บทบาทพยาบาลในงานชีวอนามัย ในการดู อาชีพแม่ค้าขายอาหารตามสั่ง


การประเมินสิ่งคุกคามที่มีผลต่อสุขภาพอาชีพ : แม่ค้าขายอาหารตามสั่ง

1. ปัญหาจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

  1. 1. อันตรายจากความร้อนจากเปลวไฟและน้ำมันในการทำอาหาร ทำให้ผู้ประกอบอาชีพอาจเกิดบาดแผลจากการถูกความร้อนสัมผัสผิวหนัง และความร้อนจากสภาพอากาศไม่ถ่ายเท

ปัญหาความร้อนจากเปลวไฟที่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพ

  1. 1. ผิวหนังเกิดแผลพุพองจากความร้อนของเปลวไฟ และน้ำมันในการประกอบอาหาร
  2. 2. เป็นตะคริว(Heat Cramp) เนื่องจากความร้อนจากการสูญเสียน้ำเกลือแร่ไป กับเหงื่อ
  3. 3. การอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน (Heat Exhaustion)
  1. 2. อันตรายจากแสงที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากมีแสงสว่างไม่เพียงพอในการทำอาหาร ทำให้ผู้ประกอบอาชีพอาจได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น การใช้มีด การใช้ไม้เสียบหมู และอาจทำให้ผู้ประกอบอาชีพปวดตา ตาแห้ง

ปัญหาจากแสงที่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพ

แสงสว่างที่น้อยเกินไป จะมีผลเสียต่อตา ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานมากเกินไป
โดยบังคับให้ ม่านตาเปิดกว้าง เพราะการมองเห็นนั้นไม่ชัดเจน ต้องใช้เวลาในการมองเห็นรายละเอียดนั้น ทำให้เกิดการเมื่อยล้าของตาที่ต้องเพ่งออกมา ปวดตา มึนศีรษะ ประสิทธิภาพและขวัญกำลังใจในการทำงานลดลง การหยิบจับ ใช้เครื่องมือผิดพลาดเกิดอุบัติเหตุขึ้น หรือไปสัมผัสถูกส่วนที่เป็นอันตราย

  1. 3. อันตรายจากฝุ่นบนถนนและควันไฟจากการประกอบอาหารทำให้ระคายเคืองระบบหายใจ
    และปวดแสบตา ตาแห้ง

ปัญหาจากฝุ่นบนถนนและควันไฟที่มีผลกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพ

  1. 1. ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับปอดและระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหอบหืด โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด
  2. 2. ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นแรงขึ้น อัตราการผันแปรการเต้นของหัวใจลดลง มีความเสี่ยงเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
  3. 3. ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว ความดันโลหิตสูงขึ้น ความหนืดของเลือดเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดในสมองได้

การวินิจฉัยปัญหางานอาชีวอนามัย

ความร้อนจากเปลวไฟ น้ำมัน และแสงสว่างที่ไม่เพียงพอที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บได้ รวมถึงฝุ่นควันบนถนนและควันไฟที่ส่งผลต่อระบบหายใจ

แนวทางการแก้ไขด้านกายภาพ

  1. 1. อันตรายจากความร้อนจากเปลวไฟและน้ำมันในการทำอาหาร ทำให้ผู้ประกอบอาชีพอาจเกิดบาดแผลจากการถูกความร้อนสัมผัสผิวหนัง และความร้อนจากสภาพอากาศไม่ถ่ายเท

  (1.1) ผิวหนังเกิดแผลพุพองจากความร้อนของเปลวไฟ และน้ำมันในการประกอบอาหาร

แนวทางป้องกัน

     1. แนะนำการปฐมพยาบาลเมื่อถูกเปลวไฟหรือน้ำมันกระเด็นจากการประกอบอาหาร

          1.1 ล้างด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิปกติ ซึ่งจะช่วยลดการหลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการปวดบริเวณบาดแผลได้

          1.2 หลังจากนั้นซับด้วยผ้าแห้งสะอาด แล้วสังเกตว่าถ้าผิวหนังมีรอยถลอก มีตุ่มพองใสหรือมีสีของผิวหนังเปลี่ยนไป ควรรีบไปพบแพทย์

          1.3 หากมีแผลบริเวณใบหน้า จะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะบริเวณใบหน้ามักจะเกิดอาการระคายเคืองจากยาที่ใช้

          1.4 ห้ามใส่ยาใดๆก่อนถึงมือแพทย์ ไม่ควรใส่ตัวยา/สารใด ๆ ทาลงบนบาดแผล ถ้าไม่แน่ใจในสรรพคุณที่ถูกต้องของยาชนิดนั้น โดยเฉพาะ“ยาสีฟัน” “น้ำปลา” เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อบาดแผล เพิ่มโอกาสการเกิดบาดแผลติดเชื้อ และทำให้รักษาได้ยากขึ้น

2. แนะนำให้สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หรือชุดที่ช่วยป้องกันความร้อนจากน้ำมันกระเด็น
และความร้อนจากเปลวไฟ

(1.2) เป็นตะคริว(Heat Cramp) เนื่องจากความร้อนจากการสูญเสียน้ำเกลือแร่ไป กับเหงื่อ

แนวทางป้องกัน

  1. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะตะคริวมักเกิดในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือคนที่ขาดการออกกำลังกายที่ดีพอ

  2. การฝึกการยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ เช่น ที่น่องอาจทำได้โดยการกระดกเท้าขึ้นลง หรือเอามือแตะปลายเท้าขณะเหยียดเข่า ปั่นจักรยานอยู่กับที่ หรือยืนบนส้นเท้าห่างผนัง 1 ฟุตแล้วเอามือทาบผนังและค่อยๆ เหยียดแขนออกเพื่อยืดกล้ามเนื้อประมาณ 30 วินาทีแล้วทำใหม่ เป็นต้น

 3. ควรดื่มน้ำและเกลือแร่ทดแทนให้เพียงพอ

  4. ควรพักผ่อนให้เพียงพอ

  5. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

  6. ผู้สูงอายุควรค่อยๆ ขยับแขนขาช้า ๆ และหลีกเลี่ยงอากาศเย็นมากๆ

 7. สวมรองเท้าที่พอเหมาะและอาจใส่ถุงเท้าตอนนอนเพื่อป้องกันการเกร็งของเท้า

(1.3) การอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน (Heat Exhaustion)

แนวทางป้องกัน

  1. เลือกคนที่เหมาะสมกับงาน เช่น คนหนุ่มจะแข็งแรงกว่าคนแก่ คนผอมจะทนต่อความร้อน
ได้ดีกว่าคนอ้วน

   2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ และจัดเตรียมน้ำดื่มให้เพียงพอตลอดระยะเวลาทำงาน

  3. เมื่อเกิดอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืดเวียนศีรษะ ฯลฯ ควรพักในที่ร่มทันที

  4. เลือกสวมเสื้อผ้าสีอ่อน ไม่หนา ระบายความร้อนได้ดี

  5. จำกัดระยะเวลาการทำงาน เพื่อลดระยะเวลาที่จะสัมผัสกับความร้อนน้อยลง

  1. 2. อันตรายจากแสงที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากมีแสงสว่างไม่เพียงพอในการทำอาหาร ทำให้ผู้ประกอบอาชีพอาจได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เช่น การใช้มีด การใช้ไม้เสียบหมู และอาจทำให้ผู้ประกอบอาชีพปวดตา ตาแห้ง

แนวทางป้องกัน

          1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อุดมไปด้วยสารอาหารครบถ้วน เช่น ผักใบเขียวเข้ม ไข่ ถั่ว โปรตีนที่ไม่ได้มาจากเนื้อสัตว์ ส้ม ผลไม้หรือน้ำผลไม้รสเปรี้ยว เนื้อหมู สัตว์ปีก ธัญพืช ผักผลไม้
ที่มีสีเหลืองหรือส้ม เช่น แครอท

          2. พักสายตา โดยการหลับตาทุก 1 ชั่วโมง หรือมองออกไปไกล ๆให้กล้ามเนื้อตาคลาย
ประมาณ 20 ฟุต

          3. กระพริบตาบ่อย ๆ ควรกะพริบตาให้ได้ 1-2 ครั้งต่อ 10 วินาที เพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงดวงตาอยู่เสมอ วิธีนี้จะช่วยลดความอ่อนล้าของสายตาได้มากอันตรายจากอุปกรณ์ที่ชำรุด

          4. การสวมหมวกปีกกว้างป้องกันแสงจะส่องเข้าดวงตาโดยตรง ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต้อกระจก
เพื่อป้องกันสาเหตุของต้อกระจก

          5. การสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตร้าไวโอเลท
ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง

          6. เมื่อเกิดอาการผิดปกติ เช่น หน้ามืดเวียนศีรษะ ฯลฯ ควรพักในที่ร่มทันที

          7. ควรตรวจสุขภาพตาพร้อมกับวัดสายตาอย่างสม่ำเสมอ

  1. 3. อันตรายจากฝุ่นบนถนนและควันไฟจากการประกอบอาหารทำให้ระคายเคืองระบบหายใจ
    และปวดแสบตา ตาแห้ง

แนวทางป้องกัน

          1. หลีกเลี่ยงการสูดฝุ่นละอองของควันไฟโดยใช้หน้ากากอนามัย หรือผ้าเช็ดหน้าชุบน้ำหมาดๆ
ปิดปากปิดจมูก และสวมแว่นตาทุกครั้ง

          2. ควรดื่มน้ำสะอาดบ่อยๆ และควรใช้น้ำสะอาดกลั้วคอแล้วบ้วนทิ้งวันละ 3 -4 ครั้ง ห้ามกลืน

          3. ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หอบหืด โรคหัวใจ โรคปอด รวมทั้งเด็กและผู้สูงอายุ ควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม หากมีอาการผิดปกติ เช่น หายใจลำบาก แน่นหน้าอก แสบตา น้ำตาไหล
ตาแดง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ให้รีบไปพบแพทย์

2. ปัญหาจากสิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ

          จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศไทย รูปแบบการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเป็นการแพร่จากคนสู่คน ส่วนใหญ่แพร่กระจายผ่านการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ผ่านทางละอองฝอย (Droplet) เป็นช่องทางหลัก จากการไอ จาม น้ำมูก น้ำลาย เมื่อร่างกายสูดดมสารคัดหลั่งเหล่านี้ก็จะติดเชื้อ และยังสามารถแพร่เชื้อผ่านทาง Fexo-oral route ได้อีกด้วย รวมทั้งการขยี้ตา (เชื่อผ่านเยื่อบุตา) การสัมผัสใบหน้าและปาก หลังจากสัมผัสผู้ติดเชื้อก็สามารถติดเชื้อได้ ดังนั้น ผู้ที่ประกอบอาชีพแม่ค้าขายอาหารจึงมีความเสี่ยงต่อการที่จะติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เนื่องจากการเปิดร้านอาหารจะทำให้ต้องได้พบเจอ ได้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้คนมากมายเพื่อการให้บริการลูกค้าในด้านต่าง ๆ จึงต้องมีการสนทนาเพื่อสื่อสารกัน และเมื่อลูกค้ารับประทานอาหารเสร็จแล้วแม่ค้าต้องมาเก็บและทำความสะอาดของโต๊ะอาหารที่ลูกค้าสัมผัส ซึ่งแม่ค้าไม่สามารถรับรู้ได้ว่าแต่ละบุคคลนั้นเดินทางมาจากพื้นที่ใดบ้าง แม่ค้าจึงมีความเสี่ยงที่จะสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ สัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ และถ้าหากแม่ค้าขาดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากการสัมผัสเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) และการดูแลตนเอง ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ได้       

การวินิจฉัยปัญหางานอาชีวอนามัย

          1. เชื้อโรคจากลูกค้าเช่น COVID-19 วัณโรค ตับอักเสบ เป็นต้นสามารถแพร่กระจายแก่แม่ค้า

แนวทางการแก้ไขด้านชีวภาพ

1. เชื้อโรคจากลูกค้าเช่น COVID-19 วัณโรค ตับอักเสบ เป็นต้นสามารถแพร่กระจายแก่แม่ค้า

แนวทางป้องกัน

  1. 1. ล้างมือบ่อยๆ โดยใช้สบู่และน้ำ หรือเจลล้างมือที่มีส่วนผสมหลักเป็นแอลกอฮอล์
  2. 2. สวมหน้ากากอนามัยโดยเฉพาะหน้ากาก N95 (กรองได้อย่างน้อยร้อยละ 95) และ N99 (กรองได้อย่างน้อยร้อยละ 99)เพื่อป้องกันเชื้อCOVID-19 วัณโรค  ได้อย่างมีประสิทธิภาพสวมใส่หน้ากากอนามัยไว้ตลอดเวลา และไม่สัมผัสพื้นผิวด้านหน้าของหน้ากากอนามัย เพราะอาจจะมีเชื้อโรคติดอยู่
  3. 3. แนะนำให้ลูกค้าทุกคนมีการตรวจคัดกรอง สวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า ล้างมือ ฉีดแอลกอฮอล์ และลงชื่อก่อนเข้ามาภายในร้าน
  4. 4. รักษาระยะห่างที่ปลอดภัยจากผู้ที่ไอหรือจามและจัดที่นั่งสำหรับลูกค้าโดยให้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1-2 เมตร
  5. 5. ไม่สัมผัสตา จมูก หรือปากระหว่างการประกอบอาหาร
  6. 6. ปิดจมูกและปากด้วยข้อพับด้านในข้อศอกหรือกระดาษชำระเมื่อไอหรือจาม
  7. 7. หากมีไข้ ไอ และหายใจลำบากโปรดไปพบแพทย์
  8. 8. ไม่สัมผัสกับกับจาน ชาม แก้วน้ำของลูกค้าโดยตรง ควรใส่ถุงมือทุกครั้งเพื่อป้องการการติดต่อของโรคที่สามารถติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่ง เยื่อเมือก
  9. 9. แนะนำให้ให้ไปฉีดวัคซีนตับอักเสบ บอกถึงผลดีของการฉีด ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่ได้รับการฉีดวัคซีน

3. ปัญหาจากสิ่งแวดล้อมด้านทางเคมี

  1. 1. ควันที่ฟุ้งออกมาจากการเผาไหม้ของไม้มีองค์ประกอบอินทรีย์ที่เป็นสาเหตุในการเกิดโรคมะเร็ง
    เช่น การได้รับสารเคมีจำพวกเบนโซไพรีน(benzopyrenes)ไดเบนซานธราซีน(dibenzanthracenes) ไดเบนโซคาร์บาโซล(dibenzocarbazoles) และสารโพลีไซคลิกไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) ที่มาจากควันไฟ ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้
  2. 2. ผู้ประกอบอาหารมีร้านอาหารอยู่ข้างถนนจึงได้รับควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดนคาร์บอน ไนตริคออกไซด์ และเขม่าจากควันรถ ซึ่งเมื่อสูดดมสารเหล่านี้เข้าไปนานๆแล้ว จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้
    ทั้งมะเร็งปอด และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
  3. 3. การได้รับควันจากน้ำมันในการประกอบอาหาร คือ เมื่อน้ำมันโดนความร้อนจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาเคมี (Hydrolysis, Oxidation, Polymerization) ของไขมันส่งผลให้เกิดการเสื่อม คุณภาพของน้ำมัน ทำให้น้ำมันมีสีดำขึ้น, กลิ่นเหม็นหืน, จุดเกิดควันต่ำลง, มีฟองและเหนียวหนืดขึ้น หาก น้ำมันนั้นมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงมากเท่าใด การเสื่อมสภาพของน้ำมันจะเร็วขึ้นเท่านั้น ซึ่งการเสื่อมสภาพนี้ ส่งผลให้มีการแตกตัวของน้ำมันได้เป็นสารโพลาร์ (Polar compound) ที่เป็นสารก่อกลายพันธุ์ สามารถสะสม ในร่างกายและส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งในส่วนต่างๆของร่างกายได้ เช่น  หากได้รับการสูดดมไอระเหยจากน้ำมันที่ประกอบอาหารก็ทำให้เกิดมะเร็งที่ปอดได้
  4. 4. มีโอกาสเกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนังได้ จากการสัมผัสผักที่นำมาประกอบอาหาร ซึ่งผักนั้นอาจจะผ่านการใช้สารเคมีมาหลายชนิด เมื่อผู้ประกอบอาหารนำผักมาทำอาหารจึงทำให้เป็นการสัมผัสผักโดยตรง และหากล้างไม่สะอาดก็จะทำให้เกิดสารตกค้างได้

การวินิจฉัยปัญหางานอาชีวอนามัย

สารเคมีจากควันไฟ ได้แก่สารโพลีไซคลิกไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช) ที่เป็นสารส่วนประกอบของสารก่อมะเร็ง ทำให้อาจเกิดการสะสมของสารก่อมะเร็งในร่างกาย

การใช้ฟืนในการประกอบอาหารจะส่งผลให้มีควันเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ทำงานต้องสูดดมควันไฟปริมาณมากในทุก ๆ ทำให้ร่างกายได้รับก๊าซพิษ เกิดจากการเผาไหม้ ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และยังมีก๊าซพิษอีกหลายชนิดที่ตามมาจากการเผาไหม้
ที่ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว ได้แก่

1.ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ถ้าสูดดมบ่อยๆ สารพิษจะเข้าไปในร่างกาย ร่างกายจะขับออกมาในรูปของเสมหะ แต่ส่วนที่ขับไม่ได้ อาจไปติดอยู่ที่ถุงลมของปอด ถ้าสะสมนานๆ ปอดจะเสื่อมได้ และอาจทำให้เป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น ไอเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง โรคไซนัสอักเสบ โรคถุงลมปอด โรคหอบหืด โรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โรคปอดอักเสบ เป็นต้น ซึ่งนี่คือผลระยะยาว สำหรับระยะสั้น ก๊าซต่าง ๆ หรือควันทำให้ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้เป็นหลอดลมอักเสบ โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

2. ฝุ่นเขม่าควัน และละอองต่างๆ ทำให้เกิดการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจ ดวงตา ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการไอ เจ็บคอ หอบหืด แสบจมูก แสบหู แสบตา ผิวหนัง เป็นต้น

แนวทางการแก้ไขด้านเคมี

          1. ควันจากการประกอบอาหารจากการใช้ฟืน และผู้ประกอบอาหารมีร้านอาหารอยู่ข้างถนนได้รับควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ ซึ่งมีสารที่ส่งผลทำให้เกิดโรคมะเร็งได้

แนวทางป้องกัน

  1. 1. สวมหน้ากากป้องกันทางเดินหายใจที่เหมาะสมโดยเฉพาะหน้ากาก N95 (กรองได้อย่างน้อยร้อยละ 95) และ N99 (กรองได้อย่างน้อยร้อยละ 99) สวมใส่อย่างถูกต้องให้หน้ากากกระชับกับหน้าอย่างเหมาะสมอยู่เสมอ
  2. 2. อธิบายผลกระทบของควันจาการประกอบอาหารจากการใช้ฟืนรวมถึงลักษณะร้านที่ติดกับถนน ทำให้ได้รับสารพิษได้อย่างไร และสารพิษเหล่านั้นส่งผลกับร่างกายของผู้ประกอบอาหารในอนาคตได้ เพื่อให้ผู้ประกอบอาหารได้เข้าใจและตระหนักถึงโทษ พิษภัยของควันจาการประกอบอาหารจากการใช้ฟืนและควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์

ควรดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 2 - 3 ลิตรเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ลดภาวะเลือดหนืด ปอด
และหัวใจจะทำงานหนักและควรใช้น้ำสะอาดกลั้วคอแล้วบ้วนทิ้งวันละ 3 -4 ครั้งโดยห้ามกลืน

2. ควันจากการประกอบอาหารส่งผลทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจและ
เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจได้

แนวทางป้องกัน

  1. 1. อธิบายการประกอบอาหารโดยใช้ฟืนทั้งข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและต่อสังคม ให้แก่ผู้ประกอบอาชีพ
  2. 2. แนะนำหลีกเลี่ยงการสูดฝุ่นละอองของควันไฟโดยใช้หน้ากากอนามัย หรือผ้าเช็ดหน้าชุบน้ำหมาดๆ ปิดปากปิดจมูกจะช่วยซับกรองก๊าซพิษได้มากขึ้นและสวมแว่นตาทุกครั้งขณะประกอบอาหารเพื่อป้องกันอันตรายจากควันเข้าสู่ดวงตา
  3. 3. แนะนำให้เปลี่ยนหน้ากากหรือผ้าคาดปากบ่อย ๆ หากหน้ากากที่ใช้อยู่เริ่มสกปรก หรือเรารู้สึกหายใจไม่สะดวก อาจเกิดจากมีเขม่าควันเกาะติดอยู่มาก ควรเปลี่ยนแผ่นใหม่จะช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น
  4. 4. ควรดื่มน้ำสะอาดให้ได้วันละ 2 - 3 ลิตร เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ลดภาวะเลือดหนืด ปอด
    และหัวใจจะทำงานหนักและควรใช้น้ำสะอาดกลั้วคอแล้วบ้วนทิ้งวันละ 3 -4 ครั้งโดยห้ามกลืน
  5. 5. แนะนำการออกกำลังการบริหารปอด ดังนี้

     ท่าที่ 1 ท่านั่งกำหนดลมหายใจนั่งบนเก้าอี้ เป่าลมออกทางปากช้าๆ นับ 1, 2, 3 หายใจเข้าทางจมูก นับในใจ 4, 5, 6 ขณะหายใจวางมือทั้ง 2 ที่ท้อง หายใจเข้าให้ท้องป่องออก หายใจออกให้ท้องแฟบกิ่วลง มือทั้งสองอาจช่วยดันท้องช่วยให้หายใจออกเต็มที่ ทำประมาณ 3-6 ครั้ง

      ท่าที่ 2 ท่าหายใจออกด้านข้างหาเข็มขัดหนัง สายวัด หรือเส้นเชือกโอบบริเวณซี่โครงไขว้มาด้านหน้า มือทั้งสองดึงเข็มขัดไว้ เวลาหายใจออกดึงเข็มขัดเข้าพร้อมหุบซี่โครงทั้ง 2 ข้าง เวลาหายใจเข้าผ่อนเข็มขัดพร้อมให้ซี่โครงกางออกทางด้านข้าง ทำประมาณ 3-6 ครั้ง

    ท่าที่ 3 ท่าแกว่งแขนขึ้นลงยืนกางขาเล็กน้อย ยกแขนทั้งสองขึ้นเหนือศีรษะพร้อมหายใจเข้า แกว่งแขนทั้งสองไปข้างหลังพร้อมหายใจออก ทำประมาณ 5-10 ครั้ง          

    ท่าที่ 4 ท่าไขว้แขนเข้า กางแขนออกยืนกางขาเล็กน้อย ไขว้แขนทั้งสองมาข้างหน้า คว่ำมือพร้อมกับหายใจออก กางแขนเฉียงออก หงายมือขึ้นพร้อมหายใจเข้า ทำประมาณ 5-10 ครั้ง

 ท่าที่ 5 ท่าด้านซี่โครงเอียงลงด้านข้างยืนกางขาเล็กน้อย มือซ้ายแตะซี่โครงด้านข้างไว้ มือขวายกขึ้นเหนือศีรษะ ดันซี่โครงด้วยมือซ้าย และเอียงตัวไปข้างซ้ายพร้อมกับหายใจออก-เข้า กลับเข้าท่าตรง พร้อมหายใจเข้า ทำซ้ำๆ ประมาณ 3-6 ครั้ง เปลี่ยนมือขวาแตะซี่โครง และเอียงตัวไปข้างขวา ทำประมาณ 3-5 ครั้ง

  ท่าที่ 6 หมุนตัวซ้าย-ขวายืนกางขาเล็กน้อย เอามือเท้าเอว หมุนตัวไปทางซ้ายพร้อมหายใจออก กลับเข้าสู่ท่าตรงพร้อมหายใจเข้า หมุนตัวไปทางขวาพร้อมหายใจออก กลับเข้าสู่ท่าตรงพร้อมหายใจเข้า
ทำประมาณข้างละ 3-6 ครั้ง

ท่าที่ 7 ท่าเดินกำหนดลมหายใจเดินไปข้างหน้าช้าๆ หายใจออก นับ 1, 2, 3 หายใจเข้านับในใจ 4, 5, 6 เดินประมาณ 30-60 ก้าว

 ท่าที่ 8 ท่าหายเหนื่อยท่านี้ทำเมื่อเกิดอาการเหนื่อยหลังจากออกกำลังกาย เช่น วิ่งหรือใช้แรงงานอื่นๆ เอามือเท้าโต๊ะหรือกำแพง เป่าลมออกทางปากช้าๆ หายใจเข้าทางจมูกให้เต็มปอด จนกระทั่งหายเหนื่อย

3. สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผักที่ใช้ในการประกอบอาหารอาจจะทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้

       แนวทางป้องกัน

        1. แนะนำให้เลือกผัก เช่น ฤดูหนาว ให้บริโภคแครอท ผักกาดขาว หัวไชเท้า มะเขือเทศในฤดูฝนบริโภคตำลึง หน่อไม้ มะระ ถั่วฝักยาว เป็นต้น

          2. แนะนำให้นำผักพื้นบ้านมาใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่งปลูกง่าย ไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน เพื่อลดโอกาสการได้รับสารเคมีชนิดเดียวกันสะสมในร่างกาย เพราะผักแต่ละชนิดจะมีการใช้สารป้องกันกำจัดแมลงต่างชนิดกัน

          3. เลือกซื้อผักที่มีการรับรองจากทางราชการ ซึ่งมีการควบคุมการใช้สารเคมีอยู่ในระดับมาตรฐานหรือเลือกซื้อผักเกษตรอินทรีย์ ซึ่งไม่ใช้สารเคมีในการปลูก

          4. ไม่ควรดูแค่ลักษณะภายนอก ต้องใส่ใจแหล่งที่ซื้อด้วย เนื่องจากผักที่มีรูพรุน ไม่ใช่ว่าจะปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง ในขณะที่ผักสวยงามก็อาจไม่ได้ใช้สารเคมีในการปลูกเลยก็ได้

          5. ล้างให้สะอาดก่อนนำไปปรุงหรือบริโภค แม้แต่ผักปลอดสารพิษก็ควรต้องล้างก่อน ในกรณีที่ไม่บริโภคผักในวันที่ซื้อ ควรล้างเสียก่อนที่จะนำไปเก็บในตู้เย็น

4. ปัญหาจากสิ่งแวดล้อมทางเออร์กอนอมิคส์(การยศาสตร์)

ร้านจะเปิดช่วง 08.00-17.00 น. ทำให้มีการยืน หรืออยู่ในท่าทางนั้นๆซ้ำนานๆได้ ซึ่งท่าทางในการทำงานอาจมีความไม่เหมาะสม โดยลักษณะท่าทางการทำงานที่จะต้องก้มๆเงยๆ และยืนนานๆ เคลื่อนไหวซ้ำๆ เช่น การยืนทำหน้าอาหารหน้าเตานานๆ การล้างจานหลังลูกค้าทานอาหารเสร็จ การเตรียมผัก เครื่องเคียงที่ต้องเตรียมไว้เพื่อให้พร้อมต่อการทำอาหารในแต่ละครั้ง ก็จะส่งผลทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เมื่อยล้าจากการทำงานจากการใช้กล้ามเนื้อทำงานมากขึ้น

การวินิจฉัยปัญหางานอาชีวอนามัย

ท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การยืนเป็นเวลานาน การเคลื่อนโดยท่าซ้ำๆ ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีโอกาสเกิดโรคที่เกี่ยวกับกระดูกได้

แนวทางการแก้ไขด้านเออร์กอนอมิคส์ (การยศาสตร์)

ท่าทางการทำงาน และระยะเวลาในการทำงานที่ไม่เหมาะสม

แนวทางป้องกัน

  1. การสลับการนั่งและการยืน หรือการเปลี่ยนท่าทุกๆ20 นาที
  2. ร่างกายไม่ควรเอนไปข้างหน้าหรือข้างหลัง หรือถ้าจะมีการเอนควรมีได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการยกของ
  3. ไม่ควรเอื้อมมือยกของหนัก สูงกว่าระดับความสูง ของไหล่ หรือระดับต่ำกว่ามือมากๆ ในขณะยืน ควรจัดให้วัสดุอุปกรณ์อยู่ในรัศมีที่หยิบจับได้ง่าย
  4. ยืดกล้ามเนื้อมือ แขน นิ้ว ทุก 1 ชั่วโมง การยืดเส้นสายให้แก่ส่วนต่างๆของมื้อนั้นช่วยลดอาการเมื่อยล้าได้ จะใช้เป็นการสลัดมืออย่างเบาๆ หรือการยกแขนขึ้นลงสลับไปมา
  5. แก้ปวดบ่าด้วยการนั่งหลังตรง มือทั้งสองข้างจับขอบเก้าอี้นั่งเอาไว้แล้วค่อยๆเอียงคอไปด้านใดด้านหนึ่งก่อนจนเริ่มรู้สึกตึงค้างเอาไว้ 20 วินาที แล้วค่อยๆเอียงคอกลับมาถ้าตรงเหมือนเดิม แล้วจึงเอียงคอไปอีกข้างหนึ่งสลับไปมาอย่างช้า ๆสักพักเพื่อเป็นการแก้ปวดเมื่อยบ่าและต้นคอ
  6.  การยืนหันหน้าเข้ามุมห้องและใช้มือทั้งสองข้างดันฝาผนังเอาไว้ในระดับอกจากนั้นก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าจากนั้นเริ่มโน้มตัวเข้าหาผนังจนศอกชนกับผนังห้องจะเริ่มรู้สึกตึงที่หน้าอกและค้างเอาไว้ 10 วินาที แล้วกลับมาท่าเริ่มต้นและทำสลับไปมา 10 - 20 ครั้ง ช่วยแก้อาการปวดหลังและแก้เมื่อยล้าของหลังได้
  7.  ผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการยักไหล่ เริ่มด้วยการยักไหล่ข้างใดข้างหนึ่งก่อนซัก 5 วินาทีและสลับไปอีกข้างหนึ่ง ทำสลับกันไปมาข้างละ 5 วินาทีจนเริ่มรู้สึกกล้ามเนื้อคลายตัวแล้วจึงค่อยหยุด
  8. ปรับระดับพื้นที่การทำงานให้มีความสูงเหมาะสมกับส่วนสูงของคนทำงาน เพื่อลดอาการเมื่อยจากการก้มๆเงยๆในการทำงานได้
  9.  ควรมีบริเวณสำหรับเคลื่อนเท้าไปข้าง ๆ ไปข้างหน้าและถอยกลับมาได้ โดยไม่มีอะไรกีดขวางในแนวราบ เพื่อให้ขาและเท้ามีการเคลื่อนไหว ไม่ยืนอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ

5. ปัญหาจากสิ่งแวดล้อมด้านจิตวิทยา

การที่ผู้ประกอบอาชีพไม่มีแหล่งขายของที่เป็นหลักเป็นแหล่งที่มั่นคง เนื่องจากการถูกไล่ที่ประกอบอาชีพ อุปกรณ์ในการประกอบอาหารมักถูกขโมยเป็นประจำ รายได้จากการประกอบอาชีพได้กำไรน้อย เพียงพอแค่ใช้ชีวิตไปในแต่ละวันและลูกสาวมีเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้เพียงแค่บรรเทาอาการปวดศีรษะเท่านั้น ผู้ประกอบอาชีพต้องหาเงินเลี้ยงครอบครัว เลี้ยงลูกสาวและหลานซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้ทำงานเกิดความเครียดและวิตกกังวลโดยความเครียดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการทำงานของร่างกายได้ ได้แก่ หัวใจจะเต้นแรง ใจสั่น หรือรู้สึกเจ็บหน้าอก หลอดเลือดทั่วร่างกายหดตัวตีบตัน ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงไม่พอ และเมื่อหลอดเลือดตีบมาก ๆ จะทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหดเกร็งซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของอาการปวดหัว ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดไหล่ อีกทั้งเมื่อเกิดความเครียดทางเดินอาหารตั้งแต่คอหอย ลำไส้ กระเพาะอาหารจะหดลง ทำให้รับประทานอาหารไม่ค่อยลง อาหารไม่ย่อย ท้องอืด และเป็นสาเหตุให้ท้องผูก กระเพาะหลั่งน้ำย่อยออกมาเยอะขึ้น เป็นสาเหตุของลำไส้และกระเพาะอาหารอักเสบหรือเป็นแผล ความเครียดทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งทั้งตัว หัวใจเต้นแรง ความดันเลือดสูง ใจคอฟุ้งซ่าน จึงเกิดอาการนอนไม่หลับ สมรรถภาพทางเพศลดลง ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง

การวินิจฉัยปัญหางานอาชีวอนามัย

การไม่มีที่ประกอบอาชีพจากการถูกไล่ที่ การถูกขโมยอุปกรณ์ประกอบอาหาร รายได้จากการประกอบอาชีพได้กำไรน้อย ผู้ประกอบอาชีพต้องหาเงินเลี้ยงครอบครัวและลูกสาวมีเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถรักษาได้ทำให้ผู้ประกอบอาชีพเกิดความเครียดได้

แนวทางการแก้ไขด้านจิตวิทยา

การที่ผู้ประกอบอาชีพไม่มีแหล่งขายของที่เป็นหลักเป็นแหล่งที่มั่นคง เนื่องจากการถูกไล่ที่ประกอบอาชีพ อุปกรณ์ในการประกอบอาหารมักถูกขโมยเป็นประจำ และลูกสาวมีเนื้องอกในสมองที่ไม่สามารถรักษาได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้ทำงานเกิดความเครียดและวิตกกังวล

แนวทางป้องกัน

  1. แนะนำการจัดการกับภาวะอารมณ์ (emotional focused) เพื่อลดภาวะเครียดทางอารมณ์หลากหลายวิธี เช่น มุ่งความสนใจไปในเรื่องบางเรื่อง การแยกตนเอง มองหาส่วนดีจากสถานการณ์และคิดในทางบวก การให้ข้อมูล และการเสริมแรงในทางบวกเพื่อให้มีการประเมินสถานการณ์ตรงกับความเป็นจริงจะช่วยลดปัญหาได้ แต่อาจไม่ทั้งหมด เพราะหลายปัญหาไม่สามารถบรรเทาหรือหลีกเลี่ยงได้ การให้การพยาบาลเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเผชิญปัญหาโดยสอนวิธีลดผลกระทบทางกายที่เกิดจากความเครียด เช่น การหายใจเข้าออกลึกๆ (deep breathing) การนั่งสมาธิ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ (progressive muscle relaxation) การสวดมนต์ ฟังเพลง มีลักษณะท่วงทำนองที่ผ่อนคลายไม่เร่งเร้า
  2. ประเมินความวิตกกังวล ด้วยการสังเกตอาการและอาการแสดง การซักประวัติ การตรวจสภาพจิต และการใช้แบบประเมินความวิตกกังวล
  3.  จัดสภาพแวดล้อมให้สงบ ลดสิ่งกระตุ้นความเครียด และลดการรบกวนของสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบอาชีพรู้สึกไม่มั่นคง
  4.  ให้การพยาบาลด้วยความสงบ การดูแลต้องมีท่าทีที่เป็นมิตร มั่นคง สุขุม นุ่มนวล และให้การยอมรับผู้รับบริการ
  5.  ให้ผู้ประกอบอาชีพได้พูดคุย ระบายความรู้สึกเกี่ยวกับประสบการณ์การปรับตัวของผู้ประกอบอาชีพในอดีต
  6.  ดูแลตอบสนองความต้องการด้านร่างกาย เช่น อาหาร น้ำ ความสะอาด เป็นต้น
  7.  ให้ความมั่นใจว่าผู้ประกอบอาชีพจะได้รับการช่วยเหลือ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (0)

ไม่มีคำตอบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท