หน้าที่สงฆ์ ....หน้าที่ฆราวาส.


ในโอวาทปาฏิโมกข์  พระพุทธองค์ทรงสอนให้รู้จัก   ระวังสังวรณ์  ....อย่าละงานทางจิต........อย่าติดสังคม...ให้รำพึงถึงว่าเราอยู่ในฐานะอะไร  ....จะได้ไม่ต้องวางแผนพิชิตหรือพิฆาตใคร?


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

หน้าที่ของบรรพชิต เราอยู่ในฐานะอะไร? จึงต้องพิจารณาอยู่เนื่อง ๆ ครับว่า ต้องเตือนตัวเองอยู่เสมอคือ

1. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆว่า บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว  อาการกิริยาใด ๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้น ๆ

2. บรรพชิตควรพิจารณาอยู่เนือง ๆ ว่า ความเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น   เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย

3. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก  ไม่ใช่เพียงเท่านี้

4. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆว่า  ตัวของเราเองติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่

5.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆว่า  ผู้รู้ใคร่ครวญแล้ว ติเตียนเราด้วยศีลได้หรือไม่

6.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า  เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น

7. บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า  เรามีกรรมเป็นของตัวเรา  ทำดีจัดได้ดี  ทำชั่วจักได้ชั่ว

8. บรรพชิตควรพิจารณาเนื่อง ๆ ว่า วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่

9.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า  เรายินดีในที่สงัดหรือไม่

10.บรรพชิตควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่  ที่จะไม่ให้เราเป็นผู้เก้อเขิน  ในเวลาเพื่อนบรรพชิตถาม ในกาลภายหลัง

ข้อธรรม ทั้ง 10 ประการนี้ จึงเป็นการแยกตัวของบรรพชิตกับคฤหัสถ์ หรือฆราวาส แต่ยังไม่ครบถ้วน เพราะทั้งหมดนี้เป็นเพียงให้บรรพชิตควรกระทำครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท