ศาสนาประจำชาติ ประจำใจดีกว่า


นมัสการพระคุณเจ้าครับ   ในเวลาปัจจุบันที่มีข้อขัดแย้งกันเรื่องการบรรจุข้อความศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ   ผมไม่เห็นด้วยเลยครับ  ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ให้ความอิสระและการรู้  เข้าถึง  ศึกษาได้ด้วยตัวเอง  และไม่ได้มีผลอะไรเลยกับสิ่งโลเลประเภทหนึ่งในทางปกครอง รัฐธรรมนูญยิ่งแล้วใหญ่  ล้วนไม่มีอยู่จริงในทางธรรม ทั้งนั้น  สิ่งที่มีอยู่จริงก็คือความว่าง ความจริงที่มีอยู่แล้วในโลกนี้ในจักรวาลนี้ ผู้คนล้วนมีสิทธิ์เข้าถึงความจริงของโลกได้อยู่แล้ว  โดยไม่เกี่ยวกับตัวอักษร หรือกฎระเบียบใด ๆ ทั้งสิ้น

ผมศึกษาพุทธศาสนาครับ ไม่ใช่แค่นับถือ และศึกษาตัวเองโดยมีแนวทางที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ 

ผมขอร้องให้ท่านช่วยบอกเตือนผู้คนและพระสงฆ์ที่หลงคิดอยู่ เลิกเถอะครับการเรียกร้องทางโลกมายาที่ไม่มีวันมีจริง  โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญในประเทศไทยที่ล้มเลิกและล้มเหลวอยู่ตลอดเวลา พุทธศาสนาไม่ใช่สิ่งที่จะไปล้มเลิกล้มเหลวเหมือนรัฐธรรมนูญ



ความเห็น (31)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

BM.chaiwut
เขียนเมื่อ

mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง ......

โดยส่วนตัว เห็นด้วยกับคุณโยม...

แต่ประเด็นนี้ อยู่เกินวิสัยของอาตมา....

อีกประการหนึ่ง... สถานการณ์ปัจจุบันมีความซับซ้อนซ่อนเงื่อน......

เจริญพร.

 



ความเห็น (36)
สุมิตรชัย คำเขาแดง

นมัสการพระคุณเจ้าครับ   ถึงอย่างไรก็ขอขอบคุณท่านพระอาจารย์ที่เมตตาตอบคำถามผม

ผมเองก็เข้าใจว่า มันซับซ้อนเกินกว่าหลายท่านจะเข้าใจ  รวมทั้งผมเองด้วย  และมันก็สะท้อนความบ้าคลั่งของนักคลั่งศาสนา หรืออาจจะเป็นช่วงเวลาที่ศาสนาพุทธเองก็กำลังถึงยุคการเปลี่ยนแปลงตามอย่างพุทธทำนาย ว่าหลัง สองพันห้าร้อยปี ไฟปลัยกัลป์จะเผาผลาญโลก จากนั้นพุทธศาสนาจะเข้าสู่ยุคพระศรีอารย์

ยุคแห่งศรีอาริย    ยุคแห่งอารยบุคคล  อารยธรรมใหม่

Neo Land     Never Land 

ไม่มีรูป
สุมิตรชัย คำเขาแดง

พุทธทำนาย ?

พุทธทำนาย ?

พุทธทำนาย ?

อาตมาไม่เคยเจอ... มีแต่อ้างกันมาเลือนรอย

หรือตามที่เคยเจอมาบ้างก็ในคัมภีร์สารัตถทีปนี ซึ่งเป็นคัมภีร์ระดับฎีกาของพระวินัยปิฏก เป็นต้น...

แต่ก็ไม่ได้เขียนไว้ตามที่คุณโยมว่า...ดังนั้น

อย่ามั่ว....

ย่ำอีกครั้ง อย่ามั่ว....

ถ้าคุณโยมว่าไม่มั่ว ก็ไปอ้างพระไตรปิฏกมาว่าอยู่เล่มไหน หน้าไหน...

ถ้าภาษาที่ใช้ไม่เป็นที่สบอารมณ์ ก็ขออภัยด้วย เพราะ ต้องการให้ความเห็นนี้ กระเทือนต่อความเชื่อของคนทั่วไป..

เจริญพร

ขอบคุณครับ  ด้วยความเคารพและรับผิดชอบ  ผมไม่ได้มีเจตนามั่วเลยแต่ก็ยอมรับในความอ่อนด้อยของการศึกษาทางศาสนา  สิ่งที่ผมรับรู้มาเป็นเพียงการบอกกล่าวต่อกันมาของผู้เฒ่าผู้แก่สมัยก่อนและตำราปรำปราบางเล่ม ซึ่งผมก็ค้นหามาไม่ได้  จำได้ว่าตอนเด็ก ๆ ผมเคยเห็นหนังสือเล่มเก่านี้ ที่ตาทวดเคยอ่านให้ฟัง  มันอาจไม่มีอยู่จริง แต่ด้วยจินตนาการของมนุษย์โลกที่เจือด้วยความกลัวที่เป็นอคติหนึ่ง อาจเป็นที่มาแห่งความเชื่อเช่นกล่าวมานี้  ผมบอกตามตรงว่ายังไม่ได้อ่านพระไตรปิฎกเลยแต่ผมก็จะพยายามศึกษาให้ได้ ในเร็ววัน  ทั้งนี้ไม่ได้หมายมุ่งจะอ้างอะไรเพื่ออะไร  แต่ก็อยากจะศึกษาเรื่องเล่าในความเชื่อของชาวพุทธเช่นกันทั้งในประเทศไทย ลาว ที่มีส่วนร่วมสร้างวัฒนธรรมพุทธ จารีต และสังคมที่สงบสุขอันผ่านมาแล้วในดินแดนอารยธรรมพุทธแลพรห์มนี้  ผมไม่อาจมองข้ามเรื่องเล่าที่เลื่อนลอยได้ครับแต่ผมยืนยันว่าผมจะใช้สติในการตรึกตรองและ รับผิดชอบในการเขียนเพื่อแพร่เผยเรื่องราวเหล่านี้ให้มากขึ้น  ถ้าหากกระผมได้กระทำสิ่งผิดพลาดไปก็ต้องขอโทษที่ได้กระทำดังนั้นออกไป และไม่ได้ทำให้ผมรู้สึกกระทบอารมณ์ใดๆ ครับหลวงพี่มหาสบายใจได้เลย  ยินดีด้วยครับที่ผมจะยืนยันได้ว่า ไม่มีพุทธธรรมนาย และไม่ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฏกด้วย 

           ขอบคุณอีกครั้งครับ  และหลวงพี่คงให้ความเมตตาผมที่จะตอบข้อถามของผมในโอกาสต่อไป

นมัสการพระคุณเจ้า

และสวัสดีคุณสุมิตรชัย  หากมีเวลากรุณาพิจารณาข้อคิดเห็นของผมด้วย  จักขอบคุณยิ่งครับ

กรุณาเข้าไปในบล็อคนะครับ  เครื่องนี้copyมาไม่ได้  ขออภัย

P

อาตมามิได้ยืนยันว่า ไม่มีในพระไตรปิฏก เพราะอาตมาก็ยังอ่านพระไตรปิฏกไม่จบ... เพียงแต่ท้วงติงว่า เป็นการอ้างมาเลือนลอย ซึ่งอาตมาไม่เคยเห็นต้นต่อ (นักบาลีเรียกต้นต่อหรือที่มาว่า อาคตสถาน) เท่านั้น...

เฉพาะที่อาตมาอ้างคัมภีร์สารัตถทีปนี นั้น ลองไปปัดฝุ่นหนังสือมา ก็เจอเรื่องความฝัน ๑๖ อย่าง ซึ่งท่านแต่งเป็นคาถาไว้ว่า..

อุสภา รุกขา คาวิโย ควา จ

อสฺโส กํโส สิคาลี จ กุมโภ

โปกฺขรณี จ อปากจนฺทนํ

ลาวูนิ สีทนฺติ สิลา ปฺลวนฺติ

มณฺฑูกิโย กณฺหสปฺเป คิลนฺติ

กากํ สุวณฺณา ปริวารยนฺติ

ตสาวกา เอฬานํ ภยา หีติ ฯ

มาจาก คัมภีร์ สารัตถทีปนี นาม วินยฏีกา สมนฺตปสาทิกาวณฺณนา (ตติโย ภาโค) ข้อ ๘ หน้า ๙

ซึ่ง เรื่องนี้ จะคัดมาจากคัมภีร์อรรถกถาอีกครั้ง ซึ่งมีผู้อธิบายไว้ คุณโยมสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่

http://www.pantown.com/board.php?id=1714&name=board4&topic=13&action=view

http://www.dhammathai.org/webboard/view.php?No=1879

......

ประเด็นคล้ายๆ กัน คุณโยมลองดูเรื่อง ภิกษุเห็นผี ในข้อโต้แย้งเรื่องความเห็น...

อนึ่ง อาศัยความเห็นของคุณโยมในครั้งนี้... อาตมาจะเขียนเรื่องการตรวจสอบพระธรรมวินัย...

เจริญพร

สุมิตรชัย คำเขาแดง

ขอบคุณพระอาจารย์และ คุณ TAFS ด้วยครับ

ไม่มีรูป
สุมิตรชัย คำเขาแดง
เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า BM.chaiwut P   

ผมเห็นว่ารัฐธรรมนูญควรเขียนว่า "ประเทศไทยไม่มีศาสนาประจำชาติ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศนี้มีสิทธิเสรีภาพที่จะนับถือหรือไม่นับถือศาสนาใดก็ได้"

ผมเป็นห่วงมาก(และขอทำนายว่า)หากรัฐธรรมนูญออกมาโดยมีข้อความว่า "ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ" จะนำความยุ่งยากให้แก่ประเทศนี้ไปอีกเป็นร้อยปี ศาสนิกชนที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธ(หรือที่กำลังกำหนดให้เป็นศาสนาประจำชาติ) จะรู้สึกอย่างไร เป็นพวกนับถือศาสนาชั้นสอง ชั้นสามหรือเปล่า

ถ้าสมมุติ(สมมุตินะครับสมมุติ)ว่า รัฐธรรมนูญออกมาอย่างนั้นจริง เวลาผมต้องกรอกข้อความในใบสมัครหรือแบบสอบใด ผมจะไม่กรอก "พุทธ" ก็ได้ใช่ไหมครับ จะกรอกว่า "ศาสนาประจำชาติ" แทนได้ไหมครับ หรือหากไม่อยากบอกก็จะเขียนว่า "ไม่บอก แต่ไม่ใช่ศาสนาประจำชาติก็แล้วกัน"

สำหรับผมแล้วความเชื่อความศรัทธาที่มีต่ออะไรสักอย่างอยู่สูงกว่าสิ่งที่เรียกว่า "ชาติ" มาก คำว่าชาติที่ว่านี้เป็นคำว่าชาติที่ทั้งหมายถึงประเทศและไม่ได้หมายถึงประเทศ (บาลีแปลว่าอะไรครับ)

ผมเคารพความเห็นของคน ไม่ว่าจะเป็นนักบวชหรือฆราวาสเสมอ ไม่ว่าจะนับถือผี พราหมณ์ พุทธ คริสต์ อิสลาม ยิว หรืออะไรก็แล้วแต่ เพียงแต่ฟังเท่าไรก็ไม่ชัดเจนว่าการเขียนข้อความว่าศาสนานี้ศาสนานั้นเป็นศาสนาประจำชาติลงในรัฐธรรมนูญลงไปแล้วจะเกิดประโยชน์อะไร รวมทั้งไม่ใส่แล้วจะเสียประโยชน์อันใด ที่คิดออกต้อนนี้มีเหตุผลเดียวคือ คนส่วนใหญ่นับถือพุทธ แล้วถ้าประเทศที่คนนับถือศาสนาหลายๆ ศาสนาล่ะ และใกล้เคียงกันด้วย เช่น 40:30:30 อย่างนี้ควรเขียนหรือไม่ และเขียนว่าอย่างไร?????

นมัสการพระคุณเจ้า

อยากจะเชิญชวน

คุณพี่สุรเชษฐ

ไปแสดงความเห็นแบ่งปันในบล็อคที่ผมแสดงทัศนะศาสนาประจำชาติไว้ด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ

P
อาจารย์ นาย สุรเชษฐ เวชชพิทักษ์ เข้ามาเจอคงจะเข้าไปเยี่ยมตามคำเชิญ...
เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

ผมเข้าไปเยี่ยมบล็อกของคุณ TAFS มาแล้วครับ เขียนความคิดเห็นไว้ด้วยว่า เห็นด้วยที่ไม่ควรเขียนว่าศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ

พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี
ข้าพเจ้าเห็นด้วยกับการเรียกร้องของพระสงฆ์   แต่ไม่เห็นด้วยกับการเข้าไปร่วมกับกลุ่มการเมืองใดกลุ่มการเมืองหนึ่ง
......พระสงฆ์เรียกร้องทางการปกครอง(แต่มิใช่ทางการเมือง) ได้ แต่ต้องไม่ฝักไผ่เข้าข้างใดข้างหนึ่ง ควรตั้งอยู่ในฐานะครูบาอาจารย์ของบ้านเมือง..ที่เห็นว่าอะไรควรทำที่สุดในสถานการณ์เช่นนี้..
……ควรทำเหมือนกับพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ออกมาคลื่นไหวเรียกร้องขอชีวิตให้กับแม่ทัพนายกอง ที่จะต้องถูกประหารชีวิต ...ทำให้พระนเรศวรยังเหลือแม่ทัพนายกองไว้ป้องกันประเทศต่อไปได้...

……..แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง ก็ยังเคยเสด็จไปห้ามกองทัพของพระเจ้าวิฑูฑภะถึง ๒ ครั้ง ๒คราว
.........กษัตริย์ ๒ เมืองทะเลาะแย่งน้ำกัน จนประจันหน้ากันแล้ว ..พร้อมที่จะทำสงครามแย่งน้ำกันโดยฉับพลัน ..พระองค์จึงเสด็จไปในระหว่างกองทัพทั้ง ๒ ฝ่าย แล้วทรงเตือนให้สติ ว่า เลือดมีค่ามากกว่าน้ำ
 

 

ขอแสดงความคิดเห็นเรื่องศาสนาประจำชาติ
ข้าพเจ้าเคยได้ยินหลักสูตรภาษาไทยของพี่น้องมุสลิมในจังหวัดภายได้ เขาเริ่มสอนว่า " กอ ไก่ พระเจ้าสร้างมา" แทนที่จะสอนว่า กอ เอ๋ย กอ ไก่ นั่นแสดงว่าเป็นเรื่องดีที่เขาสนใจปลูกฝังหลักศาสนาให้แก่ลูกหลานตั้งแต่เยาว์วัย โดยที่พ่อ-แม่ ครูบาอาจารย์เป็นผู้สอนเอง ไม่ต้องรอให้นักการศาสนามาสอน  แต่พอหันมาดูพี่น้องชาวพุทธด้วยกัน จะมีสักกี่คนที่เคยสอนศาสนาให้กับลูกหลานด้วยตนเอง  เพราะแม้แต่พ่อ-แม่เองก็ทำตัวเหินห่างจากศาสนามาโดยตลอด

ขอถามหน่อยนะครับ
1. ท่านคิดว่า พุทธศาสนิกชนทั่วโลก ในปัจจุบันนี้มีมากขึ้นหรือน้อยลงครับ? ลองเข้าไป

ที่นี่ดู http://www.newmana.com/yabb/index.php?board=1.0 และ http://www.muslimthai.com/forum/index.php?board=9.0 ก็จะทราบว่าเยาวชนของเราเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหน ที่กล่าวกันว่า ประเทศไทยมีประชากรนับถือศาสนาพุทธ กว่า 90 % คงไม่เป็นความจริงอีกต่อไปแล้ว

2. เป็นคำถามเชิงเปรียบเทียบนะครับ
เด็กเล็กๆที่ป่วย ไม่ยอมรับประทานยาขม แต่เพราะกลัวคำสั่งของพ่อ-แม่จึงยอมทานยา สุดท้ายท่านคิดว่าเขาจะหายป่วยมั๊ยครับ..   การบัญญัติพุทธศาสนาก็เช่นกัน  เมื่อบัญญัติแล้ว ก็จะสามารถออกกฎหมายมาบังคับไม่ให้มีการฆ่าสัตว์และดื่มสุราในวันพระ   นักเรียนนักศึกษาต้องปฏิบัติธรรมเจริญวิปัสสนาภาวนา ปีละ 10 วัน เป็นต้นได้...
(...ศาสนาอิสลามห้ามดื่มสุรา และเล่นการพนันโดยเด็ดขาด..)

3. เมื่อก่อนนี้   ข้าพเจ้าไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไหร่กับการให้บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ   แต่เนื่องด้วย ขณะนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่ทำตัวห่างเหินจากศาสนาที่พ่อแม่นับถือมากขึ้นทุกวัน   พ่อ-แม่ก็ไม่สามารถชักจูงลูกหลานให้เข้าหาศาสนาได้ เพราะตนเองก็เคยถูกคนรุ่นปู่-ย่า ละเลยในเรื่องนี้เช่นกัน   เมื่อความจริงเป็นเช่นนี้ อีก ๕๐ ปีข้างหน้าพระพุทธศาสนาจะเป็นเช่นไรละครับ   มันน่าจะถึงเวลาแล้วนะครับ ก่อนที่จะปล่อยให้ศาสนิกของศาสนาอื่นมีมากขึ้นกว่านี้  จนแก้ไขอะไรไม่ทัน ..

...ศาสนาอิสลามไม่เหมือนศาสนาอื่นนะครับ   อย่าได้หวังว่า เมื่อเขาขึ้นเป็นใหญ่แล้วเราจะขอร้องอะไรเขาได้ ประเทศอินโดเนเซีย มาเลเซีย เคยเป็นประเทศพุทธศาสนา 100 % มาก่อน แต่เดี่ยวนี้ ชาวพุทธจะขอเช่าสถานีวิทยุออกอากาศรายการธรรมสอนชาวพุทธด้วยกันก็ยังไม่ได้เลยครับ.. ประเทศมุสลิมแถบอาหรับจะเอาเทปธรรมเข้าประเทศเขาก็ยังไม่ได้เลยนะครับ...
...จะทำกันประการใด  ก็โปรดพิจารณากันให้ถี่ถ้วน   ส่วนตัวข้าพเจ้าเองอีกไม่เกิน 50 ปี ก็คงไม่อยู่แล้ว ลูกหลานก็ไม่มี จึงไม่เดือนร้อนในประเด็นนี้เท่าไหร่นัก แต่พวกท่านทั้งหลายยังมีลูกหลานสืบสกุลกันอยู่มิใช่หรือ

... ขอให้เป็นชะตากรรมของสัตว์ก็แล้วกัน     ถ้าจะให้อาตมาไปร่วมประท้วงด้วย..คงจะไม่ไป?

 ประเด็นหลักประเด็นที่แท้จริงในเรื่องนี้ ก็คือ สถานการณ์ที่เป็นไปในปัจจุบันนี้ จะต้องมีกฎเกณฑ์ หรือมาตรการข้อบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งมาแก้ไขโดยด่วน ได้แก่
1. จะต้องมีกฎหมายที่แน่นอน ที่จะมาบีบบังคับให้ผู้ที่ประพฤติเสื่อมเสียออกไปเสียจากศาสนาให้เร็วที่สุด และมากที่สุด เท่าที่จะทำได้
2. จะต้องมีกฎข้อบังคับให้ชาวพุทธทุกคนต้องปฏิบัติวิปัสสนาอย่างน้อย ๑๐ วัน ในชาตินี้ หลังจากนั้นทุก ๆ อย่างก็จะเข้าสู่ระบบของมันเอง
เมื่อถึงตรงนี้ ขอถามว่า จะมีสิ่งใดที่จะช่วยผลักดันให้สองข้อข้างต้นเป็นไปได้จริง ยิ่งไปกว่ากันบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือท่านมีข้อคิดเห็นที่เป็นไปได้ และน่าสนใจยิ่งไปกว่านี้..?

ศาสนาพุทธ มีจุดอ่อนตรงที่ให้อิสรเสรีแก่ทุกๆคนที่จะปฏิบัติตาม  แต่ในเมื่อพวกเราซึ่งเป็นผู้ใหญ่รู้แจ้งแก่ใจว่า หากใครปฏิบัติตามคำสอนของพุทธศาสนาจะต้องได้ดีทุกคน  แล้วพวกเราจะมัวมาลังเลอะไรกัน กับการช่วยกันออกกฎข้อบังคับ เพื่อบีบบังคับให้ลูกหลานได้ปฏิบัติตาม

ขอถามย้ำอีกครั้งว่า ในสถานการณ์ที่สื่อโหมโฆษณาชวนชื่อดึงจิตคนรุ่นใหม่ให้ห่างไกลศาสนาออกไปทุกนาที ทุกชั่วโมง และยั่วยุ-เย้ายวนจิตใจให้พระหนุ่ม เณรน้อยมีพฤติกรรมที่เสื่อมเสีย มากขึ้น ๆๆ อย่างที่เป็นอยู่นี้    จะมีวิธีการใดที่เป็นไปได้จริงมิใช่แค่บ่น ที่จะทำให้พระไม่ดีออกไปจากศาสนา และส่งเสริมให้ชาวพุทธทุกคนได้ลิ้มรสชาติแห่งพระสัทธรรมอย่างน้อย ๑๐ วันในชาตินี้ ได้ดีและเป็นไปได้จริงยิ่งไปกว่าการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และออกกฎหมายลูกมาบีบบังคับ

ถ้าหากมีวิธีการอื่นที่ทำได้ และเป็นไปได้จริงด้วยนะ ก็โปรดนำมาเสนอด้วย

.. ที่ว่าประเทศภูฐาน ไม่ได้บัญญัติในรัฐธรรมนูญนั้น   ก็เพราะเขายังไม่มีสิ่งยั่วยุมากมายเหมือนบ้านเรา คนในชาติและพระสงฆ์ยังยึดมั่นในศาสนากันดีอยู่  
...ที่ว่า ถึงบัญญัติไว้ก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรได้   แต่ที่เกิดขึ้นจริงคืออะไร ปัจจุบันนี้มิได้บัญญัติไว้มิใช่หรือ จึงไม่สามารถออกกฎหมายลูกมาบีบบังคับพระสงฆ์และข้าราชารได้ สิ่งเลวร้ายต่างๆจึงเกิดขึ้นทั้งแก่พระศาสนาและสังคม จนแทบจะหาทางแก้ไม่ได้แล้ว   รัฐธรรมนูญฉบับนี้ อาจจะเป็นรถด่วนขบวนสุดท้าย ที่จะมาช่วยให้พุทธศาสนาอยู่รอดในสังคมไทยก็ได้นะ..โปรดพิจารณาดู
..สิ่งที่ต้องการจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ การออกกฎหมายลูกมาบีบบังคับพระอลัชชีและข้าราชการในเรื่องเกี่ยวกับศาสนาโดยเฉพาะ   ..ท่านก็รู้ดีนี่หน่า ว่า..แค่พระธรรมวินัยเอาแทบไม่อยู่แล้ว  
 ปฏิบัติวิปัสสนาปีละ ๑๐ วันที่อาตมากล้าพูดเรื่องวิปัสสนา ๑๐ วันนั้น เนื่องจาก เมื่อ ๗ เดือนที่ผ่านมา อาตมาได้ไปปฏิบัติวิปัสสนา ๗ เดือนเต็ม  เป็นการปฏิบัติแบบวิปัสสนาล้วน ๆ ซึ่งถูกต้องตามหลักคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถาและฎีกาทุกประการจึงกล้าที่จะยืนยันว่า หากใครปฏิบัติด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ผ่าน ๑๐ วันแรกของชีวิตไปได้ หลังจากนั้นเขาจะปฏิบัติต่อเองโดยไม่ต้องบังคับ  แต่มีเงือนไขว่า ต้องเป็นการปฏิบัติแบบวิปัสสนาล้วน ๆ นะครับ จึงจะได้ผลเช่นนี้  แต่ถ้าปฏิบ้ติแบบปุพพังคมนัย ก็จะได้ผลเช่นกัน แต่ต้องใช้เวลานากว่านี้มาก แค่ ๑๐ วันยังไม่ได้อะไรเลย   การปฏิบัติทั้ง ๒ แบบนี้มีข้อแต่ต่างดังนี้
.. วิปัสสนาล้วน(สุทธวิปัสนา) ทำให้กิเลสลดและเข้าใจชีวิตมากขึ้นเท่านั้น แต่สมาธิไม่ดิ่งลึกมาก
..ปุพพังคมนัย(สมถนำหน้า) ช่วงแรกจะฟุ้งซ่านมาก แต่พอผ่านไปสมาธิจะดิ่งลึกมาก สุขสงบมากเกินไป ช่วงแรกๆ ยิ่งปฏิบัติยิ่งยึดติด จนบางคนหลงไปเลยก็มี  

...ที่อาตมาสามารถปฏิบัติวิปัสสนาติดต่อกัน ๗ เดือนเต็มได้ ก็เนื่องมาจาก ตอนเรียนปริญญาตรี ถูกมหาวิทยาลัยบังคับให้ปฏิบัติ ปีละ ๑๐ วันนี้แหละ



 

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย... ในมุมมองมุสลิม(คนหนึ่ง)
http://www.oknation.net/blog/unussorn/2007...7/04/18/entry-1


ทีแรกผมเฉยๆ กับประเด็นนี้ ไม่ได้ติดตามเพราะไม่เห็นว่ามันสำคัญ แต่เมื่อไม่นานมานี้ผมได้อ่านคอลัมน์หนึ่งในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ดร.ธีรวิทย์ ภิญโญณัฐกานต์ อดีตที่ปรึกษาประธานกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ผู้เขียนคอลัม์นี้ ท่านเห็นด้วยกับการบัญญัติให้ระบุคำว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติลงในรัฐธรรมนูญ

ด้วยเหตุผลที่ว่า ในประเทศมุสลิมหลายประเทศ ยังระบุเลยว่า อิสลามเป็นศาสนาประจำชาติแล้วทำไมพุทธศาสนิกชนถึงไม่กล้าระบุเช่นนั้นบ้าง ท่านยกตัวอย่างรัฐธรรมนูญของประเทศมุสลิมประเทศหนึ่ง “Islam is the Religion of the Federation but other religion may be practiced in peace and harmony in any part of the Federation” (อิสลามเป็นศาสนาแห่งสมาพันธรัฐ แต่ศาสนาอื่นได้รับการปฏิบัติโดยสันติและกลมกลืน ในส่วนใดของสมาพันธรัฐก็ได้) และประเทศมุสลิมอื่นๆ อีกหลายประเทศที่ระบุเนื้อหาทำนองนี้ลงในรัฐธรรมนูญของตน

อ่านจบแล้วผมก็เออ... จริงด้วยประเทศที่มีมุสลิมเป็นประชากรส่วนมากเขายังทำกันเลย แล้วทำไมประเทศไทยที่มีพุทธศาสนิกชนมากถึง 90% จะทำแบบนั้นไม่ได้

ผมเห็นด้วยกับเขาครับ ซึ่งตรงนี้ขอออกตัวก่อนว่าอาจจะเป็นความเห็นที่ต่างจากมุสลิมท่านอื่น แต่ผมรู้สึกแบบนั้นจริงๆ เพราะผมเห็นข้อดีของการยืดอกประกาศตัวแบบนี้ ความภูมิใจในความเป็นอัตลักษณ์ของตัวเองท่ามกลางความเน่าเฟะของลัทธิบริโภคนิยมถือว่าเป็นเจตนารมณ์ที่น่ายกย่อง

หากประเทศไทยของผมหาญกล้าที่จะประกาศให้รู้ว่า บ้านนี้เมืองนี้มีพุทธศาสนิกชนเป็นสมาชิกส่วนมาก เพราะฉะนั้นอบายมุขต่างๆ อย่าได้หวังเข้าครอบงำประเทศนี้ ในศีล 5 ข้อที่เป็นชุดศีลเบื้องต้น ศาสนาพุทธห้ามดื่มสุรา สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี สิกฺขาปะทัง สมาทิยามิ ประเทศที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติจะไม่มีสุราจำหน่ายโดยถูกกฎหมาย ไม่มีผับไม่มีบาร์ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ต่อต้านการพนัน ประเทศนี้จะไม่มีกฎหมายใดๆ รองรับการพนันในทุกประการ, จะออกกฎหมายปราบปรามการค้าประเวณีอย่างถึงที่สุด

ถ้าประเทศไทยของผมมีรัฐธรรมนูญที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติเป็นรูปธรรมชัดเจน แล้วนำคุณธรรมทางพุทธศาสนามาแปรรูปเป็นกฎหมายจรรโลงสังคม เหมือนหลายประเทศในตะวันออกกลาง ผมว่าประเทศไทย(ในความเห็นของผม) คงจะน่าอยู่กว่าปัจจุบัน ที่กฎหมายถูกผลิตขึ้นจาก กิเลสของสังคม ไม่ได้เกิดขึ้นจาก ศีลธรรมอย่างที่ควรจะเป็น

แต่ถ้าแนวคิดการระบุศาสนาประจำชาติ เกิดจากการยึดมั่นถือมั่นในสถาบันของตน หรือเกิดขึ้นเพื่อสนองความสะใจตน, เอาชนะคะคานกันและกันโดยที่ไม่มีผลทางการปรับปรุงสังคม ผมถือว่ามันไร้สาระ ไม่ควรค่ากับการเสียเวลาทุ่มเถียง มันเป็นการเชิดชูศาสนาด้วยตัวอักษร หาใช่การเชิดชูศาสนาด้วยแก่นของศาสนาแต่อย่างใด
 กระผมแม้จะนับถือศาสนาอื่น แต่เห็นด้วยอย่างยิ่งที่สมควรจะบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไทยให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทย เพราะด้วยเหตุผลต่อไปนี้
๑. ศาสนาพุทธได้เข้ามาในแผ่นดินไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย นับเกือบพันปีแล้ว
๒. พระมหากษัตริย์ของไทยทุกพระองค์ทรงเป็นพุทธมามะกะที่เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมแห่งศาสนา
๓. ผู้ที่ปกป้องและรักษาแผ่นดินไทย ผู้ที่ยอมพลีทุกอย่าง
เพื่อชาติ ก็คือชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ
๔.คนไทยเกือบ ๙๕% นับถือศาสนาพุทธ และผมคิดว่าพร้อมที่จะปกป้องศาสนาและความเชื่อถือนี้
๕. ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ประเสริฐไม่เบียดเบียนศาสนาใดๆ ชาวพุทธก็ไม่เคยรุกราน หรือข่มเหงบังคับใครให้นับถือศาสนาของตน ให้สิทธิเสรีภาพแก่ศาสนาอื่นในแผ่นดินแห่งพุทธศาสนานี้อย่างเสมอภาค
ศาสนิกชนศาสนาอื่นๆในประเทศไทยควรจะร่วมใจกันสนับสนุนและร่วมมือกับชาวพุทธในการขอร้องให้บรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไทยในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ อย่างจริงใจและพร้อมเพรียง
ขอขอบพระคุณ - นายสุเทพ สุริยาอมฤทธิ์
http://www5.nesac.go.th/forumReply.php?fId=284  ไฟเขียวพุทธ-ชี้ไม่เป็นชนวนแตกแยก

ประธาน คมช.กล่าวว่า "ขณะนี้เรื่องที่คนสนใจคือ ความเหมาะสมและความจำเป็นในการบัญญัติพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ผมและ คมช.ไม่รู้สึกขัดข้องใดๆ ในการบัญญัติ และโดยประวัติศาสตร์พุทธคู่กับชาติไทยมาโดยตลอด และเป็นบ่อเกิดของศิลปวัฒนธรรม คุณธรรม เป็นของประจำชาติ ฉะนั้น ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติแน่นอน คนที่ปฏิเสธความจริงข้อนี้เท่ากับปฏิเสธประวัติศาสตร์ ส่วนการต้องบัญญัติเรื่องในรัฐธรรมนญหรือไม่ ขอให้ผู้มีความรู้ช่วยกันพิจารณา คมช.ไม่ห่วงเรื่องความมั่นคง เพราะศาสนาไม่ได้เป็นชนวนความแตกแยก ไฟใต้จะดับหรือไม่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ดังนั้น ขอให้ทุกฝ่ายหารือดูรัฐธรรมนูญประเทศต่างๆ ดูผลกระทบทางบวกและลบ หากบัญญัติตอนนี้ยังมีเวลาก็ขอให้หารือด้วยสันติวิธี อาจบัญญัติรับรองไว้ แต่ถ้อยคำจะเป็นอย่างไร ก็ขอให้ช่วยกันคิดในหมู่ผู้รู้"

พล.อ.สนธิกล่าวด้วยว่า คมช.ไม่ได้ครอบงำการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่มีพิมพ์เขียว ไม่มีแบบแปลน "หากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ เรายังไม่ได้เตรียมการไว้ และยังไม่รู้เลยว่า จะหารือกับ ครม.อย่างไร เพื่อหยิบรัฐธรรมนญฉบับใดมาปรับให้เสร็จใน 30 วัน และยังไม่รู้ว่าหน้าตาจะดีเท่านี้หรือไม่" พล.อ.สนธิกล่าว

วันที่ :  28 เมษายน 50 12:22

  

พล.อ.สนธิ ให้สัมภาษณ์ว่า ท่านชื่นชมในสิ่งที่ตนชี้แจงว่าเห็นด้วยกับการที่มีคำว่าพุทธศาสนาในรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ ท่านต้องการให้มีการบรรจุศาสนาพุทธไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะท่านเห็นสังคมไทยควรที่จะมีการปรับปรุง โดยเฉพาะการเป็นคนดีมีคุณธรรมที่ต้องมีการแก้ไข เมื่อมีตรงนี้คิดว่าประเทศชาติจะเจริญได้เร็ว ทั้งนี้ คิดว่าไม่น่าจะมีผลกระทบต่อศาสนาอื่น เพราะคณะกรรมาธิการที่ไปประชุมหารือ ซึ่งมีคนทุกกลุ่มทุกศาสนาหารือแล้วว่าสามารถบัญญัติได้ แต่อาจจะมีข้อความเพิ่มเติมพ่วงท้ายไว้เกี่ยวกับการดูแลรับผิดชอบทุกศาสนา

พล.อ.สนธิ กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกเหมือนการนำข้อมูลที่คณะกรรมการดำเนินการมา เพื่อให้สังคมพิจารณาซึ่งมีทั้งพอใจและไม่พอใจ ส่วนตรงไหนไม่พอใจก็แจงไปยังกรรมาธิการเพื่อให้ศึกษาต่อไม่ได้หมายความว่าร่างแรกนี้ถูกต้องและประกาศใช้ ยังมีอีกหลายครั้ง ซึ่ง คมช. ก็มีการศึกษาในประเด็นต่างๆของรัฐธรรมนูญ โดยให้คณะทำงานไปศึกษาก่อนที่จะกลับมาหารือกันอีกครั้ง เมื่อถามถึงในช่วงเดือนพฤษภาคมจะมีการตัดสินคดียุบพรรคการเมือง ซึ่งมีมวลชนจำนวนมากจะกระทบต่อการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ พล.อ.สนธิ กล่าวว่า  รัฐบาล และ สสร.  และคณะกรรมาธิการยกร่าง คงจะมีแนวทางในการทำความเข้าใจกับองค์กรที่เกี่ยวข้องทั้ง 12 องค์กร ทั้งนี้ หากทุกคนมีความชัดเจนต่อปัญหาทั้งหมด และมีความเข้าใจตรงกันคิดว่าการลงประชามติก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
 
วันที่ 30/4/2007
http://www.naewna.com/news.asp?ID=58057  

 

ไม่มีรูป
พระมหาประเสริฐ มนฺตเสวี

ตยา วุตฺตวจนํ สาธุ โหตุ

อามนฺตา

นมัสการพระคุณเจ้า.....

    ปุจฉา  " รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะอยู่กี่ปีกันเหรอ...

พระธรรมอยู่มากี่ปีแล้วเหรอ.... ?

  วิสัชณา ".............................................

 

          ผมขออนุญาต ร่วมสนทนาธรรมนะครับพระคุณเจ้าทั้งสอง

ประเด็นหลักประเด็นที่แท้จริงในเรื่องนี้ ก็คือ สถานการณ์ที่เป็นไปในปัจจุบันนี้ จะต้องมีกฎเกณฑ์ หรือมาตรการข้อบังคับอย่างใดอย่างหนึ่งมาแก้ไขโดยด่วน ได้แก่
1. จะต้องมีกฎหมายที่แน่นอน ที่จะมาบีบบังคับให้ผู้ที่ประพฤติเสื่อมเสียออกไปเสียจากศาสนาให้เร็วที่สุด และมากที่สุด เท่าที่จะทำได้
2. จะต้องมีกฎข้อบังคับให้ชาวพุทธทุกคนต้องปฏิบัติวิปัสสนาอย่างน้อย ๑๐ วัน ในชาตินี้ หลังจากนั้นทุก ๆ อย่างก็จะเข้าสู่ระบบของมันเอง
เมื่อถึงตรงนี้ ขอถามว่า จะมีสิ่งใดที่จะช่วยผลักดันให้สองข้อข้างต้นเป็นไปได้จริง ยิ่งไปกว่ากันบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือท่านมีข้อคิดเห็นที่เป็นไปได้ และน่าสนใจยิ่งไปกว่านี้..?
           ที่จริงผมได้อ่านถึงความห่วงใยในเรื่องพระพุทธศาสนาและประเทศไทย  ความห่วงใยหนึ่ง เป็นเรื่องของอัตลักษณ์ซึ่งผมก็เห็นด้วยและ นั่นคือประเด็นจริง ๆ ส่วนเรื่องศาสนาพุทธเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ของสังคมไทย

            ผมเห็นด้วยอีกกับการที่ประเทศอิสลาม มีรัฐอิสลามใช้กฎหมายศาสนา  แต่นั่นก็เป็นลักษณ์อัตลักษณ์ของสังคมนั้น ๆ ความเป็นมาและเป็นไปของผู้คนในดินแดนนั้นในภูมิอากาศเช่นนั้น

             ผมเคยเสนอให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นบรรจุมาตราหนึ่งลงในรัฐธรรมนูญแต่ไม่ทราบท่านเหล่านั้นจะได้จดจารไว้หรือไม่   ว่า

             ตอนนี้ประเทศ สังคมของเราเป็นอย่างท่านพระมหาท่านว่ามา  ดังนี้เราสูญเสียความเป็นตัวตนของคนไทยไปแล้ว ผมขอให้บรรจุมาตราว่าด้วย ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี วัฒนธรรม ของชาติลงไปเลย  แล้วสภาวัฒนธรรมก็ต้องมาจากตัวแทนประชาชน ผู้มีการศึกษา มีความรู้ทางวัฒนธรรม ที่รวมเอาทั้งท้องถิ่น เมือง ภูเขา ป่าไม้ ทะเล แม่น้ำ  เหล่าล้วนบ่อเกิดแห่งการเป็นอยู่ของชาติไทย สังคมไทย แน่นอนว่าพุทธศาสนาก็ต้องอยู่ในการบูรณาการของ เจตนารมณ์แห่งมาตรานี้ 

               ผมว่ามองอย่างองค์รวม เราไม่ได้แค่สูญเสียความเป็นพุทธสังคม  เรากำลังเสียทั้งวัฒนธรรมอื่นด้วย จารีตเราก็พัง  ขนบเราก็ลืม ธรรมเนียมเราก็ละเลย เราต้องกู้คืนมาทั้งหมดครับ  ยกตัวอย่างเช่นการเคารพผู้ใหญ่ ที่เราเคยมีเอกลักษณ์ก็กำลังเสียไป  การอยู่ก่อนแต่ง  ก็ทำธรรมเนียมที่ดีเสีย  การรักนวลสงวนตัว  การบวช  ฯลฯ ทุกสิ่งเราต้องยกกระบวนการมารื้อฟื้นกันใหม่ครับไม่เพียงพุทธศาสนา

             อาจารย์จากมหาวิทยาลัยท่านหนึ่งให้ความเห็นไปก่อนผมว่า  มาตราที่ว่าด้วยความเป็นท้องถิ่นของสังคมไทยซึ่งจะทำให้สังคมไทยให้ความสำคัญกับท้องถิ่นชีวิตคนส่วนใหญ่มากขึ้น นี่ก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจและจะน้อมนำมาสู่การเป็นสังคมแห่งอัตลักษณ์ไทยที่ไม่จำเป็นต้องเอาอย่าง รัฐใด ๆ ในโลกนี้

อยากให้มองให้กว้าง คิดให้ไกล  พุทธศาสนาสอนให้คนเดินสายกลาง ไม่คิดหรือทำอะไรสุดโต่ง คิดและทำอะไรด้วยเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ ไม่ยึดติด ว่านี่ของกู นี่ตัวกู ...ใช่ไหม?

คิด และทำด้วยปัญญา  ...ตามหลักไตรสิกขา  ปัญญาจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีสมาธิ  และคนไม่สามารถมีสมาธิได้ถ้าขาดศีล... ใช่ไหม?

ลองมองเรื่องนี้กว้างๆ  ในหลายๆ มิติ  อย่ายึดติด อย่าถือทิฐิ

-= มิติทางด้านศาสนา =-
การกำหนดให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ  จะทำให้พุทธบริษัทดีขึ้นอย่างไร  มากน้อยเพียงใด ในเมื่อคนที่บอกว่านับถือพุทธ ยังเร่าร้อน ดับไม่เป็น เย็นไม่ลง แค่ศีล 5 ข้อ ยังยึดถือกันไม่ได้ อีกทั้งองค์กรศาสนาพุทธเองยังแตกแยกขัดแย้งทางความคิด ต่างนิกายก็ต่างความคิด ...รัฐธรรมนูญจะแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ทุเลาเบาบางลงได้อย่างนั้นหรือ และพุทธศาสนิกชนจะได้รับอานิสงส์อะไร

-= มิติทางกฎหมาย =-
เมื่อระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด ก็จะต้องมีกฎหมายลูกมารองรับ  จะต้องมีข้อกำหนด บทบัญญัติต่าง ๆ  ตามข้อกำหนดปฏิบัติในพุทธศาสนา  เช่นในเรื่องของศีล ต้องบรรจุไว้เป็นข้อบังคับ เป็นกฎหมาย เพราะถ้าไม่มีกฎหมายลูกเช่น พรบ. มารองรับ ก็มองไม่เห็นประโยชน์อันใดที่จะไปใส่ใว้ในรัฐธรรมนูญเช่นนั้น  และดังนั้นถ้าใครทำผิดศีล ก็ต้องถือว่าผิดกฎหมาย  ใครดื่มสุราก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย  รัฐบาลต้องปิดโรงงานสุรา-เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกแห่ง เนื่องจากเป็นแหล่งที่สนับสนุนให้คนทำผิดกฎหมาย  แล้วถ้าใครคิดจะไปออกกฎหมายเพื่อยกเว้น ก็ถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ

-= มิติทางวิถีชีวิต =-
ความเป็นอยู่ของชาวพุทธคงต้องปรับเปลี่ยนไปมาก ...จะรับกันไหวไหม  ใครจะทรงเจ้าเข้าผี ใครจะทำพิธีบวงศรวงเจ้าพ่อ จะไปแก้บนเจ้าแม่ หรือแม้แต่จะตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่  จะผิดกฎหมายไหม เพราะการกระทำเหล่านี้ไม่ใช่การปฏิบัติในศาสนาพุทธ

-= มิติทางการเมืองการปกครอง =-
องค์ประกอบหลัก คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์  คำว่าชาติ ไม่ได้หมายถึงคนที่มีเชี้อชาติไทยเพียงอย่างเดียว  แต่ประกอบไปด้วยต่างเชื้อชาติอย่างหลากหลาย คำว่าศาสนาก็เช่นเดียวกัน ประกอบด้วยศาสนาต่าง ๆ มากมาย
ในสมัยอดิต การสร้างบ้าน-แปงเมือง  ตลอดจนการต่อสู้เพื่อเอาชนะอริราชศัตรู  การกอบกู้บ้านเมือง  ไม่ได้มีมีเพียงชนเชื้อชาติไทยเท่านั้น ไม่ได้มีแต่คนที่นับถือพุทธเท่านั้น  แต่ความสำเร็จเหล่านั้น เกิดจากการผนึกกำลัง ร่วมสามัคคีกันระหว่างคนหลายเชื้อชาติ หลายเผ่าพันธ์ หลายศาสนา ร่วมกันสร้างสรรค์ให้เป็นประเทศไทยมาโดยตลอด
  ...แผ่นดินนี้แต่เดิมชื่อประเทศสยาม  ชื่อเสียงของสยามประเทศเป็นที่รู้จักกันไปทั่ว  ลักษณะสำคัญของสยาม ประกอบด้วยมณฑล หัวเมืองน้อยใหญ่ และรัฐต่างๆ หลากหลายทั้งเชื้อชาติและศาสนา  ต่างยินดี พร้อมใจจะอยู่ภายใต้การปกครองของสยาม อยู่กันอย่างมีความสงบสุข  ...มีรัฐบาลในอดีตสมัยหนึ่ง เคยกระทำความผิดต่อสถาบันชาติเอาไว้อย่างร้ายแรง โดยความคิดชาตินิยมสุดโต่ง  ดันไปเปลี่ยนชื่อจากสยามเป็นประเทศไทย  ข้าราชการฝ่ายปกครองที่ถูกส่งไปจากส่วนกลาง ไปปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ล้วนสุดโต่งในเรื่องชาตินิยม ก็พยายามไปเปลี่ยนความคิดและวิถีชีวิตชาวบ้าน ให้เป็นไปตามความเชื่อ ความคิด และการกระทำตามที่ตัวเองคิด  มันก็เลยเกิดปัญหาขัดแย้ง เกิดความแตกแยกในบ้านเมืองขึ้น  ตัวอย่างที่ชัดเจน และทิ้งปัญหาอันหนักหนาเอาไว้จนถึงปัจจุบันก็ดูจากภาคใต้ของเรา  ใครศึกษาประวัติศาสตร์ คงจะเข้าใจเรื่องนี้ดี
...ไม่อยากให้ความผิดที่ยิ่งใหญ่อย่างนี้เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ด้วยการเอาสถาบันศาสนามาเป็นเครื่องมือในการบ่อนทำลายชาติ ด้วยการเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ว่าพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ

-= มิติทางระบอบประชาธิปไตย =-
การปิดกั้น กีดกันทางความคิด ความเชื่อ และศรัทธาของผู้อื่น  คือ "เผด็จการทางความคิด"  ไม่ใช่แนวคิดประชาธิปไตย  ถ้าเป็นอย่างนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ย่อมจะถูกกล่าวหา และไม่ยอมรับจากนานาประเทศในที่สุด

**********************
เคยมีคำทำนายเอาไว้ว่า  ปีศาจ มารร้าย จะมีฤทธิ์เดชมากขึ้น กระทั่งแปลงร่างเป็นเทวดา แปลงร่างเป็นพระ ทำให้ผู้คนหลงเชื่อ เมื่อครานั้น หมู่มวลมนุษย์ จะถึงกาลวิบัติ
**********************
ย้อนมองเหตุไม่บัญญัติ"ศาสนาประจำชาติ" ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2475 - http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000048853
**********************

อาจารย์อริยะ นครสวรรค์

ผมได้อ่าน  ความเห็นทุกความเห็นที่โพสเข้ามาแล้ว
รู้สึกสลดใจ   กับชาวพุทธด้วยกันเอง  ที่คัดค้านไม่ให้เขียนว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  ไว้ในรัฐธรรมนูญ   ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นเสียอีกที่เห็นด้วย   จริงอย่างที่พระพุทธองค์  ท่านทรงตรัสไว้ว่า  ไม่มีใครทำลายศาสนาเราได้นอกจาก   พุทธบริษัทของเราเอง    ระวังนะการคัดค้านไม่ให้บรรจุไว้นั้น   จะเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาไปโดยไม่รู้ตัว    เพราะเดี๋ยวนี้อะไรๆก็ต้องมีกฎหมายรองรับทั้งนั้น  มันไม่เหมือนสมัยก่อน   อีกกรณีหนึ่งถ้ากลับไปถามปู่ย่าตายายของเราในสมัยก่อน  ว่าควรเขียนลงไว้ในรัฐธรรมนูญ มั้ย  ท่านคงเห็นด้วยกันหมด   ก็ไม่รู้ว่าการคัดค้านของเรา  จะเป็นการแสดงความอกตัญญูต่อท่านหรือเปล่า  ลองคิดดูอีกครั้งนะครับ

 

 

ไม่มีรูป
อาจารย์อริยะ นครสวรรค์
เจริญพร

นมัสการพระคุณเจ้า

      

คุณครูเห็นหลาย ๆ คน ปากบอกว่าเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี นิยมการส่องพระ สะสมพระ นับถือ(พระเครื่อง) มีไว้เยอะมาก หมดเงินไปเพราะ อยากจะเป็นเซียนพระ แต่มีความตระหนี่กับเพื่อนร่วมงาน เมื่อใดที่คุณครูแนะนำให้ไปฟังธรรม วิปัสนากรรมฐาน หรือเข้าวัด ปฏิบัติธรรม กลับกลัวและไม่อยากไป ถึงอย่างไรก็ไม่ไปให้ได้ คุณครูเห็น ศีล 5 ไม่เคยเป็นปกติ .....อย่างนี้จะเรียกว่า ไม่มีทุนความดีหรือไม่ที่จะสั่งสมบารมีในชาตินี้ค่ะ

P

ศาสนามีหลายมีติ ตามที่โยมคุณครูเล่ามา อาตมาก็เจออยู่เช่นเดียวกันในสังคมรอบข้าง......

ผู้รู้ได้จำแนกผู้สนใจพระศาสนาไว้ ๓ กลุ่ม กล่าวคือ

  • อิทธิปาฏิหารย์
  • นิทานตำนาน
  • ธรรมะ ล้วนๆ

ซึ่งประเด็นที่ว่า เป็นมุมมองในแง่ความสนใจ .... ส่วนในแง่การปฏิบัติก็ต้องพิจารณาแต่ละคน ซึ่งส่วนใหญ่หลักการปฏิบัติมักจะคล้อยตามความสนใจข้างต้น.....

บางครั้ง วาสนา ปารมี หรือภูมิธรรมของแต่ละคนแตกต่างกัน... ดังนั้น ไม่ควรจะเข้าไปจับผิด แต่ถ้ามีโอกาสก็ควรแนะนำด้วยความเมตตา.....

เจริญพร

ประสบการณ์การเลือกศาสนาประจำใจ

ตอนเด็กๆ รู้แต่ว่าพ่อ แม่ เป็นพุทธ ก็เข้าวัด รู้จักพระ เรียนวิชาพุทธศาสนาอาทิตย์ละวัน เลยคิดว่าตัวเองน่าจะนับถือศาสนาพุทธ

ต่อมา..จนถึงปัจจุบันมีความรู้ว่า เลือกนับถือศาสนาพุทธ เพราะเป็นศาสนาที่อธิบายเหตุผล ของการเกิด และแก้ไข ความทุกข์ และทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกับอย่างมีความสุข เป็นเส้นทางสายกลาง ไม่ตึง หรือหย่อน จนเกินไป ไม่จำเป็นต้องทำตาม ที่ใครบอกให้นับถือ เป็นศาสนาที่ให้เสรีทางความคิด และให้เราไปหาคำตอบเองว่า จะทำอย่างไร? ให้มีความสุข และช่วยเหลือส่วนรวมให้มีความเจริญ และเหมาะสมกับชีวิตของผม

เรื่องนี้เป็นสิ่งที่เกิดกับผมเอง นำเสนอเพื่อเป็นข้อมูลเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเชื่อ แล้วแต่จะพิจารณาครับ

นมัสการพระคุณเจ้า คือดิฉันอยากทราบว่าการอยู่ก่อนแต่งเป็นการผิดสิลธรรมไหมค่ะตามหลักของศาสนาพุทธ

ไม่มีรูป

c

ยังไม่เจอคำตอบประเด็นนี้โดยตรง....

ถ้าจะเดาก็คิดว่า น่าจะไม่ผิด

เคยเจอคำอธิบายในเรื่องกาเมสุมิจฉาจารในมังคลัตถทีปนี ซึ่งได้จำแนกสตรีไว้ ๒๐ จำพวก เช่น สตรีที่แม่คุ้มครอง สตรีที่พ่อคุ้มครอง สตรีที่พ่อและแม่คุ้มครอง สตรีที่ธรรมคุ้มครอง... เป็นต้น

บุรุษใดประพฤติผิดในสตรีเหล่านี้ ก็ผิดบ้างไม่ผิดบ้าง (ตามรายละเอียด)... แต่มีประเด็นหนึ่ง คัมภีร์บอกไว้ว่า พ่อหรือแม่ไม่ได้คุ้มครองสตรีเืพื่อชมเชยผัสสะของนาง แต่คุ้มครองไว้เพื่อมิให้ผิดขนบธรรมเนียม เป็นต้น เพราะสตรีจะมีผัสสะเป็นของนางเอง... ประมาณนี้ี้

ตามนัยนี้ ถ้าหากสตรีนั้นมีวัยสมควร อาจมอบผัสสะของนางให้แก่ใครตามความสมัครใจ ไม่ถือว่าผิดนั่นคือ การอยู่ก่อนแต่งงานก็ไม่น่าจะผิด... ประมาณนี้ ี้

ส่วน สตรีที่มีสามี ผัสสะของนางเป็นของสามี แม้นางมอบให้คนอื่นที่มิใช่สามี ก็ถือว่าผิด...

อนึ่ง ยังมีการจำแนกการวิวาห์ ที่เรียกว่า พาหนีวิวาหคนธรรพวิวาห์... คือ การยินยอมพร้อมใจกันทั้งสองคน... อาจสนับสนุนว่า การอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานโดยความยินยอมทั้งสองคนก็ไม่น่าจะถือว่าผิด...

ประเด็นนี้ น่าจะมีการศึกษาวิจัยในแง่มุมต่างๆ ตามหลักพระพุทธศาาสนา....

เจริญพร   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท