พระครูธรรม สารโชติวัฒน์ชี้แนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมตำบลบึงงามร้อยเอ็ด


พระครูธรรม สารโชติวัฒน์ชี้แนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมตำบลบึงงามร้อยเอ็ด วันนี้(17 ต.ค. 50)พระครูธรรม สารโชติวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดป่าบวรมงคลธรรมสาธิต บ้านโนนยาง ม.12 ต.บึงงาม อ.ทุ่งเขาหลวง จ.ร้อยเอ็ด เปิดเผยว่า การแกไขปัญหาน้ำท่วมของภาคราชการ เป็นการแก้ไม่ถูกจุดเกาไม่ถูกที่คัน น้ำท่วมมา 8 ปี สถานการณ์เหมือนเดินหรือหนักกว่าเดิม เจ้าภาพใหญ่คือ กรมชลประทาน แก้ปัญหาแบบพอไปที แบบไม่ฟังเสียงประชาชน ประตูระบายน้ำที่มี 3 จุดเปรียบเป็น ที่กั้นน้ำท่วม 3 หมู่บ้าน คือบ้านโนนราษี ม.8 บ้านดอนโมง ม.9 บ้านโนนยาง ม.12 นาข้าว 6 ตำบล คือตำบลเทอดไทย ตำบลเหล่า ต.ทุ่งเขาหลวง และตำบลบึงงาม อ.ทุ่งเขาหลวง ต.ไพศาล ต.อุ่มเม้า อ.ธวัชบุรี 3-5 พันไร่ กรมชลประทานเพียงสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ ท่อพญานาค ขาด 8 นิ้ว น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นของ องค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง ปีละกว่า 1 ล้านบาทบาทหรือมากกว่า ไม่รวมค่าอาหาร แรงงานชาวบ้านใกล้เคียง ต้องนำมาเลี้ยงดูเจ้าหน้าที่ กรมชลประทานที่มาเฝ้าเครื่อง โดยเฉพาะหมู่บ้านใกล้เคียง อย่างโนนราษี โนนยาง ทั้งๆที่การสูบน้ำไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน 3 หมู่บ้านแม้แต่นิดเดียว เพราะน้ำลดส่วนบน มากกว่าส่วนล่างพระธรรม สารโชติวัฒน์  กล่าวอีกว่า ประตูระบายน้ำตั้งแต่บ้านมะแว ม.7 ห้วยดางเดียว และร่องทรวง กรมชลประทาน ไม่มีการวางแผนการกักเก็บน้ำ หรือปล่อยน้ำ สร้างคลองส่งน้ำขวางทางน้ำ ไม่สามารถไหลลงร่องทรวงได้ ทำให้เป็นแอ่งท่วม 3 หมู่บ้านดังกล่าว ต้องทำท่อลอดจาก ห้วยดางเดียว สู่ร่องทรวง งบประมาณมากแต่เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว ประมาณ 10-15 ล้าน ดีกว่านำงบประมาณมาละเลงปีละ 1-2 ล้านบาท แต่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน ระยะยาวถึง 8 ปีเต็มทั้งสุขภาพจิตรเสื่อม ปัญหาความยากจนตามมา ฝากถึงรัฐบาล ให้ออกมาประชาคม ถามความคิดเห็นของชาวบ้านด้วย อาตมาจะนำข้อเสนอนี้เข้ากรมชลประทาน และเสนอต่อรัฐบาล ให้เกิดการแก้ปัญหาระยะยาวต่อไป ท่านพระครูรรม สารโชติวัฒน์ กล่าวทางด้านนายประสาตร์ ทูลธรรม อายุ 61 ปี บ้านเลขที่ 12 หมู่ที่ 12 บ้านโนนยาง ต.บึงงาม เปิดเผยว่า ประตูระบายที่สร้างปัญหาให้ชาวบ้านมาโยตลอดเพราะประตูระบายน้ำพัง ขึ้นสนิม ขาดการบำรุงรักษา การซ่อมแซมขณะน้ำท่วม ใช้กระสอบทรายปิดกั้นทางน้ำไหลออก เหมือนคนปัญญาอ่อน มันไม่อยู่หรอกครับ ผมจบ ป.4 การปิดกั้นน้ำต้องปิดทางเข้า  ชาวบ้านมีความต้องการคือ ประตูระบายน้ำทั้ง 3 แห่งต้อง ปิดสนิท เปิดสะดวก คนเฝ้าประตูระบายน้ำ สร้างแพยกยอ หรือสะดุ้งใหญ่หน้าประตูระบายน้ำ เปิดน้ำเพื่อให้ปลาขึ้นมา รับผลประโยชน์ส่วนตัว น้ำท่วมชาวบ้านเขาไม่สนใจ  ขอให้ผู้ใหญ่ในบ้านในเมือง แก้ไขปัญหาให้ประชาชนอย่างจริงใจ โดยจัดเป็นเวทีชาวบ้านนายประสาตร์ ทูลธรรม กล่าวอีกว่า น้ำท่วม ในเตพื้นที่ ตำบลบึงงาม ไม่โหดร้ายเหมือนกับทางภาคเหนือ แต่ประชาชนที่นี่ตายทั้งเป็น คือนาข้าวจมน้ำ ขาดอาชีพ ไม่มีรายได้ สิ่งที่ตามาคือ หนี้สิน ความยากจน จะรอถุงยังชีพจากภาคราชการ เอกชน ชาวบ้านอยู่ได้ 2-3 วัน นายประยูร วิเศษวุฒิ กำนันตำบลบึงงาม อ.ทุ่งเขาหลวง กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมามากมายกว่าที่ทุกคนมองข้าม คือ กฎหมาย  หรือ พ.ร.บ.ของแต่ละหน่วยงายมีมากมาย ถนนเข้าหมู่บ้านมีทั้งเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมชลประทาน หน่วยงานอื่นเข้าไปซ่อมแซมหรือใช้งบประมาณไปปรับปรุงแกไขไม่ได้ ถนนของกรมเจ้าท่า ถนนของ อบต.หรือถนนของทางหลวงชนบท ถนนของ อบจ.ทั้งๆที่อยู่ในเขต ต.บึงงาม แต่ขาดการดูแล อาทิ ถนนสายเข้าบ้านดอนแก้ว ประชาชน 65 ครัวเรือน น้ำท่วมทุกปี แต่ไม่สามารถนำงบประมาณจาก จังหวัด หรือ อบต.บึงงาม มาก่อสร้างได้ กรมชลประทานบอกว่า ถนนข้าใครอย่าแตะ การแก้ไขปัญหาต้องเป็นโครงสร้างใหญ่ระดับชาติ ระดับรัฐบาลกลางจึงจะมีความสำเร็จได้ ขณะนี้ หมู่บ้านที่ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก มี บ้านนางาม บ้านวังทอง บ้านหนองไชยวาน บ้านดอนแก้ว บ้านโนนยาง บ้านดอนโมง ต้องอพยพขึ้นมาบนพนังกั้นน้ำ ความเดือดร้อนมาเป็นปี ที่ 8 แล้ว อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือ หน่วยที่เป็นเจ้าภาพ ทำการประชาคม หารือปราชญ์ชาวบ้าน หาทางแก้ไขทั้งระบบทางด้านนายประดิษฐ์ พรมบุตร ผู้อำนวยการชลประทรายร้อยเอ็ด กล่าวว่า ชลประทานร้อยเอ็ดพยามยามแก้ไขปัญหามาโดยตลอด งบประมาณมาจากส่วนกลาง เป็นงบประมาณปลายปี การซ่อมแซมอยู่ในช่วงฤดูฝน จะต้องมีการประสานงานด้านนี้ให้รวดเร็ว ชลประทาน ฟังเสียงประชาชน ทุกคำพูดมีความหมายนายประสิทธิ์  บุญชุป กำนันตำบลทุ่งเขาหลวง และนายไพรัตน์ ป้องคำสิงห์ กำนันตำบลมะบ้า ต้องการให้สูบน้ำออกจากฝั่งนาเพราะเป็นผลดีต่อชาวนาด้านบน       เช่นเดียวกับนายสุระสิทธิ์ สุระพินิจ นาก อบต.ไพศาล อ.ธวัชบุรี ตนเองสนับสนุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพราะน้ำลดลง นาข้าวด้านบนหลายพันไร่ได้รับประโยชน์ แต่การแก้ไขปัญหาระยะยาว ต้องมีการประชาคม เพราะติดที่ข้อกฎหมายหลายฉบับ นายพินิจ พิชยกัลป์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เปิดเผยว่าการช่วยเหลือประชาชนต้องทันเวลาต่อความต้องการจริง ๆ วันนี้ถุงยังชีพ กว่า 10,000 ถุงถึงมือประชาชนแล้ว เรือท้องแบน เวชภัณฑ์และต้องวางแผนการช่วยเหลือหลังน้ำลดต่อไปวัชรินทร์ เขจรวงศ์208 หมู่ที่ 2 บ้านสามแยกตำบลเหนือเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ดจังหวัดร้อยเอ็ด 45000 โทร.0-6850-2416 โทรสาร.0-4351-8449[email protected],[email protected]http://www.watcharin101.net/


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (0)

ไม่มีคำตอบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท