การจัดการ การเปลี่ยนแปลง


สวรินทร์

เรียนอาจารย์ยม

เรียนวิชา Change Management และอาจารย์ที่สอนให้สำรวจข้อมูลจากผู้ที่รู้จัก หนูขออนุญาตสอบถามจากอ.ยมเพราะท่านเป็นผู้มีความรู้กว้างขวางมากคนหนึ่งของเมืองไทย ดังคำถามต่อไปนี้

1. ในภาวะปัจจุบันนี้ผลกระทบเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้น ต่อตัวท่านเอง / องค์กร / สังคม มีอะไรบ้าง

2. จากผลกระทบนั้นท่านได้ปรับเปลี่ยนวิธีการหรือ Re-engineering กับตัวเอง / องค์กร และสังคม อย่างไร

3. ท่านได้เตรียมความพร้อมกับผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างบ้าง  

ขอบพระคุณมากค่ะ

 



ความเห็น (1)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

อาจารย์ยม
เขียนเมื่อ

สวัสดีหนูผู้ถามคำถามมา

 ขอขอบใจ ที่ให้เกียรติยกย่องว่า ผมเป็นผู้รู้กว้างขวางคนหนึ่งของเมืองไทย  ผมเป็นคนธรรมดา ครับ  คิดว่าตัวเองยังไม่รอบรู้ จึงต้องรู้รอบ เรียนรู้ตลอดชีวิตขออภัยด้วยที่เข้ามาตอบช้า  อย่างไรก็ตาม จะตอบไปเผื่อหนูจะนำไปใช้ในงานอื่น ๆ และที่หนูถามมา ผมทวนคำถามได้ดังนี้

1. ในภาวะปัจจุบันนี้ผลกระทบเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้น ต่อตัวท่านเอง / องค์กร / สังคม มีอะไรบ้าง  ตอบสั้น ๆ ได้ว่า  มี PEST ในภาวะปัจจุบันที่ทั่วทุกมุมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทาง สิ่งที่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ (PEST)

  • การเมือง (Political)
  • เศรษฐกิจ (Economy)
  • สังคม(Social) และ
  • เทคโนโลยี (Technology)

เมื่อระบบการเมืองดี   นักลงทุนกล้าลงทุน  เริ่มมีการจ้างงาน  คนมีงานทำ มีเงินมาใช้จ่าย เศรษฐกิจเริ่มดี  คนอยู่เย็นเป็นสุข มีปัญญาหาทางเรียนรู้เพิ่มเติม หา IT มาใช้ในการดำเนินชีวิต ให้สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น สังคมเป็นสุข

ในทางตรงกันข้าม ถ้าระบบการเมืองไม่ดี  นักลงทุนไม่เชื่อมั่น งดหรือชลอการลงทุน ไม่มีการจ้างงาน ลดคนงาน คนว่างงานมากขึ้น คนขาดรายได้ งดใช้จ่าย ไม่มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เศรษฐกิจตกต่ำ ไม่มีปัญญาไปหา เทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้พัฒนางาน ประเทศชาติก็ยากจนลง ครับ

 ประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศด้อยพัฒนาทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมหรือประเทศที่พัฒนาแล้วต่างอยู่ในภาวะที่ต้องมีการปรับตัวกันอย่างมาก  ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน 

ฉะนั้นจึงถือได้ว่าเราทุกคนต่างดำเนินชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะรูปแบบทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมที่เกิดขึ้น ผู้ที่มีโอกาสรับทราบข้อมูลข่าวสารจากช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็ว ทันสมัย สะดวก ทันต่อเหตุการณ์ และพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะมีศักยภาพ พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง 

2. จากผลกระทบนั้นท่านได้ปรับเปลี่ยนวิธีการหรือ Re-engineering กับตัวเอง / องค์กร และสังคม อย่างไร

ตามที่ได้เกริ่นไว้แล้วว่า เราทุกคนต่างดำเนินชีวิตอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกบ้าน นอกองค์กร เช่นปัจจัยทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีฯที่เกิดขึ้น ผู้ที่มีโอกาสรับทราบข้อมูลข่าวสารจากช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็ว ทันสมัย สะดวก ทันต่อเหตุการณ์ และพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะมีศักยภาพ พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง  ยุคนี้ เป็นยุคเศรษฐกิจฐานความรู้  คนหรือองค์การ หรือสังคมที่มีความรู้ เรียนรู้อยู่เสมอจะได้เปรียบ และสามรถอยู่รอดได้ฉะนั้น ไม่ว่า ระดับคน ครอบครัว องค์กร สังคม

ในโลดกของการเปลี่ยนแปลง หากต้องการประสบความสำเร็จ ความสุข ต้องปรับตนเอง ปรับและพัฒนาคนในองค์การ ตามแนวคิจดหลักปรัชญาเศณษฐกิจพอเพียง สามารถ นำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา หรือ Re-engineering ความคิด การกระทำของตนเอง ให้เป็นคนที่

  1. มีความรอบรู้
  2. มีคุณธรรม
  3. มีเหตุมีผล
  4. รู้จักประมาณตน
  5. และมีวิสัยทัศน์ กว้างไกล มีแผนรองรับไว้เสมอหากมีปัญหาก็เอา แผน 2 3 4 มาใช้ต่อไป
 

3. ท่านได้เตรียมความพร้อมกับผลกระทบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างบ้าง  

ในระดับองค์การ ควรต้องเตรียมพร้อมเรื่องทรัพยากรในทางการบริหาร โดยเฉพาะทรัพยากรมนุษย์ ต้องพัฒนาให้เขามีความรู้ มีปัญญา พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง

ในระดับบุคคล  ต้องฝึกตนเองให้เป็นคนมีประสิทธิภาพ ด้วยนิสัย 7 ประการ ผมเคยอ่านหนังสือ 7 Habits ของสตีเวน โควี่ อธิบายไว้ว่า ถ้าต้องการเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ และเป็นคนมีประสิทธิภาพ สามารถพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ให้ฝึกตนให้มีนิสัย เจ็ดประการดังนี้

  1. นิสัยก้าวหน้าสร้างสรรค์  โดยเสนอให้สร้างความเชื่อว่า  มนุษย์นั้นเลือกกำหนดชะตาชีวิตของตนเองให้มีความสำเร็จมีศักดิ์ศรีได้  ด้วยการฝึกนิสัยให้คิด  พูด  และทำเรื่องราวต่าง ๆ อย่างถูกหลักคุณธรรม  ฝึกไม่ให้คิดโทษคนอื่น  ให้เปลี่ยนนิสัยตนเองให้เป็นคนดีเสียก่อนเพื่อที่จะได้มีอิทธิพลเหนือคนอื่นโดยเฉพาะฝึกให้รักษาคำพูด  รักษาเกียรติเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อถือไว้วางใจ
  2. นิสัยเป็นผู้กำหนดเป้าหมายแห่งชีวิตของตน  โดยกำหนดว่า  ในแต่ละบทบาท เช่น  เป็นพนักงาน  ผู้ปกครอง  บุตร  เพื่อน  นั้น  จะต้องมีพฤติกรรมอย่างไรจึงจะถูกทำนองคลองธรรมและเหมาะสมกับกาลเทศะ  โดยกำหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  รวมทั้งเป็นพันธกรณีที่จะต้องถือปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเป็นนิสัย
  3. นิสัยนักบริหารเวลา  โดยจัดทำรายงานที่จะต้องทำแต่ละวัน  พร้อมทั้งระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการทำงานแต่ละรายการไว้  ทั้งนี้ให้จัดลำดับ  ความสำคัญของงานและให้ถือว่างานพัฒนานิสัย  7  ประการ  เป็นภารกิจที่มีความสำคัญสูงสุด  ซึ่งต้องกันเวลาแต่ละวันไว้สำหรับใช้พัฒนาตนในเรื่องนี้              โควี่กล่าวว่า  การพัฒนานิสัยประการที่ 1,2,3  เป็นการฝึกเพื่อให้มีชัยชนะต่อตนเองและเพื่อเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะเอื้อให้พัฒนานิสัยอีก  4  ประการ  อันจะทำให้มีชัยชนะหรือมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น
  4. นิสัยนักคิดแบบชนะ/ชนะ  โดยฝึกตนให้มีจิตใจเมตตา  เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  มีใจกว้างและให้เชื่อว่า  ในความสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้น  จะต้องแสวงหาช่องทางให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ประโยชน์  คือเป็นผู้ชนะทุกฝ่าย
  5. นิสัยเป็นผู้แสวงหาความเข้าใจของผู้อื่นก่อน  โดยพยายามทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ในคำพูด  ท่าทาง  ความคิด  ข้อมูล  ความรู้สึก  ความต้องการสิทธิประโยชน์ความวิตกกังวลและอารมณ์ของฝ่ายที่ติดต่อสัมพันธ์ด้วย  แล้วจึงหาวิธีทำให้ฝ่ายเขาเข้าใจเรา
  6. นิสัยนักสร้างพลังร่วม  โดยสามารถดึงเอาพลังสร้างสรรค์หรือจุดแข็งของฝ่ายที่เราติดต่อด้วยมาผสมผสานกับจุดแข็งของเรา  จนทำให้เกิดพลังร่วมที่เพิ่มพูนผลประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายได้เป็นอย่างดี
  7. นิสัยนัก ลับเลื่อย  คือหมั่นฝึกฝนตนเองอย่างต่อเนื่องใน  4  ด้าน  ได้แก่ 

  • ด้านความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกาย  
  • ด้านความรู้ความเฉลียวฉลาด 
  • ด้านสมรรถภาพจิตและ
  • ด้านทักษะเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์
        ผู้ใดสามารถฝึกนิสัยตามที่โควี่แนะนำได้  ย่อมจะเกิดคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อตนเองแก่ครอบครัว  แก่ผู้ที่ติดต่อเกี่ยวข้องด้วย  และโดยเฉพาะแก่องค์กรของเราอย่างแน่นอน 

ขอให้หนูจงโชคดี



ความเห็น (1)

พอดีหนูทำรายงานเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์ค่ะ อยากทราบว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง น่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท