โรงเรียนขุนยวมประกอบด้วยนักเรียนที่มาเรียนจากหลายชนเผ่า คือ ม้ง กระเหรี่ยง ไทยใหญ่ และพื้นเมือง ซึ่งแต่ละชนเผ่ามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกัน จึงเกิดแนวคิดที่จะจัดทำหลักสูตรชนเผ่าสามัคคี เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนได้เรียนรู้หลากหลายชนเผ่า แต่ไม่รู้จะเริ่มและลงมือปฏิบัติอย่างไร ใครมีแนวคิด แนวปฏิบัติที่สามารถทำได้ขอคำชี้แนะด้วยค่ะ
ไม่มีความเห็น
..ไม่มีความรู้เรื่องนี้คะ แต่เห็นว่าผ่านมาหลายวันแล้ว..ไม่มีใครมาให้คำตอบ
ขออนุญาตแนะนำให้ไปลองหาข้อมูลเพิ่มเติมที่.....สมาคมหลักสูตรและการสอน ฯ ...
ตามลิงก์ข้างล่างนะคะ
http://www.curriculumandinstruction.org/
เผื่อจะได้คำตอบนะคะ
ไม่มีความเห็น
ก่อนอื่น ขอแนะนำตัว ผมแม้ไม่เคยเป็นครู อาจารย์ โดยอาชีพ
แต่เคยดูแล สอน มานาน ชั้นต่ำสุด อนุบาล 3 เคยสอน เด็กชาวเขา (หลากหลายเผ่า) ป.1-ป.6
ผมคาดว่า เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก และคงมีชั้นเรียนไม่เกิน ป.6 ถ้าเป็นเช่นนี้
แนวหลักสูตรควรเน้น
1. การฟัง การพูด มากกว่า การอ่าน การเขียน ยิ่งต่างเผ่า การเล่านิทานให้ฟัง ช่วยควบคุมการเรียนได้ง่าย
มีผู้ถามว่า แล้ววัดผลได้อย่างไร ให้เขาเล่ากลับครับ หากเขาฟังได้ดี เขาจะเล่ากลับได้มาก
2. ทั่ว ๆ ไป เด็ก ๆ จะไม่รู้สึกถึงความต่างของแต่ละคน ดังนั้น หลักสูตรอย่าตอกย้ำเรื่องเผ่า ชุดเรียน อาหารควรเสนอแบบอันมีลักษณะร่วมกัน (ควรให้ผู้ใหญ่ของแต่ละเผ่ามาร่วมพูดคุยกัน)
3. อย่าใช้หลักสูตรจากส่วนกลางเป็นหลัก ให้ใช้วิถีชีวิตชาวบ้านเป็นหลัก แล้วนำวิชาการมาจับ มาอธิบาย
การเรียนควรเน้น "ทำได้จริง"
4. ผู้สอน ผู้แนะนำ ต้องมีนิสัยจดบันทึก จด(หมายรวมถึง การถ่ายภาพ การอัดเสียงด้วยครับ)ทุกเรื่อง ทุกวัน จะช่วยให้เห็นแนวทาง
หากต้องการพูดคุย สอบถามเพิ่มเติม ติดต่อผมได้ทาง mail : [email protected] ครับ
ไม่มีความเห็น
เริ่มต้นจากตัวเองนะคะคุณครู... ถ้ามองอีกมุมหนึ่งนะคะ..ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติของมันดีไหมค่ะ มันจะมีความหลากหลายที่สวยงามในตัวของมันเองนะคะ เหมือนกับคุณคูรได้ยืนอยู่ในสวนแห่งหนึ่งและกำลังชื่นชมความสวยงามของธรรมชาติของดอกไม้ที่นั้นนะคะ..อย่าไปเปลี่ยนแปลงมันเลยนะคะ
ไม่มีความเห็น
ถ้าให้เรียนร่วมกัน ควรเริ่มที่การเรียนภาษาไทยราชการ (แบบเรียนทั่วไป) ก่อนครับ
ไม่มีความเห็น