ทาน,ศีล,ภาวนา เป็นการประพฤติ และปฏิบัติธรรมที่ควรทำ


ที่ผ่านมา   เราต้องหมั่นเพียรในการทำทาน, รักษาศีล และเจริญภาวนา  เพื่อหวังผลที่วิมุตติ (การหลุดพ้น)..แต่ความเป็นจริง เราทำเพียงเท่านี้คงไม่พอ เนื่องจากปัญญา(Wisdom) ยังต้องมีการบ่มเพาะ อีก เพราะมิฉะนั้น เราชาวพุทธที่ปฏิบัติมาถูกทางแล้ว น่าจะหลุดพ้น(ถึงวิมุตติ)ได้  เพียงเพราะคำว่า ภาวนา คำเดียว มีใจความรวมถึง  สมถะกัมมฐาน และวิปัสสนากัมมฐาน ส่วนของสมถะกัมมฐาน ไม่เป็นเรื่องยากสำหรับพุทธศาสนิกชน   แต่วิปัสสนากัมมฐาน เป็นเรื่องยากยิ่ง เพราะแนวทางปฏิบัติ กลับเหลือเพียง  " สติปัฏฐานสี่" ซึ่งแนวทางของ  ธรรมกาย นำมาใช้ได้ผล แต่ไม่สัมฤทธิ์ผลเสียที่  (กายา,เวทนา,จิตตา,ธรรมานุปัสสนา)........ส่วนที่ยากที่สุด คือ จิตตา และธรรมานุปัสสนา ใช่หรือไม่??


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

เคยมีอาจารย์รุ่นเก่า ท่านเคยกล่าวว่า  "ถ้าการหลุดพ้นง่าย เหมือนการคิดว่า เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุแล้วหลุดพ้น คงจะดี แต่ความจริงหาใช่ดั้งนั้นไม่?.........จริงอยู่การได้เข้ามาบวชเป็นบรรพชิตแล้วน่าจะใกล้นิพพาน  แต่ยังไม่พอที่จะเข้าสู่นิพพาน ถ้าง่ายอย่างนั้น พระพุทธเจ้าคงไม่ต้องบอก ต้องสั่ง ตัองสอนในอีกหลายเรื่องที่ล้วนแต่มีความยุ่งยากในการปฏิบัติอย่างยิ่ง   แล้วถ้าขาดความเพียร ขาดการปฏิบัติที่เข้าถึงอย่างเป็นขั้นที่หนึ่ง  สอง  สาม  และสี่ แล้ว ก็ยากที่จะเข้าถึงทางนิพพาน เหมือนเดิม .....สิ่งที่สูงสุดต่อจากนั้นก็ต้องปล่อยวางสิ่งรอบตัว (ไม่ยึดติดให้คำนึงถึงเรื่อง (อนัตตาเพียงอย่างเดียว) จึงจะนำไปสู่ อากาสาญายตนะญาณ  สู่วิญญาณันยตนะญาณ สู่อากิญจัญญายตนะญาณ และนาสัญญาเนวะสัญยตนะญาณ  ที่เข้าสู่ ความว่างเปล่าจากธรรมานุปัสสนา......(โดยอาศัยวิธีแบบ โพชฌงค์ ๗) แล้วจะใช่เวลานานเท่าใดก็มีระบุว่า ถ้าภายใน ๗ วันไม่ได้ ก็ ๗ เดือน ถ้า ๗ เดือนไม่ได้ ก็ ๗ ปี  ถ้า ๗ ปีไม่ได้ก็ ๗๐ ปี เป็นต้น



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท