กจ.2 สรุปบทที่ 8 เรื่อง จริยธรรมกับการบริหารจัดการธุรกิจ(ต่อ)


กจ.2 สรุปบทที่ 8 เรื่อง จริยธรรมกับการบริหารจัดการธุรกิจ(ต่อ)


ความเห็น (8)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

ladda pinta
เขียนเมื่อ
not yet answered


ความเห็น (8)
นางสาวศรัญญา ตาคำไชย กจ.2 เลขที่ 29รหัส 51591251060-6

สรุปบทที่ 8

จริยธรรมกับการบริหารจัดการธุรกิจ

จริยธรรม หมายถึง ประมวลความประพฤติและความนึกคิดในสิ่งที่ดีงามและเหมาะสม จะต้องประพฤติด้วยความถูกต้อง

จริยธรรมทางธุรกิจ คือ การผสมผสานระหว่างเศรษฐกิจและจริยธรรม เพื่อส่งเสริมนโยบายและการปฏิบัติของภาคธุรกิจในการสร้างความสำเร็จในการประกอบกิจการอย่างมีความรับผิดชอบ มีความยั่งยืน มีผลในระยะยาว ในขณะเดียวกันก็ช่วยสร้างสมดุลระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในกิจการนั้นๆ อันได้แก่ ผู้ลงทุน ลูกจ้าง ลูกค้า ชุมชน ตลอดจนสภาพแวดล่อมอย่างมีเหตุผล

แนวคิดที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ

1.Teleology แนวคิดนี้มุ่งพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนในสังคมเป็นสำคัญโดยสรุปว่าการกระทำหรือพฤติกรรมที่ถูกต้องหรือยอมรับได้

2.Deontology เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นสรุปสิ่งที่พึงกระทำจากความสำนึกในความผิดชอบชั่วดีของมนุษย์มากกว่าจะสรุปจากผลที่เกิดขึ้นเมื่อได้ทำไปแล้ว

3.Cultural Relativism เป็นแนวคิดที่พิจารณาข้อสรุปทางจรรยาบรรณของสังคมต่างๆโดยพิจารณาร่วมกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันได้เนื่องจากทัศนคติของคนที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน

4.Universalism เป็นแนวคิดที่พิจารณาแนวทางปฏิบัติที่จะถือว่าเป็นการไร้จริยธรรมจากการมองสังคมโดยเสมอภาค การให้สินบนและการทุจริตของผู้มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้องปัจจัยนี้เกิดขึ้นทั่วโลกแล้วทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา

กระบวนการเสริมสร้างจริยธรรม

1.สถาบันครอบครัว เป็นหน่วยที่ขัดเกลาที่สำคัญที่สุด การอบรมในวัยเด็กมีความสำคัญมากมีผลต่อการสร้างบุคลิกภาพ อารมณ์ ฯลฯ

2.สถาบันการศึกษา มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพและความเชื่อถือในด้านคุณธรรมและจริยธรรม

3.กลุ่มเพื่อน มีอิทธิพลต่อเด็กมากช่วยให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น ความเป็นตัวของตัวเอง

4.สื่อสารมวลชน ได้แก่ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น

5.สถาบันทางสังคมและทางศาสนา การเรียนรู้บรรทัดฐานใหม่ของคนในสังคม

ความจำเป็นที่ต้องมีจริยธรรมในการบริหารธุรกิจ

1.เพื่อความสามมารถในการแข่งขัน

2.การเพิ่มผลผลิต

3.รักษาความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย

4.กฎหมาย ข้อบังคับจากภาครัฐ

5.ธุรกิจที่มีจริยธรรม ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม

6.ธุรกิจที่มีจริยธรรม ก่อให้เกิดความสบายใจ ความสุขในการทำงาน

ปัญหาจริยธรรมในทางธุรกิจ

1.ผลประโยชน์และความเห็นแก่ตัว

2.จุดมุ่งหมายของธุรกิจกับค่านิยมส่วนบุคคล

3.แรงกดดันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไร

4.ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

วิกฤตจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ

1.กลุ่มบุคคลต่างๆในสังคมที่เป็นตัวผลักดันทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

2.ความพยายามสร้างความมั่นคงทางธุรกิจ

3.ค่านิยมของคนเน้นวัตถุมากขึ้น

4.โลกาภิวัฒน์ที่แพร่หลายประชาชนปรับตัวไม่ทัน

แนวทางการแก้ไขปัญหาจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

1.ตั้งคณะกรรมการจริยธรรมหรือเจ้าหน้าที่ทางจริยธรรม

2.ใช้วิธีการฝึกอบรมทางจริยธรรม

3.การให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามจริยธรรม

4.การจัดให้มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือบรรษัทภิบาล

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

1.ความรับผิดชอบต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของบุคคล ไม่จำหน่ายสินค้าหรือบริการที่เป็นอันตราย

2.ความรับผิดชอบด้านคุณภาพและบริการ การจำหน่ายสินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน

3.ความรับผิดชอบต่อข้อมูลข่าวสารและการศึกษา ให้ความรู้เรื่องการใช้สินค้าแก่ผู้บริโภคอย่างถูกต้อง

4.ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม คำนึงผลกระทบของการดำเนินกิจการต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งปรับปรุงแก้ไขเมื่อเกิดความผิดพลาดได้อย่างทันท่วงที

5.ความรับผิดชอบด้านศาสนาและวัฒนธรรม ผลิตสินค้าและบริการโดยคำนึงถึงวัฒนธรรม ค่านิยม

6.ความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน การคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของกลุ่มต่างๆ เช่น เด็ก สตรี คนพิการ

แนวปฏิบัติในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

1.เคารพกฎหมาย

2.พูดแต่ความจริง ไม่มีเจตนาบิดเบือน หลอกลวง

3.ทำในสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น “จงปฏิบัติต่อผู้อื่นให้เหมือนกับท่านปฏิบัติต่อตัวเอง”

4.เคารพผู้อื่น แสดงความเคารพต่อการกระทำความคิดและความเห็นของผู้อื่นทั้งต่อหน้าและลับหลัง

5.ไม่ทำร้ายหรือทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย

6.สร้างการมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและความต้องการ

4 E

1. Education การศึกษา เช่นการให้ทุนต่างๆ

2. Environment สิ่งแวดล้อม เช่น การช่วยลดโลกร้อน

3. Energy Conservation อนุรักษ์พลังงาน

4. Employee Engagement การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในสังคม

นางสาวเจนจิรา ปัญญาสี กจ.2เลขที่ 6รหัส51591251008-5

สรุปบทที่ 8

เรื่องจริยธรรมกับการบริหารจัดการธุรกิจ

จริยธรรมทางธุรกิจหมายถึง การผสมผสานระหว่างเศรษฐกิจและจริยธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการสร้างความสำเร็จในการประกอบการอย่างมีความรับผิดชอบ มีความยั่งยืน มีผลในระยะยาว

ระดับของจริยธรรม

1. Teleology ความสำคัญของปัจเจคบุคคลและความสำคัญต่อกลุ่มบุคคล

2. Deontology คำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลและพฤติกรรมการแสดงออก

3. Cultural Relativism พิจารณาข้อสรุปทางจรรยาบรรณของสังคมต่างๆ

4. Universalism

การเสริมสร้างจริยธรรมและผู้ที่มีหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม

1. ครอบครัว ถือเป็นหน่วยขัดเกลาที่สำคัญที่สุด

2. โรงเรียน เป็นหน่วยขัดเกลาที่เป็นทางการและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพและความเชื่อถือในด้านคุณธรรมและจริยธรรม

3. กลุ่มเพื่อน เป็นหน่วยที่มีอิทธิพลต่อเด็กมาก

4. สื่อมวลชน เป็นหน่วยทีสำคัญในการปลูกฝังวัฒนธรรมใหม่ ๆ

5. สถาบันทางศาสนาและสังคม เป็นหน่วยที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและความใกล้ชิดกับชุมชน

กระบวนการเสริมสร้างจริยธรรม

1. ครอบครัว ขัดเกลาเบื้องต้น แบบแผนทางจริยธรรม

2. สถาบันการศึกษา บุคลิกภาพและความเชื่อถือในด้านคุณธรรมและจริยธรรม

3. กลุ่มเพื่อน ความเป็นตัวของตัวเอง การรู้จักเอาตัวรอด การอยู่ร่วมกันในสังคม

4. สื่อสารมวลชน นำคุณธรรมมาสอดแทรก สร้างค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติและการเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆ

5. สถาบันทางสังคมและศาสนา มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิต ปลูกฝังให้คนเป็นคนดี

แนวทางแก้ไขปัญหาจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

1. Ethics Committee ตั้งคณะกรรมการจริยธรรม

2. การฝึกอบรมทางจริยธรรม

3. ให้รางวัลแก่องค์กรที่ปฏิบัติตามจริยธรรม.

4. Good Corporate Governance ให้มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือบรรษัทบริบาล

ธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคม CSR (Corporate Social Responsibility) หรือ บรรษัทบริบาล เริ่มจากเครื่องมือของทาง

4 E ความรับผิดชอบต่อสังคมด้านต่าง ๆ

1. Education การศึกษา การให้ทุน การฝึกงาน

2. Environment สิ่งแวดล้อม

3. Energy Conservation การอนุรักษ์พลังงาน

4. Employee Engagement การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในสังคม

นางสาวณัฐพร สังฆบุญ กจ.2 51591251009-3

สรุป จริยธรรมกับการบริหารจัดการธุรกิจ

1. จริยธรรม หมายถึง ความถูกต้อง ความดีงาม ความประพฤติที่ถูกต้อง โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมนโยบายและการปฏิบัติของภาคธุรกิจในการสร้างความสำเร็จในการประกอบการอย่างมีความรับผิดชอบ

2. แนวคิดที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ

Teleology แนวคิดนี้มุ่งพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนในสังคมเป็นสำคัญ

Deontology เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นสรุปสิ่งที่พึงกระทำจากความสำนึกในความผิดชอบชั่วดีของมนุษย์มากกว่าจะสรุปผลที่เกิดขึ้นเมื่อได้ทำไปแล้ว

Cultural Relativism เป็นแนวคิวที่พิจารณาข้อสรุปทางจรรยาบรรณของสังคมต่าง ๆ โดยพิจารณาร่วมกับความแตกต่าง

Universalism เป็นแนวคิดที่พิจารณาแนวทางปฏิบัติที่จะถือว่าเป็นการไร้จริยธรรมจากการมองสังคมโดยเสมอภาค

3. กระบวนเสริมสร้างจริยธรรม

- สถาบันครอบครัว ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยขัดเกลาสำคัญที่สุด เพราะบุคคลจะได้รับอบรมจากครอบครัวอยู่ตลอดเวลา

- สถาบันการศึกษา ถือเป็นหน่วยขัดเกลาที่เป็นทางการและมีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพและความเชื่อถือในด้านคุณธรรมและจริยธรรม

- กลุ่มเพื่อน ถือเป็นหน่วยที่มีอิทธิพลต่อเด็กมาก เพราะจะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ

- สื่อสารมวลชน อันได้แก่ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ อื่น ๆ

- สถาบันทางสังคมและศาสนา เป็นหน่วยที่มีบทบาทมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและความใกล้ชิดกับชุมชน

4. ความจำเป็นที่ต้องมีจริยธรรมในการบริหารธุรกิจ

- เพื่อความสามารถในการแข่งขัน ถ้าผู้บริหารกิจการไม่มีจริยธรรม กิจการนั้น ๆจะไม่สามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ

- การเพิ่มผลผล ช่วยสร้างความสามารถในการผลิตให้สูงขึ้น พนักงานก็จะมีขวัญและกำลังใจ มีความเต็มใจ กระตือรือร้นในการทำงาน

- ความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ลูกค้ามีความเชื่อถือศรัทธา เกิดการยอมรับในการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นคงและมีความสามารถที่จะดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพในระยะยาวได้

- กฎหมาย ข้อบังคับจากรัฐ การบริหารจัดการของธุรกิจที่มีจริยธรรมจะช่วยลดความจำเป็นของรัฐในการออกกฎระเบียบ

- ธุรกิจที่มีจริยธรรม จะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

- ธุรกิจที่มีจริยธรรม ย่อมก่อให้เกิดความสบายใจ ความสุขในการทำงาน และจะช่วยดึงดูดให้คนเข้ามาทำงานกับบริษัท

5. องค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาจริยธรรมในองค์การธุรกิจ ดังนี้

- อำนาจอันชอบธรรม จะต้องใช้ทั้งความละเอียด จึงจะสามารถทำให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงได้

- ความเชื่อมั่น เป็นเรื่องที่มีความสัมพันธ์กับความเชื่อถือ ซึ่งผู้นำจะต้องเป็นบุคคลที่สามารถเชื่อถือได้ในสังคม

- ความพร้อมที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิม หรือมีสภาวะที่ดีกว่า

- การวางแผนพัฒนาที่ดี เป็นเรื่องที่ลึกซึ้งจะต้องใช้เวลาที่ยาวนานพอสมควร ดังนั้นต้องทำการวางแผนที่ละเอียดมีขั้นตอน

- ผลประโยชน์ร่วม การพัฒนาจริยธรรมในองค์การเป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์การที่จะต้องร่วมมือกัน

- การปฏิบัติที่สม่ำเสมอ จะต้องมีการปฏิบัติที่สม่ำเสมอตามนโยบายหรือแนวทางที่กำหนดไว้

- การควบคุมอย่างต่อเนื่อง เป็นมาตรการที่จะกำกับการปฏิบัติการให้เป็นไปอย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพอันจะนำไปสู่การบรรลุผลที่รวดเร็ว

6. ปัญหาจริยธรรมในทางธุรกิจ

- ผลประโยชน์และความเห็นแก่ตัว มองเห็นแต่ผลประโยชน์ของตนเองเป็นใหญ่

- จุดมุ่งหมายของธุรกิจกับค่านิยมส่วนบุคคล การขัดแย้งทางจริยธรรมมักเกิดขึ้นได้เมื่อธุรกิจมุ่งเน้นจุดมุ่งหมายของกิจการเป็นหลัก

- แรงกดดันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไร จากแรงกดดันในการแข่งขันที่มีความรุนแรง อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ธุรกิจดำเนินการไปในทิศทางที่ขาดจริยธรรมและผิดกฎหมาย

- ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม อาจเกิดขึ้นได้เมื่อกิจการดำเนินธุรกิจในสังคมที่มีวัฒนธรรมแตกต่างไปจากสังคมของตน

7. วิกฤติทางด้านจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

ปัจจุบันสังคมได้เจริญรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว นักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ นักการเมือง เป็นผู้มีส่วนผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค่านิยมเอเชีย ซึ่งค่านิยมดังกล่าวเป็นค่านิยมที่เน้นการทำงาน หนัก ขยัน อดออม มีความซื่อสัตย์

8. แนวทางการแก้ไขปัญหาจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

- ตั้งคณะกรรมการจริยธรรม เพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ แก้ไขปัญหาทางจริยธรรม

- ใช้วิธีการฝึกอบรมทางจริยธรรม ช่วยส่งเสริมให้เกิดจริยธรรมในองค์การ

- การให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามจริยธรรม การให้รางวัลเป็นแรงจูงใจสำคัญที่อาจจะก่อให้เกิดการปฏิบัติ

- การจัดให้มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือบรรษัทภิบาล

9. การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

- ความรับผิดชอบต่อสุขภาพและสวัสดิการของบุคคล

- ความรับผิดชอบด้านคุณภาพและบริการ

- ความรับผิดชอบต่อข้อมูลข่าวสาร และการศึกษา

- ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม

- ความรับผิดชอบด้านศาสนาและวัฒนธรรม

- ความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน

10. ความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก ได้แก่ผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ในการดำเนินงานโดยตรงกับองค์กร มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงและผลประโยชน์ขององค์การ

- ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอง ได้แก่ผู้รับผลกระทบจากนโยบายหรือการดำเนินงานขององค์กร รวมทั้งผู้สร้างและผู้รับผลกระทบต่อนโยบายหรือการดำเนินงานองค์กร

11. แนวปฏิบัติในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

- เคารพกฎหมาย

- พูดแต่ความจริง รวมถึงการไม่มีเจตนาบิดเบือน หลอกลวง

- ทำในสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น “ปฎิบัติต่อผู้อื่นให้เหมือนกับที่ท่านปฏิบัติต่อตนเอง”

- เคารพผู้อื่น โดยแสดงความเคารพต่อการกระทำความเห็นของผู้อื่น

- ไม่ทำร้ายหรือทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย หรือเกิดความเสียหายในทุกด้าน

- สร้างการมีส่วนร่วม โดยเปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น

- ดำเนินการตามความรับผิดชอบที่มีอยู่อย่างเต็มที่

12. จรรยาบรรณ คือ การแสดงความรับผิดชอบระดับจริยธรรมซึ่งสูงกว่าระดับกฎหมาย จรรยาบรรณจึงแตกต่างจากกฎหมายตรงที่กฎหมายเป็นการร่างขึ้นเพื่อใช้บังคับกับทุกคนในสังคม แต่จรรยาบรรณเป็นการร่างและใช้เฉพาะกลุ่มในสาขาวิชาชีพเดียวกัน

นางสาววรางคณา เรือนแก้ว กจ.2 51591251059-8

บทที่ 8

จริยธรรมกับการบริหารจัดการธุรกิจ

การพิจารณาการดำเนินงานของธุรกิจในยุคใหม่นี้ ผู้บริหารจึงต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยที่เรียกว่า ความถูกต้องชอบธรรม หรือ การดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม

ความหมายของจริยธรรม

จริยธรรม หมายถึง ความสามารถที่สะท้อนถึงค่านิยมในการตัดสินใจของธุรกิจ เพื่อกำหนดค่านิยมและและการตัดสินใจว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อผู้มีส่วนได้เสีย

แนวคิดเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ มีหลายแนวคิดได้แก่

1. Teleology เป็นแนวคิดที่มุ่งพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนในสังคมเป็นสำคัญ

2. Deontology เป็นแนวคิดที่คำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลและพฤติกรรมการแสดงออกมากกว่าจะคำนึงผลที่เกิดขึ้น

3. Cultural Relativism เป็นแนวคิดข้อสรุปทางจรรยาบรรณของสังคม โดยพิจารณาร่วมกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม

4. Universalism เป็นแนวคิดที่ถือว่าเป็นการไร้จริยธรรมจากการมองสังคมโดยเสมอภาค

กระบวนการเสริมสร้างจริยธรรม

เป็นกระบวนการปลูกฝังบรรทัดฐานของกลุ่มให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล เพื่อให้บุคคลนั้นสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นๆ และปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องในสายตาของสังคม

ความจำเป็นที่ต้องมีจริยธรรมในการบริหารธุรกิจ

เป็นการเอาหลักจริยธรรมและคุณธรรมมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ เมื่อนำมาใช้ธุรกิจผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจจะต้องผูกพันอยู่กับหลักจริยธรรมอันเดียวกับที่สังคมยอมรับ

ปัญหาจริยธรรมในทางธุรกิจ พิจารณาดังนี้

1. ผลประโยชน์และความเห็นแก่ตัว

2. จุดมุ่งหมายของธุรกิจกับค่านิยมส่วนบุคคล

3. แรงกดดันเพื่อให้ได้มาซึ่งได้ผลกำไร

4. ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

วิกฤติทางด้านจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

ปัจจุบันโลกหรือสังคมสมัยใหม่ได้เจริญรุ่งเรืองรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งได้ถือว่าเป็นความสำเร็จของมวลมนุษยชาติ จากอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ ได้ก่อให้เกิดการเนินธุรกิจของกิจการข้ามชาติมากยิ่งขึ้น ธุรกิจระหว่างประเทศมีบทบาทความสำคัญมากยิ่งขึ้น ธุรกิจระหว่างประเทศมีบทบาทความสำคัญมากขึ้นต่อระบบการค้าและระบบเศรษฐกิจโลก

แนวทางการแก้ไขปัญหาจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

1. ตั้งคณะกรรมการจริยธรรม

2. ใช้วิธีการฝึกอบรมทางจริยธรรม

3. การให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามจริยธรรม

4. การจัดให้มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือบรรษัทภิบาล

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มีดังนี้

1. ความรับผิดชอบต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของบุคคล

2. ความรับผิดชอบด้านคุณภาพและบริการ

3. ความรับผิดชอบต่อข้อมูลข่าวสาร และการศึกษา

4. ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม

5. ความรับผิดชอบด้านศาสนาและวัฒนธรรม

6. ความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน

ความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้บริหารควรตระหนักว่าการบริหารองค์กรโดยทั่วไปนั้น มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์กรหลายกลุ่ม และมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านั้นล้วนมีสิทธิ มีความคาดหวัง และสามารถเรียกร้อง อย่างใดอย่างหนึ่งจากองค์กร

แนวทางปฏิบัติในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

1. เคราพกฎหมาย

2. พูดแต่ความจริง

3. ทำในสิ่งที่ถูกต้องเหล่านั้น

4. เคารพผู้อื่น

5. ไม่ทำร้ายหรือทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย

6. สร้างการมีส่วนร่วม

7. ดำเนินการตามความรับผิดชอบที่มีอยู่อย่างเต็มที่

จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณเป็นการแสดงชอบระดับจริยธรรมมากกว่าระดับกฎหมาย จรรยาบรรณจึงแตกต่างจากกฎหมายเป็นการร่างขึ้นเพื่อใช้บังคับกับทุกคนในสังคม และหากฝาฝืนหรือไม่ปฎิบัติจะมีบทลงโทษกำกับ แต่จรรยาบรรณเป็นการร่างและใช้ของคนเฉพาะกลุ่มในสาขาวิชาชีพเดียวกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางปฎิบัติของบุคลากรร่วมอาชีพ

นางสาวอรพรรณ มะโนจิตต์ กจ.2 51591251027-5

บทที่ 8 จริยธรรมกับการบริหารจัดการธุรกิจ

จริยธรรม หมายถึง ความถูกต้อง ความดีงาม ความประพฤติดี

จรรยาบรรณ หมายถึง ธรรมการปฏิบัติ เป็นข้อกำหนดทางจริยธรรมของวิชาชีพ

แนวคิดที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ

1. Teleology

2. Deontology คำนึงถึงสิทธิส่วนบุคคลและพฤติกรรมการแสดงออก

3. Cultural Relativism วัฒนธรรมสังคมที่มีแนวการปฏิบัติ

4. Universalism

Red Ocen การทำทุกอย่างเพื่อที่จะทำให้ชนะคู่แข่งขัน จนทำให้แพ้ทั้งสองฝ่าย

Blue Ocen ไม่ได้แย่งลูกค้าของคู่แข่งขันแต่จะทำให้สินค้าของตัวเองแตกต่างจากผู้อื่น มีจุดเด่น ต้องเป็นผู้นำในการพัฒนา นำวิวัฒนาการและเทคโนโลยีมาพัฒนาสินค้าและบริการของตัวเองอยู่ตลอดเวลา

White Ocen แนวความคิดธุรกิจที่มุมเน้น CSR ความรับผิดชอบต่อสังคม ไม่แข่งขันมาก เน้นมีจริยธรรมและคุณธรรม

ผู้ที่ทำหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคม

1. สถาบันครอบครัว เป็นหน่วยขัดเกลาที่สำคัญที่สุด อบรม สั่งสอน ถ่ายทอดวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ แบบแผนทางศีลธรรมและจริยธรรม

2. สถาบันการศึกษา

3. กลุ่มเพื่อน เป็นหน่วยที่มีอิทธิพลต่อเด็กมาก เช่น ความเป็นตัวของตัวเอง ความเป็นผู้นำ การรู้จักเอาตัวรอด การอยู่ร่วมในสังคม

4. สื่อสารมวลชน เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ สิ่งตีพิมพ์ต่างๆ

5. สถาบันทางสังคมและศาสนา

ความจำเป็นที่ต้องมีจริยธรรมในการบริหารธุรกิจ

เป็นการนำเอาหลักจริยธรรมและคุณธรรมมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ ดังนั้นความจำเป็นที่จะต้องมีจริยธรรมมีเหตุผลอยู่หลายประการ คือ

1. เพื่อความสามารถในการแข่งขัน

2. การเพิ่มผลผลิต

3. ความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย

4. กฎหมาย ข้อบังคับจากภาครัฐ

5. ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่ชุมชนและสิ่งแวดล้อม

6. ช่วยปกป้องผู้ที่ทำงานอยู่ในธุรกิจนั้นๆ

ปัญหาจริยธรรมในทางธุรกิจ

1. ผลประโยชน์และความเห็นแก่ตัว

2. คำนึงถึงจุดมุ่งหมายของธุรกิจเป็นหลัก

3. การแข่งขันทางธุรกิจที่มุ่งรายได้และกำไรมากเกินไป

4. ปัญหาความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

วิกฤติทางด้านจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

1. กลุ่มบุคคลต่าง ๆ ในสังคมเป็นตัวผลักดัน ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

2. ความพยายามสร้างความมั่งคั่งทางธุรกิจ

3. โลกาภิวัฒน์ที่แพร่กระจายทั่วภูมิภาคแต่ประชาชนปรับตัวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลง

4. ค่านิยมของคน เน้นวัตถุมากยิ่งขึ้น

5. ค่านิยมเอเชียที่เน้นการทำงานมากขึ้น

แนวทางการแก้ไขปัญหาจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

1. ตั้งคณะกรรมการจริยธรรม

2. ฝึกอบรมทางจริยธรรม

3. การให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามจริยธรรม

4. การจัดให้มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือบรรษัทภิบาล

CSR ธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคม มี 4 ขั้น

ขั้น 1 Mandatory Level ข้อกำหนดตามกฎหมาย

ขั้นที่ 2 Elementary Level ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ขั้นที่ 3 Preemptive Level จรรยาบรรณทางธุรกิจ

ขั้นที่ 4 Voluntary Level ความสมัครใจ

ระดับ CSR

1. Economic responsibility

2. Legal responsibility

3. Ethical responsibility จริยธรรม

4. Discretionary responsibility ความรับผิดชอบต่อสังคมที่ตัวผู้บริหารอยากทำจริงๆ เกิดจากจิตสำนึกของผู้บริหาร

5. ระดับความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งหมด

4 E

1. Education การศึกษา

2. Environment สิ่งแวดล้อม

3. Energy Conservation อนุรักษ์พลังงาน

4. Employee Engagement การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนรวมในสังคม

นางสาวพิมพ์ผกา ยาวิชัย กจ.2 51591251017-6

สรุปบทที่ 8

จริยธรรมกับการบริหารจัดการธุรกิจ

ทุกวันนี้ธุรกิจจะต้องพึ่งพาสังคมและสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้นการที่ธุรกิจมุ่งแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจดังนั้นการพิจารณาดำเนินการของธุรกิจยุคใหม่ ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับ ความถูกต้องชอบธรรม หรือการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรม

ความหมายของจริยธรรม

จริยธรรม หมายถึง ความสามารถที่สะท้อนถึงค่านิยมในการตัดสินใจของธุรกิจ เพื่อกำหนดค่านิยมและและการตัดสินใจว่ามีผลกระทบอย่างไรต่อผู้มีส่วนได้เสียและเพื่อกำหนดว่าผู้บริหารจะนำเอาผลกระทบนั้นไปใช้ในการจัดการธุรกิจอย่างไร

แนวคิดเกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ มีหลายแนวคิดได้แก่

Teleology แนวคิดที่มุ่งพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนในสังคมเป็นสำคัญโดยแบ่งการพิจารณาออกเป็นสองทางคือ 1.ความสำคัญของปัจเจกบุคคล 2.ความสำคัญต่อกลุ่มบุคคล

Deontology แนวคิดที่มุ่งเน้นสรุปสิ่งที่พึงกระทำจากความสำนึกในความผิดชอบชั่วดีของมนุษย์

Cultural Relativism แนวคิดข้อสรุปทางจรรยาบรรณของสังคมต่างๆ

Universalism แนวคิดที่พิจารณาแนวทางปฏิบัติที่ถือว่าเป็นการไร้จริยธรรมจากการมองสังคมโดยเสมอภาค

กระบวนการเสริมสร้างจริยธรรม

การอบรมหรือการขัดเกลาทางสังคมถือว่าเป็นกระบวนการปลูกฝังบรรทัดฐานของกลุ่มให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลและถือว่าเป็นกระบวนการหล่อหลอมทางวัฒนธรรม

ความจำเป็นที่ต้องมีจริยธรรมในการบริหารธุรกิจ

จริยธรรมและคุณธรรม เมื่อนำมาใช้ธุรกิจผู้ที่อยู่ในวงการธุรกิจจะต้องผูกพันอยู่กับหลักจริยธรรมอันเดียวกับที่สังคมยอมรับด้วย

การพัฒนาจริยธรรมในองค์การธุรกิจขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆดังนี้

1.อำนาจอันชอบธรรม

2.ความเชื่อมั่น

3.ความพร้อมที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง

4.การวางแผนพัฒนาที่ดี

5.ผลประโยชน์ร่วม

6.การปฏิบัติที่สม่ำเสมอ

7.การควบคุมอย่างต่อเนื่อง

ปัญหาจริยธรรมในทางธุรกิจ พิจารณาดังนี้

ผลประโยชน์และความเห็นแก่ตัว

จุดมุ่งหมายของธุรกิจกับค่านิยมส่วนบุคคล

แรงกดดันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไร

ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

วิกฤติทางด้านจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

ปัจจุบันโลกหรือสังคมสมัยใหม่ได้เจริญรุ่งเรืองรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว จากอิทธิพลของโลกาภิวัตน์ ได้ก่อให้เกิดการเนินธุรกิจของกิจการข้ามชาติมากยิ่งขึ้น ธุรกิจระหว่างประเทศมีบทบาทความสำคัญมากขึ้นต่อระบบการค้าและระบบเศรษฐกิจโลก ค่านิยมของคนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพราะความเจริญเติบโตของเมืองที่เน้นเสรีภาพและวัตถุนิยมโดยไร้จิตสำนึกของความมีคุณธรรม ดังนั้นจึงได้เกิดแนวคิดหลักการบริหารที่ดีเรียกว่า บรรษัทภิบาล

แนวทางการแก้ไขปัญหาจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

1. ตั้งคณะกรรมการจริยธรรม

2. ใช้วิธีการฝึกอบรมทางจริยธรรม

3. การให้รางวัลแก่ผู้ที่ปฏิบัติตามจริยธรรม

4. การจัดให้มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีหรือบรรษัทภิบาล

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มีดังนี้

1. ความรับผิดชอบต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของบุคคล

2. ความรับผิดชอบด้านคุณภาพและบริการ

3. ความรับผิดชอบต่อข้อมูลข่าวสาร และการศึกษา

4. ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม

5. ความรับผิดชอบด้านศาสนาและวัฒนธรรม

6. ความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน

ความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบ่งเป็น

1. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักคือผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ในการดำเนินงานโดยตรงกับองค์กร

2. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรองคือผู้รับผลกระทบจากนโยบายหรือการดำเนินงานขององค์กร

แนวทางปฏิบัติในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

เคารพกฎหมาย

พูดแต่ความจริง

ทำในสิ่งที่ถูกต้องเหล่านั้น

เคารพผู้อื่น

ไม่ทำร้ายหรือทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย

สร้างการมีส่วนร่วม

ดำเนินการตามความรับผิดชอบที่มีอยู่อย่างเต็มที่

จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณเป็นการแสดงชอบระดับจริยธรรมมากกว่าระดับกฎหมาย จรรยาบรรณจึงแตกต่างจากกฎหมายเป็นการร่างขึ้นเพื่อใช้บังคับกับทุกคนในสังคม และหากฝาฝืนหรือไม่ปฎิบัติจะมีบทลงโทษกำกับ แต่จรรยาบรรณเป็นการร่างและใช้ของคนเฉพาะกลุ่มในสาขาวิชาชีพเดียวกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางปฎิบัติของบุคลากรร่วมอาชีพ

นายมงคล แปงแก้ว กจ.2 51591251018-4

สรุป บทที่ 8

จริยธรรมกับการบริหารจัดการธุรกิจ

ความหมายและลักษณะของจริยธรรม

จริยธรรม จากที่ผู้รู้ให้ความหมายที่แตกต่างกันออกไป โดยสรุปจากความหมายของจริยธรรมหมายถึงว่า หลักของการกระทำสิ่งที่ดีงามสมควรประพฤติปฏิบัติ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ

จรรยาบรรณ หลักของการประพฤติปฏิบัติ โดยเป็นการกำหนดขึ้นตามหลักศีลธรรมที่ผู้ปฏิบัติในแต่ละกลุ่มนั้นๆ สมควรยึดมั่นพึงปฏิบัติ โดยหากละเลยแล้วอาจก่อเกิดซึ่งปัญหาต่อผู้ปฏิบัติเอง

แนวคิดที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณทางธุรกิจ (The Concept of Business Ethic)

จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่สังคมแต่ละแห่งกำหนดขึ้นที่ปรากฎอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นธรรมเนียมที่ประพฤติปฏิบัติกันมานาน โดยไม่มีการบันทึกหรือเขียนขึ้น

สำหรับแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณมีหลายแนวทางเช่น

1. Teleology เป็นแนวคิดที่มุ่งพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนในสังคมเป็นสำคัญ

2. Deon logy เป็นแนวคิดมุ่งเน้นสิ่งที่พึงกระทำจากความสำนึกในความผิดชอบชั่วดีของมนุษย์มากกว่า จะสรุปผลจากผลที่เกิดขึ้นเมื่อทำลงไปแล้ว

3. Cultural Relativism เป็นแนวคิดที่พิจารณาข้อสรุปทางจรรยาบรรณของสังคมต่างๆ โดยพิจารณาร่วมกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม แต่การจะตัดสินในเรื่องของความถูกต้อง ความผิด ความยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม อาจมีความหมายที่แตกต่างกันได้เนื่องจากทัศนคติที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้ว กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ตั้งขึ้นจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยสำคัญที่แต่ละประเทศมี

4. Universalism เป็นแนวคิดที่พิจารณาแนวทางปฎิบัติที่จะถือว่าเป็นการไร้จริยธรรมจากการมองสังคมโดยเสมอภาค

โดยสรุปแล้วแต่ละประเทศมี กฎหมาย ธรรมเนียม ประเพณี ที่แตกต่างกันไป ทำให้ทัศนคติของสมาชิกในประเทศของแต่ละประเทศแตกต่างกันตามไปด้วย ส่งผลให้จิตสำนึกของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน ทำให้เกิดการแสวงหาผลประโยชน์ของตนเองและองค์การจนลืมผลเสียที่จะเกิดตามมา ดังนั้นต้องมีการจัดตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นเพื่อเป็นการลดผลเสียในระยะยาว หรือที่เราเรียกกันว่าจรรยาบรรณทางธุรกิจ

กระบวนการเสริมสร้างจริยธรรม

การอบรมหรือการขัดเกลาทางสังคมถือว่าเป็นกระบวนการปลูกฝังแบบรากฐานหรือบรรทัดฐานของกลุ่มให้เกิดขึ้นในตัวของบุคคล เพื่อให้บุคคลนั้นอยู่ร่วมกันในสังคมได้ สามารถร่วมงานและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องในการมองของสังคม และผู้ที่ทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการเสริมสร้างจริยธรรม คือ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา กลุ่มเพื่อน สื่อสารมวลชน สถาบันทางสังคมและศาสนา ซึ่งสถาบันต่างๆ เป็นส่วนสำคัญมากในการขัดเกลาให้บุคคลอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข

ความจำเป็นที่ต้องมีจริยธรรมในการบริหารธุรกิจ

จิรยธรรมในการบริหารธุรกิจ (Business Ethics) เป็นการนำหลักคุณธรรมและจริยธรรมมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจ สาเหตุที่จำเป็นต้องนำหลักจริยธรรมเข้ามาปรับใช้เนื่องจากเพื่อลดปัญหาทางด้านการทุจริตในการบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อลดการเอารัดเอาเปรียบของการทำงาน เพื่อลดปัญหาการการขัดแย้งภายในองค์การ และ เพื่อลดปัญหาอื่นๆ ที่จะตามมาอีกมากมาย นอกจากจะลดปัญหาต่างๆ แล้ว ยังเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน การเพิ่มผลผลิต ความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย สามารถตั้งอยู่ในกฎหมาย ข้อบังคับของภาครัฐ ก่อให้เกิดการลดปริมาณของมลพิษทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงช่วยให้ก่อเกิดความสุขต่อองค์การและสังคมรอบข้าง

ดังนั้นการนำจริยธรรมจึงจำเป็นต้องนำมาใช้ด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน

การพัฒนาจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

การพัฒนาจริธรรมในองค์การธุรกิจสามารถพัฒนาได้ทั้งบุคคลและองค์การ หากพัฒนาแต่ด้านใดด้านหนึ่งแล้ว จะส่งผลทำให้เกิดปัญหาการขาดสมดุลภายในองค์การธุรกิจ ดังนั้นผู้บริหารควรมีการพัฒนาจริยธรรมทั้งสองด้านพร้อมๆกัน ทั้ง ทางด้านบุคคลากร และทางด้านองค์การ การพัฒนาจริยธรรมในองค์การธุรกิจให้ได้รับความสำเร็จขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้ อำนาจอย่างชอบธรรม ความเชื่อมั่น ความพร้อมที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง การวางแผนพัฒนาที่ดี ผลประโยชน์ร่วม การปฎิบัติที่สม่ำเสมอ การควบคุมอย่างต่อเนื่อง องค์ประกอบต่างๆ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

ปัญหาจริยธรรมในทางธรุกิจ

1) ผลประโยชน์และความเห็นแก่ตัว อันเกิดจากความโลภ กิเลสตัณหา

2) จุดมุ่งหมายของธุรกิจกับค่านิยมส่วนบุคคล อันเกิดจากจุดมุ่งหมายและความต้องการที่ขัดแย้งกัน

3) แรงกดดันเพื่อให้ได้มาซึ่งผลกำไร อันเกิดจากความอยากได้กำไรจนขาดจริยธรรม

4) ความขัดแย้งทางวัฒนธรรม อันเกิดจากการไม่ปรับตัวขององค์การและวัฒนธรรมทางสังคม

วิกฤติทางด้านจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุดโลกาภิวัตน์ เป็นโลกที่ไร้พรมแดน มีองค์การธุรกิจเกิดขึ้นมากมายทำให้มีการแข่งขันกันสูง ผู้ที่มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจสูงย่อมเป็นผู้ได้เปรียบ และได้เอารัดเอาเปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่า การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันเน้นทางด้านผลกำไรจนลืมมองถึงจริยธรรม ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการศึกษา ผู้ที่มีสภาวะเศรษฐกิจที่ดีก็สามารถศึกษาในหลักสูตรที่เร่งรัดและจบได้อย่างรวดเร็ว ต่างจากผู้ที่มีสภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอย่อมไม่สามารถศึกษาในระดับที่สูงๆ ได้ รวมทั้งค่านิยมต่างๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทำให้คนในภูมิภาคต่างๆ รับเอาค่านิยมที่ขาดจริยธรมมา ลืมค่านิยมเก่าๆ ปัญหาเหล่านี้ยิ่งทวีความรุ่นแรงขึ้น ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะปรับปรุงการบริหารทั้งภาครักและเอกชนให้มีคุณธรรมและจริยธรรมเป็นการป้องกันปัญหาเหล่านี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีก นั่นคือหลักการบริหารจัดการที่ดีเรียกว่า “บริษัทภิบาล” (Corporate Governance)

แนวทางการแก้ไขปัญหาจริยธรรมในองค์การธุรกิจ

แนวทางการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการขาดจริยธรรมในองค์การธุรกิจนั้นเป็นสิ่งจำเป็นมากในปัจจุบันนี้ จำเป็นอย่างยิ่งในการต้องสร้างการปลูกฝังจิตสำนึกและการตระหนักถึงความสำคัญของจริยธรรมให้เกิดขึ้นในองค์การธรุกิจ และเสริมสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติทางจริยธรรมอย่างแท้จริง จนทำให้เกิดเป็นรูปธรรม อาจทำได้โดย การตั้งคณะกรรมการจริยธรรม การฝึกอบรมทางจริยธรรม การให้รางวัลแก่ผู้ปฏิบัติตามจริยธรรม การจัดให้มีระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี หรือ บริษัทภิบาล (Good Corporate)

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

ผู้บริหารและองค์กรต่างๆ ควรพิจารณาทบทวนบทบาทและขอบเขตของการดำเนินงานของตนเองอยู่เสมอว่าได้แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้านต่างๆ ครบถ้วนหรือไม่ การแสดงความรับผิดชอบด้านต่างๆ มีดังนี้

1) ความรับผิดชอบต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของบุคคล

2) ความรับผิดชอบด้านคุณภาพและบริการ

3) ความรับผิดชอบต่อข้อมูลข่าวสาร และการศึกษา

4) ความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อม

5) ความรับผิดชอบด้านศาสนาและวัฒนธรรม

6) ความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชน

ความรับผิดชอบต่อสังคมสำหรับผู้มีส่วนได้เสียส่วนเสีย

ผู้บริหารควรตระหนักถึงการบริหารองค์กาธุรกิจนั้น มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับองค์การอยู่หลายกลุ่ม และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านั้นล้วนมีสิทธิ และสามารถเรียกร้องได้ ผู้บริหารต้องพิจารณาถึงความรับผิดชอบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างทั่วถึงและเหมาะสม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้

1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก คือ ผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ในการดำเนินงานโดยตรงกับองค์การ

2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอง คือ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากองค์การธุรกิจ

แนวปฏิบัติในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

ผู้บริหารและองค์การสามรถแสดงถึงความรับผิดชอบได้หลายระดับ หลายช่องทาง และหลายกลุ่ม มีทางเลือกมากมายที่ผู้บริหารและองค์การ ได้สามารถพิจารณาเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ผู้บริหารและองค์การคจึงควรพิจารณาแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้เพื่อเป็นบรรทัดฐานขั้นต่ำในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

1) เคารพกฎหมาย

2) พูดแต่ความจริง

3) ทำในสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น

4) เคารพผู้อื่น

5) ไม่ทำร้ายหรือทำให้ผู้อื่นได้รับอันตราย

6) สร้างการมีส่วนร่วม

7) ดำเนินการตามความรับผิดชอบอย่างเต็มที่

จรรยาบรรณ

ผู้ประกอบการด้านต่างๆ ได้รับประมวลข้อประพฤติประฏิบัติ หรือหลักความประพฤติปฏิบัติที่ดีงามเหมาะสม มีคุณธรรมและถูกต้องตามศีลธรรมขึ้นเป็นจรรยาบรรณ จรรยาบรรณเป็นการแสดงความรับผิดชอบระดับจริยธรรรมสูงกว่าระดับกฎหมาย ไม่มีบทลโทษหากฝ่าฝืน แต่เป็นการใช้ในอาชีพเฉพาะกลุ่มอาชีพเดียวกันมีความสำคัญสำหรับผู้ประกอบอาชีพและสังคม สร้างความภาคภูมิใจได้รับเกียรติ และความไว้วางใจเชื่อถือ

นางสาวนิรมล หล้าขัด เลขที่ 10 กจ.2 รหัส51591251012-7

สรุปบทที่ 8

เรื่องจริยธรรมกับการบริหารจัดการธุรกิจ

จริยธรรมหมายถึง หลักประพฤติปฎิบัติที่ดีงาม และเหมาะสม ที่มีคุณธรรมและถูกต้องตามศีลธรรม มี 4 ระดับ คือ

1ระดับทEgo

2ระดับสิทธิ

3ระดับวัฒนธรรม

4ระดับ unethical

ผู้มีหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม

1 ครอบครัว

2 โรงเรียน

3 กลุ่มเพื่อน

4 สื่อมวลชน

5 สถาบันทางศาสนา

ความจำเป็นที่ต้องมีจริยธรรมทางสังคม

1 เพื่อความสามารถในการแช่งขัน

2 เพื่อเพิ่มผลผลิต

3 รักษาความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4 กฏหมายข้อบังคับของรัฐ

ปัญหาจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ

1 ผลประโยชน์และความเหนแก่ตัว

2 คำนึงถึงจุดมุ่งหมายของธุรกิจเป็นหลัก

3 การแข่งขันทางธุรกิจที่มุ่งรายได้และกำไรมากเกินไป

4 ปัญหาความขัดแย้งทางวัฒนธรรม

วิกฤตจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ

1 กลุ่มบุคคลต่าง ๆ ในสังคมที่เป็นตัวผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลง

2 ความพยายามสร้างความมั่งคั่งทางธุรกิจ

3 โลกาภิวัฒน์ที่แพร่กระจายทั่วภูมิภาคแต่ประชากรปรับตัวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลง

4 ค่านิยมของคนที่เน้นวัตถุมากยิ่งขึ้น

5 ค่านิยมของชาวเอเชียที่เน้นการทำงานมากขึ้น

แนวทางการแก้ไขปัญหาจริยธรมทางสังคม

1 Ethics Committee

2 การฝึกอบรมจริยธรรม

3 การให้รางวัล

4 บรรษัทภิบาล

CSR ธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคม มี 4 ขั้น

ขั้น 1 Mandatory Level ข้อกำหนดตามกฎหมาย

ขั้นที่ 2 Elementary Level ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ขั้นที่ 3 Preemptive Level จรรยาบรรณทางธุรกิจ

ขั้นที่ 4 Voluntary Level ความสมัครใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท