ถามเรื่อง km ค่ะ


ตั้งแต่ไปดูงานที่รพ.บ้านตากกลับมา คุณหมอก้องเกียรติ ก็ให้ทุกคนไปทำKM กันเองแล้วตอนนี้ได้ลองศึกษาแล้วมีโจทย์ที่ต้องรบกวนถามคุณหมอพิเชษฐ์

 1.km ต้องไม่เพิ่มภาระจากงานประจำ แต่ในทางปฏิบัติถ้าไม่ประชุมเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนฯเราใช้การติดบอร์ดได้หรือไม่

2. การสกัดขุมความรู้ ถ้าให้แต่ละคนที่ประสบความสำเร็จเขียนเป็นบันทึกคล้ายกับไดอารี่ได้มั้ยค่ะ

3. การจะไปถึง best practice นั้นจำเป็นมั้ยที่เราต้องไปทำการศึกษาดูงานเพื่อ benchmarking หรือไม่

4.AAR เกี่ยวข้องกับขั้นตอนตรงไหนของ KMค่ะ

 ขอบคุณมากๆค่ะที่คุณหมอมีช่องทางให้สอบถาม



ความเห็น (2)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

Dr. Phichet Banyati
เขียนเมื่อ

จะขอตอบตามความคิดเห็นและประสบการณ์นะครับ

 

1.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะจัดเวทีแบบไหน เครื่องมืออะไร ก็ได้ตามแต่จะสะดวก การเขียนความรู้ฝังลึกติดบอร์ดก็ใช้ได้ ซึ่งก็น่าจะคล้ายๆกับการเขียนบันทึกลงในบล็อค หรืออาจให้มาพูดออกเสียงตามสายก็ได้ แต่วิธีแบบนี้มักจะเป็นการสื่อสารทางเดียวซึ่งเราได้Explicit knowledge ออกมาก็จริง แต่ถ้าคนเขียนไม่เก่งจะออกมาไม่มากและจะไม่เกิดปฏิสัมพันธ์กันของทีม การจัดเวทีอาจไม่จำเป็นต้องจัดประชุมอย่างเป็นทางการก็ได้ เช่น นัดกินข้าวกลางวันด้วยกันในที่ทำงานหรือนอกที่ทำงานก็ได้

 

2. ทำได้ครับ ก็เหมือนการเขียนบันทึกลงบล็อค เพียงแต่ว่าคนหลายคนอาจจะไม่ถนัดในการเขียน หรืออาจจะให้เขาบันทึกลงบนportfolio ก็ได้ แต่จากกฎการจัดการความรู้ข้อที่ 3 คนทุกคนรู้มากกว่าที่พูดได้เขียนได้ การใช้เครื่องมือสกัดขุมความรู้เพียงวิธีเดียวอาจจะไม่สามารถสกัดขุมความรู้มาได้ทั้งหมด หากเขียนแล้วเอามาอ่านหรือเล่าให้คนอื่นฟังด้วยจะดีมากเพราะจะได้เกิดปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆด้วย

 

3. Best practiceมีหลายระดับ อาจไม่จำเป็นต้องเทียบกับที่อื่น โดยเทียบกับผลงานของตนเองในอดีตก็ได้ แต่ถ้ามีคู่เทียบจากหน่วยงานอื่นๆจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เร็วขึ้นเพราะเราจะได้เรียนลัดจากหน่วยงานอื่นได้ง่าย ก็เหมือนกับการประกวดนางงามมีนางงามหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศไปจนถึงนางงามจักรวาล ก็เลือกเอาตามที่เราพอจะทำได้ก่อนครับ

 

4.  เมื่อทำอะไรสักอย่างเสร็จก็สามารถทบทวนหลังการปฏิบัติหรือทำAARได้ โดยถามตัวเองและเพื่อนร่วมงานง่ายๆว่า วัตถุประสงค์ที่เราทำคืออะไร ทำแล้วได้ผลเป็นอย่างไร อะไรได้ตามที่คาดหวังไว้ อะไรได้น้อยกว่าที่คาดหวังไว้ ที่ทำไปคราวนี้ให้ความรู้/ข้อคิดอะไรๆดีๆกับเราบ้างและคราวหน้าจะต้องปรับปรุงอะไรบ้าง ดังนั้นAARไม่ได้ทำหลังหรือทำเฉพาะการทำKMเท่านั้นAARเป็นการทำในงานประจำครับ เช่นOPDเสร็จงานทุกวันก่อนกลับบ้าน มานั่งคุยกันก่อนสัก 15 นาทีหรือหลังจากIPDส่งเวรรับเวรแล้วก็ต่อด้วยAARสั้นๆสัก 10-15 นาที หรืออกไปนิเทศงานตามอำเภอก่อนแยกย้ายกันกลับก็มานั่งคุยAARกันก่อน

 

                    การทำงานให้ดีด้วยการใช้แนวคิดของKMจึงเป็นการเริ่มต้นที่งานประจำ คุยกันเรื่องงานประจำ ทบทวนกันเรื่องงานประจำ ปรับปรุงเรื่องงานประจำและทำในเรื่องที่เป็นงานประจำของตนเองครับ

             ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง เราไม่ได้ต้องการแค่สกัดความรู้ฝังลึกแล้วบันทึกให้เป็นความรู้ชัดแจ้งเท่านั้น เราในกลุ่มต้องเอาความรู้ชัดแจ้งนั้นกลับไปปรับใช้โดยให้เป็นความรู้ฝังลึกในตัวเรา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานประจำให้ดีขึ้นด้วย ไม่ใช่ภูมิใจแค่ได้Knowledge assetsออกมาเท่านั้น เพราะมันจะได้กระบวนการจัดการความรู้แค่ครึ่งเดียวเท่านั้น และไม่ได้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อการพัฒนางาน คน องค์การและการสร้างBest practice


ความเห็น (2)
จะขอตอบตามความคิดเห็นและประสบการณ์นะครับ1.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะจัดเวทีแบบไหน เครื่องมืออะไร ก็ได้ตามแต่จะสะดวก การเขียนความรู้ฝังลึกติดบอร์ดก็ใช้ได้ ซึ่งก็น่าจะคล้ายๆกับการเขียนบันทึกลงในบล็อค หรืออาจให้มาพูดออกเสียงตามสายก็ได้ แต่วิธีแบบนี้มักจะเป็นการสื่อสารทางเดียวซึ่งเราได้Explicit knowledge ออกมาก็จริง แต่ถ้าคนเขียนไม่เก่งจะออกมาไม่มากและจะไม่เกิดปฏิสัมพันธ์กันของทีม การจัดเวทีอาจไม่จำเป็นต้องจัดประชุมอย่างเป็นทางการก็ได้ เช่น นัดกินข้าวกลางวันด้วยกันในที่ทำงานหรือนอกที่ทำงานก็ได้2. ทำได้ครับ ก็เหมือนการเขียนบันทึกลงบล็อค เพียงแต่ว่าคนหลายคนอาจจะไม่ถนัดในการเขียน หรืออาจจะให้เขาบันทึกลงบนportfolio ก็ได้ แต่จากกฎการจัดการความรู้ข้อที่ 3 คนทุกคนรู้มากกว่าที่พูดได้เขียนได้ การใช้เครื่องมือสกัดขุมความรู้เพียงวิธีเดียวอาจจะไม่สามารถสกัดขุมความรู้มาได้ทั้งหมด หากเขียนแล้วเอามาอ่านหรือเล่าให้คนอื่นฟังด้วยจะดีมากเพราะจะได้เกิดปฏิสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆด้วย3. Best practiceมีหลายระดับ อาจไม่จำเป็นต้องเทียบกับที่อื่น โดยเทียบกับผลงานของตนเองในอดีตก็ได้ แต่ถ้ามีคู่เทียบจากหน่วยงานอื่นๆจะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เร็วขึ้นเพราะเราจะได้เรียนลัดจากหน่วยงานอื่นได้ง่าย ก็เหมือนกับการประกวดนางงามมีนางงามหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศไปจนถึงนางงามจักรวาล ก็เลือกเอาตามที่เราพอจะทำได้ก่อนครับ4.  เมื่อทำอะไรสักอย่างเสร็จก็สามารถทบทวนหลังการปฏิบัติหรือทำAARได้ โดยถามตัวเองและเพื่อนร่วมงานง่ายๆว่า วัตถุประสงค์ที่เราทำคืออะไร ทำแล้วได้ผลเป็นอย่างไร อะไรได้ตามที่คาดหวังไว้ อะไรได้น้อยกว่าที่คาดหวังไว้ ที่ทำไปคราวนี้ให้ความรู้/ข้อคิดอะไรๆดีๆกับเราบ้างและคราวหน้าจะต้องปรับปรุงอะไรบ้าง ดังนั้นAARไม่ได้ทำหลังหรือทำเฉพาะการทำKMเท่านั้นAARเป็นการทำในงานประจำครับ เช่นOPDเสร็จงานทุกวันก่อนกลับบ้าน มานั่งคุยกันก่อนสัก 15 นาทีหรือหลังจากIPDส่งเวรรับเวรแล้วก็ต่อด้วยAARสั้นๆสัก 10-15 นาที หรืออกไปนิเทศงานตามอำเภอก่อนแยกย้ายกันกลับก็มานั่งคุยAARกันก่อน                    การทำงานให้ดีด้วยการใช้แนวคิดของKMจึงเป็นการเริ่มต้นที่งานประจำ คุยกันเรื่องงานประจำ ทบทวนกันเรื่องงานประจำ ปรับปรุงเรื่องงานประจำและทำในเรื่องที่เป็นงานประจำของตนเองครับ            ข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง เราไม่ได้ต้องการแค่สกัดความรู้ฝังลึกแล้วบันทึกให้เป็นความรู้ชัดแจ้งเท่านั้น เราในกลุ่มต้องเอาความรู้ชัดแจ้งนั้นกลับไปปรับใช้โดยให้เป็นความรู้ฝังลึกในตัวเรา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานประจำให้ดีขึ้นด้วย ไม่ใช่ภูมิใจแค่ได้Knowledge assetsออกมาเท่านั้น เพราะมันจะได้กระบวนการจัดการความรู้แค่ครึ่งเดียวเท่านั้น และไม่ได้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงต่อการพัฒนางาน คน องค์การและการสรางBest practice

ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ ได้ไอเดียดีๆขึ้น แล้ว"ต้องเอาความรู้ชัดแจ้งนั้นกลับไปปรับใช้โดยให้เป็นความรู้ฝังลึกในตัวเรา เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติงานประจำให้ดีขึ้นด้วย " เข้าใจ KM แจ่มขึ้นมาอีกนิดนึงค่ะ แล้วจะลองทำดูซักเรื่อง..ชิมลางก่อนนะค่ะ ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท