การประยุกต์ปรับปรุงการนิเทศภายในที่นำไปใช้


ก่อนอื่นผมเองเป็นลูกศิษย์ท่านอาจารย์คงต้องเรียนขอบพระคุณท่านอาจารย์ ธเนศที่ได้ให้ความรู้ในการนิเทศอย่างอย่างมากมายและลึกซึ้งซึ่งท่านได้ปิดครอส์การเรียนเมื่อ26/8/49หลักสูตรป.บัณฑิตต้องขอบพระคุณท่านอย่างจริงใจจนทำให้ผมได้นำแนวคิดไปพัฒนาตามที่เรียนมาแต่ผมสงสัยและคงต้องเรียนถามท่านอาจารย์เพื่อการพัฒนา 1.ในการนิเทศนอกจากประเมินการสอนอาจารย์โดยผู้นิเทศแล้วผมจะใช้การประเมินครูโดยนักเรียนร่วมด้วยอาจารย์คิดว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร(สามารถนำผลมาประเมินครูด้วยได้หรือไม่) 2.หลังจากนิเทศแล้วผู้ถูกนิเทศสามารถดูตัวอย่างการนิเทศจากผู้นิเทศได้จะมีปัญหาหรือไม่ 3.ประธานการนิเทศจะเป็นอาจารย์ใหญ่หรือผู้ช่วยฝ่ายวิชาการโดยตำแหน่งแต่ผู้นิเทศปีละ4คนต้องถูกเปลี่ยนไปทุกปีเวียนไปตามวาระจะมีผลดีผลเสียอย่างไร(เพราะใช้กลุ่มเดิมๆมักเกิดการไม่ยอมรับและวิจารย์กันรับหลัง) 4.ก่อนการนิเทศเราจะให้ผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศมาคุยกันแต่จะไม่แจ้งการกำหนดเข้านิเทศเพราะไม่อยากให้ครูไปตกลงกับนักเรียนอยากให้เป็นธรรมชาติเป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุด ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ล่วงหน้าที่ตอบให้เป็นวิทยาทานเพื่อการนำไช้ ด้วยความเคารพอย่างสูง กฤษณ์ คำศิริ โรงเรียนวานิชพณิชยการ นนทบุรีเขต2


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

ธเนศ ขำเกิด
เขียนเมื่อ
ดีใจที่อาจารย์นำสิ่งที่เรียนไปปฏิบัติจริงด้วยความตั้งใจ ผมมีความสุขมากที่ได้มีโอกาสสอนและได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้บริหารจากหลายหน่วยงานหลายสังกัด ผมกำลังคิดว่าจะนำความรู้ประสบการณ์ของตนเองที่ยาวนานและประสบการณ์ที่ได้จากการสอนมาชำระ "ตำรานิเทศการศึกษา" ซึ่งปัจจุบันมีน้อยและเก่ามาก จึงอยากให้ศาสตร์นี้เป็นเครื่องมือขับเคลื่อนการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(SBM)ของโรงเรียนต่อไป...ขอตอบคำถามของอาจารย์แต่ละข้อ 1.เป็นเรื่องที่ดีมากและหลายโรงเรียนเขาทำแล้ว แต่อย่าลืมว่า ต้องคุยกัน สร้างความเข้าใจกันก่อน ไม่ใช่การบังคับ แต่เป็นความสมัครใจเอง เพราะเราปล่อยให้ครูมีอำนาจเต็มในห้องสอนมานาน การไปก้าวก่ายจึงต้อง Awareness ก่อน 2.ถ้าผู้นิเทศมั่นใจว่าเป็นแบบอย่างได้ดีก็ไม่มีปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องดี เหมือนการสอนงาน (coaching)แต่ถ้าสาธิตแล้วไม่ดี ความศรัทธาอาจลดน้อยลง ทางที่ดีน่าจะทำหน้าที่ในการเป็นผู้นำตามกระบวนการนิเทศภายในจะดีไหม? 3.ก็อยากที่เคยบอกนั่นแหละ การนำศาสตร์การนิเทศไปใช้ต้องดูบริบทด้วย เราสามารถประยุกต์หรือปรับให้เหมาะสมกับสภาพได้ โดยคำนึงถึงจุดมุ่งหมายเป็นหลัก (ใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์) 4.ดีแล้วครับ...อะไรที่เป็นธรรมชาติ เป็นชีวิตจริง ย่อมดีกว่าการทำตามฟอร์ม หรือการสร้างภาพครับ ขอให้อาจารย์โชคดี ได้ผลอย่างไรก็คุยกันนะครับ ธเนศ ขำเกิด


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท