อนุทินล่าสุด


boow ^^
เขียนเมื่อ

กองทุนเปิด (Opened - End Fund)

คือ กองทุนรวมชนิดที่อาจมีการกำหนดอายุโครงการหรือไม่ก็ได้ แต่ที่สำคัญก็คือ บลจ. สามารถที่จะขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมและต่อเนื่องได้ หลังจากที่มีการเสนอขายหน่วยลงทุนในครั้งแรกไปแล้ว รวมถึงสามารถรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากผู้ลงทุนเมื่อใดก็ได้ตลอดเวลา โดยในทางปฏิบัติ บลจ. มักจะมีการกำหนดระยะเวลาในการขาย ตลอดจนการรับซื้อคืนไว้ก่อนล่วงหน้า โดยอาจเปิดให้ทำการซื้อขายได้ทุกวันทำการ สัปดาห์ละครั้ง เดือนละครั้ง หรืออาจจะเป็นปีละ 2 ครั้ง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ได้กำหนดขึ้น

ทั้งนี้ ผู้ลงทุนควรที่จะอ่านเงื่อนไขเกี่ยวกับการเสนอขาย ตลอดจนการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนจากหนังสือชี้ชวน (Prospectus) อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนจะยังไม่ทราบว่าราคาซื้อขายหน่วยลงทุนจะเป็นเท่าไรในทันที ณ เวลาที่
ทำรายการสั่งซื้อขายนั้น เนื่องจากต้องคอยจนกว่าจะมีการคำนวณ NAV ต่อหน่วยของกองทุน ณ สิ้นวันทำการเสียก่อน นอกจากนี้ ขนาดของกองทุนยังสามารถขยายหรือลดลงได้ เนื่องจาก บลจ. สามารถขายหน่วยลงทุนเพิ่มเติมได้ และ
ผู้ลงทุนเองก็สามารถนำหน่วยลงทุนมาขายคืนให้กับ บลจ. หรือตัวแทนสนับสนุนการขาย กองทุนประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
boow ^^
เขียนเมื่อ

มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงิน (QE) สามารถใช้ในการช่วยเหลือในการควบคุมระดับอัตราเงินเฟ้อไม่ให้เกินค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายอย่างที่รวมถึงการจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพมากกว่าที่จะมีความมุ่งหมายในการปฎิบัติการต่อต้านภาวะเงินฝืด หรืออาจเป็นการดำเนินการที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอถ้าหากธนาคารต่าง ๆ ไม่สามารถที่จะปล่อยการกู้ยืมจากเงินสำรองออกไปได้

เป้าหมายของการนำมาตรการนี้มาใช้เป็นการเพิ่มปริมาณเงิน (money supply) มากกว่าที่จะใช้มาตรการในการลดอัตราดอกเบี่ยที่ไม่สามารถจะดำเนินการให้ต่ำกว่านี้ได้อีกแล้ว เพื่อลดปัญหากับดักของสภาพคล่องที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ และสร้างการเติบโตให่กับระบบเศรษฐกิจได้ ซึ่งมาตรการนี้มีความสามารถเพียงแค่ดำเนินการโดยการที่ธนาคารกลางเข้าไปควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น

มาตรการผ่อนคลายในเชิงปริมาณทางการเงินนั้น ถูกใช้ครั้งแรกโดยธนาคารกลางประเทศญึ่ปุ่นในเดือนมีนาคม 2544 เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินฝืดและรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยให้คงอยู่ในระดับต่ำ เป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ และเข้าสู่ธนาคารภาคเอกชนในการเพิ่มสภาพคล่องให้แก่การปล่อยกู้ของธนาคารเอกชนที่มีต่อผู้ประกอบการธุรกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นจึงได้ดำเนินมาตรการนี้โดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลมากกว่าที่จะคงระดับอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับศูนย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเข้าไปดำเนินการซื้อคืนหลักทรัพย์และทรัพย์สินต่าง ๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
boow ^^
เขียนเมื่อ

ปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยง

ปัจจัยที่สำคัญต่อความสำเร็จในการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้องค์กรได้รับประโยชน์จากการบริหารความเสี่ยง ผู้บริหารจะต้องสร้างกระบวนการเพื่อสนับสนุนให้เกิดการบ่งชี้ การประเมิน การจัดการ และการรายงานความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงานปกติ

ปัจจัยสำคัญ 8 ประการเพื่อช่วยให้การปฏิบัติตามกรอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กรประสบความสำเร็จ มีดังนี้

ปัจจัยที่ 1: การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง

ปัจจัยที่ 2:การใช้คำให้เกิดความเข้าใจแบบเดียวกัน

ปัจจัยที่ 3:การปฏิบัติตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยที่ 4:กระบวนการในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

ปัจจัยที่ 5:การสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล

ปัจจัยที่ 6:การวัดผลการบริหารความเสี่ยง

ปัจจัยที่ 7:การฝึกอบรมและกลไกลด้านทรัพยากรบุคคล

ปัจจัยที่ 8:การติดตามกระบวนการบริหารความเสี่ยง

แหล่งที่มา : www.pwc.com/thailand



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
boow ^^
เขียนเมื่อ

คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ SMEs

มาดูกันว่าการที่เราจะตัดสินใจเป็นผู้ประกอบการธุรกิจ SME เราควรมีคุณสมบัติอะไรบ้างและธุรกิจ SME ใช่ตัวเราไหม โดยดูจากคุณสมบัติต่อไปนี้

1.มีความกล้าในการตัดสินใจ
2.รู้จักที่จะเป็น " แม่งาน " หรือ " พ่องาน " ( รู้จักวางรูปงาน )
3.พร้อมที่จะทำงานหนัก
4.เป็นคนก่อร่างสร้างตัว
5.มีความภาคภูมิใจในสิ่งที่ตนเองกำลังทำ
6.มีอัธยาศัยดี
7.พูดจาสื่อความเข้าใจกับคนอื่นได้ดี
8.รู้จักสร้างและรักษามิตรภาพ
9.ยินดีที่จะแบกภาระรับผิดชอบ

แหล่งที่มา : http://www.snr.ac.th/elearning/suriya/sme-5.htm



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
boow ^^
เขียนเมื่อ

เกณฑ์ที่สถาบันการเงินใช้พิจารณาสินเชื่อ

ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อจะขึ้นอยู่กับนโยบายและหลักเกณฑ์ของผู้ให้สินเชื่อแต่ละราย โดยทั่วไปแล้วมีปัจจัยหลักๆที่ใช้ประกอบการพิจารณา คือ

  • นโยบายสินเชื่อของผู้ให้สินเชื่อ เช่น ผู้ให้สินเชื่อบางรายอาจกำหนดว่าผู้ยื่นขอสินเชื่อต้องไม่มีประวัติการค้างชำระในช่วง 12 เดือนย้อนหลัง หรืองดให้สินเชื่อแก่ลูกค้าใหม่ในกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง
  • วัตถุประสงค์ในการขอสินเชื่อ เช่น ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจ หรือลงทุนขยายโรงงาน ซึ่งจะเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคต
  • คุณลักษณะและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะใช้หลัก 6 Cs ประกอบด้วย
  • 1.Character
  • 2.Capacity
  • 3.Capital
  • 4.Collateral
  • 5.Conditions
  • 6.Country

ดังนั้น ถ้าหากผู้ขอสินเชื่อเป็นผู้มีอาชีพการงานและรายได้มั่นคง ไม่เคยมีหนี้สินล้นพ้นตัว มีความสามารถในการชำระหนี้ การขอสินเชื่อก็คงไม่ติดปัญหาอะไร แต่หากไม่มีหน้าที่การงานที่มั่นคง ไม่มีเอกสารใบรับรองเงินเดือน โอกาสการได้เงินกู้ยังคงมีอยู่ เพราะอาจใช้หลักฐานทางการเงินอื่น ๆ ทดแทนได้ เช่น ใบแจ้งยอดบัญชี หรือสเตทเมนต์ (Statement) ของบัญชีเงินฝาก

แหล่งที่มา :

ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ,บริษัท เครดิตแห่งชาติ จำกัด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
boow ^^
เขียนเมื่อ

ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
boow ^^
เขียนเมื่อ

กิจการร่วมค้า (Joint Venture)

กิจการร่วมค้า (Joint Venture) คือ การร่วมธุรกิจของธุรกิจหรือบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ทำสัญญาที่จะร่วมทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเงินทุน ทรัพย์สิน ที่ดิน อาคาร การผลิต เทคโนโลยี บุคลากร หรืออื่นๆภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาร่วมค้า โดยมีการกำหนดวัตุประสงค์และเป้าหมายในการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน เช่น การผลิตหรือจำหน่ายสินค้า หรือดำเนินโครงการอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมกัน โดยมีการกำหนดสัดส่วนผู้ถือหุ้น สิทธิความเป็นเจ้าของ หน้าที่ความรับผิดชอบต่างๆ รวมถึงการแบ่งผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงาน ทั้งนี้หากเกิดความเสียหายก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน หรือหากเกิดผลกำไรก็จะจัดสรรผลโยชน์ตามสัดส่วนของการลงทุน โดยในการร่วมค้านั้นจะต้องมีผู้ร่วมค้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทกับบริษัท หรือบริษัทกับบุคคลธรรมดา

สาเหตุ ที่ทำให้เกิดการร่วมค้านั้น มักจะเกิดจากความต้องการเงินลงทุนหรือทรัพยากรในการลงทุนเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความแข็งแกร่งและสร้างความเติบโตให้กับธุรกิจ โดยอาจเป็นธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น ธุรกิจที่กำลังประสบปัญหาให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ หรือเป็นธุรกิจที่แสวงหาเทคโนโลยีวิทยาการใหม่ๆที่ทันสมัย ทั้งนี้เพื่อยกระดับหรือเพิ่มศักยภาพในการดำเนินงานหรือมีความต้องการใช้ ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเต็มที่โดยการไปร่วมทุน

โดย ทั่วไปธุรกิจที่จะเข้ามาร่วมค้านั้นจะเป็นธุรกิจที่มีสถานะแตกต่าง เพราะหากอยู่ในสถานะเดียวกันหรือเท่าเทียมกันมักจะเป็นคู่แข่งกันมากกว่า โดยธุรกิจที่จะทำการร่วมค้าอาจจะอยู่ในประเทศเดียวกันหรือต่างประเทศก็ได้

แหล่งข้อมูล



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท