที่ตรงประเด็น

3  ให้ความรวมมือในการฟัง และ ดู ด้วยการร่วมกิจกรรม

จุดมุ่งหมายของการฟัง

1 ฟังเพื่อจับใจความสำคัญของเรื่อง อะไร,ที่ไหน ,อย่างไร

2 ฟังเพื่อให้ได้ใจความโดยละเอียด

3 ฟังเพื่อหาเหตุผลมาโต้แย้ง หรือคล้อยตาม

4 ฟังเพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน

5 ฟังเพื่อส่งเสริมจินตนาการ

จุดมุ่งหมายของการดู

1 ดูเพื่อให้รู้  เป็นการดูเพื่อให้เป็นคนที่ทันโลกทันเหตุการณ์ 

2 ดูเพื่อ การศึกษาหาความรู้ ในการศึกษา 

3 ดูเพื่อ ความเพลิดเพลิน เจริญใจ

4 ดูเพื่อ ยกระดับจิตใจ ความนึกคิด




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
นายประพันธ์ วรรณวิจิตร
เขียนเมื่อ

ทักษะทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย

1. การสังเกต     การสังเกต เป็นวิธีการหนึ่งที่จะได้มาซึ่งข้อสงสัย รับรู้ข้อมูล พิจารณาข้อมูลจากปรากฏการณ์ทาง   ธรรมชาติที่เกิดขึ้น

2. ตั้งสมมุติฐาน    การตั้งสมมุติฐาน เป็นการระดมความคิด สรุปสิ่งที่คาดว่าจะเป็นคำตอบของปัญหา หรือข้อสงสัยนั้นๆ

3. ออกแบบทดลอง   การออกแบบการทดลอง เพื่อศึกษาผลของตัวแปรที่ต้องศึกษา โดยควบคุมตัวแปรอื่นๆที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษา

4. ดำเนินการทดลอง   เป็นการจัดกระทำกับตัวแปรที่กำหนด ซึ่งได้แก่ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการศึกษา 

5. รวบรวมข้อมูล   เป็นการบันทึกรวบรวมผลการทดลอง หรือผลจากการกระทำของตัวแปรที่กำหนด

6. สรุปผลการทดลอง  แปรและสรุปผลการทดลอง และนำไปใช้

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 13 ทักษะดังนี้

1 ทักษะขั้นมูลฐาน 8 ทักษะ ได้แก่

    1. ทักษะการสังเกต   ( Observing )

    2. ทักษะการวัด   ( Measuring )

    3. ทักษะการจำแนก หรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ ( Classifying )

    4. ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา ( Using Space / Relationship )

    5. ทักษะการคำนาณ และ การใช้จำนวน  ( Using Numbers )

    6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล  ( Comunication )

    7. ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล  ( Inferring )

    8. ทักษะการพยากรณ์  (  Predicting )

1 ทักษะขั้นสูงหรือทักษะขั้นผสม 5 ทักษะ ได้แก่

    1.ทักษะการตั้งสัมมุติฐาน  ( Formulating Hypothesis )

    2. ทักษะควบคุมตัวแปร  ( Controlling Variables )

    3. ทักษะการตีความและลงข้อสรุป  ( Interpreting data )

    4. ทักษะการกำหนดนิยาม เชิงปฏิบัติการ  ( Defining Operationally )

    5. ทักษะการทดลอง  ( Experimenting )



    




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท