แบบจำลองความเชื่อทางประชาธิปไตย


pramote taboonpong
แบบจำลองความเชื่อทางประชาธิปไตย โดย นายแพทย์ปราโมทย์ ตะบูนพงศ์ การเมืองสองขั้วแบบปรปักษ์ แก่งแย่งอำนาจและผลประโยชน์กัน จนทำให้นักการเมืองและประชาชนทั้งสองฝ่าย มีอคติบังตาจนขาดทั้ง ความฉลาด ความกล้าและความยุติธรรมซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ทางความดีของมนุษย์ทำให้ประชาชนและสังคมโดยรวมย้อนกลับไปสู่ยุคอนารยะ ทางออกคืออะไร ต้องย้อนกลับไปที่ประชาชนมีเสรีภาพมาตั้งแต่เกิดมีสิทธิ์เลือกผู้ปกครองที่ตนชอบและมีสิทธิ์ปฏิเสธผู้ปกครองที่ตนไม่ชอบ ดังนั้น การเลือกผู้ใช้อำนาจแทนประชาชนในระบอบประชาธิปไตยในภาวะที่มีความขัดแย้งรุนแรงในประเทศไทยในขณะนี้ต้องให้ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะให้คะแนนบวกกับผู้แทนที่ต้องการ และหักคะแนนผู้แทนที่ตนต่อต้าน ( คะแนนติดลบ ) เมื่อเป็นเช่นนี้กำลังของผู้แทนที่มีความขัดแย้งกันจะอ่อนลง และผู้แทนที่ไม่มีความขัดแย้งจะเข้มแข็งมากขึ้น เช่นนี้แล้ว จะเปลี่ยนบรรยากาศทางสังคมของประเทศไทย จากภาวะที่หนึ่ง คนสองฝ่ายที่ต่างก็คิดว่าตนเองมีอำนาจมาก ขัดแย้งแย่งประโยชน์และอำนาจอยู่ในที่เดียวกันก็จะนำไปสู่ความพินาศ เปลี่ยนเป็นบรรยากาศที่สอง เสมือนคนสามคนอยู่ในห้องเดียวกัน โดยสองคนแรกที่มีอคติต่อกัน โกรธกัน ต่างมีอำนาจน้อย ( เพราะถูกอีกฝ่ายหนึ่งให้คะแนนติดลบ ) อยู่ร่วมกับผู้ที่สนับสนุนความปรองดอง ไม่ทำลายใคร ซึ่งมีอำนาจมาก ( เพราะไม่มีคะแนนติดลบ ) คนทั้งสาม ก็จะอยู่ร่วมกันได้โดยมีความสุขตามสมควร นอกจากนี้ ยังเป็นวิธีแก้ความลำพองของผู้ที่ได้รับเลือกเป็นผู้แทนว่ามีผู้สนับสนุนมาก ได้รับทราบว่าเขาหรือพวกเขามีคนชิงชังรังเกียจมากเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้คนไม่ดีมีอำนาจไม่ว่าจะไม่ดีในมุมมองของฝ่ายไหนก็ตาม ผมขอสนับสนุนการเลือกตั้งแบบประชาชนหนึ่งคนมีสิทธิ์ เลือกลงคะแนนได้สองบัตร คือ 1. บัตรเขียว กาผู้สมัครที่ชอบที่สุด หรือพรรคที่ชอบที่สุด ได้บวกหนึ่งคะแนน 2. บัตรแดง กาผู้สมัครที่ไม่ชอบที่สุด หรือพรรคที่ไม่ชอบที่สุด ได้ลบหนึ่งคะแนน นายแพทย์ปราโมทย์ ตะบูนพงศ์ ปราโมทย์คลินิกเวชกรรม อ. ย่านตาขาว จ. ตรัง โทร 089 – 5905992 หรือ 075 -282440 MED.PSU . 15 [email protected]


ความเห็น (2)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

not yet answered


ความเห็น (2)
วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

ความจริงไม่ค่อยอยากออกความเห็นทางการเมืองในช่วงนี้ เพราะคนจำนวนมากอยู่ในอารมย์ที่ไม่ดี ไม่ว่าตอบอย่างไรก็จะมีคนไม่เห็นด้วยทั้งนั้น และอาจจะทำให้ตัวเองต้องเข้าไปพัวพันกับความยุ่งยาก

ในหลักการของจิตวิทยาเพื่อการสามัคคีน่าจะให้คนแสดงความรักหรือสนับสนุนมากกว่าแสดงการต่อต้านคนที่เราไม่สนับสนุนนะครับ

ขอบคุณมากครับ

อยากเห็นคนไทยรักกัน รักเพื่อนบ้าน รักกันทั้งโลก ใช้ชีวิตบนโลกนี้อย่างมีความสุข เอาใจเขามาใส่ใจเรา เห็นอกเห็นใจกันครับ

ผมขอชวนคนไทยให้ทำหน้าที่การงานให้ดีที่สุด ช่วยเหลือสังคม และยินดีกับความสุขของผู้อื่น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท