ทำงานต่อยอด ในเรื่อง สิทธิมนุษยชน เลยใช่ไหมจ้ะ


ช่วยนำเรื่อง ICC มาเล่าให้ฟังบ้างนะจ้ะ สนใจ ๆ

ปล. ทราบว่าน้องน้อตมีโอกาสไปงานสโมสรสันนิบาตมา ยินดีด้วย ๆ เป็นเช่นไรบ้างจ้ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

KN
เขียนเมื่อ

สวัสดีครับพี่ลิ

ก่อนอื่นต้องขอโทษจริงๆที่ทิ้งคำถามของพี่ลิมาเป็นเวลานาน

เรื่องของ ICC นั้นตอนนี้ผมนำไปทำเป็นส่วนหนึ่งของหัวข้อบัณฑิตสัมมนาครับ  สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยนั้นมีอยู่เรื่องเดียวที่เป็นประเด็นคือการเข้าเป็นภาคีของธรรมนูญกรุงโรมจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ  ทั้งนี้มีข้อสังเกตบางประการที่ทำให้กระบวนการให้สัตยาบันของประเทศไทยต่อธรรมนูญฉบับดังกล่าวยังไม่สามารถดำเนินต่อไปได้  โดยเฉพาะข้อสังเกตของกระทรวงกลาโหมที่มีต่อธรรมนูญฯ  ว่าหมิ่นเหม่ต่อการนำเอาสถาบันกษัตริย์ของไทยไปผูกไว้กับระบบของศาล  โดยเฉพาะในส่วนที่มีการกล่าวถึงตัวผู้นำซึ่งหมายความรวมถึงกษัตริย์ของรัฐนั้นด้วย

โดยกระทรวงกลาโหมเห็นว่าองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยมีพระราชฐานะเป็นจอมทัพไทย  มีลักษณะเป็นผู้นำตามที่ธรรมนูญกรุงโรมฯกล่าวไว้  จึงเห็นควรให้รัฐบาลพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในเรื่องนี้โดยละเอียด

สำหรับผมแล้วไม่คิดว่าองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทยจะเข้าข่ายการเป็นผู้นำตามนัยของธรรมนูญกรุงโรมฯ  เพราะสำหรับประเทศไทยแล้วองค์พระมหากษัตริย์ของไทยทรงมีพระราชฐานะเป็นเพียง "สัญลักษณ์" ในทางการระหว่างประเทศเท่านั้น  การดำเนินการใดใดเป็นการดำเนินการผ่านทางรัฐบาลและรัฐสภา  มิได้ทรงประกาศพระราชสงครามด้วยองค์เองอย่างสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าฯที่ทรงประกาศพระราชสงครามกับเยอรมัน  แต่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ผ่านมา  พระราชอำนาจในการประกาศสงครามกลายเป็นการประกาศตามความเห็นชอบของรัฐสภา  รัฐธรรมนูญมิได้กล่าวถึงการประกาศพระราชสงครามโดยองค์เองอย่างสมัยก่อน  อีกทั้งการที่จะเข้าข่ายกระทำความผิดตามธรรมนูญกรุงโรมฯ นั้น  จะต้องเป็นการกระทำในลักษณะรุกราน  หรือก่ออาชญากรรมสงคราม  ซึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทยเราก็ยังไม่เคยปรากฏว่าได้กระทำการรุกรานหรือก่ออาชญากรรมตามนัยของธรรมนูญกรุงโรมฯ แต่อย่างใด

ทั้งนี้อาจเป็นเพราะในสมัยสงครามโลกครั้งที่สององค์พระจักรพรรดิฮิโรฮิโตแห่งญี่ปุ่นเกือถูกควบคุมตัวไปขึ้นศาลอาชญากรรมสงครามเพราะพระองค์มีพระราชฐานะเป็นผู้ประกาศสงคราม  ซึ่งในข้อเท็จจริงนี้ต้องพิจารณาไปถึงรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นในสมัยนั้นว่ามีสาระสำคัญเกี่ยวกับการประกาศสงครามเช่นไร  ปรากฏว่าในขณะนั้นองค์พระจักรพรรดิทรงมีพระราชอำนาจเต็มในการประกาศพระราชสงคราม  ลักษณะดังกล่าวจึกทำให้พระราชฐานะของพระองค์กลายเป็นผู้นำในการก่อสงครามในทันที

ดังนั้นในขั้นตอนการให้สัตยาบัน  เราจึงต้องพิจารณาไปให้ถึงรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรอื่นๆที่ได้ลงนามและให้สัตยาบันแก่ธรรมนูญกรุงโรมว่ารัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรเหล่านั้นมีสาระสำคัญเกี่ยวกับพระมหากัษตริย์และการประกาศสงครามเอาไว้อย่างไร (ขอติดเอาไปรวบรวมรายละเอียดอีกครั้ง)

ส่วนในประเด็นที่สองจะได้กล่าวต่อไป . . .

เมื่อมีคนมาอ่านและลง reply ไว้ ๒  re. ขึ้นไป

นอต



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท