ทำอย่างไรให้คน "รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้"


ในฐานะที่คุณเบิร์ดมีประสบการณ์ทางจิตวิทยา โปรดช่วยแนะนำกิจกรรมกลุ่ม หรือเดี่ยว(รายบุคคล) ที่จะให้คนที่เป็นผู้ใหญ่ทำงานแล้ว "รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้" เมื่อผู้เรียนทำกิจกรรมแล้วจะประเมินอย่างไรว่าแต่ละคนรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้จริง

ผมกำลังออกแบบการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและงาน ซึ่งในคำอธิบายรายวิชามีคำว่า ให้นักศึกษารู้จักตนเองอย่างถ่องแท้อยู่ด้วย (ระยะเวลาเรียน ๑๖ สัปดาห์ครับ)

ขอบคุณครับ



ความเห็น (10)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

เบิร์ด
เขียนเมื่อ

สวัสดีค่ะ อ.สุรเชษฐ

"รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้" ..เป็นนัยยะที่ลึกนัก..เท่าที่เบิร์ดผ่านมานะคะทฤษฎีต่างๆเป็นเพียงคู่มือ..แต่พุทธะ..เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการรู้จักตนเอง ซึ่งปัจจุบันเบิร์ดก็ยังไม่รู้จักตนเองอย่างถ่องแท้เลยค่ะอาจารย์ เพียงแต่ " มีแนวทาง " ที่มั่นใจได้ว่าเมื่อเกิดอะไรขึ้น..เราจะผ่านมันไปได้เท่านั้นเอง

เมื่อเป็นการทำให้รู้จักมองย้อนเข้าหาตนเอง เพื่อ " ดู " ตนอย่างไม่มีอคติ..การประเมินผลจึงน่าจะเป็นแนวทางที่ให้ผู้เรียนประเมินตนเองว่า " ได้ " อะไรบ้างจากการ " ทำ "...และ " เอาไปใช้อย่างไร "...ในแต่ละสัปดาห์ที่พบกันมีความก้าวหน้าอะไรบ้างจากสิ่งที่ได้และเอาไปใช้

น่าจะเป็นการลองประยุกต์แนวทางทั้งตะวันตกและตะวันออกโดยใช้หลักทฤษฎีต่างๆเข้าวางโครงร่างหลักสูตร และเน้นการทำให้ทราบว่าทุกอย่างที่เราเห็นในสิ่งอื่นต่างล้วนเป็นสิ่งที่เรา " มี " อยู่ในตัวเราเอง ทั้งสิ้น..เพียงแต่บางครั้งเรามองข้ามไปเพราะ " ไม่ละเอียด " พอ..การผ่านแต่ละสัปดาห์ก็เหมือนการผ่านชั้นกรองของการกรองน้ำ ซึ่งชั้นแรกจะเป็นหินก้อนที่หยาบ..ชั้นต่อๆมาก็ละเอียดลงไปตามลำดับ..จนถึงสุดท้ายน้ำที่ผ่านการกรองก็จะใส สะอาด ที่มีคุณภาพตั้งแต่พอดื่มได้ ไปจนบริสุทธิ์ ( แล้วแต่ชนิดของน้ำ )

เบิร์ดจะส่งเทคนิคในการมองตนเองของแต่ละกลุ่มทฤษฎีทางจิตวิทยาไปให้อาจารย์นะคะ เพื่อให้อาจารย์ลองพิจารณาดูว่าจะปรับให้เข้ากับบริบทในแต่ละพื้นที่ได้อย่างไร..

อาจารย์ลองสอบถาม อ.มาโนชด้วยนะคะ ( จิตแพทย์ท่านนี้มีไอเดียเด็ดๆเยอะค่ะ ^ ^ )

ขอบคุณที่อาจารย์แวะมาทักทาย ไต่ถามค่ะ



ความเห็น (10)
  • น้องเบิร์ดและเพื่อนเชษฐ์ครับ
  • ลองดูที่ http://gotoknow.org/blog/Creative-Habit/91361
  • คุณธัญญา เสนอสิ่งที่น่าสนใจครับ

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

เบิร์ดตามเข้าไปดูแล้วค่ะ..ชอบมาก..เป็นประโยชน์มากค่ะ

ขอบคุณมากค่ะพี่บางทราย

P

ขอบคุณมาก เข้าไปดูมาแล้ว คิดว่าเรื่องแบบนี้เข้าใจได้ด้วย "ประสบการณ์ตรง" จากการทำดูเองเท่านั้น เพราะอ่านที่คุณธัญญาเขียนอย่างเดียวไม่มีทางเข้าใจได้ "สิบปากว่า ไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ สิบมือคลำไม่เท่าลองทำเอง"

มีคำที่ผมสะดุดใจในบันทึกนั้นของคุณธัญญาคือ "จากนามธรรมสู่รูปธรรม" ซึ่งอาจจะหมายถึงการนำแนวคิดทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ โครงการมหาวิทยาลัยชีวิตไม่ได้ปฏิเสธการทำอย่างนั้น แต่เน้นกลับกันคือที่ทำอยู่กับนักศึกษาที่เป็นผู้ใหญ่อายุเฉลี่ย 41 ปี ที่ล้วนแก่ประสบการณ์นั้น วิชาแรกในเทอมแรกที่ต้องเรียนคือ กระบวนทัศน์พัฒนา โดยมีอาจารย์เสรี พงศ์พิศ เป็นประธานรายวิชา (มีผู้สอนหลายคนช่วยกัน) โจทย์คือทำอย่างไรให้เขาสามารถจัดระบบประสบการณ์ คือให้คิดเชิงระบบได้ คิดเป็นนามธรรมได้ สรุปประสบการณ์ขึ้นเป็นแนวคิดได้ (conceptualize ประสบการณ์ตัวเองได้) เราไม่เน้นที่ความสามารถในการตั้งคำถาม ไม่เน้นการหาคำตอบสำเร็จรูปที่มีอยู่แล้ว เน้นที่การ "สร้างความรู้" ขึ้นจากประสบการณ์เดิมและประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติมากกว่าการ "หาความรู้" จากหนังสือหรือแม้กระทั่งจากอาจารย์ เพราะสิ่งที่รู้ๆ  

http://gotoknow.org/blog/ponder/89912

P

ข้างบนยังไม่จบ และมีพิมพ์ผิดด้วย คงเผยไปโดนอะไรเข้า มันเลยเซฟเอง

ที่ว่าพิมพ์ผิดคือ เราเน้น (ไม่ใช่"ไม่เน้น") ความสามารถในการตั้งคำถาม ไม่เน้นการหาคำตอบสำเร็จรูปที่อาจมีอยู่แล้ว เน้นที่การคิด การวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ประสบการณ์ขึ้นเป็นความรู้ มากกว่าการหาความรู้จากหนังสือ แต่ไม่ใช่ไม่ให้อ่านหนังสือ ทุกคนต้องอ่าน และมีสอบให้คะแนนการอ่านหนังสือที่บังคับให้อ่านในแต่ละวิชาด้วย อ่านเพื่อให้เห็นแนวคิดแนวปฏิบัติของคนอื่นๆ ที่คิดกันมาทำกันมา แต่อ่านแล้วต้องไตร่ตรอง และที่สำคัญคือต้องปฏิบัติและสรุปขึ้นเป็นความรู้ของตัวเอง เพราะสิ่งที่รู้ๆ กันอยู่นั้น หลายสิ่งหลายอย่างไม่นานก็ล้าสมัย

P

ขอบคุณครับ จะคอย "เทคนิคในการมองตนเองของกลุ่มทฤษฎีทางจิตวิทยา" จากคุณเบิร์ดครับ หากจะเป็นการใช้เวลามาก เกรงจะเป็นการรบกวน แนะนำเป็นหัวข้อๆ เฉพาะชื่อทฤษฎีกับเจ้าของทฤษฎีแต่ละทฤษฎีก็ได้ครับ หรือแนะนำหนังสือก็ได้ครับ

ส่วนคุณหมอมาโนช ถามไปแล้วครับ ท่านให้รออีกอาทิตย์หนึ่งครับ จะเจอกับเพื่อนร่วมงานท่านที่ชำนาญเรื่องนี้ ดูคำตอบท่านได้ที่ http://gotoknow.org/blog/ponder/89912

สวัสดีค่ะ อ.สุรเชษฐ

พออ่านความเห็นของอาจารย์ที่ตอบพี่บางทรายทำให้เบิร์ดมั่นใจว่าเบิร์ดคิดถูกแล้ว..

วันนี้เบิร์ดนั่งรื้อทฤษฎีต่างๆ  รวมทั้งนั่งเค้นสิ่งที่อยู่ในหัวเบิร์ดทั้งหมด..เบิร์ดพบว่าเบิร์ดแทบไม่ได้ใช้ทฤษฎีตะวันตกที่เรียนมาเลย นอกจากการใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาซึ่งเบิร์ดมองว่ามันไม่สามารถวัดความเป็น " มนุษย์ "..ออกมาได้ ( เบิร์ดเป็นนักจิตวิทยาคลินิกที่ไม่ชอบใช้แบบทดสอบกับคนไข้ค่ะ ..เป็นพวกกบฎ นอกคอกพิกล )

เมื่อเบิร์ดมานั่งคิดในแง่ของอาจารย์เบิร์ด " เดา " ว่าอาจารย์น่าจะเน้นที่.. " กระบวนการเรียนรู้ที่อยู่ภายในมากกว่าตัววัตถุภายนอกที่เราจะไปเรียนรู้ "..ซึ่งเป็นสิ่งที่บ้านเราขาดค่อนข้างมาก

การเรียนรู้ทางตะวันตก ( ทฤษฎีต่างๆที่เบิร์ดเรียน )..มักจะมองในแง่ของ " เงื่อนไขในการเรียนรู้ "  ทั้ง " การวางเงื่อนไข " และ " การเสริมแรง "  ..ทำให้การเรียนรู้มีลักษณะเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง  ที่เบิร์ดรู้สึกว่าแตกต่างจากการเรียนรู้ของศาสนาทางตะวันออกที่เน้น การฟัง ( ฟัง แล้ววาง )ทั้งสิ่งที่เราได้ยินและไม่ได้ยิน...การมอง ( มอง แล้ววาง ) สิ่งที่เราเห็นหรือรู้สึกและ การสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเรา..ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ทำให้เราเติบโตจากภายในของเราเอง..

มีอาจารย์อยู่ 2 ท่านที่เบิร์ดคิดออกว่าท่านเป็นปรมาจารย์ทางด้านนี้ค่ะ

ท่านแรก

รศ.ดร.โสรีช์  โพธิ์แก้ว

คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาคารวิทยกิตติ์ ชั้น 16

เลขที่ 254  ซอย จุฬา ฯ 16
ถนนพญาไท ปทุมวัน

กรุงเทพ ฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2218-9913    โทรสาร 0-2218-9923
 E-mail   [email protected]   

ท่านสนใจทางด้าน...
 Eastern Psychology
 Group for Growth 
 Spiritual Counseling  

..........................................................

ท่านที่สอง

รศ.ดร.วารีญา  ภวภูตานนท์  ณ มหาสารคาม

ภาควิชามนุษยศาสตร์  คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์  ม.มหิดล

ต.ศาลายา  อ.พุทธมณฑล

จ.นครปฐม  73170

 

หมายเลขโทรศัพท์ 0 - 2800 - 2840 - 78 , 0 - 2441 - 0220 - 3   หมายเลขโทรสาร 0 - 2 441 - 9738 

 e-mail : wareeya @ hotmail.com

ท่านสนใจในเรื่อง

พุทธจิตวิทยา

บูรณาการสหศาสตร์เพื่อสร้างภูมิปัญญาแห่งการพึ่งตนเองของสังคมไทย

 

อาจารย์ทั้งสองท่านนี้เบิร์ดเคยเรียนด้วย..และเห็นว่าผลึกความคิดของท่านน่าจะสอดคล้องกับหลักสูตรของอาจารย์ค่ะ 

 

 

 

 

 

 

ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ (๓ ครั้ง งามๆ) ทั้ง "เวลา" ที่ใช้ในการไปค้นคว้า และความเห็น

ผมจะติดต่ออาจารย์ทั้ง ๒ ท่าน เพื่อขอคำแนะนำตามที่ติดต่อที่คุณเบิร์ดให้มาอย่างแน่นอนครับ

อาจารย์ป๊อบ เป็นนักจิตวิทยาอีกคนหนึ่งใน g2k ขอให้ผมอธิบายสิ่งที่ผมต้องการในเรื่องนี้ ซึ่งหากได้ความเห็นคุณเบิร์ดข้างบน โดยเฉพาะเรื่อง การสังเกตตัวเอง การเติบโตจากภายใน ซึ่งใช่เลย ผมจะได้ไม่ต้องใช้พยายามเขียนอธิบายอาจารย์ป๊อบเสียยืดยาว แม้เขียนยาวๆ แล้วก็ยังไม่รู้สึกว่าสามารถ express สิ่งที่ต้องการบอกออกมาได้หมด อย่างไรก็ตาม ลองคลิกลิงก์ไปดูก็ได้ครับ ที่

http://gotoknow.org/ask/supalakpop/5355

บางทีการเลี้ยงสุนัข  อาจจะทำให้ได้ข้อคิดอะไรบางอย่างครับ    แวะเข้ามาทักทายครับ  ชอบหัวข้อ ประเด็นที่เปิดบล๊อคไว้ ครับ
P

สวัสดีค่ะ อ.สุรเชษฐ

เบิร์ดปิติที่อาจารย์มีแนวทางในการติดต่อกับผู้รู้เพื่อสร้างหลักสูตรการเรียนอย่างที่อาจารย์ปรารถนา และเบิร์ดทำด้วยความยินดี + เต็มใจเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ขอให้อาจารย์ได้แนวทางอย่างที่หวังไว้นะคะ

P

สวัสดีค่ะ อ.เอกชัย

อาจารย์คงรักสุนัขด้วยสิคะ ?

เห็นด้วยค่ะว่า..การเลี้ยงสุนัขทำให้เราได้เรียนรู้หลายๆอย่างจาก " ชีวิต " ทั้งของเค้าและของเรา...

ความผูกพัน การใส่ใจ  ความเข้าใจ  ความรัก ฯลฯ สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความงอกงามในใจของเราทั้งสิ้น 

ขอบคุณที่แวะมาทักทายและยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท