ค่าชดเชยตาม พรบ คุ้มครองแรงงาน


ชาตรี รุ่งศรีสุขจิต

อาจารย์แหววครับ

ผมขอเรียนถามอาจารย์ตามข้อมูลที่ผมส่งแนบท้ายมาครับ ขอความกรุณาช่วยตอบเพื่อเป็นข้อมูลให้ผมด้วยครับ

 

หลักกฎหมายพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.. 2541 หมวดค่าชดเชยมาตรา ๑๑๘  ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้(๑)  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย(๒)  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย(๓)  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย(๔)  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย(๕)  ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยการเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้างข้าพเจ้านายชาตรี รุ่งศรีสุขจิต ทำงานอยู่โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ติดเชื้อเอดส์ในชุมชน เป็นโครงการหนึ่งซึ่งอยู่ภายใต้ หน่วยพัฒนาและบรรเทาทุกข์ มูลนิธิคริสตจักรเซเว่นเดย์แอดแวนตีสประเทศไทย รับผิดชอบงานด้านเสริมสร้างรายได้ให้กับหมู่บ้านเป้าหมาย 18 หมู่บ้านในพื้นที่อำเภอแม่ลาวและแม่สรวย ลักษณะและเนื้องานเป็นผู้ประสานงานและกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายได้เกิดความตระหนักในการใช้ความสามารถ ทรัพยากรในชุมชนและทุนทางสังคมเพื่อให้มีรายได้แก่คนในชุมชน  ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้เข้ามาทำงานในโครงการดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2548 จนถึงปัจจุบัน(14 มิถุนายน 2550 ขณะเขียนคำชี้แจงฉบับนี้)  และโครงการดังกล่าวมีกำหนดสุดสิ้นในวันที่ 30 สิงหาคม 2550 รวมระยะเวลาโครงการทั้งสิ้นแล้วคือ 24 เดือน ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้ลงนามสัญญาจ้างงานฉบับปีที่ 2 กับมูลนิธิคริสตจักรเซเว่นเดย์แอดแวนตีสประเทศไทย  ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโดยนายเกรก ยัง ตำแหน่งผู้อำนวยการ ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2550 ซึ่งสัญญาจ้างงานฉบับนี้ยังมีผลบังคับใช้อยู่จนกระทั่งถึงขณะนี้ ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 118 (2) กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบสามปีให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวันวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย ซึ่งเมื่อมาพิจารณาดูระยะเวลาการทำงานของข้าพเจ้าแล้วจะมีระยะเวลาการทำงานติดต่อกันสองปีซึ่งปรับข้อเท็จจริงเข้าได้กับอนุมาตรานี้ เมื่อมาพิจารณาบทบัญญัติของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 วรรคสามที่มูลนิธิฯ ได้ยกขึ้นปฎิเสธความรับผิดที่จะจ่ายค่าชดเชยแก่ข้าพเจ้าโดยอ้างว่ามีสัญญาจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น หากเรามาพิจารณาเฉพาะบทบัญญัติในมาตรา 118 วรรคสามก็ดูจะถูกต้องอยู่ เพราะสัญญาจ้างงานฉบับปีที่สองดังกล่าวมาข้างต้นนั้นก็ได้มีการระบุและกำหนดวันสิ้นอายุสัญญาจ้างงานไว้อย่างชัดแจ้งทีเดียว คือวันสิ้นสัญญาวันที่ 30 สิงหาคม 2550 แต่เมื่อมาพิจารณาบทบัญญัติแห่งกฎหมายในมาตรา 118 วรรคท้ายซึ่งขยายความในวรรคสามนั้นบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปีโดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้างเมื่อมาพิจารณาดูถึงโครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้ติดเชื้อเอดส์ในชุมชนแล้วสามารถอธิบายได้ว่าเป็นโครงการหนึ่งของมูลนิธิฯ ซึ่งเป็นงานปกติของมูลนิธิเกี่ยวกับพันธกิจการพัฒนาชุมชน มิใช่เป็นโครงการเฉพาะที่มิใช่เป็นงานปกติของมูลนิธิฯ   ทั้งนี้นอกเหนือจากโครงการเสริมสร้างศักยภาพฯ แล้วมูลนิธิฯ ยังคงมีการดำเนินงานที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการพัฒนาอื่น ๆ อีกมากมายหลายโครงการ เช่นโครงการรักษ์เด็ก โครงการพัฒนาชุมชน ฯลฯ  ดังนั้นจึงนับได้ว่าโครงการเสริมสร้างศักยภาพฯ เป็นโครงการเฉพาะที่เป็นงานปกติของมูลนิธิฯ เพราะฉะนั้นการสิ้นสุดระยะเวลาโครงการเสริมสร้างศักยภาพฯ ไม่เข้าเงื่อนไขที่จะบังคับตามมาตรา 118 วรรคสามและสี่ ที่บัญญัติให้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามบทบัญญัติมาตรา 118 วรรคหนึ่งแต่อย่างใด            และนอกเหนือจากเหตุผลดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้น             ข้าพเจ้าไม่เคยได้กระทำความผิดใด ๆ อันจะเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างกรณีตามมาตรา 119 (1), (2), (3), (4), (5) หรือ (6)ด้วยเหตุและผลตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.. 2541 มาตรา 118 (2) ประกอบมาตรา 119 มูลนิธิฯ ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ข้าพเจ้า   

 



ความเห็น (9)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

Archanwell
เขียนเมื่อ

ขอด๋าว หรือตี๋ หรือเอกช่วยตอบได้ไหมคะ

อ.แหวว



ความเห็น (9)
สิรภัทร ลิ่มไพบูลย์

อยากได้ความรู้เรื่องที่คุณชาตรี รุ่งศรีสุขจิตต์ ถามด้วยอย่างมากค่ะ

ตอบข้อซักถามเรื่องการจ่ายค่าชดเชยตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน

จากข้อเท็จจริงสัญญาที่ทำระหว่างนายจ้าง (มูลนิธิ)กับลูกจ้าง (นายชาตรี) มีกำหนดระยะเวลา ๒๔ เดือน และกำหนดให้สิ้นสุดระยะเวลาการจ้างในวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนซึ่งทำให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา ๑๑๘ วรรค ๓

อย่างไรก็ดี มาตรา ๑๑๘ วรรคท้าย บัญญัติว่า “การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสาม จะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของลูกจ้างของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณธเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง”

ดังเช่นที่คุณชาตรีกล่าวอ้าง แม้ว่าสัญญาดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนก็ตาม หากลักษณะของงานเป็นการปฏิบัติงานที่มีลักษณะที่เป็นปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง นายจ้างย่อมไม่สามารถที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินชดเชยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณชาตรี แสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีพนักงานคนอื่นที่ปฏิบัติงานเหมือนคุณแต่มีสถานะการจ้างแบบลูกจ้างประจำ เป็นต้น ซึ่งเจตนารมณ์ของวรรคนี้ เพื่อป้องกันมิให้นายจ้างเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชยโดยการทำสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาสำหรับการจ้างงานที่มีลักษณะของงานที่เป็นงานประจำ

คำพิพากษาของศาลฎีกาที่สามารถอ้างได้ในกรณีนี้ ๔๑๑๖-๔๑๑๘/๒๕๔๕ ซึ่งในคดีนี้นายจ้างมีงานหลักคืองานผลิตต้นคริสต์มาสประดิษฐ์ นายจ้างให้ลูกจ้างทั้งสามทำงานในฝ่ายผลิตต้นคริสต์มาสในสายงานหลักของนายจ้าง และลักษณะงานที่ลูกจ้างทำไม่แตกต่างจากงานของลูกจ้างที่นายจ้างจ้างไว้ทำตลอดปี กระบวนการผลิตของนายจ้างมีต่อเนื่องกันไปตลอดทั้งปี และลักษณะของงานที่นายจ้างจ้างลูกจ้างนั้นเป็นงานที่มีต่อเนื่องเป็นไปโดยตลอด ดังนั้น นายจ้างจะให้ลูกจ้างทั้งสามหยุดงานเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้าง ก็ไม่เป็นเหตุให้ลูกจ้างทั้งสามหมดสิทธิไม่ได้รับเงินค่าชดเชย

ดังนั้น ในกรณีนี้ หน้าที่ที่คุณชาตรีปฏิบัตินั้น คือการประสานงานและกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายได้เกิดความตระหนักในการใช้ความสามารถ ทรัพยากรในชุมชนและทุนทางสังคมเพื่อให้มีรายได้แก่คนในชุมชน ซึ่งหากคุณชาตรีสามารถพิสูจน์ให้ศาลเห็นถึงลักษณะของงานว่าเป็นงานที่มีลักษณะประจำได้ คุณชาตรีย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าชดเชย

ข้อสังเกตของผู้ตอบคำถาม นายจ้าง(มูลนิธิ) จ้างคุณชาตรีทำงานในโครงการ หรือจ้างคุณชาตรีทำงานให้กับมูลนิธิ ซึ่งความแตกต่างของทั้งสองประเด็นนี้อยู่ที่ว่า หากจ้างเป็นลูกจ้างของโครงการและโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เมื่อเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดของการดำเนินการตามโครงการแล้ว สถานะการเป็นลูกจ้างของคุณชาตรีย่อมสิ้นสุดไปด้วย เนื่องจากลักษณะของการจ้างเพื่อจ้างมาปฏิบัติงานในโครงการซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขเรื่องมีระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดของโครงการ กรณีนี้นายจ้างย่อมปฏิเสธที่จะจ่ายเงินชดเชยได้ แต่หากมูลนิธิจ้างคุณชาตรีเพื่อทำงานให้กับมูลนิธิ คุณชาตรีย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าชดเชยตามที่อธิบายมาข้างต้น

ตอบข้อซักถามเรื่องการจ่ายค่าชดเชยตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน

จากข้อเท็จจริงสัญญาที่ทำระหว่างนายจ้าง (มูลนิธิ)กับลูกจ้าง (นายชาตรี) มีกำหนดระยะเวลา ๒๔ เดือน และกำหนดให้สิ้นสุดระยะเวลาการจ้างในวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งถือว่าเป็นสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนซึ่งทำให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา ๑๑๘ วรรค ๓

อย่างไรก็ดี มาตรา ๑๑๘ วรรคท้าย บัญญัติว่า “การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสาม จะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของลูกจ้างของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณธเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้นซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง”

ดังเช่นที่คุณชาตรีกล่าวอ้าง แม้ว่าสัญญาดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนก็ตาม หากลักษณะของงานเป็นการปฏิบัติงานที่มีลักษณะที่เป็นปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง นายจ้างย่อมไม่สามารถที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินชดเชยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณชาตรี แสดงให้ศาลเห็นได้ว่ามีพนักงานคนอื่นที่ปฏิบัติงานเหมือนคุณแต่มีสถานะการจ้างแบบลูกจ้างประจำ เป็นต้น ซึ่งเจตนารมณ์ของวรรคนี้ เพื่อป้องกันมิให้นายจ้างเลี่ยงการจ่ายเงินชดเชยโดยการทำสัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาสำหรับการจ้างงานที่มีลักษณะของงานที่เป็นงานประจำ

คำพิพากษาของศาลฎีกาที่สามารถอ้างได้ในกรณีนี้ ๔๑๑๖-๔๑๑๘/๒๕๔๕ ซึ่งในคดีนี้นายจ้างมีงานหลักคืองานผลิตต้นคริสต์มาสประดิษฐ์ นายจ้างให้ลูกจ้างทั้งสามทำงานในฝ่ายผลิตต้นคริสต์มาสในสายงานหลักของนายจ้าง และลักษณะงานที่ลูกจ้างทำไม่แตกต่างจากงานของลูกจ้างที่นายจ้างจ้างไว้ทำตลอดปี กระบวนการผลิตของนายจ้างมีต่อเนื่องกันไปตลอดทั้งปี และลักษณะของงานที่นายจ้างจ้างลูกจ้างนั้นเป็นงานที่มีต่อเนื่องเป็นไปโดยตลอด ดังนั้น นายจ้างจะให้ลูกจ้างทั้งสามหยุดงานเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้าง ก็ไม่เป็นเหตุให้ลูกจ้างทั้งสามหมดสิทธิไม่ได้รับเงินค่าชดเชย

ดังนั้น ในกรณีนี้ หน้าที่ที่คุณชาตรีปฏิบัตินั้น คือการประสานงานและกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายได้เกิดความตระหนักในการใช้ความสามารถ ทรัพยากรในชุมชนและทุนทางสังคมเพื่อให้มีรายได้แก่คนในชุมชน ซึ่งหากคุณชาตรีสามารถพิสูจน์ให้ศาลเห็นถึงลักษณะของงานว่าเป็นงานที่มีลักษณะประจำได้ คุณชาตรีย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าชดเชย

ข้อสังเกตของผู้ตอบคำถาม นายจ้าง(มูลนิธิ) จ้างคุณชาตรีทำงานในโครงการ หรือจ้างคุณชาตรีทำงานให้กับมูลนิธิ ซึ่งความแตกต่างของทั้งสองประเด็นนี้อยู่ที่ว่า หากจ้างเป็นลูกจ้างของโครงการและโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เมื่อเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดของการดำเนินการตามโครงการแล้ว สถานะการเป็นลูกจ้างของคุณชาตรีย่อมสิ้นสุดไปด้วย เนื่องจากลักษณะของการจ้างเพื่อจ้างมาปฏิบัติงานในโครงการซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขเรื่องมีระยะเวลาเริ่มต้น และสิ้นสุดของโครงการ กรณีนี้นายจ้างย่อมปฏิเสธที่จะจ่ายเงินชดเชยได้ แต่หากมูลนิธิจ้างคุณชาตรีเพื่อทำงานให้กับมูลนิธิ คุณชาตรีย่อมมีสิทธิที่จะได้รับเงินค่าชดเชยตามที่อธิบายมาข้างต้น

ขอบคุณเอกมากค่ะ

การตอบคำถามกฎหมายเป็นบุญกุศลค่ะ

แต่ที่อยากให้เอกทำอีกอย่าง ก็คือ การเรียนรู้ที่จะใช้ gotoknow นะคะ

อ.แหวว

ทำงานมา1ปีแต่สัญญาจ้างมีแค่6เดือนแรกอีก6เดือนไม่มีสัญญาแต่มีการบอกว่าสัญญาจ้างจะหมดในวันที่31ธ.ค2551ผมจึงขอไม่ต่อสัญญาผมจะได้เงินชดเชยหรือไม่

นายจ้างเลื่อนค่าจ้างทุกเดือนแต่ล่าสุดเลื่อนอย่างไม่มีกำหนด อย่างนี้ไปฟ้องกรมแรงงานได้มั้ยค่ะ ถือว่าเขาบีบเราออกหรือว่าเลิกจ้างหรือยังค่ะ

อยากสอบถามเพิ่มเติมจากกรณีนี้ค่ะ มูลนิธิจดทะเบียนเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ ได้รับการยกเว้นมิให้ใช้บังคับพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน 2541 ตามกฏกระทรวง 2541 ซึ่งรวมถึงหมวด 11 ค่าชดเชย ตั้งแต่มาตรา 118 ถึง 122 ดังนั้น ตามที่คุณเอกสิทธิ์ตอบมาก็ไม่สามารถเอาค่าชดเชยจากมูลนิธิได้แล้วใช่ไหมค่ะ

ตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ พ.ศ. 2551 กฎหมายแรงงาน

มาตรา ๔ พระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับแก่

(๑) ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น

(๒) รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

นอกจากกรณีตามวรรคหนึ่ง จะออกกฎกระทรวงมิให้ใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนแก่นายจ้างประเภทหนึ่งประเภทใดก็ได้

ดังนั้น แสดงว่า มูลนิธิจดทะเบียนเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจ จะไม่ได้รับการยกเว้นมิให้ใช้บังคับพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน 2541 อีกต่อไป

ประเด็นนี้ เป็นประเด็นที่คนทั่วไปรู้น้อยมาก เพราะยังติดกับพรบ.2541 อยู่ ในขณะที่สถานะการณ์ปัจจุบัน มูลนิธิต่างๆเกิดขึ้นอย่างมากมายและทำให้ต้องมีการจ้างลูกจ้างในมูลนิธิเป็นจำนวนมาก ทำให้มูลนิธิที่ผู้บริหารขาดธรรมาภิบาลใช้ช่องทางนี้เอาเปรียบลูกจ้างมูลนิธิได้

อยากทราบว่าถ้า ระยะเวลา ที่เราทำงาน เหลืออีก 17 วัน ครบหนึงปี นายจ้างที่เลิกจ้างต้องชอเชยให้ อย่างไร

และ ถ้าไม่ได้รับการชดเชยนายจ้าง เป็นผู้ฝ่าฝืนกฎหมายแรงงานไทยรึเปล่า ค่ะ ในกรณีนายจ้างเป็นชาวต่างชาติ

และอัตรตราโทษมีถึงแค่ใหน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท