ตกลง..วันนี้..ให้ความหมายของ identity ของกลุ่มชาติพันธุ์ได้อย่างไรคะ


เอามาเล่าซิคะ อยากขอเรียนรู้ด้วย



ความเห็น (1)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

AnthroCat-Thailand
เขียนเมื่อ

ผม มอง ว่าพวกเขามีการสร้างอัตลัษณ์สองแบบ ซึ่งเป็น แนวความคิดเก่าแล้ว ท่านอาจารย์ ศาสตราจารย์ ดร. อมรา พงศาพิชญ์ใช้คำว่า ทวิลักษณ์ (Double identity) 

และผมก็มองว่า กลุ่มชาวเขาไร้สัญชาติเหล่านี้ มีทวิลักษณ์ที่ว่านี้ ระหว่าง อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า (หรือกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูง) และอัตลักษณ์ของความเป็นคนไทย ตามด้านต่าง ๆ ที่พวกเขามองว่าตนเองเป็นใคร และเป็นพวกเดียวกันด้านไหน

สำหรับ ความต้องการได้สัญชาติไทยนั้น ถือได้ว่าเป็นความต้องการเชิงอัตลักษณ์มากกว่าที่จะสร้างอัตลัษณ์ตายตัวว่าเป็นคนไทย

ความต้องการเชิงอัตลักษณ์ความเป็นคนไทยก็โดยการ ได้บัตร (โดยส่วนใหญ่ไม่ค่อยเข้าใจว่า "สัญชาติ" คืออะไร มีความหมายแท้จริงว่าอย่างไร) ว่าการได้ "บัตร" คือ การเป็นคนไทย (ส่วนหนึ่งก็ถูก) และบัตรได้ถูกนำมาเป็นตัวแทนของอัตลักษณ์ (Representative Identity) เพื่อเข้าไปสู่สิทธิพื้นฐานของคนไทย

สรุป คร่าว ๆ ได้ว่า ความต้องการเชิงอัตลักษณ์ โดยการมีบัตรประจำตัวประชาชนไทย นั้น เพื่อ การได้มาซึ่งสิทธิ

ส่วน ความหมายของอัตลักษณ์ ที่มองว่า ตนเองมองตนเองเป็นใคร
ถือว่าเป็นอัตลักษณ์ภายใน และ อัตลักษณ์ทีเกิดจากภายนอกมองว่า
เขาเป็นใคร

ชาวเขามองว่าตนเองก็ยังเป็นชนเผ่าและก็เป็นคนไทย อ้างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น พูดไทยได้ เรียนหนังสือไทย อยู่พื้นที่ประเทศไทย เกิดในไทย

ส่วนทางการ ก็มองว่า พวกเขา เป็น กลุ่มอื่น (the others) และยังไม่สนิทใจในการให้การรวมพวก มากนัก ดังนั้น นโยบายการผสมผสาน (Assimilation) นั้น ก็มีโอกาสเป็นไปได้ แต่มันเป็นการผสมผสานทางสังคมมากกว่าทางด้านพลเมือง หรือสถานะคนไทย

 ในการมองตัวตน ระหว่าง ไทย และ อาข่า สามารถอ่านได้จาก หัวข้อ ความเป็นคนไทยในความสำนึก VS ความสำนึกในความเป็นอาข่า ได้ครับ



ความเห็น (1)

กลุ่มชาติพันธุ์ไร้สัญชาติ(คิดว่าดีกว่าคำว่าชาวเขาไร้สัญชาติค่ะ)มีหลายประเภท เช่น 1)เกิดในประเทศไทยแต่ไม่มีหลักฐานการเกิด(รู้น้อย)2)เกิดในไทย มีหลักฐานการเกิด แต่ระบุสัญชาติพม่า อีก้อ มูเซอร์ (แท้จริงแล้วไม่มีประเทศ ชาติอีก้อ มูเซอร์ฯลฯ)3)ย้ายมาปัจจุบัน(กลุ่มนี้ฉลาดข้ามฝั่งเป็นว่าเล่น)

ประโยชน์ของการได้บัตรฯขึ้นกับความสำนึกของปัจเจก โดยมากคนที่เกิดในไทย โตในไทยก็ต้องการเป็นพลเมืองไทยเต็มตัว คนที่เกิดอีกฝั่งก็อาจจะต้องการแค่มีที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยฯลฯ ผู้เขียนขอสนับสนุนให้ดำเนินการมอบสัญชาติไทยแก่กลุ่มชาติพันธุ์ประเภทที่1และ2 ส่วนกลุ่มที่3ถ้าเป็นผู้เขียน จะขอพิจารณาก่อน

ผู้เขียนคือชาวลีซูเกิดในไทย พ่อแม่เกิดในไทย ส่วนปู่ย่า ตามยายนี่ยอมรับว่ามาจากจีนแผ่นดินใหญ่และพม่า ทุกวันนี้ผู้เขียนรู้สึกวาเป็นคนไทยและเป็นลีซูพร้อมๆกัน ต้องการใช้คำว่าผู้เขียนคือ "ชาวไทยลีซู" รู้สึกดีมาก

ความรู้สึกของกลุ่มชาติพันธุ์อาจคล้ายคลึงกับความรู้สึกของลูกครึ่ง...ดูแปลกในดินแดนของแม่ ดูแปลกในดินแดนของพ่อ ทั้งๆที่ลูกครึ่งรักและเคารพพ่อ แม่ไม่ต่างกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท