แค่อยากรู้จริงๆ......


ทุ่งหญ้า ป่าสน และคนเหงา

เมื่อไหร่วิทย์-แพทย์จะจัดค่ายอีกง่ะ............อยากเข้าอีกสนุกดี......

ช่วยส่งข้อมูลที่เกี่ยวกับเยื่อหุ้มไทลาคอยต์ให้หน่อยนะคะขอบคุณ



ความเห็น (1)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

doctoro
เขียนเมื่อ

 

 รูปที่ 1.1  โครงสร้างของไทลาคอยด์ (thylakoid)

ไทลาคอยด์ เป็นโครงสร้างที่ใช้รับพลังงานจากแสงเพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง สร้างขึ้นจากส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มชั้นในของคลอโรพลาสต์ (inner membrane) ไทลาคอยด์เรียงซ้อนกันเป็นตั้ง แต่ละตั้งเรียกว่า กรานัม (granum) ในไทลาคอยด์มีโพรงอยู่ภายในเรียกว่าลูเมน (lumen)  ซึ่งมีของเหลวอยู่ภายใน ส่วนผนังหุ้มไทลาคอยด์เรียกว่า เยื่อหุ้มไทลาคอยด์ (thylakoid membrane) และจะมีท่อไทลาคอยด์เชื่อมติดต่อระหว่างกรานัมเรียกว่า สโตรมาไทลาคอยด์ (stromal thylakoid) หรือ stromal lamella ส่วนที่อยู่ภายนอกกรานัม เรียกว่า สโตรมา (stroma) ซึ่งประกอบด้วยของเหลวที่เป็นแหล่งของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง (ปฏิกิริยาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์)

 รูปที่ 1.2  ภาพตัดขวางของไทลาคอยด์

บนเยื่อหุ้มของไทลาคอยด์ นอกจากจะมีสารสีที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ยังมีองค์ประกอบสำหรับนำอิเล็กตรอน คือ ระบบแสง II ( photosystem II ) ทำหน้าที่ช่วยปั๊มโปรตอน เข้ามาในไทลาคอยด์ มีระบบไซโตโครม ( cytochrome system ) มีองค์ประกอบที่ช่วยในการสร้าง NADPH คือ ระบบแสง I ( photosystem I ) และสร้าง ATP คือ ATP synthase complex โดยการสร้าง NADPH และ ATP นี้จะเกิดนอกถุงไทลาคอยด์


 

 รูปที่ 1.3  ภาพขยายของเยื่อหุ้มไทลาคอยด์

เยื่อหุ้มไทลาคอยด์เป็นส่วนที่กั้นระหว่างสโตรมาที่อยู่ภายนอกไทลาคอยด์  และลูเมนที่อยู่ภายในไทลาคอยด์   โดยมีระบบแสง II (photosystem II หรือ P680)   ระบบไซโตโครม (cytochrome system)   ระบบแสง I (photosystem I หรือ P700)  ทำหน้าที่ส่งผ่านอิเล็กตรอน โดยมีเอนไซม์ NADP reductase เป็นตัวสร้าง NADPH และเอนไซม์ ATP synthase เป็นตัวสร้าง ATP หน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบมีโดยสรุปดังต่อไปนี้ ( สำหรับรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนได้แสดงไว้ในบทที่ 2 )

      • ระบบแสง II ทำหน้าที่รับพลังงานแสงจากศูนย์เกิดปฏิกิริยา (reaction center) และส่งอิเล็กตรอน ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปสู่ตัวรับส่ง อิเล็กตรอนตัวอื่นๆ เช่น ระบบไซโตโครมต่างๆ และระบบแสง I ส่วนอิเล็กตรอนที่สูญเสียไป จากระบบแสง II (P 680) ก็จะได้รับทดแทนมาจากการแตกตัวของโมเลกุลของน้ำไปเป็นโปรตอน อิเล็กตรอน และ ก๊าซออกซิเจน ( โปรดดูรายละเอียดในรูปที่ 2.4 และ 2.7 )

      • ระบบไซโตโครม (cytochrome b6/f) ทำหน้าที่ส่งผ่านอิเล็กตรอน ซึ่งพลังงานจากการเคลื่อนที่ของ อิเล็กตรอนจะช่วยทำให้โปรตอนเคลื่อนที่จากภายนอกไทลาคอยด์หรือ สโตรมา เข้ามาภายในไทลาคอยด์ หรือลูเมน

      • ระบบแสง I หน้าที่ส่วนหนึ่งคือรีดิวซ์ (reduce) สาร NADP+ ( ในที่นี้หมายความว่า NADP+ ได้รับอิเล็กตรอน และ/หรือ ไฮโดรเจน ) ไปเป็น NADPH  ระบบแสง I ถูกกระตุ้นโดยอิเล็กตรอนที่ถูกส่งผ่านมาจากระบบไซโตโครมและส่งต่อไป เพื่อทำให้ NADP+ เปลี่ยนเป็น NADPH ( โปรดดูรายละเอียดในรูปที่ 2.4 - 2.6 )

      • กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต้องใช้ระบบแสง 2 ระบบทำงานร่วมกันคือระบบแสง I และระบบแสง II ซึ่งได้พิสูจน์โดยการทดลองของ R.Emerson

      • ATP synthase ทำหน้าที่สร้าง ATP จาก ADP และ  Pi

 ATP และ NADPH ที่ได้นี้จะนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงขั้นต่อไป คือปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง

อ้างอิง http://www.il.mahidol.ac.th/course/photosyn/



ความเห็น (1)

ไทลาคอยด์ เป็นโครงสร้างที่ใช้รับพลังงานจากแสงเพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง สร้างขึ้นจากส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มชั้นในของคลอโรพลาสต์ (inner membrane) ไทลาคอยด์เรียงซ้อนกันเป็นตั้ง แต่ละตั้งเรียกว่า กรานัม (granum) ในไทลาคอยด์มีโพรงอยู่ภายในเรียกว่าลูเมน (lumen)  ซึ่งมีของเหลวอยู่ภายใน ส่วนผนังหุ้มไทลาคอยด์เรียกว่า เยื่อหุ้มไทลาคอยด์ (thylakoid membrane) และจะมีท่อไทลาคอยด์เชื่อมติดต่อระหว่างกรานัมเรียกว่า สโตรมาไทลาคอยด์ (stromal thylakoid) หรือ stromal lamella ส่วนที่อยู่ภายนอกกรานัม เรียกว่า สโตรมา (stroma) ซึ่งประกอบด้วยของเหลวที่เป็นแหล่งของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง (ปฏิกิริยาตรึงคาร์บอนไดออกไซด์)

บนเยื่อหุ้มของไทลาคอยด์ นอกจากจะมีสารสีที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ยังมีองค์ประกอบสำหรับนำอิเล็กตรอน คือ ระบบแสง II ( photosystem II ) ทำหน้าที่ช่วยปั๊มโปรตอน เข้ามาในไทลาคอยด์ มีระบบไซโตโครม ( cytochrome system ) มีองค์ประกอบที่ช่วยในการสร้าง NADPH คือ ระบบแสง I ( photosystem I ) และสร้าง ATP คือ ATP synthase complex โดยการสร้าง NADPH และ ATP นี้จะเกิดนอกถุงไทลาคอยด์ ซึ่งจะได้ทราบรายละเอียดต่อไป


 

เยื่อหุ้มไทลาคอยด์เป็นส่วนที่กั้นระหว่างสโตรมาที่อยู่ภายนอกไทลาคอยด์  และลูเมนที่อยู่ภายในไทลาคอยด์   โดยมีระบบแสง II (photosystem II หรือ P680)   ระบบไซโตโครม (cytochrome system)   ระบบแสง I (photosystem I หรือ P700)  ทำหน้าที่ส่งผ่านอิเล็กตรอน โดยมีเอนไซม์ NADP reductase เป็นตัวสร้าง NADPH และเอนไซม์ ATP synthase เป็นตัวสร้าง ATP หน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบมีโดยสรุปดังต่อไปนี้ ( สำหรับรายละเอียดของแต่ละขั้นตอนได้แสดงไว้ในบทที่ 2 )

      • ระบบแสง II ทำหน้าที่รับพลังงานแสงจากศูนย์เกิดปฏิกิริยา (reaction center) และส่งอิเล็กตรอน ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปสู่ตัวรับส่ง อิเล็กตรอนตัวอื่นๆ เช่น ระบบไซโตโครมต่างๆ และระบบแสง I ส่วนอิเล็กตรอนที่สูญเสียไป จากระบบแสง II (P 680) ก็จะได้รับทดแทนมาจากการแตกตัวของโมเลกุลของน้ำไปเป็นโปรตอน อิเล็กตรอน และ ก๊าซออกซิเจน ( โปรดดูรายละเอียดในรูปที่ 2.4 และ 2.7 )

      • ระบบไซโตโครม (cytochrome b6/f) ทำหน้าที่ส่งผ่านอิเล็กตรอน ซึ่งพลังงานจากการเคลื่อนที่ของ อิเล็กตรอนจะช่วยทำให้โปรตอนเคลื่อนที่จากภายนอกไทลาคอยด์หรือ สโตรมา เข้ามาภายในไทลาคอยด์ หรือลูเมน

      • ระบบแสง I หน้าที่ส่วนหนึ่งคือรีดิวซ์ (reduce) สาร NADP+ ( ในที่นี้หมายความว่า NADP+ ได้รับอิเล็กตรอน และ/หรือ ไฮโดรเจน ) ไปเป็น NADPH  ระบบแสง I ถูกกระตุ้นโดยอิเล็กตรอนที่ถูกส่งผ่านมาจากระบบไซโตโครมและส่งต่อไป เพื่อทำให้ NADP+ เปลี่ยนเป็น NADPH ( โปรดดูรายละเอียดในรูปที่ 2.4 - 2.6 )

      • กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชต้องใช้ระบบแสง 2 ระบบทำงานร่วมกันคือระบบแสง I และระบบแสง II ซึ่งได้พิสูจน์โดยการทดลองของ R.Emerson

      • ATP synthase ทำหน้าที่สร้าง ATP จาก ADP และ  Pi

       

 ATP และ NADPH ที่ได้นี้จะนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงขั้นต่อไป คือปฏิกิริยาที่ไม่ต้องใช้แสง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท