ความหมายคำว่าคุณภาพและมาตรฐาน


ประภัสสร

เรียนอาจารย์อนุวัติ ที่เคารพ

ทาง รพ.ได้อธิบายให้เจ้าหน้าที่เข้าใจถึงความหมายของคุณภาพว่า ดังนี้ 1.ไม่มีปัญหา ( Sero Defect ) 2.ลูกค้าพอใจ 3.ได้มาตรฐาน ( มาตรฐานวิชาชีพ / มาตรฐานในหน่วยงาน ) 4.สานสู่ความเป็นเลิศ ( พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ) ตามความหมายที่ พรพ.ได้ระบุไว้ จึงขอเรียนถามอาจารย์ว่า ถ้ากล่าวถึงว่าหน่วยงานมีคุณภาพ เราสามารถตีความคุณภาพภายในหน่วยงานได้หมดทั้ง 4 ข้อเลย ใช่หรือไม่คะ

ขอบคุณมากคะ



ความเห็น (5)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

Dr Anuwat Supachutikul
เขียนเมื่อ
not yet answered


ความเห็น (5)

คำถามไม่ชัดน่ะครับ ไม่แน่ใจว่า 4 ข้อนี้เป็นเกณฑ์ หรือนิยามของคำว่าคุณภาพครับ แต่ถ้าตัวชี้วัดที่จะบอกว่าหน่วยงานมีคุณภาพก็ต้องดูที่ บริบทจริงๆของหน่วยงานครับ จากบริบทของเรา(ในสถาณการณ์จริงของโรงพยาบาลน่ะครับ)ถ้าดูจากภาพรวมประเมินได้จาก 3 สิ่งนี้เป็นประจักษ์ครับ 1.มีวัฒฯธรรมของความปลอดภัย 2.มีวัฒนธรรมของการป้องกันและจัดการความเสี่ยง และ 3.รู้จักเรียนรู้จากสิงที่ทำ งานที่ทำ ผลที่เกิดขึ้น

การผูกคำที่คล้องจองนั้นไว้ เพื่อส่งเสริมให้เรามองคุณภาพอย่างรอบด้านครับ

เริ่มจากลูกค้าพอใจกับได้มาตรฐานก่อน

คู่นี้มีที่มาว่าในตอนเริ่มต้นทำคุณภาพนั้นมักจะมีคำถามว่าจะใช้คุณภาพในมุมมองของใคร ของผู้ป่วยหรือของผู้ให้บริการ ก็เลยเอาคู่นี้มาผูกไว้ด้วยกันเลย ว่าใช้มุมมองของทั้งสองฝ่าย

คำว่า “ลูกค้าพอใจ” มิใช่การตีความหมายตื้นๆ ว่าพยายามทำทุกอย่างให้ลูกค้าหรือผู้รับผลงานพอใจ แต่หมายถึงการที่จะต้องพยายามรับรู้และเรียนรู้ความต้องการของผู้รับผลงาน แล้วนำไปพิจารณาว่าจะตอบสนองได้อย่างไร จะสร้างคุณค่าให้แก่ผู้รับผลงานได้อย่างไร ตอนนี้ยังตอบสนองไม่ได้ทั้งหมดก็หาโอกาสตอบสนองในช่วงเวลาข้างหน้า ก็จะเข้ากับความหมายที่ 4 คือสานสู่ความเป็นเลิศด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

คำว่าลูกค้าพอใจสั้นๆ บอกเราว่าเราต้องวิเคราะห์ว่าผู้รับผลงานของเรามีใครบ้าง กิจกรรมหัวหน้าพาทำคุณภาพที่แนะนำให้ทำไว้ก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องมาทบทวนกันอย่างสม่ำเสมอ

คำว่า “ได้มาตรฐาน” สามารถมองว่าเป็นมาตรฐานได้ทุกระดับ เช่น มาตรฐานที่หน่วยงานหรือ รพ.กำหนดขึ้น มาตรฐานวิชาชีพ มาตรฐาน HA กฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับมาตรฐานที่หน่วยงานหรือ รพ.กำหนดเองนั้น คือวิธีการที่ดีที่สุดที่ รพ.สามารถทำได้ในขณะนั้น ถ้าจะใช้ความหมายของการสานสู่ความเป็นเลิศ ก็จะต้องทบทวนกันบ่อยๆ หรือพยายามปรับปรุงยกระดับมาตรฐานงานให้สูงขึ้น

คำว่า “ไม่มีปัญหา” หรือไม่มีข้อบกพร่อง (zero defect) นั้นเป็นอุดมคติของคุณภาพ ถ้าเราทำความเข้าใจคำว่า defect ให้ลึกซึ้ง จะพบว่า defect อาจจะเป็นที่กระบวนการคือไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนดไว้หรือแนวทางที่ควรปฏิบัติ (เช่น การไม่ล้างมืออย่างถูกต้อง หรือไม่ล้างมือเมื่อมีข้อบ่งชี้) หรืออาจจะเป็นความผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ (เช่น การติดเชื้อ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ) เป้าหมายคือลด defect ให้เหลือน้อยที่สุด แนวคิดในการลด defect เช่น six sigma ซึ่งพยายายามลด defect จาก 3 sigma ให้เหลือ 5-6 sigma หรือ reliability science ซึ่งพยายามลด defect จากมากกว่า 10% (หน่วยต่อสิบ) ให้เหลือน้อยกว่า 10% (หน่วยต่อร้อย) โดยใช้ human factor engineering เข้ามาช่วย และการลด defect อาจจะขยายไปถึงเรื่องของการขจัดความสูญเปล่าหรือเปลี่ยนความสูญเปล่ามาเป็นสิ่งที่ให้คุณค่าแก่ผู้รับผลงานตามแนวคิด LEAN ถ้าจะใช้ความหมายที่เป็นทางการ

ตอนนี้ทีมงานที่ยกร่างธรรมนูญสุขภาพกันอยู่ ยอมรับในคำจำกัดความคุณภาพว่าอย่างนี้ครับ “คุณภาพบริการสาธารณสุข หมายความว่า คุณลักษณะของบริการสาธารณสุขที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้ทางวิชาการที่เหมาะสม ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการและสังคม

ในการจะให้ความหมายของคุณภาพให้สมบูรณ์ เราอาจจะต้องพิจารณามิติต่างๆ ของคุณภาพร่วมด้วย สามารถพิจารณาเลือกมิติของคุณภาพไปพิจารณาได้ดังนี้ Accessibility Appropriateness Acceptability Competency Continuity Coverage Effective Efficiency Equity Humanized/Holistic Responsive Safety Timeliness

อาจารย์คะ

รบกวนถาม ความหมายของคำว่าคุณภาพ ตามความหมายของ พรพ.คะ

เอาความหมายที่อยู่ในธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติเลยดีกว่าครับ

"คุณภาพบริการสาธารณสุข" หมายคยวามว่า คุณลักษณะของบริการสาธารณสุขที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ทั้งด้านมนุษย์ สังคม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และด้านอื่นๆ และพื้นฐานด้านคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของประชาชนและสังคมได้อย่างเหมาะสม

เป็นความหมายที่ครอบคลุมที่สุด และไม่ขัดแย้งกับคำจำกัดความอื่นๆ ที่เราเคยใช้กันมา

ศิริรัตน์ พูนรักษ์

ใบอนุกรมมาตรฐาน8402ได้กำหนดนิยามของคำว่าคุณภาพไว้ว่าอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท