ขอคำปรึกษา


กัลยา

สวัสดีค่ะ

   พอดีได้ตามงานอาจารย์เรื่องกล้วยน้ำว้าค่ะ พอดีสนใจงานทางด้านนี้ และกำลังจะทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการหาพื้นที่ปลูกอ้อยและมันสำปะหลังเพื่อเชื่อมโยงกับที่ตั้งโรงงานผลิตเอธานนอล อาจารย์พอจะแนะนำModel ที่จะช่วยศึกษาทางด้านนี้ได้บ้างคะ

( พอดีอ.ขจิตแนะนำมา)



ความเห็น (9)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

จรัณธร
เขียนเมื่อ

ต้องขอโทษคุณกัลยานะครับที่ผมไม่ได้เข้ามาดูบล็อกเลย กำลังเตรียมสอบวิทยานิพนธ์ต้นเดือนสิงหานี้น่ะครับ

ขอบคุณอาจารย์ขจิตนะครับที่ แนะนำให้คุณกัลยาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ต้องเรียนคุณกัลยาครับว่า ผมเองเพิ่งศึกษางานด้านการเกษตรมาไม่ถึงสามปีเองครับ เรียกได้ว่าความรู้ยังด้อยนัก

  • งานกล้วยน้ำว้าที่ลงในวารสารกรมวิชาการเกษตรค่อนข้างมีจุดบกพร่องเยอะมากครับ   ผมเลยแก้ไขใหม่โดยเพิ่มในส่วนของ การหาพื้นที่ที่เป็นไปได้ (site selection) ครับ ลองดูข้อมูลจากลิงค์ข้างล่างนี้นะครับ

               http://www.horticultureworld.net/Jaruntorn.pdf

  • ในขั้นแรก ผมใช้ลักษณะการประเมินสภาพแวดล้อมในปัจจุบันของพื้นที่เป็นแบบ multivariables  โดยใช้ค่าความเหมาะสมอ้างอิงตัวเลขจากคู่มือการเกษตรและจากผู้เชี่ยวชาญ  แต่ลักษณะของวิธีนี้อาจจะไม่ค่อยดีนักก็ได้ครับ  เนื่องจากธรรมชาติของพื้นที่แต่ละแห่งมีคุณสมบัติค่อนข้างเฉพาะตัว
  • คุณกัลยาคงต้องเข้าใจและมีรายละเอียดด้านต่างๆ เกี่ยวกับอ้อยและมันสำปะหลังมากพอสมควรครับ
  • เมื่อจะเชื่อมโยงเข้ากับที่ตั้งโรงงานเอธานอล นั่นหมายถึงว่า มีโรงงานเอธานอลตั้งอยู่แล้วใช่ไหมครับ แต่ถ้ายังไม่มีโรงงาน ก็ต้องพิจารณาเกี่ยวกับการเลือกตำแหน่งที่ตั้งโรงงาน ซึ่งจะเป็นประเด็นที่มีปฏิสัมพันธ์กัน

สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับประเมินความเหมาะสมพื้นที่เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านการเกษตร มี model ที่เหมาะสม เผยแพร่ในอินเตอร์เนตครับ

ผมต้องขอโทษนะครับที่ไม่สามารถให้ข้อมูลอะไรได้มาก แต่ผมยินดีที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปพร้อมกับคุณกัลยานะครับ

ผมเต็มใจครับ ถ้าสิ่งไหนที่ผมสามรถช่วยเหลือได้ กรุณาบอกกล่าวได้เลยครับ 

(ปล. หลังจากเดือนสิงหาคม ผมจะมีเวลาว่างมากขึ้นครับ ช่วงนี้วุ่นเรื่องเตรียมสอบวิทยานิพนธ์น่ะครับ)

 



ความเห็น (9)

ต้องขอขอบคุณอาจารย์มากนะคะ สำหรับเอกสารที่แนบมาพอดีได้searchเจอ เลยตามหาเล่มจริง จึงให้มหาลัยออกหนังสือขออาจารย์เดช  เลขาฯของอาจารย์ได้สำเนาส่งมาให้แล้วค่ะ รู้สึกว่างานทางด้านเกษตรกับอุตสาหกรรมการเกษตรมีประโยชน์มากกับประเทศไทยน่ะค่ะแล้วเพิ่งเห็นงานนี้เลยสนใจ

อย่างไงขอให้อาจารย์สอบจบอย่างไม่มีอุปสรรคนะคะ

และมีคำถามอีก คืออาจารย์ที่เป็นกรรมการสอบได้ให้มาลองคิดว่านอกจากจะมองที่ตั้งที่เหมาะกับโรงงานแล้ว น่าจะเน้นที่การจัดการวัตถุดิบที่ทำอย่างไงที่จะให้ได้วัตถุดิบอ้อย กับมันสำปะหลังให้สามารถเข้าโรงงานเอทานอลได้ทั้งปี คือต้องจัดการทางด้านพื้นที่ที่สามารถหมุนเวียนวัตถุดิบทั้ง 12 เดือน แต่ก็กำลังคิดอยู่ค่ะ ถ้าอย่างไงอาจารย์ว่างแล้วค่อยช่วยเสนอแนะก็ได้ค่ะ

อีกคำถามหนึ่งค่ะอาจารย์พอจะทราบเทคนิคการให้ค่าน้ำหนักแบบ AHP, concodance, SAWไหมคะว่าต่างกันอย่างไง

 ขอบคุณค่ะ

คุณกัลยาลองดึงเนื้อหาจากลิงค์ข้างล่างนี้นะครับ (ไม่ทราบว่าคุณกัลยาได้แล้วหรือยัง)

http://www.metu.edu.tr/~sbasak/chapters/Chp3_multicriteria%20decision%20analysis.pdf

เป็นวิธี spatial multicriteria decision analysis

ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ Simple Additive Weighting และ Analytical Hierarchy Process อย่างที่คุณกัลยาทราบด้วยครับ

สำหรับสิ่งที่คุณกัลยากำลังศึกษาเป็นเรื่องที่ประเทศของเราจำเป็นอย่างยิ่งครับ ผมช่วยเหลือเต็มที่ครับ

ยังไงผมขอแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ไปพร้อมกับคุณกัลยาด้วยได้ไหมครับ

ตอนเรียนป โท ผมเคยใช้การคำนวณค่าน้ำหนักของตัวแปรด้วยวิธี composite mapping analysis โดยได้ตัวอย่างมาจากวิทยานินพนธ์ของพี่ปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัยมหิดลครับ

ลองดูได้จากลิงค์ข้างล่างนี้นะครับ

http://gotoknow.org/file/charuntornb/Spatial+Model_Deforestation.pdf

 

ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ

พอดีเห็นอาจารย์ตอบกลับพี่ขจิตเรื่องthesis ที่อาจารย์ทำเกี่ยวกับ Land Suitability Assessment อาจารย์ใช้modelอะไรคะในการประเมินความเหมาะสม พอดีมีตัวอย่างงานป.โทของน้องเขาทำเรื่องการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และเทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม กรณีศึกษา : อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ถ้าอาจารย์สนใจจะส่งให้ค่ะ

และเรื่องthesisที่จะทำก็เหมือนอาจารย์ค่ะเพิ่งจับเหมือนกันทางด้านเกษตร อาจารย์พอจะทราบไหมว่าเราจะนำ GIS มาใช้กับการปลูกอ้อยในพื้นที่ที่เหมาะสมอย่างไรให้ได้วัตถุดิบเข้าโรงงานทั้งปี

ขอบคุณค่ะ

ปรากฎว่า ผมทำไม่ทันครับเรื่อง land suitability assessment (อาจจะต้องตัดออกจากส่วนนี้ ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์) อาจารย์ของผมบอกว่า ให้ทำหลังจากที่เรียนจบ ปอ เอกแล้ว

  • เนื่องจากตอนนี้ข้อมูลที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะประเมินสภาพที่ดินในระดับ farm scale ได้
  • ข้อมูลที่มี ณ ปัจจุบัน คือคุณลักษณะและคุณสมบัติของดินทางกายภาพ เคมี การแลกเปลี่ยนประจุ และแร่ดินเหนียว  รวมทั้งข้อมูลการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดินตลอดฤดูการเพาะปลูกในช่วงสองปี
  • ผมมีข้อมูลเรื่องการลงทุน ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการเพาะปลูกและ ประมาณกำไรขาดทุนของเกษตรกรแต่ละแปลง

แต่ผมไม่มีข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมเลยครับ เนื่องจากระยะเวลาเก็บข้อมูลมีน้อยนะครับ ผมกลับเมืองไทยปีละสองครั้ง มาเก็บตัวอย่างและข้อมูล แล้วส่งตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ที่ญีปุ่น 

  • สอบเสร็จวันที่สามสิงหาคมนี้ ผมต้องสะสางเรื่อง งานตีพิมพ์ลงวารสารน่ะครับ (เป็นเรื่องเกี่ยวกับดินทั้งสองเรื่อง)
  • ส่วนการ land suitability คงต้องพักไปก่อนครับไว้รอปรึกษากับอาจารย์อีกที

ถ้างานเสร็จแล้ว ผมเองก็อยากปรึกษาคุณกัลยาเรื่อง model เกี่ยวกับ การประเมินความเหมาะสมของที่ดิน ด้วยเช่นกัน ผมต้องขอโทษครับที่เรื่องนี้ผมเองก็ยังไม่ชำนาญครับ  ถือซะว่าเรามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมๆ กันนะครับ

ผมสนใจงานที่คุณกัลยาบอกว่ามีน้อง ป โท ทำครับ กรุณาส่งรายละเอียดมาด้วยนะครับ

  • เรื่องการประเมินศักยภาพของพื้นที่ ที่สามารถป้อนวัตถุให้โรงงานได้ตลอดปี คุณกัลยาคงต้องทราบผลิตเฉลี่ย (หรือผลผลิตขั้นต่ำ) ของอ้อยในแต่ละแปลงที่ดินน่ะครับ  ว่าผลรวมแล้วเพียงพอต่อการ supply ให้แก่โรงงานหรือเปล่า
  • อันนี้ เป็นเรื่องปกติที่พื้นที่ที่เหมาะสมต่อการปลูกอ้อยในแต่ละแปลง (แต่ละท้องที่) จะมีผลผลิตต่างกันใช่ไหมครับ  หลังจากทำ site selection แล้ว เราสามารถประเมินผลผลิตรวมของพื้นที่ได้ครับ

เอาเป็นว่าหลังจากผมสะสางงานวิทยานิพนธ์ให้เรียบร้อย แล้วจะมาร่วมเรียนรู้กับคุณกัลยานะครับ

คุณกัลยาครับ ผมแนะนำให้ปรึกษาอาจารย์ 

รศ.ดร. อรรถชัย จินตะเวช
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อาจารย์อรรถชัย ทำวิจัยเกี่ยวกับ model ด้านการเกษตรหลากหลายมากครับ ผมเคยไปที่ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่ มช.

อาจารย์อรรถชัยทำทางด้าน SDSS ด้วยครับ และได้พัฒนา spatial software ให้กับกรมพัฒนาที่ดินเยอะครับ โดยการสนับสนุนจาก สกว. ครับ

 

บล็อกของ รศ.ดร. อรรถชัย จินตะเวช
http://gotoknow.org/blog/modeling 

 

ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร (ศวพก.) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ 50200
โทร 053-221275 แฟ็กซ์ 053-210000
  

http://www.mcc.cmu.ac.th/

ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมใช้ข้อมูลกชช.2ค. กับจปฐ.ได้ไหมคะ

จะส่งข้อมูลthesisน้องป.โทในemailอาจารย์นะคะ

ผมเห็นด้วยกับคุณกัลยาครับ ที่นำข้อมูลกชช 2 ค. มาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐสังคม  เนื่องจากเราสามารถขอความอนุเคราะห์ได้ค่อนข้างสะดวก อาจจะเป็นสำนักงานพัฒนาชุมชนภายในหรือรอบๆ พื้นที่ศึกษาได้ครับ นอกจากนี้ข้อมูลทั้ง จปฐ และ กชช2ค. ก็ถือว่ามีน่าเชื่อถือครับ

  • แต่นั่นก็ขึ้นกับว่า รายละเอียดและความแม่นยำของตัวข้อมูลนั้น เพียงพอกับการศึกษาของเราหรือไม่ครับ

ขอบคุณนะครับ สำหรับวิทยานินพธ์ของน้องป. โท

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท