การจัดการความรู้ กศน.


สวัสดีค่ะครูนง

        คำถามคือ ทำไงดีล่ะ

* เจ๊ค้างตอบข้อสงสัยของครูนงมานานแล้ว (คงจำได้) ไม่อยากให้ลิงค์ไปที่บล็อก เลย copy ข้อความมาให้อ่าน ซึ่งกาลเวลาผ่านมา 1 ปี แล้ว 

การจัดการความรู้ของ กศน. ตามแนวคิดหมอวิจารณ์  พานิช
หลักการ
          หัวใจก็คือ   กศน. ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์จาก Training เปลี่ยนไปเป็น Learning
          แทนที่ กศน. จะเน้นที่การจัดการฝึกอบรมให้แก่ชาวบ้าน   กศน. ควรเปลี่ยนไปเน้นที่การจุดประกายส่งเสริมหนุน   และอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของชาวบ้าน   โดยเน้นการเรียนรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม   ในเรื่องการงานอาชีพหรือกิจกรรมที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านโดยตรง   กิจกรรมนั้น ๆ ควรเป็นกิจกรรมที่ทำเป็นเวลานานอย่างน้อย 2 – 3 ปีหรือทำตลอดไป   ในลักษณะที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาอยู่ตลอดเวลา   โดยชาวบ้านที่มารวมกลุ่มนั้นเองร่วมกันตัดสินใจ   เจ้าหน้าที่หรือครู กศน. ทำหน้าที่คุณอำนวย” (Knowledge Facilitator)   คือช่วยอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้   ไม่ใช่คุณอำนาจที่เป็นผู้กำหนดเป้าหมายหรือกติกาตายตัว
          ถ้าความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของ กศน. ตรงกัน   ก็ปรึกษาหารือเพื่อเตรียมการ Workshop ครั้งที่ 1 ได้   ถ้าไม่ตรงกันก็ต้องคุยกันใหม่หรือยกเลิก        
Workshop ครั้งที่ 1
          มีประเด็นสำคัญและแนวทางดำเนินการดังนี้
1.      กระทรวงศึกษาธิการ (กศน.?) เป็นผู้รับผิดชอบการจัด workshop   รวมทั้งค่าใช้จ่ายทั้งหมด   และรับผิดชอบการดำเนินการต่อเนื่องหลัง workshop    สคส. ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทางวิชาการด้าน KM   และแนะนำวิทยากรที่จะมาเล่าเรื่องราวของการจัดการเรียนรู้ให้ชาวบ้านผ่านกระบวนการ KM    โดยที่วิทยากรจำนวนหนึ่งจะเป็นตัวชาวบ้านที่ได้ผ่านกระบวนการมาแล้ว
2.      วัตถุประสงค์ของ workshop คือ   ให้ผู้บริหารและครู กศน. ใน 3 (4) จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ทำความเข้าใจวิธีทำงานแบบใหม่ตามหลักการข้างต้น   โดยการรับฟังกรณีตัวอย่างการรวมตัวกันเรียนรู้ของชาวบ้านที่เป็นเรื่องที่ดำเนินการอยู่แล้ว   และได้ร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินการแบบใหม่
3.      กรณีตัวอย่างที่ผมแนะนำมี 3 กรณี   ได้แก่
·       การประชุมกลุ่มสัจจะวันละบาท   ของมูลนิธิ ดร. ครูชบปราณี  ยอดแก้ว   ที่ อ.เมือง จ.สงขลา   ทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน   ควรเชิญวิทยากร 3 คนคือ (1) ครูชบ  ยอดแก้ว   (2) ชาวบ้าน   (3) นักวิชาการที่มาร่วมโครงการ   โดยให้ครูชบเป็นผู้กำหนดตัว  
ติดต่อได้ที่มูลนิธิฯ   โทรศัพท์ 074-326-818   หรือมือถือ 01-128-2933
·       โรงเรียนชาวนา   มูลนิธิข้าวขวัญ  สุพรรณบุรี   ควรเชิญวิทยากร 6 คนคือ (1) คุณเดชา ศิริภัทร  ประธานมูลนิธิฯ   (2) “คุณอำนวยของ มขข. 2 คน   (3) นักเรียนโรงเรียนชาวนา 2 คน   (4) รศ. ดร. เนาวรัตน์  พลายน้อย   คณะสังคมศาสตร์  ม.มหิดล ศาลายา
หมายเลข 2&3   รวม 4 คนให้คุณเดชาเป็นผู้กำหนดตัว  
ติดต่อที่ มขข.   โทรศัพท์ 035-597-193  หรือมือถือ 04-646-5903 (คุณจันทนา  ผู้จัดการมูลนิธิ)
·       โครงการแผนที่คนดี   ที่ อ.เกาะลันตา  จ.กระบี่   ควรเชิญวิทยากร 4 คน   ได้แก่ (1) รศ. ประภาภัทร  นิยม  ผอ. รร. รุ่งอรุณ  และเป็นผู้อำนวยการโครงการ   (1) คุณมิรา  ชัยมหาวงศ์  ผู้ช่วยนักวิจัย   (3) ผู้ร่วมงานชาวบ้านที่เกาะลันตา 2 คน  ให้ อ. ประภาภัทรเป็นผู้เลือก
ติดต่อได้ที่ 02-728-5123 ต่อ 139 (รร. รุ่งอรุณ)
4.      การประชุมใช้เวลา 2 วัน  ที่จังหวัดปัตตานี   โดยมี session กลางคืนด้วย   ดังนี้
วันแรก
          ช่วงเช้า          กรณีศึกษาที่ 1
          ช่วงบ่าย         กรณีศึกษาที่ 2
          ช่วงกลางคืน     กรณีศึกษาที่ 3
วันที่ 2
          ระดมความคิด (ประชุมกลุ่มย่อย) แนวทางดำเนินการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย   สรุปแนวทางดำเนินการต่อไป
5.      ผู้จัดการประชุมซื้อหนังสือการจัดการความรู้  ฉบับมือใหม่หัดขับ”   แต่งโดย ดร. ประพนธ์  ผาสุขยืด   และซื้อ CD Narrated Ppt. เรื่องการจัดการความรู้   โดย ดร. ประพนธ์  ผาสุขยืด (ซื้อได้จาก สคส.)  แล้วนำไป Copy แจกผู้เข้าร่วมประชุม   โดยกำหนดให้ผู้เข้าร่วมประชุมต้องอ่านหนังสือและ Narrated Ppt. ก่อนมาประชุมทุกคน   ต้องกำชับว่าใครยังไม่ได้อ่าน   อย่ามาประชุม
6.      คาดว่าหลัง workshop แล้ว   จะมีการดำเนินการเพื่อฝึกทักษะด้านการจัดการความรู้ให้แก่คุณอำนวยของ กศน. ใน 3 (4) จังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป   สคส. ยินดีจัดวิทยากร   หรือแนะนำวิทยากรให้   โดยทาง กศน. เป็นผู้รับผิดชอบจัดการประชุมเอง
7.      ถ้าเห็นด้วยกับร่างความคิดนี้   ทางกระทรวงศึกษาธิการ (กศน.?) จะต้องกำหนดตัวผู้รับผิดชอบงาน   แล้วติดต่อไป สคส. เพื่อหารือรายละเอียดต่อไป   ผู้ประสานงานของ สคส. คือคุณอุรพิณ  ชูเกาะทวด   02-098-0664 – 8 ต่อ 199

วิจารณ์ พานิช

 



ความเห็น (6)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

ครูนงเมืองคอน
เขียนเมื่อ

เจ๊แอ๊ว ครับ

           ทำไงดีหรือ ผมว่าถ้าจะเอาสาระจากบันทึกนี้ อ.หมอวิจารณ์ก็แนะนำไว้ชัดเจนที่สุดแล้ว แล้วแต่เราด้วยกันเองจะได้ปรับใช้ให้เหมาะสมได้อย่างไร เท่านั้นเองครับ สำคัญอยู่ที่ว่าแนวการพัฒนาบุคลากรของสำนักเราที่เจ๊รับผิดชอบดูแลอยู่จะโอเคไหม ถ้าโอเคว่าเปลี่ยนแนวการพัฒนาบุคลากร(รวมทั้งผู้เรียน หรือกลุ่มเป้าหมาย กศน.)จากtrainning มาเป็น learning ก็ค่อยๆเปลี่ยนกระบวนทัศน์การอบรมให้มายึดผู้เข้ารับการอบรมเป็นฐาน ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนั่นเอง อย่างที่เจ๊คิดและทำอยู่ขณะนี้ผมคิดว่าถูกต้องที่สุดแล้วครับ

          พอดีได้อ่านแนวการพัฒนาบุคลากรของกรมส่งเสริมการเกษตรแล้วรู้สึกว่าชอบมาก กศน.น่าจะเรียนลัดจากประสบการณ์ของกรมส่งเสริมการเกษตรเขานะครับ รบกวน อ.แอ๊ว อ่านบันทึกของคุณนันทา ติงสมบัติยุทธ์ KM นักพัฒนา ดูนะครับ ลิ้งค์ ถ้าผมอ่านเจออีกก็จะลิ้งค์มาให้อ่านอีกครับ gotoKnow คือคลังความรู้ที่เราจะเรียนรู้ได้เยอะแยะมากมายครับ

         ถ้าจะให้ดีที่สุดตามความเห็นผม เจ๊น่าจะลองรบกวนถามไปที่ อ.หมอวิจารณ์ โดยตรง จะผ่านบล็อก หรือไปพบท่านเพื่อขอรับคำอธิบายที่ชัดเจนกว่านี้ตามแต่จะได้นัดแนะกัน หรือจะสื่อสารทางใดก็สุดแท้แต่นะครับ เพราะท่านคือเจ้าของความคิดนี้

        แสดงความเห็นเท่านี้นะครับ



ความเห็น (7)

เจ๊แอ๊ว ครับ

           ทำไงดีหรือ ผมว่าถ้าจะเอาสาระจากบันทึกนี้ อ.หมอวิจารณ์ก็แนะนำไว้ชัดเจนที่สุดแล้ว แล้วแต่เราด้วยกันเองจะได้ปรับใช้ให้เหมาะสมได้อย่างไร เท่านั้นเองครับ สำคัญอยู่ที่ว่าแนวการพัฒนาบุคลากรของสำนักเราที่เจ๊รับผิดชอบดูแลอยู่จะโอเคไหม ถ้าโอเคว่าเปลี่ยนแนวการพัฒนาบุคลากร(รวมทั้งผู้เรียน หรือกลุ่มเป้าหมาย กศน.)จากtrainning มาเป็น learning ก็ค่อยๆเปลี่ยนกระบวนทัศน์การอบรมให้มายึดผู้เข้ารับการอบรมเป็นฐาน ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญนั่นเอง อย่างที่เจ๊คิดและทำอยู่ขณะนี้ผมคิดว่าถูกต้องที่สุดแล้วครับ

          พอดีได้อ่านแนวการพัฒนาบุคลากรของกรมส่งเสริมการเกษตรแล้วรู้สึกว่าชอบมาก กศน.น่าจะเรียนลัดจากประสบการณ์ของกรมส่งเสริมการเกษตรเขานะครับ รบกวน อ.แอ๊ว อ่านบันทึกของคุณนันทา ติงสมบัติยุทธ์ KM นักพัฒนา ดูนะครับ ลิ้งค์ ถ้าผมอ่านเจออีกก็จะลิ้งค์มาให้อ่านอีกครับ gotoKnow คือคลังความรู้ที่เราจะเรียนรู้ได้เยอะแยะมากมายครับ

         ถ้าจะให้ดีที่สุดตามความเห็นผม เจ๊น่าจะลองรบกวนถามไปที่ อ.หมอวิจารณ์ โดยตรง จะผ่านบล็อก หรือไปพบท่านเพื่อขอรับคำอธิบายที่ชัดเจนกว่านี้ตามแต่จะได้นัดแนะกัน หรือจะสื่อสารทางใดก็สุดแท้แต่นะครับ เพราะท่านคือเจ้าของความคิดนี้

        แสดงความเห็นเท่านี้นะครับ

          

ครูนงค่ะ

  • ขอบคุณมาก สำหรับบันทึกของน้องนันทา     เจ๊เคยแวะเข้าไปอ่านมาบ้างแล้ว
  • พอเข้าไปอ่านตามที่ครูนงแนะนำอีกครั้งคราวนี้ได้ความรู้มากมาย
  • ครูนงจะใช้เจ๊เป็นเครื่องมืออะไรสักอย่างที่คิดไว้ในใจล่ะซิ ถึงให้เข้าไปเห็นโน่น เห็นนี่ แล้วก็ต้องกลับมานั่งคิดนั่งทำ ไม่สงสารคนแก่บ้างเหรอ
  • ว่าที่จริงท่าน ดร.อรัญ โสตถิพันธ์ ไม่ใช่คนอื่นไกลเลย เป็นลูกหลานคน กศน.แท้ๆ
  • ทำไม กศน.ไม่คว้าตัวมาเป็นที่ปรึกษาก็ไม่รู้เน้อ

เจ๊แอ๊ว ครับ

         ดร.อรัญ โสตถิพันธุ์ ท่านนี้ถ้าดูจากนามสกุลก็น่าจะทายได้ว่าเครือญาติกับ กศน.ภาตใต้ที่ทำงานเก่าของผมใช่หรือเปล่าครับ

         จุดใต้ตำตอเข้าแล้วซิครับผมนี่ แต่นั่นนะซิทำไมก็ไม่รู้ที่ไม่คว้าตัวท่านมาเป็นที่ปรึกษาการพัฒนาองค์กร กศน.ก็ไม่รู้...อิอิอิ......

ครูนงค่ะ

  • ใช่แล้วนอกจากท่านจะเป็นลูกหลาน กศน.แล้ว
  • เจ๊แอ๊วเองยังเป็นลูกศิษย์(รัก)ของคุณแม่ท่านอรัญด้วย
  • น่าจะมีโอกาสพบกันอีกครั้งในการจัดอบรมของสถาบันพระปกเกล้า
  • แต่ทำไงถึงจะให้ผู้ใหญ่มากๆๆๆได้รับรู้เหมือนเราล่ะ ว่าต้องเชิญท่านอรัญมาเป็นที่ปรึกษา
  • ครูนง วางแผนให้ด้วยชิ
  • อ้อ เจ๊ขอถามอีกเรื่องเว็ปลิงค์น่ะทำอย่างไรล่ะ
  • อ่าน ๆ แล้วไม่เข้าใจครูนงช่วยบอกดีกว่า ภาษาของครูนงเข้าใจง่ายดี  ขอบคุณค่ะ

เจ๊แอ๊ว ครับ

          ไม่ยากครับ ผมได้อธิบายไว้ในบันทึกเจ๊ที่นี่แล้วครับ

บทความนี้เป็นแนวคิดที่น่าสนใจครับ แต่ที่กระผมได้อ่านและวิเคราะห์แล้ว  หันกลับมาดูงานของ กศน. ซึ่งเป็นระบบหานักเรียนมาเรียน เพื่อยกระดับการศึกษาของประชากรให้มีค่าเฉลี่ยที่  9.5 ปี  และกำหนดเป้าหมายการจัดการศึกษาให้ได้ 3.2 ล้านคน เป็นสิ่งที่น่าคิดครับ เพราะในการจัดการศึกษาใช้จำนวนมาเป็นตัวตั้ง  แต่การจัดการความรู้เป็นการนำความรู้จากตัวบุคคลที่อาจจะเกิดจากการศึกษา การลองผิดลองถูกจนกลายเป็นภูมิปัญญามาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น  แต่ความรู้ตรงนี้จะนำมาเทียบโอนได้อย่างไรครับ ก็ กศน. มีแค่การจัดการศึกษาระดับประถมถึงมัธยมปลาย ส่วนความรู้ของชาวบ้านเป็นภูมิปัญญาในการประกอบอาชีพ ซึ่งบางอาชีพกระผมเชื่อว่าไม่มีสถาบันไหนเปิดสอนด้วยซ้ำ  การที่เราจะทำอะไร กระผมคิดว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องน่าจะมาร่วมกันหาจุดอ่อนที่จะต้องปรับเพื่อรองรับจุดแข็งที่จะพัฒนาต่อไป และหากเราพัฒนาได้ตรงประเด็นกระผมเชื่อว่าจะสามารถประหยัดทั้งงบประมาณด้านการศึกษาและค่าใช้จ่ายในการศึกษา อีกทั้งได้รูปแบบการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีศักยภาพที่จะนำไปสู่การเป็นประเทศผู้นำทางด้านการศึกษาและด้านอื่นๆต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท