Transaction Analysis


หากต้องการศึกษาเรื่อง Transaction Analysis มีข้อมูลที่สามารถศึกษาได้ที่ไหน หรือหากมีข้อมูลเป็นบทความช่วยแนะนำให้ด้วยครับ

ขอบคุณมากครับ



ความเห็น (2)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

not yet answered


ความเห็น (2)

Transactional Analysis (TA)

นายแพทย์วีรพล อุณหรัศมี

Source : http://www.ramamental.com/ta.html

________________________________________

บทนำ

TA เป็นทฤษฎีทางบุคลิกภาพที่มองจากกรอบของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แนวทฤษฎีนี้ ได้รับการพัฒนาและก่อตั้งขึ้นโดย Eric Berne ในปี 1952

TA พูดถึงการพัฒนา บุคลิกภาพในแง่ แบบแผนของชีวิต โดยเฉพาะแบบแผนของชีวิต ในส่วนที่เป็นปัญหา ซึ่งถูกเรียกว่าเกม (GAME) และยังพูดถึงสิ่งที่อยู่เบื้องหลังบุคลิกภาพ คือ สิ่งที่อยู่เบื้องหลังปฏิกิริยา ที่มีต่อกัน ระหว่างบุคคล ในรูปของ Ego States ซึ่งต่อมา ได้พัฒนารูปแบบ ให้ง่ายในการใช้ขึ้น เพื่อกำหนดเป้าหมายของ การรักษาที่เรียกว่า Egogram

ในอีกแง่มุมหนึ่ง TA ได้มองชีวิตของคนเรา เปรียบได้กับการอยู่ในโลกแห่งละคร แต่ละคน ต่างมีแบบแผนชีวิต หรือบทชีวิต (Script) ที่เป็นของตนเอง บทของชีวิต ที่ดำเนินผ่านไปนี้ บ้างก็ง่ายๆ ตรงไปตรงมา บ้างเป็นพิธีกรรม ธรรมเนียม ที่คุ้นเคย ของผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ในบางบทอาจ มีความสลับซับซ้อนอยู่ ซึ่งจะเป็นไปตามแรงสับสน ของตัวคนที่อยู่เบื้องหลัง บางคนก็ตกอยู่ในวังวนของเกมแห่งชีวิต ที่ตนเองจัดฉากขึ้นมา และเมื่อวันหนึ่ง ถ้าใครสักคนเบื่อที่จะเล่นเกม เขาอาจจะ เปลี่ยนแปลงชีวิต ของเขาเอง ด้วยการเลิกเล่นเกม และสร้างบทของตัวเองขึ้นมาใหม่ และปรับเปลี่ยนตัวตนที่อยู่ภายใน เพื่อวิถีชีวิตที่เขาต้องการในวันข้างหน้า

Structural analysis and individual psychiatry

Berne คิดว่าภายใต้พฤติกรรมของคนเราที่แสดงออกไปภายนอกนั้น ยังมีสิ่งเป็นแรงขับดัน ที่อยู่เบื้องหลัง ที่เป็นทั้งความคิด ความรู้สึก ที่ประกอบการตัดสินใจ ในการแสดงพฤติกรรมภายนอก แรงขับดัน ที่อยู่เบื้องหลังนี้ เรียกว่า Ego states ซึ่งถูกแบ่งเป็น 3 สภาวะคือ

1. Parent : เป็นภาวะที่ได้เห็นได้รับรู้การทำของพ่อแม่ในอดีต และถูกดูดซับไว้เป็นข้อมูล พื้นฐาน ในการจัดการ กับปัญหา ในชีวิตปัจจุบัน Ego state ของ Parent ถูกแบ่งย่อยเป็นอีก 2 ชนิด คือ

- Critical parent มีลักษณะเป็นตัวของตัวเองสูง, ชอบบงการ ชอบสร้างข้อจำกัด และกฎเกณฑ์ สร้างค่านิยม ชอบวิจารณ์ และจับผิด มายืนยันสิทธิของตัวเอง

- Nurturing parent มีลักษณะที่เข้าอกเข้าใจ, เกื้อหนุนชีวิต

2. Adult : จะจัดการเกี่ยวกับสิ่งเร้าให้อยู่ในรูปของข้อมูล และประมาณผล วัดลำดับข้อมูล ตามประสบการณ์ในอดีต เป็นตัวกลางที่จะประมวลผลที่ได้รับจากความจริงภายนอก และประสบการณ์ อดีตภายใน ในลักษณะของข้อมูล มีลักษณะตอบสนอง ตามความเป็นจริง, มีความเที่ยงตรง แม่นยำ ปราศจากอารมณ์ และอคติ

3. Child : เป็นส่วนของความรู้สึกภายในของอดีต ที่ยังหลงเหลือเป็นส่วนของ ประสบการณ์ปัจจุบัน แบ่งเป็นลักษณะย่อย 2 ชนิด คือ

- Free Child มีลักษณะเป็นไปตามธรรมชาติ เป็นอิสระ อยากรู้อยากเห็น ขึ้สงสัย สนุกสนาน

- Adapted Child : มีสองลักษณะ อย่างแรกจะมีลักษณะอ่อนน้อม ประนีประนอม ปรับตัว เข้ากับผู้อื่นได้ง่าย ยอมให้ผู้อื่นได้ง่าย ในอีกลักษณะหนึ่ง จะเหมือนเป็นกบฎ กลายๆ ต่อต้าน เจ้าอารมณ์ กรีดร้อง และทำตัวเหมือนเด็กเล็กๆ

Ego state ทั้ง 5 นี้ถูกนำไปเขียนอยู่ในรูปแผนภูมิ เมื่อที่จะแสดงปริมาณ ของพลังงานที่ มีอยู่ในแต่ละ Ego states ซี่งเราเรียกว่า Egogram, Egogram จะแสดงถึง พลังงานของ Ego state แต่ละชนิด ในเชิงเปรียบเทียบ มากน้อย อยู่ในรูปคล้ายกราฟแท่ง ซึ่งเป็นตัวแทนของ CP, NP,A, FC, AC Egogram ตั้งอยู่บนสมมติฐานของพลังงาน ที่คงที่ กล่าวถึงเมื่อพลังงานใน Ego state ใด เพิ่มขึ้น พลังงานของ Ego state อื่นจะลดลง ซึ่งไม่แบบ Egogram ของบุคคลใด บุคคลหนึ่ง จะคงที่ เว้นแต่ว่า บุคคลนั้น ตัดสินใจอย่างแน่วแ น่ที่จะเปลี่ยนสมดุล ของพลังใน Ego state ของเขา

Social Intercourse and social psychiatry

มนุษย์เกิดมาพร้อมกับการเป็นผู้กระหายต่อสิ่งเร้า (Stimulus - Hunger) สิ่งเร้าที่มนุษย์ได้รับ ในช่วงแรกของชีวิต คือ ความใกล้ชิดทางกายภาพ เมื่อมนุษย์เติบโตขึ้น ความต้องการสิ่งเร้านั้น ถูกแปรรูปจาก สิ่งเร้าทางกายภาพ เป็นสิ่งเร้าทางสังคมมากขึ้น มนุษย์จึงเป็น ผู้กระหายต่อความยอมรับ ของผู้อื่น (Recognition-Hunger) สิ่งเร้าที่พูดถึง ในแง่ของ การกระตุ้นทางกายภาพ หรือการยอมรับทางสังคม ถูกเรียกรองกันว่า Stroke

เมื่อคน 2 คนพบกัน Stroke ของคนหนึ่งจะไปกระตุ้นให้คนอีกคนหนึ่งเกิดการตอบสนอง ซึ่งเป็น Stroke Stroke ที่ตอบสนอง จะไปกระตุ้น ให้คนๆ แรก สลับ stroke กลับไปยังคนที่ 2 ไปๆ มาๆ Interaction ที่เกิดขึ้นนี้ ถ้าชัดเจน เราจะเรียกว่า Transaction, Transaction เป็นปฏิสัมพันธ์เชิงสังคมของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่แสดงออกอย่างชัดเจน Transaction ที่เกิดขึ้น แบ่งเป็น 2 ระดับได้แก่

- Social level เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นชัดแจ้ง สังเกตเห็นได้ง่าย

- Psychological level เป็นส่วนที่ปกปิด มักออกทางภาษากาย

นอกจากนี้ มนุษย์ยังเป็นผู้กระหายต่อการจัดการชีวิต (structuring-Hunger) ในแต่ละวัน แบบแผนของการจัดการชีวิต อยู่ในรูปของ program ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประการ

Material program เป็นการใช้ชีวิตในส่วนที่จัดการกับ Data process และ External reality เช่นการทำอาหาร การซักผ้า เป็นต้น

Social program เป็นการใช้ชีวิตตามวิถีที่คุ้นเคย Social Program นี้เป็นไปเ พื่อความยอมรับ ในกลุ่มย่อย ซึ่งจะนิยมเรียกว่า มรรยาท (ผู้ดี) สังคม ซึ่งมักอยู่ในรูปของ การแสดงออกตาม ธรรมเนียม (Ritual)และการพูดคุยฆ่าเวลา (Pastime)

Individual program เกิดขึ้นเมื่อบุคคล สนิทสนมเกิดขึ้น จะมีการใช้เวลาไปใน 6 รูป ลักษณะคือ

1. Withdrawal เป็นความสัมพันธ์ที่มี Transaction น้อยมาก

2. Ritual จะมี transaction ที่เป็นแบบแผนที่คุ้นเคยระหว่างคนที่เกี่ยวข้อง

3. Pastime จะมีเป็น Transaction ที่เกิดขึ้นในช่องเวลาว่างหรือก่อนกิจกรรมอื่นมีทั้งรูปแบบ ที่ formal และ informal เป็น transaction ที่ไม่คาดหวัง แจ้งผลและไม่มีการซ่อนนัยแอบแฝง

4. Game จะมี Transaction ที่มีสองระดับในขณะเดียวกัน คือว่าการแฝงนัยนะ เชิงจิตวิทยาไว้ได้ และมีความคาดหวัง ในส่วนที่จะได้รับจากการเล่นเกม ซึ่งเรียกว่า Pay off

5. Activity จะมี Transaction เป็นไปเพื่อผลเชิงวัตถุ หรือ Externsl Reality อยู่ในรูปของ การทำงาน (Work)

6. Intimacy เป็นปฎิกริยาอย่างตรงไปตรงมาของมนุษย์ที่มีต่อกันและไม่ใช่ที่กล่าวไว้ข้างต้น มีเป้าหมาย คือ มนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

TRANSACTIONAL ANALYSIS

ในขณะที่ Transaction เกิดขึ้น Egostate จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของการแสดง

Transaction ออกไป ซึ่งโดยทั้วไปแล้ว Transaction ที่เกิดขึ้นมี 3 ลักษณะ

1. Complementary คือ Transaction ที่แสดงออกและตามขึ้นในแต่ละ EGostate ขนานกัน Transaction ชนิดนี้ตามทฤษฎีเชื่อว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องจนไม่มีที่สิ้นสุด

2. Crossed คือ Transaction ที่เกิดขึ้นระหว่าง Egostate โย้งกันซึ่งเมื่อเกิดขึ้น แล้วจะทำให้ การสื่อสาร หยุดลง

3. Ulterior คือ Transaction ที่เกิดขึ้นในระดับ Psychological Level และมีความหมาย ซ่อนนัยอยู่

GAME

GAME เป็นชุดของ Ulterior Transaction ที่สามารถคาดหวังผลลัพธ์ที่ตามมาได้เป็นกลุ่ม Transaction ที่เกิดขึ้นครั้งเก่า โดยที่การแสดงพฤติกรรมโดยผิวเผินบางอย่าง และมีความคาดหวัง ที่อยู่เบื้องหลัง อีกอย่างหนึ่ง game มีสิ่งที่ต่างจาก Ritual และ Pastime อย่างที่เห็นได้ชัดอยู่ 2 ประการ คือ Game จะต้องมี จุดมุ่งหมาย แอบแฝงซ่อนอยู่ และต้องมีค่าตอบแทน การเดิน (Payoff)

Game ที่เล่นกันอยู่ทุกวันนี้ แบ่งตามความรุนแรงของผลลัพธ์ที่ตามมาได้ 3 ระดับ คือ

1. First Degree Game เป็นระดับที่สังคมใกล้ชิดพอยอมรับได้ เนื่องจากไม่มีอันตรายทาง ร่างกาย และผู้เล่นอาจจะถูกต่อว่าหรือก่นด่า

2. Second Degree Game เป็นเกมที่มีความรุนแรงขึ้นมา ซึ่งทำให้จบลงด้วยการถูกชกหน้า หรือถูกตบ

3. Third Degree Game เป็นเกมที่ก่อให้เกิดความพินาศแตกหัก คุณค่าที่ต้องจ่ายทดแทนในการเล่น คือ อาจทำให้ถูกเนรเทศจากกลุ่ม มีการหย่าร้างที่ยุ่งเหยิง อาจจะต้องขึ้นศาล หรือแม้กระทั่งจบลง ที่เชิงตะกอน

การเรียนรู้ Game ก็เหมือนการเรียนรู้พฤติกรรมอื่นๆ เช่น Ritual, Pastime, Activity การถูกถ่ายทอด จากพ่อแม่ไปสู่ลูก จากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง หน้าที่ของเกมเหล่านี้เป็นไป เพื่อให้ได้สิ่งที่ปรารถนา โดยที่สิ่งเหล่านี้จะไม่ได้มาด้วยวิธีอื่น การแบ่งชนิดของเกม มีได้หลาย

ลักษณะ ตามสิ่งที่เราสนใจพิจารณาอยู่ เช่น

1. จำนวนผู้เล่น : สองคน, สามคน, ห้าคน, หรือหลายๆคน

2. อุปกรณ์ที่ใช้เป็นสื่อในการเล่น : คำพูด, เงินตรา, ส่วนของร่างกาย

3. ลักษณะทางจิตวิทยาคลินิก : Hyterical, Obsessive-compulsive, Paranoid, Depressove

4. Zonal : Oral, Anal, Phallic

5. Psychodynamic : Counterphobic, Projective, Introjective

6. Instinctual : Masochistic, Sadistic, Fetishitic

การวิเคราะห์เกมที่เกิดขึ้น Berne ได้วิเคราะห์แยกแยะเกมเป็นส่วนหลายด้านได้แก่ Thesis เป็นลักษณะทั่วไปของเกม รวมทั้งลำดับเหตุการณ์ (ใน socialievel) ข้อมูลทาง Psychological Background. การวิวัฒนาการในเกม และความสำคัญในแง่ PsychologicaL level

Antithesis Game จะสิ้นสุดเมื่อผู้เล่นปฎิเสธที่จะเล่นหรือ ไม่มีการจ่ายค่าเล่น Game

ดังนั้น Antithesis มองอีกแง่หนึ่ง คือ วิธีการแก้เกมนั่นเอง

Aims คือวัตถุประสงค์ทั่วไปเองการเล่นเกม ในรูปแบบเกมชนิดหนึ่งอาจมีได้หลายทางขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เล่น

Role บทบาทของผู้เล่น

Dynamic หมายถึง Psychodynamic ที่เป็นตัวผลักดันอยู่เบื้องหลังและทำให้เกิดการเล่นเกมขึ้น

Example เป็นตัวอย่างลักษณะเกมที่เข้าใจได้ง่าย

Transactional Paradigm เป็น Transactional Analysis ของ Situation ที่แสดงให้เห็นทั้งระดับ Social level และ Psychological level

Move เป็นผลตอบสนองแก่กันของผู้เล่นเกม

Advantage ผลประโยชน์ที่ได้จากการเล่นเกม

เกม "ขึ้นศาล" (Court Room)

Thesis เป็นเกมที่พบบ่อยใน marital psychotherapy group ซึ่งจิตแพทย์ จะตกเป็นผู้ร่วมเล่นโดยไม่รู้ตัว

ในเกมนี้จะประกอบไปด้วย โจทย์ จำเลย ผู้พิพากษา ส่วนลูกขุนจะมีหรือไม่มีก็ได้ โดยที่สามี หรือภรรยาเป็นโจทย์ หรือจำเลย จิตแพทย์เป็นผู้พิพากษา ถ้ามีคนอื่นร่วมด้วยก็อยู่ในฐานะของลูกขุน

เกมนี้เริ่มต้นด้วย สามีเป็นผู้เริ่มพูดว่า "ผมจะเล่าให้หมอฟังว่าเมื่อวานนี้เธอทำอะไรกับผมบ้าง เธอ.......ฝ่ายภรรยา ก็จะพูดขึ้นมา เพื่อปกป้องตัวเองว่า "ที่จริงแล้ว เรื่องมันเป็นอย่างนี้ค่ะคือ

......"หลังจากนั้นสามีก็อาจจะ ให้การเพิ่มเติม เมื่อจิตแพทย์ได้รับฟัง จนคิดว่าหาข้อสรุปได้ก็จะพูดว่า"

หลังจากที่ ผมได้ฟังเรื่อง ที่คุณทั้งสองฝ่ายเล่าแล้ว ผมคิดว่า ...... หรือเราควรจะ มาพิจารณากันว่า"

และ ในกรณีที่ มีผู้อื่นนั่งอยู่ด้วย จิตแพทย์อาจจะ หันไปถามว่า " หลังจากที่พวกคุณได้ยิน เรื่องราวทั้งหมดแล้ว

พวกคุณมีความคิดเห็น ว่าอย่างไร" แล้วผู้ร่วมกลุ่มที่อยู่ด้วย ก็จะเสนอ ความเห็นในฐานะลูกขุน

Antithesis จิตแพทย์ อาจจะเริ่มด้วยการบอกฝ่ายสามีว่า "ผมว่าคุณเป็นฝ่ายถูกต้อง"

เมื่อเขามีท่าที ที่ผ่อนคลายลง และพออกพอใจ จิตแพทย์ก็ถามต่อว่า "คุณรุ้สึกอย่างไร ที่ได้ยินผมพูดอย่างนั้น"

เขาก็ตอบว่า "ก็ดีนี่ครับ" หลังจากนั้นจิตแพทย์ ก็เปลี่ยนท่าที โดยพูดว่า "อันที่จริง ผมคิดว่าคุณเป็นฝ่ายผิด"

หลังจากจิตแพทย์ได้รวบรวมข้อมูลอย่างละเอียดแล้ว ก็จะเริ่มการบำบัด โดยการใช้เทคนิคการ

ออกคำสั่งห้าม ซึ่งเป็นวิธีที่สำคัญที่สุด ในการแก้เกมนี้ โดยจิตแพทย์จะวางกฎ มิให้มีการกล่าวอ้างถึง

บุคคลที่สาม ภายในกลุ่ม ในการพูด นั้นคือ สรรพนามที่ใช้ในการสนทนา จะต้องเป็น "คุณ" และ"ผม(ดิฉัน)"

เท่านั้น และห้ามการพูด ในทำนองที่ว่า "ขอให้ดิฉันได้เล่าเรื่องของ "เขา" อีกสักนิด" หรือ "ขอให้ผมได้

เล่าเรื่องของ "เธอ" บ้าง" ด้วยวิธีนี้คู่แต่งงานเจ้าปัญหาก็จะหมดหนทางในการเล่นเกมอีกต่อไป

AIMS : REASSURE

ROLES : โจทก์ จำเลย ผู้พิพากษา และอาจมีลูกขุนร่วมด้วย

DYNAMIC : SIBLING RIVALRY

EXAMPLES :

1. เด็กๆทะเลาะกัน พ่อแม่ห้ามปรามและตัดสินความ

2. คู่แต่งงานที่ต้องการความช่วยเหลือ

SOCIAL LEVEL : PARENT-PARENT-PARENT

PARENT: นี่คือสิ่งที่เธอทำกับผม

PARENT: ที่จริงเป็นอย่างนั้นต่างหาก

PAGENT: คุณทั้งสองคนควรทำเช่นนี้

PSYCHOLOGICAL LEVEL : CHLD-PARENT

CHILD: บอกซิครับ (คะ) ว่าผม (หนู) เป็นฝ่ายถูก

RARENT: คุณเป็นฝ่ายถูก หรือ ลูกถูกทั้งสองคนแหละจ้ะ

MOVES

1) การตั้งข้อกล่าวหา-การโต้ตอบปกป้องตัวเอง

2) การพิสูจน์ความผิดของจำเลยโดยฝ่ายโจทย์ การประนีประนอมยอมความ หรือการสร้างความเข้าใจ ที่ดีต่อกัน

3) การตัดสินใจของผู้พิพากษาและคำเสนอแนะของลูกขุน

4) การตัดสินใจขั้นสุดท้าย

Psychopathology

Ta มองความผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นพยาธิสภาพของ 2 เรื่องใหญ่ๆคือ

- Pathology ของ Ego states

- Pathology ของ Transaction

Pathology ของ Ego state

ความผิดปกติของ Egostate ดีได้ ดังที่เป็น structural pathology และ Functional pathology

- Structural pathology เป็นความผิดปกติของ Psychic structure ซึ่งหมาย

ถึง Ego state นั่นเอง แบ่งเป็น

1) Contamination โดยทั่วไปแล้ว Ego-state Parent, Adult, Child จะแยกกัน โดยเด็ดขาด โดยมีขอบเขต (Ego-Boundary) ชัดเจน ในบางกรณีจะมี Ego state อื่นจะเข้ามา ปะปนกัน Adult เราเรียกว่า contamination of Adult ถ้าเป็นส่วนของ Parent เข้ามาปะปนกับ Adult จะเรียกว่า Prejudice หรืออคติ ถ้าเป็นส่วนของ Child เข้ามาปน กับ adult เรียกว่า delusion และ contamination

2) Exclusion และ Blocked-out ในกรณีที่ผู้ป่วยใช้ ego state อันใดอันหนึ่ง อย่างซ้ำๆ และสามารถคาดเดาพฤติกรรมได้ ซึ่งจะเป็นในบางสถานะการณ์ เราเรียกว่า exclusion

อาจพบ constant Parent, constant Adult, constant Child ในกรณีที่ ego state บางอันถูกปิดกั้นมิให้แสดงพฤติกรรมออกมา ภาระนี้เรียกว่า Blocked-out

- Functional pathology เป็นความผิดปกติ เกี่ยวกับการถ่ายเท psychic energy จาก ego state หนึ่ง ไปสู่ ego state หนึ่ง ความผิดปกตินี้อาจจะเกิดเนื่องจากตัวการถ่ายเทพลังงานเองหรืออาจจะเป็น ความผิดปกติของ Ego Boundary ก็ได้ ความผิดปกติชนิดนี้ Berne เองไม่ได้ แสดงรายละเอียดที่ชัดเจน

Pathology ของ Transaction

ความผิดปกติของ Transaction นี้คือ Game นั่นเอง โดยเฉพาะ second-degree Game และ Third-degree game

Psychotherapy

การทำจิตบำบัดใน TA นั้น ตั้งเป้าหมายอยู่ 3 ประการคือ

1) Game intervation

2) Script redecision

- Egogram Balance

การทำจิตบำบัดใน TA จะมีลักษณะดังนี้

1) Simple Language

2) Contractual therapy เป็นการบำบัดที่มีข้อตกลงระหว่างจิตแพทย์และผู้ป่วย ที่จะต้องร่วมมือกัน ในการรักษา และพยายามให้เป้าหมายที่ตกลงร่วมกันลุล่วงไปด้วยดี โดยที่ทั้งสองฝ่าย ต่างต้อง มีความรับผิดชอบ ร่วมกัน จิตแพทย์จะอยู่ในฐานะผู้ดู (Passive Spectator) และผู้ป่วยจะต้องไม่เอ่ย และคาดหวังว่า จิตแพทย์จะเป็นผู้ดลบันดาล ให้ทุกสิ่งเกิดขึ้น มีเรื่องหลักๆอยู่ 4 เรื่องที่เป็นข้อตกลงในการรักษา

- Mutual Assent เป็นการพูดออกมาเกี่ยวกับเป้าหมายของการรักษาที่ตกลงร่วมกัน โดยภาวะ adult ของทั้งสองฝ่าย

- Competency จิตแพทย์จะตกลงรักษาให้บรรลุถึงเป้าหมายที่ตกลงเฉพาะในส่วนที่ ตนเองทำได้ บางครั้งจิตแพทย์ต้องพูด อย่างตรงไปตรงมา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเชื่อผิดๆ ที่ว่า จิตแพทย์เป็นผู้วิเศษ ที่จะทำให้ผู้ป่วยหายได้

- Legal Obsect ข้อตกลงที่ทำกันต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย

- Consideration คำตอบแทนส่วนใหญ่อยู่ในรูปของเงิน

3) Specific Technique เพื่อให้ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบต่ออาการเจ็บป่วยของตนเอง มากขึ้น

Technique ของ Game Treatment

- Game analysis by confrontation

- Game interuption by psychodrama

Technique ของ Script Treatment

- Script reversal

- Reparenting

- Redecision

- Technique ของ Egogram Treatment

- Ego state opposition

- Ego gram tranfer of enengy

บทสรุป

TA เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาซึ่งเมื่อมองโดยพื้นฐานแล้วจะเป็นที่เข้าใจได้ง่ายและไม่ซับซ้อน ตัวทฤษฎีพูดถึง การเกิดบุคลิกภาพ และการแสดงออกของพฤติกรรม ที่เกิดในขณะปัจจุบัน ที่มีแรงผลักดันจากการเรียนรู้ ในอดีต ในรูปของ Transaction TA นี้ สามารถประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ในวงธรุกิจ หรือวงสังคม ระดับต่างๆ และยังได้เสนอแง่มุม ในการมองผู้ป่วยทางจิตเวช ตามแบบของ TA ถ้าพูดถึง โดยเทคนิคแล้ว เทคนิคบางอย่างก็ดูเหมือน จิตบำบัดแนวอื่นบ้างและบางครั้งยังอาศัยเทคนิค การทำจิตบำบัดแนวอื่น มาเป็นเครื่องมือในการรักษาผู้ป่วย

บรรณานุกรม

1- ปริญญ์ ปราชญานุพร, ผู้ทันเกมชนะใจคน ,แปล สำนักพิมพ์ดอกหญ้า กรุงเทพ 2536

2. Berne, E, Transactional analysis in psychotherapy, New year : castle book, 1961

3.- Berne, E, Game people play. New york : Ballantine books, 1964

4.- Berne, E, What do you say after you say helo, London : Corgi book,1972

5. Dusay and dusay, Transaction analysis, in current psychotherapy

corsini edt. Illinois, : Peacock Publishers, 1979, 374-427

เยี่ยมมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท