ถอดคำประพันธ์


น.ส.ปภาพินท์

 

            อนึ่งจะกล่าวสอน                     กายนครมีมากหลาย

ประเทียบเปรียบในกาย                             ทุกหญิงชายในโลกา

            ดวงจิตคือกระษัตริย์                 ผ่านสมบัติอันโอฬาร์

ข้าศึกคือโรคา                                           เกิดเข่นฆ่าในกายเรา

            เปรียบแพทย์คือทหาร              อันชำนาญรู้ลำเนา

ข้าศึกมาอย่าใจเบา                                   ห้อมล้อมรอบทุกทิศา

            ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้                คือดวงใจให้เร่งยา

อนึ่งห้ามอย่าโกรธา                                   ข้าศึกมาจะอันตราย

            ปิตตํ คือ วังหน้า                      เร่งรักษาเขม้นหมาย

อาหารอยู่ในกาย                                        คือเสบียงเลี้ยงโยธา

            หนทางทั้งสามแห่ง                 เร่งจัดแจงอยู่รักษา

ห้ามอย่าให้ข้าศึกมา                                  ปิดทางได้จะเสียที

            อนึ่งเล่ามีคำโจทก์                    กล่าวยกโทษแพทย์อันมี

ปรีชารู้คัมภีร์                                             เหตุฉันใดแก้มิฟัง

                คำเฉยแก้ปุจฉา                   รู้รักษาก็จริงจัง

ด้วยโรคเหลือกำลัง                                    จึ่งมิฟังในการยา

            เมื่ออ่อนรักษาได้                     แก่แล้วไซร้ยากหนักหนา

ไข้นั้นอุปมา                                             เหมือนเพลิงป่าไหม้ลุกลาม

            เป็นแพทย์พึงสำคัญ                โอกาสนั้นมีอยู่สาม

เคราะห์ร้ายขัดโชคนาม                             บางทีรู้เกินรู้ไป

            บางทีรู้มิทัน                           ด้วยโรคนั้นใช่วิสัย

ตน  บ  รู้ทิฏฐิใจ                                        ถือว่ารู้ขืนกระทำ

            จบเรื่องที่ตนรู้                        โรคนั้นสู้ว่าแรงกรรม

ไม่สิ้นสงสัยทำ                                           สุดมือม้วยน่าเสียดาย

            บางทีก็มีชัย                            แต่ยาให้โรคนั้นหาย

ท่านกล่าวอภิปราย                                     ว่าชอบโรคนั้นเป็นดี

            ผู้ใดใครทำชอบ                      ตามระบอบพระบาลี

กุศลผลจะมี                                              อเนกนับเบื้องหน้าไป

            เรียนรู้ให้แจ้งกระจัด               เห็นโรคชัดอย่าสงสัย

เร่งยากระหน่ำไป                                      อย่าถือใจว่าลองยา

 

            จะหนีหนีแต่ไกล                     ต่อจวนใกล้จะมรณา

จึ่งหนีแพทย์นั้นหนา                                   ว่ามิรู้ในท่าทาง

            อำไว้จนแก่กล้า                      แพทย์อื่นมาก็ขัดขวาง

ต่อโรคเข้าระวาง                                       ตรีโทษแล้วจึ่งออกตัว

            หินชาติแพทย์เหล่านี้               เวรามีมิได้กลัว

ทำกรรมนำใส่ตัว                                       จะตกไปในอบาย

            เรียนรู้คัมภีร์ไสย                      สุขุมไว้อย่าแพร่งพราย

ควรกล่าวจึ่งขยาย                                      อย่ายื่นแก้วแก่วานร

            ไม่รักจะทำยับ                        พาตำรับเที่ยวขจร

เสียแรงเป็นครูสอน                                   ทั้งบุญคุณก็เสื่อมสูญ

            รู้แล้วเที่ยวโจทย์ทาย              แกล้งภิปรายถามเค้ามูล

ความรู้นั้นจะสูญ                                        เพราะสามหาวเป็นใจพาล

            ผู้ใดจะเรียนรู้                         พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์

เที่ยงแท้ว่าพิสดาร                                     ทั้งพุทธไสยจึ่งควรเรียน

            แต่สักเป็นแพทย์ได้                  คัมภีร์ไสยไม่จำเนียร

ครูนั้นไม่ควรเรียน                                     จะนำตนให้หลงทาง

            เราแจ้งคัมภีร์ฉัน                     ทศาสตร์อันบุราณปาง

ก่อนกล่าวไว้เป็นทาง                                 นิพพานสุศิวาไลย

            อย่าหมิ่นว่ารู้ง่าย                      ตำรับรายอยู่ถมไป

รีบด่วนประมาทใจ                                     ดังนั้นแท้มิเป็นการ

            ลอกได้แต่ตำรา                        เที่ยวรักษาโดยโวหาร

อวดรู้ว่าชำนาญ                                         จะแก้ไขให้พลันหาย

            โรคคือครุกรรม                       บรรจบจำอย่าพึงทาย

กล่าวเล่ห์อุบายหมาย                                 ด้วยโลภหลงในลาภา

            บ้างจำแต่เพศไข้                     สิ่งเดียวได้สังเกตมา

กองเลือดว่าเสมหา                                    กองวาตาว่ากำเดา

            คัมภีร์กล่าวไว้หมด                   ไยมิจดมิจำเอา

ทายโรคแต่โดยเดา                                   ให้เชื่อถือในอาตมา

            รู้น้อยอย่าบังอาจ                      หมิ่นประมาทในโรคา

แรงโรคว่าแรงยา                                      มิควรถือว่าแรงกรรม

 

            อนึ่งท่านได้กล่าวถาม               อย่ากล่าวความบังอาจ

อำเภอใจว่าตนจำ                                          เพศไข้นี้อันเคยยา

            ใช่โรคสิ่งเดียวดาย                  จะพลันหายในโรคา

ต่างเนื้อก็ต่างยา                                        จะชอบโรคอันแปรปรวน

            บางทีก็ยาชอบ                         แต่เคราะห์ครอบจึ่งหันหวน

หายคลายแล้วทบทวน                                จะโทษยาก็ผิดที

            อวดยาครั้นให้ยา                     เห็นโรคาไม่ถอยหนี

กลับกล่าวว่าแรงผี                                     ที่แท้ทำไม่รู้ทำ

            เห็นลาภจะใคร่ได้                   นิยมใจไม่เกรงกรรม

รู้น้อยบังอาจทำ                                         โรคระยำเพราะแรงยา

            โรคนั้นคือโทโส                     จะภิยโยเร่งวัฒนา

แพทย์เร่งกระหน่ำยา                                 ก็ยิ่งยับระยำเยิน

            รู้แล้วอย่าอวดรู้                       พินิจดูอย่าหมิ่นเมิน

ควรยาหรือยาเกิน                                      กว่าโรคนั้นจึ่งกลับกลาย

            ถนอมทำแต่พอควร                 อย่าโดยด่วนเอาพลันหาย

ผิโรคนั้นกลับกลาย                                    จะเสียท่าด้วยผิดที

            บ้างได้แต่ยาผาย                     บรรจุถ่ายจนถึงดี

เห็นโทษเข้าเป็นตรี                                   จึ่งออกตัวด้วยตกใจ

            บ้างรู้แต่ยากวาด                     เที่ยวอวดอาจไม่เกรงภัย

โรคน้อยให้หนักไป                                   ดังก่อกรรมให้ติดกาย

 



ความเห็น (5)

บางทีรู้มิทัน​ ด้วยโรคนั้นใช่วิสัยตน​ บ​ รู้ทิฏฐิใจ​ ถือว่ารู้ขืนกระทำ

กาญจนาพร ชำเนียรไพร

ไม่รักจะทำยับ พาตำรับเที่ยวขจร เสียแรงเป็นครูสอน ทั้งบุญคุณก็เสื่อมสูญ รู้แล้วเที่ยวโจทย์ทายแกล้งภิปรายถามเค้ามูล นั้นจะสูญ เพราะสามหาวเป็นใจพาล

อำไว้จนแก่กล้า แพทย์อื่นมาก็ขัดขวาง

ต่อโรคเข้าระวาง ตรีโทษแล้วจึ่งออกตัว

        หินชาติแพทย์เหล่านี้               เวรามีมิได้กลัว

ทำกรรมนำใส่ตัว จะตกไปในอบาย

หินชาติแพทย์เหล่านี้ เรามีมิได้กลัวทำกรรมนำใส่ตัว จะตกไปในอบาย

รู้แล้วเที่ยวโจทย์ทาย

ความรู้นั้นจะสูญ

แกล้งภิปรายถามเค้ามูล

เพราะสามหาวเป็นใจพาล

พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์

ผู้ใดจะเรียนรู้

เที่ยงแท้ว่าพิสดาร

ทั้งพุทธ์ไสยจึงควรเรียน


คำตอบ (2)

Bright Lily
เขียนเมื่อ

ฝีมือมากนะคะ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

share
เขียนเมื่อ

แนะนำ ควรอ่าน ๆ ไป ศัพท์ไหนไม่เข้าใจ พจนานุกรมช่วยได้

แล้วถอดความตามที่เข้าใจไป ติดตรงไหนจะช่วยกันครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท