สอบถามลุงหนานครับ ทำไมสล่ารุ่นเก่าถึงกำมีด มุย สิ่ว แค่สี่นิ้วครับ ไม่กำทั้งมือ5นิ้ว


หนึ่ง

สอบถามลุงหนานครับ ทำไมสล่ารุ่นเก่าถึงกำมีด มุย สิ่ว แค่สี่นิ้วครับ เหลือนิ้วก้อยไว้ ไม่กำ  จะใช้แค่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ กลาง นาง ส่วนนิ้วก้อย ผมเห็นสล่ารุ่นเก่าๆ มักจะชี้ออกมา ไม่กำด้ามมุย ด้ามสิ่ว หรือแม้แต่ จับมีดเหลา เขาก็เหลือนิ้วก้อยไว้ครับ  มีอุบายอะไรหรือเปล่าครับ ผมเคยลองทำตามดูแล้วรู้สึกว่า มันจับไม่แน่นเลย แต่เกิดความใจเย็น ทำงานช้าลง ประนีตขึ้น เวลาแกะสลักก็อ่อนช้อยดี ไม้ไม่แตกครับ ที่ผมกล่าวมาเป็นเหตุผลหลักหรือเปล่าครับ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

sr
เขียนเมื่อ

I don't have an answer but a question instead.

What is this มีด มุย สิ่ว ? Can you show us a picture of the way it is held?

Please!



ความเห็น (4)

นำภาพมุยหรือมุ้ยมาฝากโยมMr Sunthorn SR Rathmanus

ส่วนคำถามนั้น ไม่มีความรู้เลย
คงต้องรองให้คุณลุงหนานท่านมาตอบให้ทราบก็แล้วกัน

คนทางเหนือเรียกมุย
แต่ที่บ้านอำเิภอหนองบัว นครสวรรค์ เรียกว่ามุ้ย
ลองหาคำว่ามุยก็ไม่พบ ไปพบคำว่าขวานน้อย
มุ้ยนี้ใช้งานได้หลายอย่าง

มุ้ยบางชนิดก็มีหงอนด้วย หงอนก็ใช้ถอนตะปู
ที่ใช้งานต่างจากมีดก็คือใช้ถาก ตอกตะปู ตอกหลัก ถอนตะปู(มีหงอน)
ชาวบ้านที่เห็นส่วนมาก จะใช้ฟัน ถาก ทำงานตามท้องนา ท้องไร่ ทำห้างนา
ประเภทเครื่องมือเกษตร เช่น ทำลูกแอกเกวียน ทำคอม(ทาม)
ทำแอกไถนา  ตัดไม้หลักกระทู้ ทำหลัก ตอกหลักล่ามวัวควาย
พระที่วัดบ้านท่านอยู่ดอนม่วงอำเภอวังทอง พิษณุโลก
บอกว่าสมัยเป็นเด็ก ตื่นเช้าขึ้นพ่อแม่มักเรียกให้เอาวัวควาย 
ไปผูก-ล่ามตลุง(ล่ามกับหลักไม้ ที่ตอกด้วยมุ้ย) 

ที่มา : http://www.konrakmeed.com/webboard/upload/index.php?showtopic=12389&mode=threaded&pid=212771

นมั่สการครับ พระมหาแล อาสโย ขำสุข

Thank you for clearing one point for me The words "มีด มุย สิ่ว" confused me. Because I didn't know 'มุย' (I have used มุ้ย), I tried to understand 'มีด มุย สิ่ว' by grouping มีด 'มุยสิ่ว', 'มีดมุย' สิ่ว, and the worst 'มีดมุยสิ่ว'.

All of them came from my poor command of Thai language. Now I am a bit better. Thank to you and your metta.

ไม่รู้เอามะพร้าวห้าวมาขายสวนให้โยมSRหรือเปล่าเนี่ย
ได้ภาพไถไม้มาจากอินเตอร์เน็ท
นำความรู้เล็กๆน้อยๆมาเผื่อมีคนที่ไม่ทราบเกี่ยวอุปกรณ์ไถนา 
อาตมาเลยใส่ลูกศรและตัวเลขที่อุปกรณ์แต่ละอย่างกำกับไว้ด้วย

เลข๑ เรียกว่าหางยามหรือหางไถ หมายเลข๒เรียกว่าหัวหมู หมายเลข๓เรียกว่า ผาน
หมายเลข๔ คันไถ หมายเลข๕ เรียกว่าแอก(สำหรับไถวัวสองตัว)

ชาวบ้านเวลาไถนามักจะมีมุ้ยขัดเอวติดตัวไว้ด้วย
เผื่อเวลาอุปกรณ์ไถนาชำรุด หัก แตก เสียหายเกิดขึ้นในขณะไถนา
ก็ใช้มุ้ยซ่อมได้ทันที
เครื่องมือที่ใช้สะดวกและปลอดภัยในการพกพาขณะไถนาคือมุ้ยนี่เอง
เมื่ออุปกรณ์ไถเสียหายชำรุด หลุด หัก แตก ก็ใช้มุ้ยทำแทนอันที่เสียได้เลย

มุ้ยทำได้หลายอย่างไม่ว่าจะฟัน ถาก ตอก ถอนตะปู
เมื่อมองภาพไถนาแล้วก็จะรู้ได้ทันทีเลยว่า
อุปกรณ์ไถหลายอย่างใช้มุ้ยทำสะดวกมาก

แต่จริงๆแล้วไถกว่าจะทำสำเร็จได้จนครบทุกอย่างนั้น
ต้องมีเครื่องมือหลายอย่างด้วยกัน
เลื่อย,ขวาน,กบ,สิ่ว,มีด,มุ้ย,สะหว่าน,ตะไบ,บุ้ง,
กระดาษทราย,ฆ้อน ฯลฯ
                                     Large_ppppppppppppppppp2233
                                      หมายเลข๕ แอก แอกชนิดใช้วัวสองตัวเทียม
                                    
                                     ที่บ้านหนองบัวเรียกแอกนี้ว่าคอม(ทาม)

ที่มา:http://laanchaona.blogspot.com/2010/06/blog-post_02.html
                                      
                                       ไถวัว : เทียมวัวสองตัว จากอินเตอร์เน็ท
                                          
                        ไถนา : จากอินเตอร์เน็ท 

นมัสการครับ พระมหาแล อาสโย ขำสุข

[First, please forgive me for the extra 'dirty bit' in นมั่สการครับ in my last post. I did not check my spelling.]

I have not seen a wooden plough since I was young (8-9 years old). This brings back a memory -- riding on a buffalo, leeches (ปลิง) on legs, เกวียนเทียมควาย, ยุ๊งข้าว สานจากตอกไม้ไผ่ยาด้วยดินเหนียว หลังคามุงจาก, ครกกระเดือง ตำข้าว, ...

The best time of my life, free to roam about, to explore the woods, the fields, the streams and the canals, ...

I know what happened, what changed, and what are lost... Here I am in front of a computer linked to the Internet, watching pictures of wooden ploughs, with tears in my eyes, a lump stuck in my chest, ... I can see clearly the happy Past, the more inventive and more resourceful people It is good to forget the Present for a while.

Thank you again, Your Venerable

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท