ในบ้านเรามีที่ฝึกคนที่จะเป็นผู้จัดกระบวนการเอ็นเนียแกรมไหมครับ


  • เคยเข้าร่วมที่มูลนิธิโกมลคีมทองจัดครับ ดีมากเลยครับ ได้เห็นภาพตัวเอง
  • หนังสือที่คุณ epicure แนะนำ ผมซื้อมาเกือบทุกเล่มแล้วครับ แต่ไม่พบว่าเล่มไหนบอกวิธีการจัดกระบวนการกลุ่ม
  • ในบ้านเรามีที่ฝึกคนที่จะเป็นผู้จัดกระบวนการเอ็นเนียแกรมไหมครับ?


ความเห็น (6)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

ครับ  มีน้อยคนมากที่เข้าอบรมเอ็นเนียแกรมแล้วจะปฏิเสธถึงคุณประโยชน์ของความรู้นี้  

ไม่แน่ใจว่า คำว่า ผู้จัดกระบวนการกลุ่ม หรือ กระบวนการเอ็นเนียแกรม มีความหมายเหมือนกับ วิทยากร หรือผู้ฝึกอบรมหรือไม่ครับ

ถ้าใช่ ก็ขอตอบว่า เรามีเหมือนกันตามแนวทางแบบที่ผสมผสานของเฮเลนออกมาเป็นเหมือนอย่างที่คุณสุรเชษฐได้สัมผัสจากการฝึกอบรมของทางมูลนิธิโกมลคีมทองครับ

ทุกวันนี้ก็มีการฝึกอบรมที่จะเป็นวิทยากรในแนวนี้เหมือนกัน แต่เป็นแบบไม่เป็นทางการนัก อาศัยช่วยๆ กันไป  กลุ่มศึกษาเอ็นเนียแกรมแทบทั้งหมดในไทยก็เป็นแนวทางนี้ ทุกคนรู้จักกัน ก็ต้องพูดคุยและสอบถามกันไป

อย่างหนึ่งคือ ผู้เป็นวิทยากรในเรื่องนี้ต้องศึกษาตัวเองและทำตัวเป็นโมเดลก่อน จึงต้องค่อนข้างใช้เวลา  ผมคิดว่านี่เป็นความรู้เพียงไม่กี่อย่างที่วิทยากรจะต้องสลัดความเป็นตัวตนของตัวเองออกไปก่อน (ถ้ายิ่งยิ่งใหญ่ ก็ยิ่งสลัดยาก)  จะต้องยอมรับ มองเห็นตัวตนตามเอ็นเนียแกรมของตน จุดบอด ประเด็นปัญหา และหาทางแก้ไข  พูดง่ายๆ คือ ใช้กับตัวเองอย่างลึกซึ้งให้เป็นแบบอย่างก่อน  เพื่อเข้าถึงแก่นของเรื่องนี้ได้อย่างแท้จริง

ผมเองก็เป็นวิทยากรเรื่องนี้ แต่ใช้กระบวนการที่ต่างออกไปจากทุกกลุ่ม คือ ใช้ training activity ที่ออกแบบมาเพื่อให้ซึมซับเนื้อหาเอ็นเนียแกรมตามหัวข้อที่ต้องการ เช่น การสื่อสาร การจัดการความขัดแย้ง การให้ฟีดแบ็ค การสร้างทีม ความเป็นผู้นำ ฯลฯ

กิจกรรมเหล่านี้มีองค์ประกอบตามหลักการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ คือ มีทั้ง cognitive, emotional และ experiential  component 

 ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจความหมายถูกต้องและตอบตรงคำถามหรือไม่   ถ้าเข้าใจผิด ขอรบกวนช่วยอธิบายอีกทีครับ



ความเห็น (6)

ครับ  มีน้อยคนมากที่เข้าอบรมเอ็นเนียแกรมแล้วจะปฏิเสธถึงคุณประโยชน์ของความรู้นี้  

ไม่แน่ใจว่า คำว่า ผู้จัดกระบวนการกลุ่ม หรือ กระบวนการเอ็นเนียแกรม มีความหมายเหมือนกับ วิทยากร หรือผู้ฝึกอบรมหรือไม่ครับ

ถ้าใช่ ก็ขอตอบว่า เรามีเหมือนกันตามแนวทางแบบที่ผสมผสานของเฮเลนออกมาเป็นเหมือนอย่างที่คุณสุรเชษฐได้สัมผัสจากการฝึกอบรมของทางมูลนิธิโกมลคีมทองครับ

ทุกวันนี้ก็มีการฝึกอบรมที่จะเป็นวิทยากรในแนวนี้เหมือนกัน แต่เป็นแบบไม่เป็นทางการนัก อาศัยช่วยๆ กันไป  กลุ่มศึกษาเอ็นเนียแกรมแทบทั้งหมดในไทยก็เป็นแนวทางนี้ ทุกคนรู้จักกัน ก็ต้องพูดคุยและสอบถามกันไป

อย่างหนึ่งคือ ผู้เป็นวิทยากรในเรื่องนี้ต้องศึกษาตัวเองและทำตัวเป็นโมเดลก่อน จึงต้องค่อนข้างใช้เวลา  ผมคิดว่านี่เป็นความรู้เพียงไม่กี่อย่างที่วิทยากรจะต้องสลัดความเป็นตัวตนของตัวเองออกไปก่อน (ถ้ายิ่งยิ่งใหญ่ ก็ยิ่งสลัดยาก)  จะต้องยอมรับ มองเห็นตัวตนตามเอ็นเนียแกรมของตน จุดบอด ประเด็นปัญหา และหาทางแก้ไข  พูดง่ายๆ คือ ใช้กับตัวเองอย่างลึกซึ้งให้เป็นแบบอย่างก่อน  เพื่อเข้าถึงแก่นของเรื่องนี้ได้อย่างแท้จริง

ผมเองก็เป็นวิทยากรเรื่องนี้ แต่ใช้กระบวนการที่ต่างออกไปจากทุกกลุ่ม คือ ใช้ training activity ที่ออกแบบมาเพื่อให้ซึมซับเนื้อหาเอ็นเนียแกรมตามหัวข้อที่ต้องการ เช่น การสื่อสาร การจัดการความขัดแย้ง การให้ฟีดแบ็ค การสร้างทีม ความเป็นผู้นำ ฯลฯ

กิจกรรมเหล่านี้มีองค์ประกอบตามหลักการฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพ คือ มีทั้ง cognitive, emotional และ experiential  component 

 ไม่แน่ใจว่าผมเข้าใจความหมายถูกต้องและตอบตรงคำถามหรือไม่   ถ้าเข้าใจผิด ขอรบกวนช่วยอธิบายอีกทีครับ

 

เข้าใจถูกแล้วครับ โดยทั่วไปก็เป็นความหมายเดียวกับคำว่า วิทยากร นั่นแหละครับ แต่ผมมักเลี่ยงคำว่า วิทยากร เพราะผมจะติดภาพของคนที่มาบรรยาย พอคิดถึงการเรียนรู้ที่ต้องผ่านการปฏิบัติ โดยมีกิจกรรม หรือต้องไปทำจริงๆ กับชีวิต ผมอยากใช้คำว่า ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้มากกว่า

ส่วนที่เรียกว่าผู้จัดกระบวนการกลุ่ม ก็เพราะ ภาพของแต่ละคนจะถูกฉายออกมาเมื่อเรามีปฏิสัมพันธ์ต่อกันกับคนอื่นๆ ไม่ว่าจะในเกมหรืองานที่ทำร่วมกัน

ที่อ่านคำตอบคุณ epicure ก็พอจับความได้ว่า

ในเมืองไทยไม่มีการฝึกวิทยากร/ผู้จัดกระบวนการอย่างเป็นทางการ แล้วในต่างประเทศมีไหมครับ?

คนที่จะทำหน้าเป็นวิทยากรเอ็นเนียแกรมจะต้อง หนึ่ง มีความรู้ในเนื้อหาสาระ และผ่านการพัฒนาตนเอง โดยเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติด้วยตนเองมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรด้วย สอง มีวิธีการในการจัดกระบวนการ (รวมทั้งกิจกรรม)

ผมเข้าใจถูกไหมครับ?

เข้าใจถูกครับ 

ในต่างประเทศมีหลายเจ้าอยู่ครับ

แต่ก็แตกต่างกันไป เช่น อย่างโปรแกรม EPTP (Enneagram Professional Training Program) ของเฮเลนที่ใช้กันเป็นหลักในไทย ก็มี  แต่จะเน้นกระบวนการ typing interview และ panel intereview  อย่างที่เราเห็นทำกันในเมืองไทย

 ที่จะเป็นโปรแกรมฝึกเทรนเนอร์โดยตรง ก็มีของด๊อกเตอร์จินเจอร์ คนที่เขียนปั้นคนให้เก่งคน

ผมเองผ่านทั้งสองกระบวนการนี้มา และก็คิดว่า ในวันข้างหน้า มีความต้องการฝึกอบรมในด้านนี้มากพอ ก็อาจเปิด train-the-trainer ตามแนวทางของด๊อกเตอร์จินเจอร์  ถ้าอาจารย์สนใจก็ลองคุยกันได้ครับ ผมมองว่า ภายในสองปีนี้ เอ็นเนียแกรมจะเป็นที่รับรู้ในฐานะเครื่องมือพัฒนาบุคลากรมากขึ้น  ความต้องการวิทยากรหรือ facilitator ด้านนี้จะมีมากตามมา

ความรู้ในเนื้อหาสาระก็สำคัญมาก เพราะอย่างที่อาจารย์เห็น เอ็นเนียแกรมมีความลึกซึ้ง มีเนื้อหาที่ครอบคลุมคนแบบต่างๆ ต้องเข้าใจถึงสิ่งที่เป็น drive ของ superficial behavior ที่เห็น มันเป็น volume ที่ค่อนข้างมาก

แต่ถ้าเราค่อยๆ สะสม สังเกต มีปฏิสัมพันธ์กับคนแต่ละลักษณ์ ก็จะได้ความรู้นี้มาโดยตรงควบคู่ไปกับการศึกษาจากหนังสือหลายๆเล่ม

 

ขอบคุณมากครับ

  • ถ้ามีอบรม Trainer เมื่อไร โปรดบอกผมด้วยนะครับ
  • ผมมีวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและงาน ๒ ในโครงการมหาวิทยาลัยชีวิต อันเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างมูลนิธิสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๑๐ กว่าแห่ง มีนักศึกษาในหลักสูตรนี้ที่ต้องลงเรียนวิชานี้ประมาณ ๓,๕๐๐ คน ในภาคการศึกษาที่ ๒/๒๕๕๐ (เริ่มเลย พ.ย. หรือต้น ธ.ค.๕๐)
  • วิชานี้เป็นวิชาต่อเนื่องจากวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและงาน ๑ (สปช.๑) ที่เน้นการพัฒนาชีวิตด้านกายภาพ เช่น สุขภาพ เศรษฐกิจครอบครัว การลด-ละ-เลิก อบายมุขต่างๆ ใน สปช.๒ จะเน้นเรื่องการเข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ และกำลังมองหาเครื่องมือหลายๆ ตัว นอกจากเอ็นเนียแกรมแล้วก็มี Voice Dialoque เป็นต้น (ดูในบล็อก "คันฉ่องนกไฟ" ของคุณหมอ Phoenix)

(ต่อครับ)

ปัญหาก็คือจะต้อง train อาจารย์ทั้งสิบว่ามหาวิทยาวิทยาลัยที่จะต้องไปจัดกิจกรรมในวิชา สปช.๒ ที่มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษา "รู้จักตัวเอง" และ "พัฒนาตัวเอง" ซึ่งคงใช้อาจารย์ที่สอนจิตวิทยาอยู่แล้ว แต่อาจารย์จิตวิทยาจำนวนมากก็ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับเอ็นเนียแกรมมาก่อน หากเลือกใช้เอ็นเนียแรกมเป็นเครื่องมือหลัก คุณ epicure มีคำแนะนำอะไรไหมครับ?

ไม่ทราบว่าคุณ epicure คือคุณวาจาสิทธิ์ ลอเสรีวาณิช ที่ผมพบในงานสัปดาห์หนังสือปีที่แล้ว และผมแนะนำตัวว่าเคยร่วมงานกับคุณขุนทอง ลอเสรีวาณิช หรือเปล่าครับ วันนั้นคุณวาจาสิทธิ์ เซ็นชื่อในหนังสือเอ็นเนียแกรมที่ผมซื้อในงานนั้น(ที่บูธมูลนิธิโกมลฯ)ทุกเล่มเลย

ไว้มี จะแจ้งให้ทราบครับ

แต่ต้องดูพื้นฐานคนที่จะเป็น trainer ด้วย ซึ่งก็อย่างที่เรียน ควรรู้จักเอ็นเนียแกรมและใช้กับตัวเองมาก่อนอย่างน้อยสัก หนึ่งปี  ไม่ใช่ไม่เคยรู้จักหรือไม่ได้ใช้กับตัวเองเลยแล้วมาสมัครเป็นเทรนเนอร์เรื่องนี้

 อันนี้ก็เป็นคำแนะนำกว้างๆ เวลาผมทำเวิร์คชอพแล้วมีคนสนใจอยากเป็นวิทยากร

ผมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากๆ จนถึงปัจจุบันที่เอ็นเนียแกรมเผยแพร่ในไทยได้ สิบ ปี คุณภาพของผู้สอนส่วนใหญ่ในปัจจุบัน (ที่ศึกษาอบรมมากับท่านสันติกโร) ก็นับว่าดีทีเดียว  ผมก็อยากจะรักษาจุดนี้ไปนานๆ 

อย่างที่บอก คนที่มาสัมผัสกับเรื่องนี้ก็จะรัก และไม่อยากให้ภูมิปัญญาดีๆ นี้ต้องมัวหมองไปด้วยประการใดๆ

ด้วยกรอบที่ตั้งไว้ดังกล่าว  ผมคิดว่า เราไม่ควรตั้งเป้าว่าจะเทรนอาจารย์เพื่อไปสอนนักศึกษา

แต่เทรนอาจารย์ให้รู้จักตัวเอง พัฒนาตัวเองให้ได้ก่อน ถ้าอาจารย์จะไปสอนใคร อาจารย์ต้องทำให้เห็นจริงว่า มันใช้ได้ผลกับตัวอาจารย์ด้วย  กับเรื่องนี้ เราต้องเชื่อในสิ่งที่เราสอน สำคัญมาก (ตรงนี้เองที่ผมคิดว่า คนที่อีโกสูง จะลำบากกว่าคนทั่วไป)

หลังจากนั้นถ้าชอบ เห็นประโยชน์ และใช้กับตัวเองได้จริง จึงค่อยมาถ่ายทอดกับนักศึกษา ซึ่งกระบวนการง่ายกว่าเยอะ   ระหว่างกรอบเวลาหนึ่งปีนี้ ก็ศึกษา อ่านหนังสือ ใช้จริง เข้าอบรมเพิ่มเติม

ถ้าเป็นไปได้ ผมอยากให้คนที่จะเป็นเทรนเนอร์ด้านนี้ ได้ผ่านคอร์สนพลักษณ์กับการปฏิบัติธรรม กับท่านสันติกโรก่อนด้วย  ท่านกลับมาเมืองไทยปีละครั้งราวปลายปี แต่จะเข้าคอร์สนี้ได้ ก็ต้องผ่านอบรมขั้นต้นและพัฒนาตนเองมาก่อน

เงื่อนเวลาและกระบวนการนี้ ผมคิดว่า สำคัญกว่าพื้นฐานอาชีพหรือการศึกษาของคนที่เป็นวิทยากรเรื่องนี้  ไม่จำเป็นต้องจบจิตวิทยามา แต่ควรต้อง mentally healthy พอสมควร

โดยสรุป ผมคิดว่าอย่าเพิ่งไปตั้งเป้าว่าจะสอนนักศึกษาในปีนี้เลย  แต่สอนตัวผู้ที่ตั้งใจจะไปถ่ายทอดเองและปฏิบัติกับตัวเองก่อน

อ๋อ จำได้แล้วครับ ถูกแล้วครับผมเอง

ถ้ารู้จักกันแล้ว ก็ฝากแนะนำหลักสูตรพัฒนาผู้นำด้วยเอ็นเนียแกรมของผมเลยละกัน เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่หน้า public event ใน www.enneagram.co.th  17-18 เดือนหน้านี้แล้ว 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท