HR กับ พนักงาน


ปุ้ม

 คือที่ทำงานอยู่ เวลาพนักงานทำไม่ถูกระเบียบ เราก็จะชี้แจงอธิบาย และหลายครั้งที่พนักงานไม่พอใจกลับมา เจ้านายก็จะโทษว่าเป็นเพราะ HR บริหารงานไมถูก ต้อง treat พนักงานให้เป็นลูกค้า ( ทั้งที่บางครั้งตอนแรก เจ้านายก็เห็นด้วยให้เราชี้แจงไปตามระเบียบ ) 

จึงขอปรึกษาอาจารย์ ที่ถูกต้องHRควรวางตัวกับพนักงานอย่างไร treat พนักงานแบบไหน เนื่องจาก HR ดูระเบียบวินัย และประสานงานในการพัฒนาพนักงานตามเป้าหมายองค์กร   เจออย่างนี้ คนทำงาน HR ก็อึดอัดคะ

 



ความเห็น (2)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

อาจารย์ยม
เขียนเมื่อ

ผมจับประเด็นปัญหา ได้ว่า  หนึ่งพนักงานทำไม่ถูกระเบียบวินัย  สองคือ ปัญหาการภาวะผู้นำ ศิลปะการเป็นผู้นำของผู้บังคับบัญชาในองค์การ เพราะถ้าไม่มีปัญหานี้ พนักงานก็คงอยู่ในวินัย และฝ่าย HR ก็จะไม่เป็นแพะ รับเละทุกเรื่อง สามคือปัญหาด้านกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ไม่ชัดเจน ขาดการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานอื่น ๆ และ สี่คือปัญหาระหว่างกลยุทธ์องค์การ สภาพแวดล้อมองค์การ ลักษณะจำเพาะขององค์การ และกลยุทธ์ HR อาจจะไม่สัมพันธ์กัน 

จึงทำให้เกิดปัญหาและคำถาม  ที่ถามมา คือ HRควรวางตัวกับพนักงานอย่างไร? จะ treat พนักงานแบบไหนดี?ครับ คำถามที่ถามมา เป็นประเด็นเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหาร HR คือ จะจัดการอย่างไร ให้บรรลุเป้าหมาย และขจัดปัญหาต่างๆ  ไปด้วยดี แต่ข้อมูลที่ให้มา ไม่ได้บอกว่า เป็นธุรกิจอะไร ธุรกิจของบริษัทนี้ ผลิตอะไร ใครคือลูกค้า  ยุทธศาสตร์ของบริษัท ใช้ยุทธศาสตร์ธุรกิจอะไรถ้ามีข้อมูลไม่ละเอียด ผมไม่สามารถให้คำแนะนำ แบบเจาะลึกได้

อย่างไรก็ตาม HR ยุคใหม่ ควรรู้ด้วยว่า ธุรกิจที่บริษัทที่ตนเองทำงานอยู่ ใช้กลยุทธ์ธุรกิจแบบใด เพราะกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ธุรกิจ ลักษณะเฉพาะขององค์การและ สภาพแวดล้อมของธุรกิจด้วย ดังนี้ 

 Michael E. Porter ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันในการบริหารธุรกิจ ไว้ว่า องค์การที่ประสบความสำเร็จ มักจะมีกลยุทธ์การจัดการที่ชัดเจน และจากการศึกษาวิจัย องค์การต่าง ๆ ที่ประสบความสำเร็จ พบว่า กลยุทธ์ในการบริหารที่แต่ละองค์การนำมาใช้ มีต่อไป ดังนี้

1.      กลยุทธ์ การเป็นผู้นำในเรื่องต้นทุน(Cost Leadership) โดยปกติกำไรของธุรกิจจะเท่ากับราคาขายลบต้นทุน(กำไร= ขาย-ต้นทุน) ดังนั้นเมื่อต้องการให้มีกำไรสูงขึ้นมี 2 วีคือ 1) การเพิ่มราคาขาย หรือ 2) การลดต้นทุน ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่เลือกที่จะลดต้นทุน ซึ่งเป็นวิธีที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับแนวคิดทางการจัดการคือ การเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) การเพิ่มประสิทธิผล(Effectiveness) และผลิตภาพ(Productivity) กลยุทธ์การลดต้นทุนจึงเป็นกลยุทธ์แรก ในการดำเนินธุรกิจ ที่หลายองค์การทำกัน

2.      กลยุทธ์ สร้างความแตกต่าง (Differentiation) เป็นการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นในตัวสินค้า ซึ่งนำมาซึ่งความแตกต่างจากคู่แข่งขันรายอื่น ๆ เป็นกลยุทธ์ที่มักจะมีการส่งเสริมให้มีการพัฒนาการทำงาน  พัฒนาบุคลากร กระบวนการผลิต รูปแบบสินค้าและบริการอยู่ตลอดเวลา เพราะคุณค่าที่เคยมีในอดีตและปัจจุบัน อาจจะไม่เป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคเมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไป  ความสำเร็จในอดีต จึงไม่สามารถรับรองความสำเร็จในอนาคตได้  กลยุทธ์ที่จึงถูกนำมาใช้เพื่อสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ ให้องค์การ 

3.      กลยุทธ์ การมุ่งจุดสนใจ (Focus Strategy) ในกลยุทธ์นี้อาจจะแยกออกเป็น 

·  การมุ่งจุดสนใจไปที่ลูกค้า  ซึ่งอาจจะเป็น กลุ่มลูกค้าต่างประเทศ หรือ ต่างประเทศ เด็ก ผู้หญิง กลุ่มพ่อบ้าน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มฐานะปานกลาง กลุ่มคนสูงอายุ ฯลฯ โดยจะทำการศึกษาและให้ความสำคัญแก่ความต้องการ ความพึงพอใจของลูกค้าในแต่ละกลุ่มซึ่งเป็นกลุ่มที่ธุรกิจให้ความสนใจ

·  การมุ่งจุดสนใจไปผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาตัวเองสู่ความเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมนั้น โดยมุ่งความสนใจไปผลิตในสิ่งที่ตนเองถนัดและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง จะสร้างให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน

·  การมุ่งจุดสนใจไปที่ตลาด อาจจะเป็นตลาดใหม่หรือตลาดเฉพาะ องค์การจึงจำเป็นต้องเลือกใช้กลยุทธ์ที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดนั้น ที่มีความแตกต่างในเรื่องความต้องการสินค้ากลยุทธ์การมุ่งจุดสนใจนี้อาจมีการพิจารณาทั้ง ลูกค้า ผลิตภัณฑ์ และตลาดไปพร้อม ๆ กันก็ได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่สิ่งแวดล้อมขององค์การ  

ตาราง 1เปรียบเทียบกลยุทธ์ธุรกิจ ลักษณะจำเพาะขององค์การ และกลยุทธ์ด้าน HR 

กลยุทธ์ธุรกิจ

ลักษณะจำเพาะขององค์การ กลยุทธ์ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์
กลยุทธ์ด้านราคา( cost leadership)
  • มีเงินทุนเพียงพอ
  • ควบคุมการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างใกล้ชิด.
  • ควบคุมต้นทุนการผลิตจอย่างเข้มงวด โดยตรวจสอบรายละเอียดทุกขั้นตอน 
  • ระบบการผลิตสินค้าที่มีต้นทุนต่ำ 
  • เน้นการทำงานตามสายการบังคับบัญชาและความรับผิดชอบ
  • ออกแบบสินค้าให้ง่ายและสะดวกในการผลิต
  • การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 
  • กำหนดหน้าที่ความผิดชอบด้านใดด้านหนึ่ง ไว้อย่างชัดเจน 
  • กำหนดแผนการปฏิบัติงานไว้อย่างละเอียดชัดเจน
  • การรับพนักงานที่เน้นการมีความรู้และทักษะเฉพาะด้าน 
  • เน้นการฝึกอบรมให้มีความรู้ในงานที่รับผิดชอบ
  • ใช้การประเมินผลการปฏิบัติงาพนักงานเป็นเครื่องมือในการควบคุมพนักงาน 
กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างจากผู้อื่น(Differentia-tion)
  • มีจุดแข็งด้านการตลาด 
  • มีความสามารถในด้านการออกแบบและการผลิตสินค้า
  • มีจุดแข็งด้านการวิจัยพัฒนา มีชื่อเสียงเป็นผู้นำด้านคุณภาพและเทคโนโลยี
  • มีศักยภาพในการดึงดูดผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญสูงหรือผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
  • เน้นนวัตกรรมและความยืดหยุ่น
  • เน้นให้พนักงานมีความรู้และทักษะสามารถทำงานได้หลายด้าน หยุ่น
  • กำหนดแผนการปฏิบัติงานไว้คร่าว ๆ เพื่อให้สะดวกต่อการปรับเปลี่ยน หยุ่น
  • การสรรหาพนังกานจากภายนอก 
  • ฝึกอบรมให้ทำงานเป็นทีม 
  • กำหนดอัตราค่าจ้างตามความรู้ความสามารถของพนักงานแต่ละคน
  • ใช้การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานเป็นเครื่องมือในการพัฒนาพนักงาน
กลยุทธ์เน้นมุ่งจุดสนใจ (Focus Strategy)Customer Focus
  • Quality Focus
  • Market Focus
 
  • ลักษณะเฉพาะขององค์การที่ใช้กลยุทธ์นี้ จะมีลักษณะองค์การแบบผสมผสานระหว่างองค์การที่ใช้กลยุทธ์ด้านราคากับกลยุทธ์ด้านการสร้างความแตกต่างจากผู้อื่นโดยเน้นที่กลุ่มเป้าหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะเช่น .
  • ผลิตสินค้าตามความต้องการของลูกค้า              
  • เน้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรม เพื่อสร้างคุณค่าในตัวสินค้า .
  • เน้นการทำงานตามสายการบังคับบัญชาและความรับผิดชอบ
  • ผสมผสานระหว่างกลยุทธ์ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ใช้กลยุทธ์ด้านราคากับกลยุทธ์สร้างความแตกต่างจากผู้อื่น เป็นแนวทางในการบริหาร เช่น
  • กำหนดอัตราค่าจ้างตามความรู้ความสามารถของพนักงานแต่ละคน
  • จ่ายค่าตอบแทนตามความสามารถในการผลิตสินค้า/บริการ
  • ไม่ส่งเสริมให้มีสหภาพแรงงาน 
  • ในกรณีที่มีสหภาพเกิดขึ้นแล้ว จะมีการบริหารสหภาพให้เป็นไห้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์
  • ฝึกอบรมให้ทำงานเป็นทีม  กำหนดแผนการปฏิบัติงานไว้คร่าว ๆ เพื่อให้สะดวกต่อการปรับเปลี่ยน หยุ่น

  

กลยุทธ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ต้องสอดคล้องและเหมาะกับสภาพแวดล้อมของบริษัทฯ (Fit with the environment)   การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดี ต้องช่วยให้องค์การธุรกิจมีความสามารถในการแสวงหาโอกาสของการดำเนินธุรกิจจากสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิผล หรืออยู่รอดในสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี  การพิจารณาสิ่งแวดล้อมขององค์การ อาจแยกพิจารณาได้ 4 มิติ โดยย่อ ดังนี้1.    สิ่งแวดล้อมที่มีระดับความไม่แน่นอน (Degree of uncertainty) ซึ่งสะท้องถึงปริมาณข้อมูลข่าวสารที่มีความถูกต้องและสามารถจะนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจได้2.    ความถี่ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (Volatility) 3.   ขนาดของอการเปลี่ยนแปลง(Magnitude of change) และ 4.   ขนาดของความสลับซับซ้อนของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อบริษัท(Complexity) สิ่งแวดล้อมดังกล่าวมีระดับความเข้มของมิติย่อยทั้ง 4 ด้านต่างกันซึ่งส่งผลต่อการเลือกใช้กลยุทธ์การจัดกรทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกัน ดังสรุปได้ในตารางดังนี้ 

ตาราง 2 เปรียบเทียบกลยุทธ์การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมธุรกิจ(องค์การ)

มิติของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจ

ระดับต่ำ(Low) ระดับสูง(High)
สิ่งแวดล้อมมีระดับของความไม่แน่นอนทางธุรกิจ (Degree of uncertainty)
  • กำหนดแผนการปฏิบัติงานไว้ละเอียดแน่นนอนชัดเจน
  • ฝึกอบรมให้มีความรู้เฉพาะในเรื่องงานที่รับผิดชอบ
  • อัตราค่าจ้างคงที่
  • ทำงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
  • การกำหนดแผนการปฏิบัติงานไว้คร่าว ๆ หรือให้มีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยน
  • ฝึกอบรมให้พนักงานมีความรอบรู้ทั่วไป
  • การจ้างในอัตราที่แปรผัน
  • การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจากหลายฝ่ายทั้งผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานและลูกน้อง
ความถี่ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น(Volatility) 
  • เน้นการควบคุม
  • เน้นการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
  • ฝึกอบรมให้มีความรู้เฉพาะเรื่องงานที่รับผิดชอบ
  • อัตราค่าจ้างคงที่
  • การยืดหยุ่น
  • นวัตกรรมฝึกอบรมให้พนักมีความรอบรู้ทั่วไป
  • การจ้างในอัตราแปรผัน
ขนาดของการเปลี่ยนแปลง (Magnitude of change)
  • กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านใดด้านหนึ่งอย่างชัดเจน
  • ระบบการจ้างและการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ทำอย่างเป็นทางการ
  • องค์การฝึกอบรมให้พนักงานมีความรู้/ทักษะ ตามที่องค์การต้องการเอง
  • การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานด้วยวิธีการอย่างเดียวกันเหมือนกันทุกคน
  • กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้พนักงาน ทำงานได้หลายอย่าง
  • ระบบการจ้างและการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ทำอย่างไม่เป็นทางการ
  • เป็นการรับคนที่มีความรู้ทักษะดีอยู่แล้วเพื่อเข้ามาทำงานได้เลย
  • การประเมินการปฏิบัติงานปรับให้เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคนแต่ละกลุ่ม
ขนาดของความสลับซับซ้อนของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อองค์การธุรกิจ(Complexity)
  • เน้นการควบคุม
  • การสรรหาจากภายใน
  • การตัดสินใจในกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ รวมศูนย์อยู่ที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
  • ทำงานตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา
  • ความยืดหยุ่น
  • การสรรหาจากภายนอก
  • การ กระจายอำนาจ การตัดสินใจ
  • การประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจากลายฝ่ายทั้งทั้งผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานและลูกน้อง

(มีต่อในบลีอคความคิดเห็น)



ความเห็น (3)
ฉะนั้น คำถามที่ถามมาว่า HRควรวางตัวกับพนักงานอย่างไร จะ treat พนักงานแบบไหนดี  ก็ต้องพิจารณาดูว่า บริษัทที่ท่านทำงานอยู่ใช้กลยุทธ์แบบใด ลักษณะจำเพาะขององค์กรเป็นแบบใด ก็จะมีกลยุทธ์การจัดการเรื่องคนที่แตกต่างกันออกไป ขอให้เลือกพิจารณาดูให้สอดคล้องต้องกันครับ 
จากนั้นมาดูสภาพแวดล้อมธุรกิจด้วยว่าเป็นอย่างไร  สิ่งแวดล้อมที่มีระดับความไม่แน่นอน (Degree of uncertainty) ถ้ามีระดับความไม่แน่นอนต่ำ ก็ใช้กลยุทธ์ HRแบบหนึ่ง แต่ถ้ามีความไม่แน่นอนสูงก็ใช้อีกแบบหนึ่งถ้า ความถี่ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น (Volatility) มีระดับต่ำก็ใช้กลยุทธ์ HRแบบหนึ่ง แต่ถ้ามีความไม่แน่นอนสูงก็ใช้อีกแบบหนึ่งขนาดของการเปลี่ยนแปลง(Magnitude of change) และ ขนาดของความสลับซับซ้อนของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อบริษัท(Complexity) ถ้ามีระดับต่ำก็ใช้กลยุทธ์ HRแบบหนึ่ง แต่ถ้ามีสูงก็ใช้อีกแบบหนึ่ง
นอกจากนี้ ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ เขากระจายอำนาจไปให้ Line การผลิต หรือบริการ ดูแลคนด้วยตนเองแล้ว HR ทำหน้าที่ เป็นหน่วยบริการ ให้คำแนะนำ คำปรึกษา เป็นโค๊ช เป็นพี่เลี้ยงให้กับหน่วยงานภายในองค์การ และเป็นผู้ร่วมกำหนดยุทธศาสตร์องค์กร แล้วครับ
หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมการเรียนรู้ แวดวงชาว HRM HRD OR และ Human Capital Management น๊ะครับ
สวัสดี
ขอบคุณอาจารย์ยม มากๆ คะ ได้ความเข้าใจและแนวทางที่ดีมากเลยคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท