เรื่องว.


ทำแล้วครับ


ความเห็น (1)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

มหาไหว
เขียนเมื่อ
not yet answered


ความเห็น (2)
น.ส.ขวัญชนก ปวงทะนะ รปศ.8/1 เลขที่ 54
           รธน.ใหม่ต้องเพิ่มโทษทางอาญา-ยึดทรัพย์คนโกง          นายสัก กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่ร่างโดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ค่อนข้างล็อกสเปคบุคคลที่จะมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทำให้ได้ ส.ส.ร.จากภาคราชการเป็นส่วนใหญ่สังคมอยากได้รัฐธรรมนูญที่ดีกว่าเก่าแต่มาตรการการร่างไม่ดีกว่าเก่า ทั้งนี้เมื่อเขาเป็นคตส.ก็เห็นการทุจริตมากมายตั้งแต่ในเรื่องนโยบายรัฐบาลที่แล้วแถลงนโยบายต่อสภาว่าจะปราบคอร์รัปชันแม้ไม่มีใบเสร็จก็ตามแต่ 5 ปีที่ผ่านมาไม่เห็นทำ และยังมีการคอร์รัปชันรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวันและมีลักษณะทุจริตเชิงนโยบายผู้มีอำนาจกำหนดกฎระเบียบไปจนถึงมติ ครม.เพื่อประโยชน์ของครอบครัวพรรคตนเองไปจนถึงการกีดกันคู่แข่งและมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับหน่วยงาน เช่น การขอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัมปทานในกรณีไอทีวี การกำหนดงบประชาสัมพันธ์กระทรวง รัฐวิสาหกิจ มากมายแบบไม่เคยมีมาก่อน แล้วให้ลูกหลานตั้งบริษัทรับงานกินหัวคิวและใช้จุดนี้ครอบงำสื่อ หากสื่อวิจารณ์มากไปก็ตัดงบโฆษณาหรือการห้ามผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถือหุ้นในบริษัทแต่มาตรการการตรวจสอบล้มเหลวตลอดจากกรณีซุกหุ้น 1 และ 2 ซึ่งมีคนพูดว่าศาลรัฐธรรมนูญถูกแทรกแซง นอกจากนี้มีการใช้อำนาจนิติบัญญัติออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจ ภาษีสรรพสามิต เคาน์เตอร์เทรดซื้ออาวุธแลกสินค้าเกษตร บริษัทส่งออกไก่รายใหญ่ได้ประโยชน์ กรณีกล้ายางก็คล้ายๆ กัน          “ที่ผ่านมามีการทุจริตแบบบูรณาการครบวงจรโครงการรัฐต่างๆแปรรูปไปให้กลุ่มการเมือง ธุรกิจ อย่างการไฟฟ้าหรือ ปตท. สรุป 5 ปีที่ผ่านมาเราเจอการปล้นที่ถูกกฎหมายคืออะไรผิดก็แก้ให้ถูกแล้วทำซึ่งท้ายสุดก็เกิดวิกฤติ นำมาซึ่งการยึดอำนาจและฉีกรัฐธรรมนูญ ดังนั้นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อาจต้องระวังการกำหนดให้รัฐบาลเข้มแข็งเกินไปจนเหมือนรัฐบาลชุดที่แล้ว ทั้งนี้จากการที่ผมเคยเป็น ส.ว.การขอเปิดอภิปรายทั่วไปรัฐบาลและการถอดถอนทำไม่ได้เลย ส.ส.ก็ขอเปิดอภิปรายนายกฯไม่ได้ ดังนั้นต่อไปควรจะลดจำนวนสมาชิกที่จะเข้าชื่อลงนายสัก กล่าว          นายสัก กล่าวต่อว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญควรนำกรณีสอบของ คตส.ไปศึกษาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตแบบนี้อีกเดิมโทษการทับซ้อนผลประโยชน์คือแค่ออกจากตำแหน่งตอนนี้ไม่น่าจะพอรัฐธรรมนูญใหม่ต้องเพิ่มโทษทางอาญา ยึดทรัพย์และปรับเพิ่มอีก 1 เท่า เช่น โกง 1 หมื่นล้านต้องจ่ายค่าปรับ 2 หมื่นล้าน คนที่ล้วงกระเป๋าแผ่นดินต้องมีโทษหนักกว่านี้          ส่วนการกระทำที่ก่อให้เกิดวามเสียหายแก่รัฐหากเอาทรัพย์สินของชาติไปควรแก้ไขให้ไม่มีอายุความ ส่วนผู้เสียหายน่าจะให้ประชาชนเป็นผู้เสียหายฟ้องร้องได้ เพราะปัจจุบันเรื่องที่มีการสอบสวนแล้วมีมูลกระทรวงไม่ยอมร้องทุกข์กล่าวโทษ ส่วนการป้องกันไม่ให้การเมืองแทรกแซงนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ควรมาดูว่าต้องให้มีความผิดว่าด้วยการขัดขวางกระบวนการยุติธรรมหรือไม่          นอกจากนี้ในส่วนกรรมาธิการของวุฒิสภาเขามีประสบการณ์จากการตรวจสอบเรื่องคลองด่านที่เจอคนทุจริตเป็นนักการเมือง ข้าราชการ พ่อค้า แต่ทำอะไรไม่ได้นอกจากรายงานวุฒิสภาเนื่องจากกฎหมายไม่ได้กำหนดให้วุฒิสภาเป็นผู้เสียหายจึงยื่นเรื่องดำเนินคดีเองไม่ได้ จุดนี้ต่อไปควรปรับให้วุฒิสภาเป็นผู้เสียหายส่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง ได้เลย          ขณะที่องค์กรอิสระการออกแบบรัฐธรรมนูญใหม่ต้องคำนึงถึงการสรรหาและองค์กรที่ลงมติเลือกต้องมีมาตรการความโปร่งใส หากออกแบบใหม่โดยให้แต่งตั้งอาจถูกมองไม่ดี แต่สำหรับการแต่งตั้ง คตส. ป.ป.ช. ผู้ว่าการ สตง.ครั้งนี้ก็ทำงานได้เพราะผู้ดำรงตำแหน่งเป็นคนดี แต่พวกที่ออกมาโวยวายคือพวกที่เคยชินกับแบบเดิมๆ ที่พูดกับองค์กรอิสระได้ พอเจอกรรมการที่พูดกันไม่ได้เลยออกมาต่อต้าน          รธน.ให้นายกฯ ผูกขาดอำนาจเป็นความคิดที่เลว          นายเดชอุดม กล่าวว่า รัฐธรรมนูญ 2540 ถ้าดีที่สุดคงไม่ถูกปฏิวัติ เขาเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวบกพร่องร้ายแรงที่ให้มีการกินรวบอำนาจ นักการเมืองละโมบ ทำทุกอย่างเพื่อกิจการของครอบครัว เครือญาติตนเอง ไม่มีแม้แต่มาตราเดียวที่ไม่ทำผิด ดังนั้น ต่อให้รัฐธรรมนูญดีแต่พฤติกรรมแย่ก็แย่ไปด้วย การร่างรัฐธรรมนูญใหม่อย่าไปกังวลกับรัฐธรรมนูญของต่างประเทศให้มากนัก เพราะที่ผ่านมาสังคมไทยเอามาแต่ตัวอักษรแต่ไม่ได้เอาจิตวิญญาณมาจึงเกิดปัญหา รวมถึงรัฐธรรมนูญ 18 ฉบับที่ผ่านมานักวิชาการที่ร่างก็ไม่มีประสบการณ์เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเลย ตัวอย่างเช่น ประเด็นสิทธิเสรีภาพรัฐธรรมนูญ 2540 บางเรื่องที่เป็นสิทธิเสรีภาพที่ติดตัวมาโดยธรรมชาติก็กลับไปเขียนว่าให้มีสิทธิเสรีภาพตามที่กฎหมายบัญญัติ          นอกจากนี้ยังให้อำนาจนายกฯไว้เหลือเฟือทั้งการผูกขาดอำนาจและการรับรองงบประมาณ ถือเป็นแนวความคิดที่เลวใช้ไม่ได้เป็นการใช้กฎหมายที่แย่ที่สุด ซึ่งเป็นมากว่า 70 ปี ระบบนี้จะทำให้กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลชุดที่แล้วไม่ได้รับงบประมาณเลยเพราะรัฐบาลบล็อกงบไว้หมด ดังนั้น ต่อไปไม่ควรให้อำนาจนายกฯรับรองงบประมาณคนเดียวถ้านายกฯยังใหญ่อย่างนี้จะเกิดขบวนการกินเมืองไม่สิ้นสุด          โมเดล รธน.2550 เน้นสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วม กระจายอำนาจ          นายสมคิด กล่าวว่า กรอบเวลาในการร่างรัฐธรรมนูญแม้จะสั้นแต่ไม่สั้นเกินไปโดยวันที่ 6 กรกฎาคม จะครบกำหนด 180 วัน ดังนั้น ร่างแรกต้องเสร็จประมาณ 23 เมษายนและคาดว่าจะลงประชามติได้วันที่ 11 สิงหาคม ซึ่งคงต้องใช้รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นตัวตั้ง เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดว่าเมื่อร่างใหม่เสร็จกรรมาธิการยกร่างต้องจัดทำเหตุผลและความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญ 2540 ให้องค์กรตามรัฐธรรมนูญพิจารณาและเสนอความเห็นกลับมา ดังนั้น ด้วยเวลาอันสั้นอย่าคิดอะไรใหญ่มาก ไม่เช่นนั้นจะไม่ทัน คิดว่าแก้จริงๆ มีประมาณ 50 กว่ามาตรา แต่ก็ต้องทำให้ดีกว่าของปี 2540 ไม่เช่นนั้นจะไม่ผ่านประชามติ          “ถ้าทำเรื่องสิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจให้ดีที่เหลือเรื่องโครงสร้างนิติบัญญัติ บริหาร ก็พอคุยกันได้ว่าแค่ไหนจะเหมาะสมอย่างไรก็ดีผมเป็นห่วงการลงประชามติคิดว่าถ้าแต่ละฝ่ายมองภาพรวมคงผ่านไม่ยากนัก แต่ถ้าแต่ละกลุ่มดูเฉพาะเรื่องของตนก็อาจจะไม่ผ่านซึ่งถ้าไม่ผ่านรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดให้ คมช.และ ครม.นำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับและประกาศใช้ ซึ่งผมไม่เชื่อว่ารัฐธรรมนูญฉบับคมช.จะดีเหมือนฉบับ ส.ส.ร.          ทั้งนี้ ประเด็นต่างๆที่ต้องมาคิดกันมี 2 ส่วน คือ 1.เรื่องสิทธิเสรีภาพถือเป็นเรื่องสำคัญแต่คนสนใจน้อย ฉบับ 2540 ใครอยากได้อะไรก็ใส่ๆเข้ามาไม่มีการถกเถียงอะไรมากนักเขามองว่าเรื่องนี้แก้ไขได้เลย โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดว่าสิทธิเสรีภาพตามที่กฎหมายบัญญัติ ซึ่งที่ผ่านมากฎหมายลูกหลายฉบับไม่ถูกตราขึ้นนักกฎหมายก็ตีความว่าไม่มีกฎหมายลูกก็ไม่มีสิทธิ เขามองว่ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรล็อกเวลาว่าต้องเขียนให้เสร็จใน 180 วัน หรืออย่างน้อยอาจเขียนว่าตราบใดที่กฎหมายลูกยังไม่เกิดก็ให้มีสิทธิเสรีภาพได้ทันที นอกจากนี้เรื่องประชาชนเข้าชื่อเสนอกฎหมายและถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง รายละเอียดจุกจิกดังนั้นรัฐธรรมนูญใหม่ควรทำให้ง่ายหน่อย          2.ส่วนการเมือง ขณะนี้ก็มีการพูดประเด็นต่างๆ เช่น ส.ส.จะมี 2 ระบบแบบเดิมหรือไม่ จะเอาเลือกตั้ง 1 เขต 1 คนอยู่หรือไม่ จะให้รัฐบาลเข้มแข็งต่อไปหรือไม่โดยจะลดจำนวนการเข้าชื่ออภิปรายนายกฯ หรือไม่ องค์กรตามรัฐธรรมนูญจะคงไว้หรือไม่ ส.ว.มีที่มาจากไหน ซึ่งตอนนี้ก็มีการเสนอกันมา 4 โมเดลแล้ว คือ 1.แต่งตั้ง 2.เลือกตั้งแบบปี 2540 ซึ่งสองแบบนี้คนคงปฏิเสธ 3.สรรหา จากการคัดเลือกจากกลุ่มวิชาชีพต่างๆ 4.สรรหาผสมเลือกตั้ง โดยสรรหาจากกลุ่มวิชาชีพ 3 เท่าแล้วค่อยให้ประชาชนเลือก ซึ่งเขามองว่า 2 โมเดลหลังใช้ได้ หรือต่อไปอาจมีโมเดลอื่นๆ เช่น เลือกตั้งทางอ้อม          "รัฐธรรมนูญ 2540 ล็อกคุณสมบัติของคนที่จะเป็นองค์กรอิสระ จึงทำให้กีดกันหลายคนขนาดพ.ร.ฎ.กำหนดคุณสมบัติกรรมาธิการยกร่างฯ ยังกำหนดคุณสมบัติสูงมาก อาชีพอย่างทนายความ หรือเอ็นจีโอ อาจหลุดหมด ดังนั้น เรื่องที่ทำให้มีการตัดสิทธิ สามารถเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญใหม่ได้ และต้องเพิ่มอำนาจ (empower) ประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายขึ้นเดิมประชาชนฟ้องศาลรัฐธรรมนูญเองไม่ได้ ดังนั้น รัฐธรรมนูญใหม่ควรให้ประชาชนฟ้องเองได้ในเรื่องที่กระทบสิทธิประชาชน          ควรมีเวทีนักวิชาการดีกว่าปล่อยเป็นคลื่นใต้น้ำ          นายโคทมกล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ต้องมองภาพกว้างก่อน บริบทแรกคือด้านประวัติศาสตร์วิวัฒนาการทางการเมือง ต้องดูว่าจะแบ่งสรรอำนาจอย่างไรให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นทุก 15 ปี ก็ต้องมาเริ่มกันใหม่อีกโดยปัจจุบันอภิชนก็ขอทวงคืนเพราะนักการเมืองฉ้อฉล อย่างไรก็ดีหลังๆภาคประชาสังคมค่อยๆโผล่ขึ้นมาแต่ยังไม่มีอำนาจจริงจัง มีแต่อำนาจความคิดและการสื่อสาร การร่างรัฐธรรมนูญต้องดูจุดนี้ด้วย          นอกจากนี้ ส.ส.ร.ควรให้เวทีนักการเมืองที่มีคุณภาพแสดงบทบาท ดีกว่าจะให้เป็นคลื่นใต้น้ำ ต้องคิดว่าจะเขียนรัฐธรรมนูญเพื่ออดีตหรืออนาคต ทั้งนี้ เมื่อยกร่างฯ สั้น ก็ต้องมีแผนการเมือง ไม่เช่นนั้นจะพลาดแล้วพลาดเลย ต้องทำแผนงานว่า จะให้งานอื่นๆ กรรมาธิการใน ส.ส.ร.ชุดอื่น อดีตสมัชชาแห่งชาติสัมพันธ์กับกรรมาธิการยกร่างอย่างไร และต้องมีแผนเชื่อมโยงกับองค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์กรประชาชน การเมืองท้องถิ่น กลุ่มวิชาชีพต่างๆ สื่อมวลชน ต้องทำให้เป็นการสื่อสาร 2 ทาง ไม่ใช่แค่มีกรรมาธิการประชาสัมพันธ์ ส.ส.ร.ที่ไม่ได้เป็นกรรมาธิการยกร่างฯต้องเป็นกองกำลังให้กรรมาธิการหากแข่งกันปีนเกลียวกันเองจะเป็นอุปสรรค          “ในส่วนประชามติมีคนบอกผมว่ามีนักการเมืองกลุ่มหนึ่งจะคว่ำประชามติไม่ว่าจะร่างดีอย่างไรดังนั้น ส.ส.ร.ต้องสร้างความเข้าใจและสร้างกระแสอย่าแข็งกร้าวเกินต้องให้คนยอมรับทั้งเนื้อหาและกระบวนการ ที่สำคัญห้ามละเลยคนชนบท เพราะจุดนั้นเป็นฐานว่าจะผ่านหรือคว่ำร่างซึ่งอาจมีอามิสสินจ้าง ดังนั้น ต้องให้เขามีความรู้สึกเป็นเจ้าของ นอกจากนี้ ส.ว.ถ้าตัดเลือกตั้งออกไปจะฝืนความรู้สึกคน อาจเป็นประเด็นรณรงค์ต่อต้านไม่ให้ผ่านประชามติ การแก้ไขอาจให้มีเลือกตั้งโดยเขตเลือกตั้งเท่ากันทั้งประเทศ ส่วนเรื่องนายกฯต้องมาจากการเลือกตั้งหรือไม่ ณ บริบทนี้อย่าไปเปิดช่อง เพราะเรื่องนี้ต่อสู้กันมาหลายครั้งเรามีความสะเทือนใจทางประวัติศาสตร์มาแล้วบรรดาประเด็นที่ปะทะความคิดรุนแรงชะลอไว้ได้หรือไม่

          ที่ผ่านมาประชาธิปไตยไทยที่ง่อนแง่น เพราะไปเน้นแต่การเมืองระดับชาติเมื่อปล่อยการเมืองท้องถิ่น จึงไม่มีฐานรากที่มั่นคงการส่งเสริมองค์กรระดับท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจึงต้องพิจารณาด้วย

   

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท