การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย


-การจัดระบบบริการแบบองค์รวม? - เครือข่ายในชุมชน?


ความเห็น (3)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

ญาดา
เขียนเมื่อ
not yet answered


ความเห็น (3)

โรงพยาบาลเริ่มทำงาน palliative อย่างจริงจัง มีจิตอาสาเยี่ยมบ้านในชุมชน อยากขอคำแนะนำท่านผู้รู้เข้ามาแลกเปลี่ยน เป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ

ถึงเวลาหรือยัง กับ Long Term Care

“ภายใต้การปฏิบัติ ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างให้สุขภาพดี บริการดี สังคมดี ชีวิตมีความสุข พอเพียงอย่างยั่งยืน”

ชื่อบันทึกเป็นชื่อ highlight ของการเรียนรู้เรื่อง "การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2550" ในครั้งนี้นะคะ เมื่อ 1-2 กพ.50

งานนี้จัดโดยกรมอนามัยค่ะ สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ (กลุ่มวัยสูงอายุ : สว.) เป็นแม่งานหลัก ... หัวเรี่ยวหัวแรงก็คือ คุณหมอมนู วาทิสุนทร และคณะ ค่ะ

ต้องเรียกว่า จัดงาน "ใหญ่" เพราะผู้เข้าร่วมประชุมมาจากทั่วประเทศ 75 จว. ตัวแทนงานสูงอายุ ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดค่ะ พร้อมตัวแทนกลุ่มสูงอายุ ศูนย์อนามัยเขตของกรมอนามัย ทุกคนมีส่วนร่วมกันอย่างมาก และรู้ว่าจะ Happy happy กันมากค่ะ ที่ได้มาเจอกัน ที่ รร.ริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

ท่านประธานเปิดการประชุม ก็คือ ท่านรองอธิบดีกรมอนามัย ค่ะ นพ.โสภณ เมฆธน ท่านนำเข้าเรื่องได้เป็นที่น่าประทับใจ เพราะเข้าถึงใจของผู้ทำงานผู้สูงอายุได้เกินคาด โดยท่านได้นำ แนวคิด ของแผนพัฒนาสุขภาพ ฉบับที่ 10 มุ่งสู่เป้าประสงค์เพื่อ “พัฒนาความเข้มแข็งของชุมชน สังคมอยู่เย็นเป็นสุข” ... “ภายใต้การปฏิบัติ ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อสร้างให้สุขภาพดี บริการดี สังคมดี ชีวิตมีความสุข พอเพียงอย่างยั่งยืน” ด้วยการมุ่งกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ ของหลายๆ หน่วยงานร่วมกัน ซึ่งก็คือ กรมพัฒนาความมั่นคงและสังคมของมนุษย์ กระทรวงแรงงานฯ รวมทั้งกรมอนามัย ก็เห็นความสำคัญของประชากรสูงอายุด้วยกัน เพราะว่า ผู้สูงอายุเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจ และสังคม ของประเทศ

ท่านรองฯ ได้ให้ข้อคิดเห็นทางด้านวิชาการเพิ่มเติม ก็คือ

ตอนนี้ ประเทศไทยนับว่าเป็นสังคมผู้สูงอายุ (aging society) แล้ว เพราะว่ามีประชากรผู้สูงอายุเกิน 10% อาจเกือบถึง 20%

กิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ ที่สำคัญ อยู่ที่ รูปแบบ ที่เราจะจัดการให้กับ ปชช. ของเราที่เป็นผู้สูงวัยว่าควรจะออกมาเป็นแบบไหน

ผู้สูงอายุไทย เรามองที่ ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุ “มีศักยภาพ มีคุณภาพ และมีศักดิ์ศรี”

เป้าหมาย หรือภาพในฝันที่อยากเห็นผู้สูงอายุไปถึง คือ เรื่องสุขภาพ ที่ 4 ด้าน คือ

... กาย - ทำยังไงไม่ต้องนอนอยู่บนเตียง ... โรคเบาหวาน ความดันสูง โรคหัวใจก็จะตามมา โรคเหล่านี้จะเห็นผลทันทีเมื่อสูงวัย

... จิตใจ - ทำยังไงไม่ให้เหงา เศร้าสร้อย

... สังคม - ถ้าเป็นผู้สูงอายุแล้วไม่มีสังคม จะส่งผลในเรื่องจิตใจ การมี Social network มีสังคม ช่วยเหลือผู้อื่นได้ ตัวเขาเองก็มีความสุข

... ปัญญา (Spiritual) - สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ไปได้

อันนี้เป็นภาพฝัน เป็นความต้องการของมนุษย์ ... ถ้าเราชัดเจนในเป้าหมาย 4 ด้านนี้ ทุกกระทรวง ทบวง กรม ก็คิดตรงกัน ... ทำยังไงให้ได้เป้าหมายทั้ง 4 ด้านนี้เป็นอันดับแรก

การทำงานถ้าจะให้เป็นองค์รวมด้านสุขภาพ ต้องให้หลายหน่วยงานมาช่วยกัน อย่าไปคิดว่า เป็นเรื่องเฉพาะสาธารณสุข เป็นไปไม่ได้ เพราะสมัยนี้การทำงานต้องการพันธมิตร

การจำแนกผู้สูงอายุในปัจจุบัน

1. เป็นคนแข็งแรงดี สุขภาพดี มีปัญญา ไปช่วยผู้อื่นได้ … ทำยังไงให้เกิดจิตอาสา เป็นสมาชิกชมรมแล้วเข้ามาช่วย มีภูมิปัญญา และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

2. เจ็บไข้ได้ป่วย แต่ยังดูแลตัวเองได้… ทำยังไงให้เข้าถึงบริการ และเจ็บป่วยยามฉุกเฉินก็มีคนดูแล

3. เจ็บไข้ได้ป่วย และช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

กลุ่ม 1 และ 2 ก็คือกลุ่มที่จะเข้าชมรมผู้สูงอายุ และไปช่วยดูแลกลุ่มที่ 3 ด้วย

ณ ปัจจุบันเราเป็น Age society แล้ว เรามีกิจกรรมในเรื่องชมรมผู้สูงอายุ Home Health Care วัดส่งเสริมสุขภาพ หวังว่าวัดจะส่งผลเรื่อง จิตใจดี สังคมดี และเรื่องของฟันเทียมพระราชทาน และทำอย่างไรให้คนที่มีฟันอยู่ได้มีฟันใช้งานได้ยาวนาน

การทำงานก็ต้องดูความครอบคลุมของกิจกรรม และประสิทธิภาพไหม ส่งผลถึง Health หรือเปล่า ด้วยการใช้ Six keys function เข้ามาอธิบาย คือ ... ต้องมีระบบเฝ้าระวัง (survelliance) ซึ่งจะทำให้เราได้ข้อมูลของผู้สูงอายุ จะทำให้เราเห็นว่าอะไรเป็นปัญหา ... การ R&D เพื่อให้ได้องค์ความรู้ โมเดลที่เหมาะกับประเทศไทย ว่าเราจะดูแลแบบไหน อย่างไร เพื่อให้เป้าหมายที่ต้องการ และมีประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรได้น้อย unit cost ที่ไม่แพงมาก และเลือกสิ่งที่ดีที่สุด นำโมเดลไปขายให้กับท้องถิ่น เพื่อดำเนินการต่อ ... ต่อไปก็ไปติดตามและประเมินผล ว่าผลเป็นอย่างไร มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพอย่างไร ... นี่เป็นวงจร 3 ส่วนที่ต้องทำเพื่อ ... Consumer protection ผู้สูงวัยจำเป็นต้องมีหรือไม่ ใน Prevention &Promotion ของ สปสช. ... Funder alliance การไปเสนอเพื่อหางบฯ สนับสนุน และ Provider support กับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สรุป กิจกรรมของผู้สูงอายุ ผมคิดว่า

1. เป้าหมายต้องให้ชัด

2. โมเดลที่ดีๆ ของ ปทท. ที่เป็น aging society เป็นอย่างไร และ

3. การติดตามและประเมินผล (M&E) ที่เราใส่ไป 4 เรื่องนี้ มีปัญหาตรงไหน อย่างไร

ท้ายของการประชุมปฏิบัติการครั้งนี้ เราได้เรื่องประสบการณ์ ใน 4 เป้าหมายการดำเนินกิจกรรมในผู้สูงอายุ ค่ะ ก็คือ

ชมรมผู้สูงอายุ

Home Health Care (การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน)

วัดส่งเสริมสุขภาพ

ฟันเทียมพระราชทาน และ

พิเศษในบางพื้นที่ เช่น ทางภาคใต้ มีรูปธรรมของการ ดูแลผู้สูงอายุในลักษณะของ Day Care แล้วค่ะ

ยังมีการรวมตัวกันต่อไปอีกนะคะ ที่จะต่อยอด สร้างกิจกรรม หรือโมเดลในการส่งเสริมกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุไทย

ต้องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย กำลังพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท