เภสัชสอนคนไข้เบาหวาน(กลุ่ม) แค่ไหนดี


สวัสดีครับ พี่อเนก

ผม ทันสิษฐ์(ผล) จากสถาบันบำราศนราดูรที่เจอในงาน KM ไงครับ 

ตอนนี้ผมกำลังเริ่มทำเป็นรูปร่างแล้วครับ

กำลังอยู่ในช่วงจำกัดเนื้อหาสอนแบบเป็นกลุ่มอยู่

เภสัชเราควรสอนหรือให้ความรู้แค่ไหนดีครับ

เคยสอนแต่เป็นรายบุคคล เลยจำกัดไม่ถูก

อยากมาขอคำแนะนำพี่หน่อยนะครับ



ความเห็น (5)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

Anek Thanonghan
เขียนเมื่อ

สวัสดีครับ น้องผล

     ดีใจจังครับที่ได้รับการติดต่อกลับ และที่ดีใจ และสดุดใจมากๆ ก็ตรงที่เป็นคนเดียวกับ จันทร์เมามาย ที่เขียน blog และเก็บประเด็นได้ดี และน่าอ่านอยู่แล้ว(เคยเข้า blog แต่ไม่ได้ทักทายไว้เลยครับ  แย่จัง) ไม่รู้ว่าวัน มหกรรม ผมเอามะพร้าวไปขายสวนหรือเปล่า เพราะจันทร์เมามาย ก็เป็นเจ้าของสวนมะพร้าวที่น่าไปเยี่ยมบ่อยๆ (เก่ง KM อยู่แล้วครับ)

     ตอบคำถามดีกว่า นะ

     แฮ่ๆ บอกเลยนะครับว่าแลกเปลี่ยนกันดีกว่า เพราะผมก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ  คำถามที่ถามหมายถึงการสอนคนไข้ใช่หรือเปล่าครับ และเป็นโรคเบาหวานด้วย (ทวนคำถาม ตามหลัก DIS)

      ถามว่า เภสัชเราควรสอนแค่ไหนดี ก็น่าจะจับประเด็นยาไว้ก่อนนะครับ แต่ผมให้ความเห็นว่าต้องเป็นเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัว ไม่ต้องวิชาการมาก เช่น เทนที่จะพูดว่ายาแต่ละตัวออกฤทธิ์อย่างไร ก็เป็นว่าเล่าว่า ถ้ายาเข้าร่างกายแล้วจะไปไหน อาจใช้วิธีการเปรียบเทียบ เช่นผมใช้วิธีการเปรียบว่า โรคเบาหวานก็เหมือนแม่น้ำ น้ำที่ไหลมาก็คือน้ำตาล ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ก็ให้นึกถึงตอนน้ำท่วม ที่น้ำไหลล้นแม่น้ำออกมา เป็นมากก็ท่วมมาก เป็นน้อยก็ท่วมน้อย ยาที่ใช้ก็เหมือนกันกับเครื่องสูบน้ำที่เอาไปสูบเอาน้ำออกไปใช้ประโยชน์ ที่จะเอาน้ำที่ท่วมออกไปใช้ให้มากที่สุด ซึ่งก็จะแตกต่างกันในแต่ละที่ที่น้ำท่วม เช่น บางที่เครื่องใหญ่ เครื่องเล็ก ใช้เครื่องเดียวหรือหลายเครื่อง หลายยี่ห้อ หรือใช้วิธีการอื่นร่วมกับเครื่องสูบน้ำ (เปรียบกับยา ที่ต้องใช้แตกต่างกัน ตามระดับของโรคแต่ละคน บางคนใช้ชนิดเดียว บางคนใช้ร่วมกันหลายชนิด ปริมาณก็มากน้อย ไม่เหมือนกัน หรือบ้างคนไม่ได้ผลก็ต้องใช้วิธีอื่นๆช่วย)   ไม่รู้จะงงหรือเปล่านะถ้าเอาไปทำ อิๆๆๆๆ

      แต่ที่สำคัญที่สุด ในการสอนรายกลุ่มก็คือ เราต้องใช้ปัญหาเฉพาะกลุ่มให้เป็นประโยชน์ อาจจะลองถามคร่าวๆก่อนว่า ใช้ยากันอย่างไร หรือใช้ยาแล้วดีหรือไม่ดีอย่างไร แล้วค่อยเสริมตามประเด็นที่กลุ่มให้ความสนใจ จะได้สนุกทั้งคนพูด และคนฟัง เพราะเมื่อเราสังเกตการทำกลุ่มที่สอนซ้ำๆ แบบเดิมๆ คนที่เบื่อจะเป็นเราเอง(ถ้าเป็นคนชี้เบื่อนะ)แล้ววันหลังเราก็จะกลายเป็นหุ่นยนต์ ขาดชีวิตชีวา

    อีกอย่างถ้าเป็นไปได้ ก็คือไม่ต้องแบ่งว่าเรื่องไหนใครสอน ให้มารวมกัน พร้อมๆกัน แล้วถ้ากลุ่มมีเรื่องชี้ประเด็นไปทางไหนก็ให้คนที่เชี่ยวชาญเป็นคนแชร์ เช่นถ้าประเด็นยา ก็ให้เภสัชกร ก็น่าจะดี (นึกถึงคนไข้นะ เค้าไม่ได้เรียงลำดับอยู่แล้วว่าต้องฟังประเด็นไหนก่อนหลัง เพราะโรคเบาหวานมันมีทุกประเด็นปนเปกันอยู่ บางทีคุยเรื่องยา ก็สงสัยเรื่องอาหารเฉยเลยก็มี)

    สรุปว่าที่เล่ามาเป็นประสบการณ์นะครับ (tacit knowledg) ไปปรับดูนะครับในการสอนคนไข้   และเช่นเดียวกันกับที่คนไข้เบาหวานเค้าก็มีประสบการณ์ดีๆ มาแลกเปลี่ยนกับเราเหมือนกัน ลองฟังคนไข้ดู แล้วจะรู้ว่าบางเรื่อง เจ๋งกว่าเราอีกครับ

เอนก ทนงหาญ

  

 



ความเห็น (5)

สวัสดีด้วยคนค่ะ

พบดีมาเข้าแล้วเห็นหัวข้อที่สัมพันธ์กับอาชีพเลยแวะเข้ามาอ่าน ก็เลยอยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยคนค่ะ (คงไม่ว่ากันนะค่ะ)

ที่ทำงานมีคนไข้เบาหวานเยอะ (กว่าครึ่ง) ส่วนตัวยังไม่มีโอกาสทำการให้ความรู้แบบกลุ่ม แต่มีโอกาสให้คำแนะนำรายคน ซึ่งพบว่าปัญหาที่คนป่วยสนใจมักเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับปากท้อง ตับไต เป็นส่วนมาก คิดว่าถ้าคนหัวอกเดียวกันมานั่งคุยกันน่าจะมีประเด็นที่ผู้ป่วยจะได้เปิดอกกันถามตอบมากทีเดียว เภสัชกรอย่างเราๆอาจทำตัวเป็น facilitator เก็บประเด็นแล้วเอามีทำความเข้าใจให้ถูกต้องก็น่าจะดี แบบว่าไม่ต้องเอาตามข้อมูลที่เราต้องการให้อย่างเดียวก็น่าจะตรงใจผู้ป่วยนะค่ะ (อันนี้คิดเอาเอง)

แอบอ่านข้อมูลของคุณเอนก น่าสนใจเชียว ตัวดิฉันเองก็มีการใช้การเปรียบเทียบให้ผู้ป่วยเห็นภาพไปด้วยกัน โดยเปรียบเลือดคนที่เป็นเบาหวานเหมือนน้ำเชื่อม ถ้าน้ำตาลในเลือดสูงเลือดก็หนืดคล้ายน้ำเชื่อม ไหลก็ยาก ทำให้ความดันโลหิตสูง ไตเสื่อม เส้นประสาทเสื่อมเนื่องจากเลือดไหลไปเลี้ยงไม่ดี ผู้ป่วยก็ทำหน้าเหมือนเข้าใจอยู่บ้าง ถ้าน่าสนใจก็เอาไปประยุกต์ใช้ดูนะค่ะ

เอาเป็นว่าจะแอบเข้ามาทักทายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยอีกทีนะค่ะ

ขอบคุณหลายๆ ค่ะ

bowyrx 

ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนครับ (ตามที่พี่ขอเลย)

  • เริ่มเห็นภาพแล้วครับ เพราะปกติผมเจอแต่เคสที่ยาเยอะๆ แบบไม่ใช่เฉพาะเบาหวาน จึงนำมาให้คำปรึกษาที
  • เป็นคำเปรียบที่ดีทั้ง 2 แบบเลยครับ ผมจะลองนำไปคิด+ใช้ดูครับ ลองทบทวนที่ผมเข้าใจนะครับ
  • สำคัญ คือ การฟังคนไข้ก่อนใช่ไหมครับ ว่าเขามีปัญหาอะไร ไม่ใช่ไปสอนเขาดุ่ยๆ ทื่อๆ เลย
  • ที่แปลกจากที่ผมคิด คือ กลุ่มของพี่เอนกเหมือนจะรวมสหวิชาชีพมาทีเดียวเลย ต่างกับของผมที่จะมาทีละคน แต่อันนี้น่าสนใจครับ (ถ้าไม่ติดที่เจ้าหน้าที่บางคนมาไม่ได้)
  • สรุปสุดท้ายพี่เอนกเหมือนบอกว่าไม่ลองไม่รู้ หุๆ ถ้าลองแล้วได้ผลยังไงจะมาบอกครับ ของผมเริ่มต้นปีหน้าครับ

ขอบคุณคุณโบวี่อาร์เอ็กซ์ (อ่านถูกป่าวครับ) ด้วยนะครับที่มาแชร์ความรู้

 

 

ขอบคุณครับ ที่เข้ามาทักทาย  รู้สึกอบอุ่นมากครับที่มีเภสัชกร มาทักทายกัน  จะให้ดี bowyrx น่าจะบอกหน่อยนะครับเป็นใคร จากไหน เผื่อเจอกันในอนาคตจะได้ทักทายครับ

 

 

อยากให้มีกลุ่มเภสัชมารวมกลุ่มเยอะๆ เหมือนกันครับพี่อเนก ใน G2K ผมว่าน่าจะหาไม่ยากนะแต่ก็เจอน้อยจริงๆ ถ้ารวมกันได้มากๆ น่าจะช่วยทำอะไรกันได้หลายอย่างทีเดียว

กำลังจะไปให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวานค่ะ ร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ แบ่งกันไปให้ความรู้คนละ 15 นาที มี แพทย์ เภสัช พยาบาล โภชนากร กายภาพบำบัด ยังคิดไม่ออกเลยว่าจะนำเสนอยังไงดีให้คนไข้เข้าใจง่าย ๆ เคยเปรียบเทียบเหมือนของคุณม้าดีดกะโหลกค่ะ คนไข้ก็ดูสนใจดี(ในรอบก่อน) แต่คนไข้ก็ฝากคำถามมาในรอบนี้ว่าอยากรู้ว่าทานยาแล้วมันมีผลเสียต่ออวัยวะภายในอย่างไรบ้างเพราะบางคนทานมาเป็น 10 ปีแล้วเริ่มกลัว กำลังจะหาวิธีนำเสนอที่เข้าใจง่ายและออกแนว positive หน่อย ๆ ก็น่าจะดี

รบกวนช่วยแนะนำหน่อยนะคะ  ขอบคุณค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท