รบกวนขอความคิดเห็นเกี่ยวกับเผ่า"มลาบรี"ด้วยครับ


ตรีปฐม บุญทา

       มีบทความอยากให้คุณจตุพรช่วยแสดงความคิดเห็นครับ

          ปัจจุบัน มีชาวตองเหลือที่ยังเหลืออยู่ในประเทศไทยสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งมีพวกมิชชันนารีเข้าไปให้ความช่วยเหลือและสอนศาสนาอยู่ในจังหวัดแพร่ กับอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในนิคมชาวตองเหลือง มีการตั้งถิ่นฐานถาวรอยู่รวมกันที่บ้านห้วยหยวก หมู่ที่ ๖ ตำบลแม่ขะนิง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน จำนวน ๑๘ หลังคาเรือน ๒๔ ครอบครัว ๑๑๙ คน  ได้รับสัญชาติไทย มีสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนกันแล้ว มีนามสกุล ๕ นามสกุล ได้แก่ เมลืองไพร  สุชนคีรี  หิรัญคีรี  อนันตพฤกษ์  และไพรนิวาส  ทั้งสองกลุ่มยังมีการไปมาติดต่อกันบ้าง แต่ก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องราวของแต่ละกลุ่มมากนัก ชาวตองเหลืองที่มีอายุเกิน ๓๐ ปี ขึ้นไป ไม่มีความสุขที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่ในเขตพื้นที่นิคม เพราะพวกเขาจะต้องทำงานให้กับชาวเผ่าม้ง โดยได้ค่าจ้างเป็นผลผลิตของพืชพันธุ์ พวกเขาไม่พอใจที่ถูกด่าว่าเมื่อทำงานไม่เป็นที่พอใจของนายจ้าง ไม่พอใจที่จะต้องกินมาม่าแทนกินหัวเผือกหัวมัน หากทางการจัดพื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์ให้พวกเขามีชีวิตอยู่อย่างอิสระตามชีวิตดั้งเดิม พวกเขายินดีที่จะกลับไปมีชีวิตอิสระดังเก่า ในขณะที่เด็กรุ่นอายุต่ำลงมาไม่เกิน ๒๐ ปี ไม่แน่ใจว่าจะสามารถใช้ชีวิตในป่าได้อย่างมีความสุข เพราะในช่วงชีวิตของเขาคุ้นเคยกับวิถีชีวิตแบบมีที่อยู่อาศัยเป็นที่เป็นทางแล้ว

       อยากทราบว่าข้อมูลนี้ตรงตามปัจจุบันหรือไม่  และรูสึกอย่างไรกับปัญหาดังกล่าว



ความเห็น (1)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

บันทึกนี้มีประเด็นที่ชวนให้คิดอยู่ หลายประเด็นด้วยกันครับ

สืบเนื่องจากครั้งก่อนผมได้ไปให้ข้อคิดเห็นเรื่องคนมลาบรี เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว ในบันทึกของ คุณtanu (น่าจะใช่)

ตอนนั้นผมให้ข้อคิดเห็นเชิงไม่เห็นด้วย ...และ ไม่ถูกต้องหากจะไปยุ่งกับ คนมลาบรี มากไป  เข้าใจว่าเรามาตรฐานของคนเมืองไปคิดแทนพวกเขาหมดเลย ไม่เป็นธรรม

คล้ายกรณี กระเหรี่ยงปาดอง กระเหรี่ยงคอยาวที่แม่ฮ่องสอน ก็ประสบชะตากรรมที่คล้ายกัน ...

มลาบรี ๒ กลุ่ม ซึ่งถือว่าเหลือน้อย และก็ถูกเพ่งเล็งจากคนกลุ่มต่างๆ ทั้งวิธีคิดที่หวังดี (แต่กระบวนการอาจไม่ดี) และ ผู้ที่หวังผลประโยชน์บางอย่าง

อยากให้เข้าใจวิถีวัฒนธรรม เข้าใจพลวัตรของการเปลี่ยนแปลง ผมอยากให้เป็นธรรมชาติ และคอยดูแลบางส่วนที่เขาต้องการ

ไม่อยากให้ไปจัดการกับวิถีของ มลาบรี มากไป แต่ถ้าเป็นเรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิต ผมเห็นด้วยครับ แต่คงต้องพิจารณาการพัฒนาให้รอบคอบ และเข้าใจ เข้าถึงด้วย

เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่แตกต่างกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น แม้แต่กลุ่มคนเมืองอย่างเรา ที่วัยรุ่น คนรุ่นใหม่จะตามวิถีสมัยใหม่ เพราะโลกาภิวัฒน์มันหยุดไม่ได้ แต่ต้องทำความเข้าใจและอยู่กับมัน คนพัฒนาก็ต้องเข้าใจมิตินี้ด้วย

ผมอ่านจากบันทึกเรื่อง นิคมมลาบรี ก็รู้สึกไม่สบายใจ เพราะต้องอยู่ร่วมกับคนม้ง มีการแตกต่างในวิธีการดำเนินชีวิตในนั้น ด้วย มลาบรีจึงถูกกระทำ และเป็นหเมือนที่คุณบอกเล่ามา

ผมไม่ได้มีความรู้เกียวกับ กลุ่มชาติพันธุ์นี้ แต่ด้วยเป็นคนทำงานคลุกคลีกับกล่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ผมก็อดเป็นห่วงไม่ได้ครับ

ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่าที่ น่าน มีกลุ่มนักพัฒนาที่เข้าใจ และเป็นกลุ่มนักพัฒนาคุณภาพ ผมเชื่อมั่นในวิธีคิดของพวกเขาครับ

ไม่แน่ใจว่าผมจะให้ข้อคิดเห็นที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของคุณมั้ยครับ...เราแลกเปลี่ยนกันได้ตลอดเวลาครับ เพื่อการเรียนรู้

ยินดีมากๆครับ สำหรับการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

 

 



ความเห็น (1)

บันทึกนี้มีประเด็นที่ชวนให้คิดอยู่ หลายประเด็นด้วยกันครับ

สืบเนื่องจากครั้งก่อนผมได้ไปให้ข้อคิดเห็นเรื่องคนมลาบรี เกี่ยวกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว ในบันทึกของ คุณtanu (น่าจะใช่)

ตอนนั้นผมให้ข้อคิดเห็นเชิงไม่เห็นด้วย ...และ ไม่ถูกต้องหากจะเราไปยุ่งกับ คนมลาบรี มากไป  เข้าใจว่าเรามาตรฐาน และวัฒนธรรมหลัก (Dominant)ของคนเมืองไปคิดแทนพวกเขาหมดเลย ไม่เป็นธรรม

คล้ายกรณี กระเหรี่ยงปาดอง กระเหรี่ยงคอยาวที่แม่ฮ่องสอน (ที่มีเพียง ๒ หมู่บ้าน เช่นกัน) ก็ประสบชะตากรรมที่คล้ายกัน ทุกฝ่ายที่แม่ฮ่องสอนต่างมุ่งพัฒนาเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป็นของแปลก เป็น human Zoo ที่ผมรับไม่ค่อยได้ ...

มลาบรี ๒ กลุ่ม ซึ่งถือว่าเหลือน้อย และก็ถูกเพ่งเล็งจากคนกลุ่มต่างๆ ทั้งวิธีคิดที่หวังดี (แต่กระบวนการอาจไม่ดี หรือ รับร้อนเกินไป) และ ผู้ที่หวังผลประโยชน์บางอย่าง ทางธุรกิจ

อยากให้เข้าใจวิถีวัฒนธรรม เข้าใจพลวัตรของการเปลี่ยนแปลง  การดำรงอยู่ (social being) ทางวัฒนธรรม ผมอยากให้เป็นธรรมชาติ และคอยดูแลบางส่วนที่พวกเขาต้องการ

ไม่อยากให้ไปจัดการกับวิถีของ มลาบรี มากไป เป็นการครอบครองความเป็นเจ้าของความคิด(Hegemony) แต่ถ้าเป็นเรื่อง การพัฒนาคุณภาพชีวิต ผมเห็นด้วยครับ แต่คงต้องพิจารณาการพัฒนาให้รอบคอบ และเข้าใจ เข้าถึงด้วย

เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่แตกต่างกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่น แม้แต่กลุ่มคนเมืองอย่างเรา ที่วัยรุ่น คนรุ่นใหม่จะตามวิถีสมัยใหม่  มีปรากฏการณ์ cultural Shock ก็มีให้เห็น เพราะโลกาภิวัตน์ มันหยุดไม่ได้ แต่ต้องทำความเข้าใจและอยู่กับโลกสมัยใหม่ให้ได้  คนพัฒนาก็ต้องเข้าใจมิตินี้ด้วย

ผมอ่านจากบันทึกเรื่อง นิคมมลาบรี ก็รู้สึกไม่สบายใจ เพราะต้องอยู่ร่วมกับคนม้ง มีการแตกต่างในวิธีการดำเนินชีวิตในนั้น ด้วย มลาบรีจึงถูกกระทำ

ผมไม่ได้มีความรู้เกียวกับ กลุ่มชาติพันธุ์นี้ แต่ด้วยเป็นคนทำงานคลุกคลีกับกล่มชาติพันธุ์ที่หลากหลายที่แม่ฮ่องสอน ผมก็อดเป็นห่วงไม่ได้ครับ

ผมเชื่ออย่างหนึ่งว่าที่ น่าน มีกลุ่มนักพัฒนาที่เข้าใจ และเป็นกลุ่มนักพัฒนาคุณภาพ ผมเชื่อมั่นในวิธีคิดของพวกเขาครับ

ยินดีมากๆครับ สำหรับการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้

 จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท