ห้องสมุดมีชีวิต


เก๋

คำว่าห้องสมุดมีชวิตหมายความว่าอย่างไรค่ะ และเราจะทำอย่างไรให้ห้องสมุดของเรามีชีวิตค่ะ

เก๋ก็ทำงานเป็นบรรณารักษ์ที่ห้องสมุดวิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรีค่ะ เป็นลูกจ้าง



ความเห็น (13)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

โทษทีนะคะ ที่ตอบคำถามช้า ห้องสมุดมีชีวิตนี้มีหลายวามหมายนะคะ ถ้าในด้านทฤษฎีก็คงหาได้ไม่ยาก

สรุปได้ว่า ห้องสมุดมีชีวิต คือห้องสมุดที่ไม่นิ่ง มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เป็นปัจจุบัน ซึ่งครอบคลุมถึงสถานที่ บริการซึ่งจะเห็นว่ามีการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ทรัพยากร  วัสดุอุปกรณ์ และบุคลากร สำหรับ trend ในการจัดห้องสมุดมีชีวิตในแง่มุมหนึ่ง คือ การใช้กระจก ที่สามารถมองเห็นการเคลื่อนไหวของผู้ใช้่ห้องสมุด staff ที่กำลังทำงานอยู่ก้ได้

สำหรับความคิดของพี่ที่เกี่ยวกับการทำให้ห้องสมุดมีชีวิตชีวา มี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ควบคุมได้ และปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้

ปัจจัยที่ควบคุมได้ คือ ตัวของเรา ซึ่งเป็นบุคลากรที่เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงานห้องสมุด ต้อง...เป็นผู้สนใจใฝ่เรียนรู้ ติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวในทางห้องสมุดและเหตุการณ์บ้านมือง พูดอะไรก็ต้องรู้ (พี่เองก็รู้ไม่หมดหรอกนะ) มีความคิดสร้างสรรค์ หลายคนบอกว่าต้องคิดนอกกรอบ นอกจากนี้เพื่อการบริการที่ดี ต้องเป็นผู้เต็มใจให้บริการ กระฉับกระเฉง รักงานที่ทำ ซึ่งเรื่องแค่นี้สามารถเกิดจากภายในของตัวเอง หากยังไม่กเิดก็สามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ ซึ่งเมื่อเกิดจากภายในแล้ว เมื่อนำเสนอออกสู่สายตาของผู้รับบริการ หรือมองในภาพรวมของห้องสมุดแล้ว ความมีชีวิต จะเเห็นความมีชีวิตของห้องสมุดได้เลย

สอดคล้องกับแนวคิดของ อ.น้ำทิพย์ วิภาวิน ฝากรายการบรรณานุกรมมาเผื่อติดตามเพิ่มเติม

ผู้แต่ง น้ำทิพย์ วิภาวิน
ชื่อเรื่อง ห้องสมุดมีชีวิต = A living library / น้ำทิพย์ วิภาวิน
พิมพลักษณ์ นนทบุรี : รุ่งโรจน์อินเตอร์กรุ๊ป, 2548

สำหรับปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ แต่ทำได้ ได้แก่

- ทรัพยากรสารสนเทศ ซึ่งมีทรัพยากรที่หลากหลาย ให้ผู้ใช้เลือกใช้ตามความสนใจ เช่น หนังสือ หนังสือพิมพ์ e-books e-journals vcd DVD Internet KID เป็นต้น และต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้ มีความทันสมัยไม่ใช้สำนักพิมพ์ออก edition ที่ 6 แล้ว แต่ในห้องสมุดยังมีแค่ edition ที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือตำราวิชาการ ที่ว่าควบคุมไม่ได้นั้นก็คือเกี่ยวกับงบประมาณ เพราะฉะนั้นห้องสมุดต้องใช้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ตามวัตถุประสงค์ให้มากที่สุด 

-การมีบริการที่หลากหลาย ต้องสามารถรองรับความต้องการและสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน อาจจะเป็นเรื่องที่ยาก แต่อย่างน้อยต้องมีบริการพื้นฐานของห้องสมุด สำหรับบริการอื่นๆ นั้น อาจต้องอาศัยเวลาในการพัฒนา เช่น การมีจุด wireless สำหรับการเชื่อมต่อ notebook ที่มีผุู้นิยมใช้มากในปัจจุบัน หรือ การนำโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้โดยมีฟังก์ชั้นให้ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถส่งคำร้องของจอง หรือยืมต่อผ่านอินเตอรืเน็ตได้

- วัสดุอุปกรณ์/เครื่องมือ/เทคโนโลยีสารสนเทศ ควรพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัย (ถ้ามีงบพอ) รวมถึงการจัดทำเว็บไซต์ของห้องสมุดด้วย ทั้งนี้เพิ่มเสริมศักยภาพของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ มองดูแล้ว Look smart หน่ะ ข้อดีก็คือ บุคลากรปรับตัวได้ทันเทคโนโลยี สำหรับเรื่องต้องอิงกับลักษณะพื้นฐานของห้องสมุดแต่ละแห่งด้วยนะจ๊ะ

-กิจกรรมของห้องสมุด เพื่อให้ห้องสมุดไม่นิ่ง กิจกรรมห้องสมุดเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความมีชีวิตชีวา นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ได้ตามความสนใจ เช่น การจัดบอร์ดที่มีแผนการเปลี่ยนบอร์ดประจำทุกเดือน ไม่ใช่ทุกปี และบอร์ดนั้นควรมีเนื้อหาเป็นปัจจุบันให้มาก หรือแนะนำความรู้ใหม่ๆ   การจัดการเล่านิทาน การทำเอกสารแผ่นพับ การแข่งขันการยืมหนังสือ  การจัดแสดงหนังสือที่มีผู้ยืมมากที่สุด  การรับสมัครสมาชิก Library Club  กิจกรรม Road Showเป็นต้น

-การมีส่วนร่วมของผู้ใช้บริการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสำรวจความคิดเห็น รับข้อมูลจากผู้ใช้บริการ และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของห้องสมุดด้วย เช่น การสำรวจความพึงพอใจ การศึกษาความคิดเห็น การจัดกิจกรรมร่วมกัน การจัดให้ช่องทางให้ผู้ใช้ห้องสมุดเสนอซื้อทรัพยากร เป็นต้น

นี่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของความคิดเห็น ท่านอื่นๆ หากมีความคิดเห็นนำมาแลกเปลี่ยนกันบ้างนะคะ

สำหรับน้องเก่ ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุดมีชีวิตแล้วนะคะ โดยป็นบุคลากรที่สนใจใฝ่รู้...ถึงได้มาใช้ gotoknow.org กันงัยคะ



ความเห็น (13)
ศิริรัตน์ แก้วทอง

ต้องการทราบสื่อการเรียนกาสอน ท่ใช้ในห้องสมุดมีชีวิต จำเป็นหรือไม่ท่ต้องมีแต่หนังสืออย่างเดียว ถ้ามีตัวอย่างขอตัวอย่างด้วยนะคะ ขอบคุณคะ

บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน

อยากได้ตัวอย่างโครงการห้องสมุดมีชีวตค่ะ ไม่ทราบว่าพอมีไหมค่ะ แล้วตอนนี้กำลังจะทำโครงการหนังสือมีเสียงอยากได้คำแนะนำบ้างค่ะ เพราะเพิ่งจบมาใหม่และทำงานเป็นบรรณารักษ์เลยอะค่ะ ยังไงขอความกรุณาด้วยนะค่ะ

ตัวอย่างโครงการกิจกรรมห้องสมุดมีชีวิตที่ คุณบรรณารักษ์ห้องงสมุประชาชนสอบถามมา

อาจไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีนัก...หากทางห้องสมุดประชาชนได้ใช้ประโยชน์ ก็ยินดีอย่างยิ่ง

เสียดายที่ไม่ได้ log in ด้วยชื่อจึงไม่สามารถตอบกลับทาง e-mail ได้

ชื่อกิจกรรม การเล่านิทานส่งเสริมการออมสำหรับเด็ก

หน่วยงานที่รับผิดชอบ สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สถานที่ปฏิบัติงาน มุมความรู้ตลาดทุน ชั้น 2 อาคาร 1 สำนักวิทยบริการ

ระยะเวลาดำเนินการ ทุกวันศุกร์ เริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 18 เดือนเมษายน 2551

ถึงวันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม 2551

หลักการและเหตุผล

เนื่องจากสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย ในมหาวิทยาลัยขอนแก่นและชุมชน โดยการจัดหา จัดเก็บ บำรุงรักษาและบริการทางวิชาการในรูปของสื่อต่างๆทั้งสิ่งตีพิมพ์ สิ่งไม่ตีพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถเข้าถึงสารสนเทศและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้ สำนักวิทยบริการได้เล็งเห็นถึงความสำคัญตามแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชที่ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลาดระดับสากลจุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัตน์ และระบบเศรษฐกิจพอเพียงนั้น มุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัดตามกำลังของเงินของบุคคล โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน ดังนั้นเมื่อเยาวชนในชาติมีการจัดการการเงินส่วนบุคคลที่เหมาะสม ย่อมเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างระบบเศรษฐกิจของชาติต่อไป

อนึ่ง สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับการสนับสนุนทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะทางจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้บริการสารสนเทศเกี่ยวกับความรู้ทางด้านการเงิน การออม และการลงทุน แก่บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงประชาชนทั่วไปในชุมชน ในรูปแบบของมุมความรู้ตลาดทุน (SET Corner) มาตั้งแต่ปี 2547 จึงได้เห็นความสำคัญในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะทาง เช่น หนังสือนิทาน เป็นสื่อในการกระตุ้นแนวคิดให้เกิดการออมสำหรับเยาวชนขึ้น จึงได้จัดโครงการเล่านิทานส่งเสริมการออมสำหรับเด็กขึ้นในระหว่างปิดภาคเรียน เพื่อปลูกฝังให้เกิดนิสัยรักการออมสำหรับเด็กที่สนใจเข้าร่วมโครงการ ตลอดจนการส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และทำให้เยาวชนในชุมชนรู้จักกับสำนักวิทยบริการในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้คู่ชุมชน ที่จะสามารถมาเรียนได้ตามอัธยาศัยต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการออมให้กับเยาวชน

2. เพื่อแนะนำแหล่งเรียนรู้และส่งเสริมการรักการอ่านให้กับเยาวชน

3. เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยให้กับยาวชน

4. เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ระยะเวลาการดำเนินงาน

เริ่มตั้งแต่ วันที่ 18 เมษายน ถึงวันที่ 23 พฤษภาคม 2551

จัดกิจกรรมเล่านิทานจำนวน 6 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 97 คน

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชนอายุระหว่าง 5-13 ขวบ ที่อาศัยอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 50 คน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการกระตุ้นให้มีนิสัยรักการออม

2. เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมรู้จักสำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะเป็นแหล่งเรียนรู้คู่ชุมชน ที่จะสามารถมาเรียนรู้ตามอัธยาศัยได้ในภายหลัง

3. เยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมและนักศึกษาช่วยงานได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

4. สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีกิจกรรมการบริการวิชาการโดยการส่งเสริมการอ่านให้กับเยาวชนในชุมชน

5. มุมความรู้ตลาดทุน ที่สนับสนุนโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับการประชาสัมพันธ์ในชุมชน โดยการเข้ามีกิจกรรมที่ให้ผู้สนใจมีส่วนร่วม

การดำเนินการ

ขั้นเตรียมการ

- ประชุมและวางแผนงาน

- เขียนโครงการ

- คัดเลือกนิทานและจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรม

ขั้นการดำเนินการ

- แจกบัตรเชิญเข้าร่วมโครงการเล่านิทานส่งเสริมการออมสำหรับเด็ก

- เล่าความเป็นมาของ โครงการเล่านิทานส่งเสริมการออมสำหรับเด็ก

- เล่านิทาน

- ทำกิจกรรมวาดภาพ

- ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

รายชื่อนิทานที่นำมาเป็นสื่อประกอบ

วันที่ 18/04/2551 - นักขายกล้วยไข่

- หมูอู๊ดอี๊ดกับกระปุกกายสิทธิ์

วันที่ 25/04/2551 - อูฐออม

- ห้าพี่น้องกับของเล่นใหม่

วันที่ 02/05/2551 - กรุ๊งกริ๊ง

- ฉันจะเก็บบ้างนะ

วันที่ 09/05/2551 - เรื่องเล่าของเจ้าหญิง

- เพนกวินน้อย

วันที่ 16/05/2551 - ออมสินฟักทอง

- รางวัลของอดออม

วันที่ 23/05/2551 - นักขายกล้วยไข่

- ห้าพี่น้องกับของเล่นใหม่

การประเมินผลและสรุปงาน

ในการประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรม ได้ดำเนินการประเมินดังนี้

- ประเมินผลเยาวชนหรือผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการ โดยการทำสถิติผู้เข้าร่วมโครงการ การสังเกต และการสัมภาษณ์

- ประเมินผลการดำเนินงานของนักศึกษาที่เป็นนักศึกษาช่วยงานในโครงการ SET

- การเก็บสถิติการดำเนินงานด้านต่างๆ

สรุปผลการดำเนินการมีดังนี้

สรุปจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเล่านิทานส่งเสริมการออมสำหรับเด็ก

ครั้งที่ วัน/เดือน/ปี กิจกรรม จำนวน

ผู้เข้าร่วม (คน)

1 18/04/2551 - ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการเล่านิทานเพื่อการออม

-แนะนำความเป็นมาของโครงการเล่านิทานเพื่อการออม

-อธิบายข้อปฏิบัติการเข้าใช้ห้องสมุด

-กิจกรรมล่ารายชื่อ

-กิจกรรมเล่านิทาน ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมวาดภาพระบายสี

-กิจกรรมเขียนเรียงความ

-ประเมินผลกิจกรรม 32

2 25/04/2551 -ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการเล่านิทานเพื่อการออม

-กิจกรรมล่ารายชื่อ

-กิจกรรมเล่านิทาน ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมวาดภาพระบายสี

-กิจกรรมเขียนเรียงความ

-ประเมินผลกิจกรรม 24

3 02/05/2551 -ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการเล่านิทานเพื่อการออม

-กิจกรรมล่ารายชื่อ

-กิจกรรมเล่านิทาน ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมการเข้าใช้ e-learning ของ tsi-thailand.org

-กิจกรรมวาดภาพระบายสี

-กิจกรรมเขียนเรียงความ

-ประเมินผลกิจกรรม 15

4 09/05/2551 -ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการเล่านิทานเพื่อการออม

-กิจกรรมล่ารายชื่อ

-กิจกรรมเล่านิทาน ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมการเข้าใช้ e-learning ของ tsi-thailand.org

-กิจกรรมค้นหาคำตอบจากหนังสือ SET

-กิจกรรมวาดภาพระบายสี

-กิจกรรมนักเล่านิทานตัวน้อย

-ประเมินผลกิจกรรม 10

5 16/05/2551 -ลงทะเบียนการเข้าร่วมโครงการเล่านิทานเพื่อการออม

-กิจกรรมล่ารายชื่อ

-กิจกรรมเล่านิทาน ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมการเข้าใช้ e-learning ของ tsi-thailand.org

-กิจกรรมเล่นเกมถาม-ตอบเรื่องการออม

-กิจกรรมค้นหาคำตอบจากหนังสือ SET

-กิจกรรมวาดภาพระบายสี

-ประเมินผลกิจกรรม 10

6 23/05/2551 -กิจกรรมแนะนำตัว

-กิจกรรมเล่านิทาน ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมนักเล่านิทานตัวน้อย ตอบคำถาม-ชิงรางวัล

-กิจกรรมการเข้าใช้ e-learning ของ tsi-thailand.org

-กิจกรรมวาดภาพระบายสี

-ประเมินผลกิจกรรม 6

งบประมาณที่ใช้

1. ค่าของรางวัล/ของที่ระลึก 500 บาท

2. ค่าตอบแทนนักศึกษาวันละ 250 บาท 1,500 บาท

(ได้รับการสนับสนุนจาก SET Corner)

รวมทั้งสิ้น 2,000 บาท

และต้องขออภัยคุณศิริรัตน์ แก้วทอง ด้วยที่ตอบคำถามช้า ด้วยว่าเป็นช่วงยุ่งๆ เลยไม่แน่ใจว่าคำตอบที่สิริพรตอบไปยังจะเป็นประโยชน์ต่อคุณศิริรัตน์อยู่หรือไม่... ในเชิงวิชาการอาจจะมีตำราให้เรียนรู้ว่า การบริหารจัดการห้องสมุดมีชีวิตเป็นอย่างไร สำหรับทัศนะของสิริพร ที่ส่วนใหญ่เกิดมาจากการปฏิบัติงานนั้น (แบบว่าไม่ได้มีโอกาสไปเรียนรู้เพิ่มเติมเท่าไหร่หน่ะค่ะ) คิดว่าห้องสมุดมีชีวิต ควรจะมีสื่อต่างๆ ดังต่อไปนี้ - สื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งไม่ควรมีเฉพาะหนังสือ ควรมีหนังสือพิมพ์ (ไทย+ต่างประเทศ เช่น Bangkok Post) มีวารสาร เช่น หมอชาวบ้าน เนชั่นจีโอกราฟฟิก หรือ student weekly รวมถึงนิทานหรือนวนิยายด้วย เป็นต้น ควรมีหลากหลายเนื้อหาและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของห้องสมุด รวมถึงครอบคลุมกลุ่มผู้ใช้บริการทุกช่วงวัยด้วย ทั้งนี้ห้องสมุดมีบทบาทที่สำคัญมากในการร่วมสร้างสังคมฐานความรู้ และการ "เก่ง ดี มีสุข" - เอกสารแจกต่างๆ เช่น แผ่นพับแนะนำสถานที่ท่องเที่ยว แผ่นพับแนะนำการรักษาโรคของโรงพยาบาล แผ่นพับทางด้านการเกษตร ซึ่งอาจทำเรื่องขอบริจาคไปยังหน่วยงานในชุมชนได้ - สื่อโสตทัศนวัสดุ ได้แก่ CD- ภาพยนตร์ สารคดี เพลง นิทาน, เทปเพลง เทปภาษา สไลด์, DVD, CVD เป็นต้น และอย่าลืมจัดหาวัสดุอุปกรณ์สำหรับใช้คู่กับสื่อเหล่านั้นด้วยนะคะ เพระห้องสมุดมีชีวิต ควรให้ผู้ใช้สามารถใช้สื่อต่างๆ ได้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ใช่กลับไปใช้ที่บ้าน (สำหรับ VCD, DVD ควรระวังเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย) - เกม สำหรับพัฒนาการเรียนรู้และสมอง เช่น ลูกบิด (เรียกชื่อไม่ถูก ที่เป็นลุกบาศก์มี 9 ช่อง 6 ด้านและหมุนให้เป็นสีเดียวกัน) หมากฮอส หมากรุก Scable หมากโกะ เป็นต้น - ของจริงและของตัวอย่าง เช่น สิ่งของแสดงภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น กระบวย หวดนึ่งข้าว กบไสไม้ ลอบ พร้อมมีคำอธิบายหรือแนะนำแหล่งความรู้ประกอบ นอกจากนั้นยังมีลูกโลก แผนที่ สัตว์ดอง โครงกระดูกแสดงกายวิภาค (แหะ...ไอเดียบรรเจิด) - ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีราคาแพง มีทั้งแบบเป็น CD และออนไลน์ ให้ข้อมูล fulltext ซึ่งต้องใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับอินเตอร์เน็ตนั้นจะช่วยให้ผู้ใช้ห้องสมุดค้นคว้าได้กว้างขวางไม่มีขอบเขต -กฤตภาค ปัจจุบันมีระบบออนไลน์ที่มีบริษัทจัดทำและตำหน่าย หากทุนน้อย สามารถตัดบทความที่น่าสนใจจากหนังสือพิมพ์เก่า บอกชื่อหนังสือพิมพ์ วันที่ หน้าที่ปรากฏ และเข้าแฟ้มไว้ตามหัวเรื่อง - นิทรรศการ เป็นสื่อการเรียนรู้ที่สามารถจัดหมุนเวียนตามเหตุการณ์ได้ หรือตามหัวข้อที่ผู้จัดต้องการจะสื่อ อาจเป็นนิทรรศการถาวร หรือนิทรรศการชั่วคราวก็ได้ - บุคคล ได้แก่ บรรณารักษ์ หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาต่างๆ นัดหมายให้มาพูดเสวนา ซึ่งจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

สำหรับคุณ "บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน" อีกครั้ง กับคำถามเรื่องหนังสือเสียง พี่มีประสบการณ์ในการไปช่วยทำหนังสือที่ห้องสมุดโรงเรียนคนตาบอด วิธีการ คือ

- มีเกณฑ์การคัดเลือกหนังสือมาจัดทำหนังสือเสียง

 - เริ่มอ่านหนังสือเสียง โดยทุกเรื่องก่อนเข้าเนื้อหา อ่านชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ครั้งที่พิพม์ สำนักพิมพ์ สถานที่พิมพ์ ปีที่พิมพ์ (ตามหน้าปกใน) จำนวนหน้า และบอกชื่อหน่วยงานผู้ผลิต และชื่อผู้อ่าน

 - วิธีการอ่าน ให้อ่านด้วยนำเสียงธรรมดา หากทำเป็นเสียงสูงๆต่ำ เหมือนพากย์ละครวิทยุ ผู้อ่านอาจจะเหนื่องในการถ่ายทอด และควรออกเสียงสรถ คำควบกล้ำ และการเว้นวรรคตอนให้ดี เพื่อการสื่อสารที่ไม่ผิดพลาด

- สิ่งที่ควรระวังในการอ่านนั้น คือ เสียงถอนหายใจ และเสียงกดปุ่ม และสถานที่ในการอัดเสียง ไม่ว่าจะอัดด้วยเทปบันทึกเสียง หรือMP3, MP4, หรือโปรแกรมสำเร็จรูปก็ตาม สถานที่อัดเสียง ควร "เงียบ" ปรากศจากเสียงรบกวน เช่น เสียงรถ เสียงตะโกนของชาวบ้าน

อาจจะขอความรู้เพิ่มเติมจาก มูลนิธิธรรมิกชนเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สำนักงานใหญ่) ตู้ ป.ณ. 88 214 หมู่ 10 ถ.ประชารักษ์ ต.บ้านเป็ด อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40000 043-239499,242098 Fax 043-242488 www.cfbt.or.th

สำหรับขอนแก่นนั้น รับอาสาสมัครผู้อ่านหนังสือระคะ โดยจะอบรมให้ฟรี โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปนะคะ (สอบถามเพิ่มเติมที่ อาจารย์วินิต) แต่อบรมแล้วต้องช่วยอัดเสียงให้กับศูนย์นะคะ โดยจะไปทำที่ศูนย์หรือที่บ้านก็ได้

บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน

ขอบพระคุรมากเลยค่ะ ยังไง ได้ทิ้งอีเมลไว้ไห้แล้วนะค่ะ ขอบพระคุณอย่างยิ่งเลยค่ะ อ่อหนูชื่อ มะปรางค่ะ

บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน

ขอบพระคุรมากเลยค่ะ ยังไง ได้ทิ้งอีเมลไว้ไห้แล้วนะค่ะ ขอบพระคุณอย่างยิ่งเลยค่ะ อ่อหนูชื่อ มะปรางค่ะ[email protected]

สวัสดีค่ะ ขอความช่วยเหลือหน่อยค่ะ พอดีดิฉันกำลังจะทำรายงาน

เกี่ยวกับเรื่องห้องสมุดมีชีวิตอ่ะค่ะ แตทำไม่ถูกไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนก่อน

อยากทราบว่าหัวข้อหลักๆของห้องสมุดมีชีวิตมีอะไรบ้างค่ะ

ต้องส่งรายงานอาทิดหน้าแล้วค่ะ รีบตอบกลับมาน่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ตอบคุณ ome นะคะ

  • คงเริ่มต้นจากการรวบรวมเอกสารที่เกียวของมาอ่าน มีเรื่องที่เกี่ยวข้องมากมาย
  • ง่ายๆ กับหนังสือของ อ.น้ำทิพย์ ที่ให้รายการบรรณานุกรมไว้ข้างบน
  • หากไม่ไปห้องสมุด ไม่ซื้อไว้เอง ก้อแวะไปร้านหนังสือ เปิดดูสารบัญสักหน่อย
  • คงได้จุดเริ่มแล้วหล่ะค่ะ

ขอบคุณค่ะ ที่ให้ขอแนะนำ

ช่วยตอบให้หน่อยจ้า

- วัตถุประสงค์ของห้องสมุดมีชีวิต คืออะไรค่ะ ?

- ลักษณะและรูปแบบของห้องสมุดมีชีวิตมีอะไรบ้าง

- ส่วนประกอบหลักของห้องสมุดมีชีวิตมีอะไรบ้างอยากรู้ค่ะ ?

- การจัดบริการของห้องสมุดมีชีวิตมีอะไรบ้างค่ะ

- และการดำเนินงานในห้องสมุดมีชีวิต มีการดำเนินงานอย่างไรค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ PICK

ถ้าเอาจากประสบการณ์ก็อย่างที่เล่าข้างบนหล่ะค่ะ

ถ้าเอาวิชาการจริงๆ ต้องค้นจากเอกสารตำรา

ถ้าชอบง่ายๆ ก้อช้อปจาก Google สิคะ ใช้คำว่า ห้องสมุดมีชีวิต+ความหมาย, ห้องสมุดมีชีวิต+รูปแบบ ฯลฯ มี

ข้อมูลที่น่าสนใจมากมาย...แต่อย่าลืมเคารพสิทธิในงานของคนอื่นด้วย "โดยต้องทำการอ้างอิง" ทุกครั้ง

เช่น ข้อมูลที่ปรากฏในเว็บ "ห้องสมุดมีชีวิต แห่งโรงเรียนสามพรานวิทยา"

คำว่า “ห้องสมุดมีชีวิต” ปรากฏขึ้นในเมืองไทยโดย นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวคำนี้ในการสัมมนาทางวิชาการ ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2544 และได้กล่าวในปาฐกถา โรงเรียนในฝัน 1 โรงเรียน 1 อำเภอ จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2546 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งได้สร้างความตื่นตัวให้แก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวางและได้สนองนโยบายดังกล่าวโดยการดำเนินการให้ห้องสมุด “มีชีวิต” ตามความเข้าใจของตนตั้งแต่นั้นมา
คำว่า “ห้องสมุดมีชีวิต” มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Living Library คำว่า “ ชีวิต” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546 : 366) ให้ความหมายไว้ว่า “ความเป็นอยู่” ซึ่งคำนี้หากมองในเชิงการตีความอาจหมายถึง “ ไม่ตาย” “ดำรงอยู่” และสิ่งมีชีวิตต้องมีการเจริญเติบโต หรืออาจหมายถึง “ชีวิตชีวา” ซึ่งหมายถึง ความสดชื่นคึกคัก หรือความสดชื่นแจ่มใส (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2547: 275)
ดังนั้นอาจสรุปได้ว่า “ห้องสมุดมีชีวิต” หมายถึง แหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกในสังคมได้ศึกษาค้นคว้าใฝ่หาความรู้ด้วยตนเองอย่างมีความสุข อย่างเสมอภาคเท่าเทียมกันและมีการพัฒนาก้าวหน้าหรือเติบโตต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งผสมผสานกับความมีชีวิตชีวา สดชื่นแจ่มใส

องค์ประกอบของห้องสมุดที่มีชีวิต


1. ด้านที่ตั้ง ควรอยู่ในบริเวณศูย์กลางที่สัญจรไปมาได้สะดวกเข้าไปใช้บริการได้ง่าย
2. ด้านอาคารสถานที่ควรมีพื้นที่เพียงพอและเหมาะสมในการใช้งานและใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอาคารสถานที่ที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
            1) ด้านรูปแบบอาคาร ควรเป็นอาคารเอกเทศ สวยงาม โปร่งตา กลมกลืนกับอาคารโดยรอบ
            2) ด้านการใช้วัสดุตกแต่ง ควรมีการตกแต่งบานประตูหน้าต่าง สวนหน้าห้องสมุดและส่วนการใช้งานอื่น ๆ อย่างเหมาะสม ใช้พืชและสัตว์สวยงามตกแต่งอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นต้น
            3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ควรมีเฟอร์นิเจอร์หลากหลายรูปแบบ มีบริเวณอาหารและเครื่องดื่มเป็นต้น
            4) ด้านการจัดพื้นที่ใช้สอย ควรมีพื้นที่ใช้สอย เช่น การจัดเวทีแสดง การจัดมุมต่าง ๆ เช่น มุมพักผ่อน มุมสนทนา มุมเด็ก มุมวัยรุ่น เป็นต้น
            5) การรักษาความสะอาด ควรมีการรักษาความสะอาดทั้งภายในอาคารและภายนอกอย่างสม่ำเสมอ
3. ด้านการจัดบรรยากาศ ควรเป็นบรรยากาศที่เป็นกันเอง การเลือกใช้สีที่สดใสสบายตา เฟอร์นิเจอร์เหมาะสมกับการใช้งาน มีการแต่งบริเวณจุดต่าง ๆ ด้วยต้นไม้ ดอกไม้ รูปภาพเป็นต้น ส่วนบรรยากาศด้านการเรียนรู้นั้น ควรมีเจ้าหน้าที่ที่มีจิตใจด้านการบริการ เพื่อช่วยในการเรียนรู้ นอกจากนี้ควรจัดมุมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เช่นการจัดมุมเด็กเพื่อการเรียนรู้ของเด็กโดยเฉพาะ การจัดมุมอ่านหนังสือพิมพ์ การแบ่งพื้นที่ใช้เสียงได้กับพื้นที่ห้ามใช้เสียงอย่างชัดเจน การจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่หลากหลายอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนการสร้างระเบียบวินัยในห้องสมุด เช่นการใช้โทรศัพท์มือถือ การพูดคุยกันในห้องสมุดเป็นต้น
4. ด้านครุภัณฑ์ ควรคำนึงถึงรูปแบบที่ทันสมัย สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า
5. ด้านทรัพยากรสารสนเทศ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของห้องสมุดที่มีชีวิต จึงควรมีทรัพยากร สารสนเทศที่ครอบคลุมทุกสาระวิชา ครอบคลุมผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม มีทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ มีหลากหลายประเภท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ วัสดุตีพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์ มีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการและ อยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งานได้เป็นอย่างดี
6. ด้านบุคลากร ในฐานะผู้ให้บริการถือว่าเป็นองค์ประกอบเดียว ในห้องสมุดที่เป็น “สิ่งที่มีชีวิต” ดังนั้นบุคลากรจึงเป็นหน่วยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนกลไกต่าง ๆ ในห้องสมุดให้ดำเนินไปอย่างมีชีวิต และควรมีจิตสำนึกในการบริการ มีความเสียสละรับผิดชอบต่อหน้าที่ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อสร้างบรรยากาศให้ห้องสมุดมีชีวิตชีวา อยู่เสมอ
7. ด้านงบประมาณ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะช่วยให้การดำเนินงานทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
            1) งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากหน่วยงานต้นสังกัด
            2) งบประมาณที่ห้องสมุดจัดหาเอง
8. ด้านการบริการและกิจกรรม ที่ห้องสมุดสามารถดำเนินการเพื่อให้มีชีวิตชีวา อาจจำแนกเป็นประเภทได้ดังนี้
            1) บริการพื้นฐาน อาจจำแนกออกได้ดังนี้
                    1.1) บริการก่อนนำออกให้บริการ เช่น การคัดเลือกจัดหาทรัพยากร การจัดหมวดหมู่ การจัดทำดรรชนีวารสาร บรรณนิทัศน์ การทำกฤตภาค การทำป้ายบอกตำแหน่งชั้นหนังสือและป้ายแนะนำอื่น ๆ เป็นต้น
                    1.2) บริการทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ บริการวัสดุอ้างอิง บริการยืมคืนทรัพยากรบริการสืบค้นข้อมูล บริการเผยแพร่ทรัพยากร เป็นต้น
            2) บริการพิเศษ เช่นบริการให้คำปรึกษาส่วนบุคคล การผลิตทรัพยากรสารสนเทศ และวัสดุที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ และการบริการชุมชน เป็นต้น
            3) กิจกรรมพิเศษ เป็นการดำเนินงานในโอกาสต่าง ๆ ของห้องสมุดที่สามารถดำเนินการได้มีหลายรูปแบบ ดังนี้
                    3.1) กิจกรรมในห้องสมุด
1) กิจกรรมที่ดำเนินงานโดยห้องสมุด ซึ่งถือเป็นภารกิจของห้องสมุด เช่น การจัดสัปดาห์ห้องสมุด การจัดนิทรรศการ การออกร้านหนังสือ การจัดบรรยาย การสาธิต อบรม และสัมมนา เป็นต้น
2) กิจกรรมที่ดำเนินงานโดยหน่วยงานอื่น เป็นการขอใช้พื้นที่ภายในห้องสมุด เช่น การจัดนิทรรศการศิลปะ การประชุม การอบรม สัมมนาทางวิชาการ เป็นต้น
                   3.2) กิจกรรมนอกห้องสมุด เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเพื่อบริการสังคมเป็นสำคัญ เช่น การให้บริการห้องสมุดเคลื่อนที่ การจัดประชุมสัมมนา สาธิตในชุมชน เป็นต้น

ค้นเมื่อ 16 มกราคม 2552 จาก http://61.19.42.67/library/living_library.htm 

คำว่าห้องสมุดมีชีวิตหมายความว่าอย่างไร

เราจะจัดห้องสมุดในรูปแบบไหน

มีการอบรมการจัดห้องสมุดที่ไหนบ้างโดยเฉพาะภาคเหนือ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท