ม็อบต้อนรับ รมช มหาดไทยในโอกาสตรวจราชการที่ร้อยเอ็ดไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน


ม็อบต้อนรับ รมช มหาดไทยในโอกาสตรวจราชการที่ร้อยเอ็ดไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน วันนี้(14 ตุลาคม 2550)นายเดชศักดิ์  โพธิ์ศรี หัวหน้ากลุ่มพลังเครือข่ายตำบลขวาว เพื่อคัดค้านการจัดตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน นำประชาชน จำนวนประมาณ 1,000 คน จากตำบลบึงเกลือ เมืองไพร อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด และตำบลเดิด ตำบลดู่ทุ่ง อ.เมือง จ.ยโสธร  เพื่อรอยื่นหนังสือถึง พล.ต.ท.ธีรวุฒิ  บุตรศรีภูมิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  ในโอกาสเดินทางไปตรวจเยี่ยมราษฎร ที่ประสบภัยน้ำท่วม  โดยตั้งขบวนปิดถนนทางเข้าบ้านโพธิ์ตาก ต.นางาม อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อข้อเรียกร้องและคัดค้านการการจัดตั้งโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน ของบริษัทเนชั่นแนลเพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด มีนายพรชัย  เทียนทอง  เป็นกรรมการผู้จัดการ โดยสถานที่จัดตั้งที่บริเวณบุ่งปลาผา รอยต่อระหว่าง อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอเสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ผลกระทบโดยตรงต่อลุ่มลำน้ำยังและลำน้ำชี นางสาวประยูร ขนันไทย ครู คศ.2 โรงเรียนบ้านโนนยาง ต.ขวาว อ.เสลภูมิ กล่าวว่า  ประชาชนที่ 5 ตำบล 2 จังหวัด ไม่เคยทราบเรื่องทีเกิดขึ้นเป็นการปิดหูปิดตาประชาชน  บริษัทเนชั่นแนลเพาเวอร์ซัพพลาย จำกัด มีแผนการดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า 540 เมกกะวัตต์ โดยใช้เนื้อที่การก่สร้าง 10 ไร่ ในพื้นที่ตำบลขวาว ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2555 ประชาชนทั้ง 5 ตำบล 2 จังหวัดขอคัดค้านการก่อสร้าง บริษัทเองไม่มีการทำประชาชนคม หรือทำประชาพิจารณ์ให้ประชาชนได้รับทราบ  เป็นการฉวยโอกาสของนายทุนร่วมกับภาคราชการบางส่วน โดยความเสียที่เกิดขึ้น ภาครัฐทราบดี ทางด้านนายพินิจ พิชยกัลป์  ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ได้รับเรื่องการร้องเรียนกับประชาชน พร้อมให้นำเสนอต่อ ฯพณฯรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยพล.ต.ท.ธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ กล่าวว่า หากเป็นความไม่ต้องการของประชาชน หรือบริเวณก่อสร้างก่อให้เกิดมลภาวะ ตนเองพร้อมจะเสนอต่อ ครม.เพื่อดำเนินการต่อไป  ขอให้ประชาชนสบายใจได้ จากนั้น คณะที่เกดินทางยื่นหนังสือจึงเดินทางกลับ  วัชรินทร์ เขจรวงศ์208 หมู่ที่ 2 บ้านสามแยกตำบลเหนือเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ดจังหวัดร้อยเอ็ด 45000 โทร.0-6850-2416 โทรสาร.0-4351-8449[email protected],[email protected]http://www.watcharin101.net/


ความเห็น (6)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

not yet answered


ความเห็น (6)

การสร้างโรงไฟฟ้าเป็นเรื่องดีคือเราไม่ต้องเอาเงินของประเทศไปซื่อไฟจากลาวทำไห้ประเทศเจริญมากขึ่นลดปัญหาคนว่างงานเราจะนำไปเทียบกับโรงไฟฟ้าแม่เมาะไม่ได้ขนาดของร้อยเอ็ดกับแม่เมาะต่างกันมากสารพิษก็มีแต่ซันเฟอร์

คตฟ.เร่งขยายเวทีให้ความรู้ หยุด! โรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน

วันที่ 12 ต.ค.51 เวลา13.00น.เครือข่ายติดตามผลกระทบโรงไฟฟ้าถ่านหิน ต.เขาหินซ้อน(คตฟ.) จัดเวทีให้ความรู้เรื่องผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและให้ร่วมลงลายมือชื่อคัดค้านการก่อสร้าง ในนิคมอุตสาหกรรม 304 เฟต 2 อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ที่วัดหนองเสือ หมู่ที่ 4 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม มีชาวบ้านเข้าร่วมรับฟังและลงลายชื่อคัดค้านกว่า 300 คน ซึ่งก่อนหน้านี้ คตฟ.ได้รณรงค์ให้ความรู้ที่วัดชายเคือง หมู่ 7 ต.เกาะขนุน เมื่อวันที่ 21 ก.ย.51

ในเวทีมีแกนนำสลับกันให้ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่างๆ โดยนายวิบูลย์ ชัยภูมิ แกนนำพื้นที่ ต.เกาะขนุนกล่าวว่า การที่ คตฟ. ออกมาคัดค้านครั้งนี้ไม่ใช่ไม่ต้องการไฟฟ้า แต่ไม่ต้องการโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินต่างหาก เพราะตนเองมีเพื่อนที่ทำงานอยู่ในโรงไฟฟ้าเดิมที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ ของบริษัท ไทยเพาวเวอร์ ซัพพลาย ก็พบว่ามีการใช้ถ่านหินด้วยทั้งที่เป็นโรงไฟฟ้าชีวมวล จึงทำให้ประชาชนไม่เชื่อใจว่าโรงไฟฟ้าแห่งใหม่จะป้องกันมลพิษที่จะผลกระทบต่อประชาชนได้จริง เพราะสังเกตได้ว่าขณะนี้ก็มีพืชผลทางการเกษตรเสียหายในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าแล้ว พร้อมทั้งเชิญชวนให้ชาวบ้านออกมาร่วมลงลายชื่อคัดค้านโรงไฟฟ้า

นางวาสนา เสนาวงศ์ แกนนำพื้นที่ ต.คู้ยายหมี ให้ความรู้เรื่องสิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่อาจก่อผลกระทบกับประชาชนตามกฎหมายมาตราที่ 66 - 67 ของรัฐธรรมนูญ 2550 และตอบข้อซักถามจากชาวบ้านในพื้นที่ เวลา 16.00 น.จึงยุติการจัดเวทีพร้อมกับแจ้งให้ทราบว่า อบต.คู้ยายหมี จะจัดเวทีให้ความรู้ครั้งต่อไปเกี่ยวกับผลดีและผลกระทบในการสร้างโรงฟ้าถ่านหิน ที่วัดดอนท่านา หมู่ 3 ต.คู้ยายหมี อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ในวันที่ 18 ต.ค. 51

ที่มา www.prachatai.com วันที่ 16 ตุลาคม 2551

ความโลภ ทำลายทุกสิ่งแม้แต่ยักษ์ใหญ่อย่างมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาที่มีปัญหาในวันนี้เพราะความเห็นแก่ตัว ความโลภ

กรีนพีชผนึกคนไม่เอาถ่านหิน หนุนพลังงานสะอาด

12 กรกฎาคม 2549

เรียบเรียงจาก สำนักข่าวประชาธรรม www.newspnn.net/ 20 มิถุนายน 2549

บันทึกเก็บไว้ | สั่งพิมพ์หน้านี้ | ขนาดอักษร ใหญ่สุด | ใหญ่ | พอดี

นายธารา บัวคำศรี ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีชเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ภายใต้โครงการความมั่นคงด้านพลังงานแห่งชาติ ที่ไทยต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตพลังงานเพิ่มขึ้นอีก 13,000 เมกะวัตต์ ตั้งแต่ปี 2554-2558 จากการศึกษาพบว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินนั้นส่งผลกระทบภายนอกมากที่สุด หากมีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มขึ้นอีกเพียง 6,300 เมกกะวัตต์ ภายในปี 2558 จะมีการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ออกมาสู่สิ่งแวดล้อมหลายแสนตัน ซึ่งจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ โดยคาดว่าจะมีการเสียชีวิตแบบทั้งฉับพลันและเรื้อรังเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นถ่านหินจึงไม่ใช่ทางเลือกของสังคมไทย แต่ควรเป็นการเร่งรัดพัฒนาพลังงานสะอาดและหมุนเวียนบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของชุมชน

ด้าน นายศุภกิจ นันทะวรการ นักวิจัยอิสระด้านนโยบายสาธารณะ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) กล่าวเพิ่มเติมว่า โรงไฟฟ้าถ่านหินต้องใช้เงินลงทุนมาก ต้นทุนสูงกว่าพลังงานสะอาด และมีการจ้างงานน้อย ทั้งยังต้องพึ่งพาทรัพยากรต่างประเทศด้วย เมื่อไม่พึ่งตนเอง ก็เป็นการทำลายทุนของสังคมไทยทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจ

นางมะลิวัลย์ นาควิโรจน์ คณะทำงานเครือข่ายคนไม่เอาถ่านหินแห่งประเทศไทย และผู้ได้รับผลกระทบโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ยังได้เปิดตัวหนังสือพร้อมทั้งกล่าวว่า “การจัดทำหนังสือเผยแพร่ทั้ง 2 ฉบับก็เพื่อตีแผ่เบื้องหลังชะตากรรมของชาวแม่เมาะ เพื่ออุทิศให้เป็นบทเรียนจากความผิดพลาดในนโยบายพลังงานของประเทศ และเป็นการนำเสนอปัญหา สถานการณ์ ตลอดจนเจตนารมณ์ของชุมชนท้องถิ่นในการลุกขึ้นสู้กับปัญหา โดยในเบื้องต้นทางเครือขายฯจะนำแจกจ่ายแก่ประชาชนในเขต อ.เวียงแหงก่อน ซึ่งคาดกันว่าจะมีการเปิดเหมืองลิกไนต์เพื่อสร้างความเดือดร้อนในนามของความมั่นคงทางด้านพลังงานนั่นเอง”

บันทึกเก็บไว้ | สั่งพิมพ์หน้านี้

ท้องถิ่นสนทนา > คุ้ยมาเล่า > ข่าวไม่เป็นข่าว > กรีนพีชผนึกคนไม่เอาถ่านหิน หนุนพลังงานสะอาด

คลิกดู เบื้องลึกท้องถิ่น เบื้องหลังโลกาภิวัตน์ ที่ www.localtalk2004.com

ความเจริญนั้นเป็นสิ่งดี แต่ความเจริญเฉพาะวัตถุนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ยั้งยืน การสร้างงานในชุมชนนั้น ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานหรือธุรกิจที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวในชุมชนเกษตรกรของบ้านเรา นั้นมีจุดแข็งของตัวเอง ซึ่งผู้บริหารชุมชนและสถานศึกษาและหน่วยงานต่างระดมความคิด เพื่อวิเคราะห์ชุมชนหาจุดแข็งจุดอ่อน สำหรับตามความคิดของผมโดยพื้นฐานของความต้องการของคนเรานั้น ต้องการชีวิตที่มั่นคง ซึ่งองค์ประกอบนั้นได้แก่ ปัจจัย 4 (ด้านวัตถุ) แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้คือด้านจิตใจ ในบ้านเรานั้นจุดแข็งเท่าที่ผมมองมี คือความมีจิตใจโอบอ้อมอารี (บางที่ก็ใจอ่อนกับเงิน 100-200 บาท)และเป็นคนขยัน แต่ขาดผู้นำที่นำไปในทางที่ดีของชมชุน จากจุดนี้ผมขอเสนอแนว

ความคิดการพัฒนา คือการพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน ในประชาชนยืนได้ด้วยตัวเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท